เส้นทางสู่สงครามโลกครั้งที่สอง
เส้นทางสู่สงครามโลกครั้งที่ 2

โดย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand




สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลงในปี 1918 ด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมัน ฝ่ายพันธมิตรในขณะนั้นประกอบด้วย อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย (the Varsailles treaty) เพื่อจำกัดสิทธิของเยอรมัน ในอันที่จะเป็นภัยคุกคามอีกครั้ง สนธิสัญญาแวร์ซายลงนามในวันที่ 28 มิ.ย. 1919 ส่งผลให้กองทัพเยอรมันถูกจำกัดขนาดให้เล็กลง ดินแดนต่างๆ ถูกริบ หรือยึดครอง ดังที่ปรากฏในแผนที่ข้างบน อาทิ ฝรั่งเศสเข้าครอบครองอัลซาส ลอเรนน์ (Alsace-Lorranine) เบลเยี่ยมยึดอูเปนและมาลเมดี (Eupen, Malmedy) โปแลนด์เข้าครอง Posen และปรัสเซียตะวันออกบางส่วน ดานซิก (Danzig) กลายเป็นรัฐอิสระ ฝรั่งเศสเข้าควบคุมเหมืองถ่านหินในแคว้นซาร์ (Saar) แลกกับการที่เยอรมันทำลายเหมืองถ่านหินของตน ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ กลายเป็นเขตปลอดทหาร (Demilitarized) และยึดครองโดยฝ่ายพันธมิตรลึกเข้าไป 30 ไมล์ นอกจากนี้เยอรมันยังต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงินอีก 6,600 ล้านปอนด์



ในเดือนมกราคม 1933 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำพรรคนาซี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง Chancellor ของประเทศเยอรมัน และเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศในที่สุด (Fuhrer)

ในปี 1935 ฮิตเลอร์ได้เริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังตกต่ำอย่างรวดเร็ว และในวันที่ 16 มีนาคม 1935 ฮิตเลอร์ก็ประกาศเสริมสร้างกองทัพเยอรมันขึ้นใหม่ ซึ่งเท่ากับเป็นการฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย

แต่เนื่องจากนโยบายต่างประเทศของเขา ที่พยายามแสดงให้พันธมิตรเห็นว่า เขาไม่ใช่ภัยคุกคามต่อพันธมิตร และเป็นผู้ที่ต้องการสันติภาพเช่นเดียวกับอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงแต่ต้องการฟื้นฟูประเทศเยอรมันที่ตกต่ำเท่านั้น ทำให้พันธมิตรนิ่งเฉยต่อการดำเนนิการของฮิตเลอร์

และแล้วในเดือนมีนาคม 1936 เขาก็ส่งทหารกลับเข้าไปยึดครองแคว้นไรน์ ที่ตามสนธิสัญญาแวร์ซายกำหนดให้เป็นเขตปลอดทหาร พร้อมๆกับส่งทหารเยอรมันเข้าสนับสนุน กองกำลังชาตินิยมของนายพลฟรังโก ในสงครามกลางเมืองในสเปน และลงนามเป็นพันธมิตรกับมุสโสลินีของอิตาลี เดือนมีนาคม 1938 ผนวกออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดอาณาจักรใหม่ของเยอรมัน นั่นคือ อาณาจักรไรซ์ที่สาม (the Third Reich - new German Empire)

จากนั้นก็เข้ายึดครองตอนเหนือของเชคโกลโลวะเกียในเดือนกันยายน 1938 และยึดครองทั้งประเทศใน มีนาคม 1939 พร้อมๆกันนั้นฮิตเลอร์ก็เข้ายึดคองเมืองท่าเมเมล (Memel) ของลิธัวเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายเยอรมัน จากนั้นก็ยึดดานซิกและส่วนที่แบ่งแยกเยอรมัน กับปรัสเซียตะวันออกของโปแลนด์

รุ่งอรุณของวันที่ 1 กันยายน 1939 เครื่องบินของกองทัพอากาศเยอรมัน หรือลุฟวาฟ (Luftwaffe) ก็เริ่มต้นการทิ้งระเบิดถล่มจุดยุทธศาสตร์ในประเทศโปแลนด์ พร้อมๆกับกำลังรถถังและทหารราบ ก็เคลื่อนกำลังผ่านชายแดนโปแลนด์เข้าไปอย่างรวดเร็ว เป็นครั้งแรกที่โลกได้เห็นสงครามสายฟ้าแลบ (Blitzkeieg) ที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดนำ ตามด้วยยานเกราะและทหารราบ เข้าบดขยี้หน่วยทหารโปแลนด์ที่เสียขวัญ จากการทิ้งระเบิดของเครื่องบิน

วันที่ 2 กันยายน อังกฤษและฝรั่งเศส ในฐานะประเทศพันธมิตรของโปแลนด์ ยื่นคำขาดต่อฝ่ายเยอรมัน ให้ถอนทหารออกจากโปแลนด์ แต่ฮิตเลอร์ปฏิเสธ วันที่ 3 กันยายน 1939 ฝรั่งเศสและอังกฤษ ประกาศสงครามกับเยอรมัน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อจากนี้ไป โลกจะนองไปด้วยเลือดและน้ำตา อีกเป็นเวลากว่า 5 ปี



ทหารเยอรมัน กำลังรุกเข้าสู่โปแลนด์ ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 39 โดยกองทัพเยอรมันแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ กลุ่มกองทัพเหนือ (Army Group North) รุกลงใต้จาก Pomerania และจากปรัสเซียตะวันออก และ กลุ่มกองทัพใต้ (Army Group South) รุกเข้าไปทางชายแดนด้านตะวันตกของโปแลนด์ ภายในเวลาสองวัน กองทัพอากาศเยอรมันก็สามารถครองน่านฟ้าเหนือโปแลนด์ได้



กองทหารโปแลนด์ถูกเยอรมันรุกแบบสายฟ้าแลบ คือ ทิ้งระเบิดด้วยเครื่องบิน และใช้ยานเกราะที่มีความเร็วสูงตีเจาะแนวตั้งรับ เมื่อเจาะเข้าไปได้แล้ว รถถังจะโอบหลังหน่วยทหารโปแลนด์ ทำให้เกิดวงล้อมเล็กๆขึ้น ภายในวงล้อมใหญ่ จากนั้นทหารราบเยอรมันจะทำการกวาดล้างทหารโปแลนด์ที่อยู่ในวงล้อมนั้นๆ จนกระทั่งวันที่ 14 กันยายน วงล้อมต่างๆ ก็ถูกกวาดล้างจนเกือบจะหมดสิ้น และวันที่ 27 กันยายน โปแลนด์ก็ยอมแพ้ในที่สุด

การใช้ความเร็วเข้าพิชิตโปแลนด์นั้น สาเหตุหนึ่งเพื่อลดการสูญเสียของทหารเยอรมัน แต่อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ฮิตเลอร์เกรงว่า ฝรั่งเศสซึ่งประกาศสงครามกับเยอรมันในฐานะพันธมิตรของโปแลนด์ จะรุกเข้ามาทางชายแดนด้านตะวันตกของเยอรมัน เพราะในฝรั่งเศสมีทหารอังกฤษประจำการอยู่ถึง 150,000 คนประจำการอยู่ตามแนวชายแดนเบลเยี่ยม ส่วนกองพลของฝรั่งเศส 43 กองพล ซึ่งถือเป็นกำลังส่วนใหญ่ประจำอยู่หลังแนวมายิโนต์ (Maginot)



ทหารเยอรมันกำลังสวนสนาม ประกาศชัยชนะบนถนนกลางกรุงวอร์ซอร์ ในวันที่ 5 ตุลาคม 1939 ภายหลังการเข้ายึดครองประเทศโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ เมื่อโปแลนด์ประกาศยอมแพ้ในวันที่ 27 กันยายน 1939 โปรดสังเกตุหน่วยทหารรักษาความปลอดภัย ตามแนวถนน ที่เห็นอยู่ด้านหลัง จะเห็นว่ามีการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดมาก เนื่องมาจากสองสาเหตุคือ การสวนสนามในครั้งนี้ อดอฟ ฮิตเลอร์เดินทางมาร่วมงานประกาศชัยชนะ และสาเหตุที่สองคือ การต่อต้านของฝ่ายโปแลนด์ ยังไม่หมดลงอย่างสิ้นซาก แม้กระทั่งในวันสวนสนามนี้ กลุ่มต่อต้านของโปแลนด์เพิ่งจะถูกกวาดล้างจากบริเวณ Kock ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงวอร์ซอร์

สงครามครั้งนี้ ชาวโปแลนด์ทั้งทหารและพลเรือนเสียชีวิตกว่า 66,000 คน บาดเจ็บ 200,000 คน ถูกจับเป็นเชลย 700,000 คน ฝ่ายเยอรมันสูญเสียน้อยกว่ามาก โดยมีผู้เสียชีวิต 10,500 คน และบาดเจ็บ 30,300 คน

อย่างไรก็ตาม ฝันร้ายของชาวโปแลนด์เพิ่งจะเริ่มต้น เพราะต่อจากนี้ไปอีก 5 ปีแห่งการยึดครอง ชาวโปแลนด์จะถูกปฏิบัติเยี่ยงทาส เพราะแนวความคิดของนาซีเยอรมันที่มีต่อชาวโปแลนด์ คือชนชาติชั้นทาส (a slave nation) ดังนั้นการยึดครองโปแลนด์จึงไม่ใช่แค่การยึดครองแต่เพียงดินแดน หากแต่ต้องการทำลายเอกลักษณ์ของชาติโปแลนด์อย่างสิ้นเชิงอีกด้วย ภาพการสวนสนามที่เห็นนี้ นาซีเยอรมันใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเรียกว่า การโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเข็มแข็งของทหารเยอรมัน ซึ่งผลจากการเผยแพร่ภาพเหล่านี้ ทำให้ประเทศต่างๆ เกิดความเกรงกลัวศักยภาพของนาซีเยอรมันเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามคงไม่มีใครปฏิเสธว่า ตามความเป็นจริงแล้ว กองทัพนาซีเยอรมันในขณะนั้น นับเป็นกองทัพที่มีความเข้มแข็งที่สุดกองทัพหนึ่งของโลก

ภายหลังที่พิชิตโปแลนด์แล้ว ฮิตเลอร์ก็มองต่อไปที่นอร์เวย์ ในฐานะที่จะใช้เป็นฐานของกองทัพอากาศ ส่งเครื่องบินเข้าโจมตีเกาะอังกฤษ 4 เมษายน 1940 เยอรมันก็บุกนอรเวย์ เมืองท่านาร์วิก (Narvik) ถูกยึดในวันที่ 9 เมษายน อังกฤษและฝรั่งเศสส่งกำลังเข้าตอบโต้ แต่ไม่เป็นผล กำลังพันธมิตรที่ยกพลขึ้นบกที่ Trondheim ถูกทหารเยอรมันกวาดล้างจนต้องถอยกลับไป

ในวันที่ 28 พฤษภาคม พันธมิตรยึดเมืองนาร์วิกได้ แต่ก็ถอยกลับไปอีก การรุกของพันธมิตร แม้จะทำความเสียหายให้กองทัพเรือเยอรมันอย่างหนัก แต่เยอรมันก็รุกเข้ากรุงออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์ ท่ามกลางการต่อต้านอย่างเหนียวแน่น แต่ไม่นานออสโลก็ยอมแพ้



วันที่ 14 พฤษภาคม 1940 กองทัพเยอรมันก็รุกข้ามแม่น้ำเมิร์ส (Meuse) ที่เมืองซีดาน (Sedan) ล้อมทหารอังกฤษและฝรั่งเศส ที่อยู่ในเบลเยี่ยมและฝรั่งเศสตอนเหนือ วันที่ 20 พฤษภาคม รถถังของเยอรมันก็รุกถึงช่องแคบอังกฤษ ทหารอังกฤษ ฝรั่งเศสกว่า 338,000 คน ในจำนวนนี้เป็นทหารอังกฤษ 225,000 คน ก็ไปจนมุมที่ดังเคิร์ก (Dankirk) และล่าถอยกลับเกาะอังกฤษ ปล่อยให้เยอรมันกวาดล้าง ทหารฝรั่งเศสที่หลงเหลืออยู่บนแผ่นดินใหญ่จนหมดสิ้น ในวันที่ 22 พฤษภาคม ฝรั่งเศสก็ยอมแพ้

อีกสี่วันต่อมา การต่อต้านของทหารฝรั่งเศสก็ยุติลงอย่างสิ้นเชิง ยุโรปตกเป็นของฮิตเลอร์อย่างสิ้นเชิง เป้าหมายของเขาต่อไปก็คือ เกาะอังกฤษ ซึ่งเขาสั่งเปิดยุทธการสิงโตทะเล (Sealion) ในวันที่ 10 กรกฎาคม 1940 โดยกองทัพอากาศเยอรมัน รับหน้าที่ทำลายกำลังทางอากาศ และภาคพื้นดินของอังกฤษด้วยการโจมตีทางอากาศอย่างหนัก

การรบรุนแรงมากที่สุดในช่วงกลางเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะวันที่ 15 สิงหาคม เยอรมันโจมตีอย่างหนัก และสูญเสียเครื่องบินถึง 72 ลำ จนวันนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าวันพฤหัสดำ (Black Thursday) ความสูญเสียของเยอรมันมีมากจนฮิตเลอร์ต้องสั่งเลื่อนยุทธการ สิงโตทะเลออกไปอย่างไม่มีกำหนด เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1940



เครื่องบิน Ju 87 สตูก้า (Stuka) ของเยอรมัน เป็นเครื่องบินดำทิ้งระเบิด ซึ่งมีบทบาทมาก ในช่วงต้นของสงคราม โดยทำหน้าที่ทิ้งระเบิดที่มั่นของทหารโปแลนด์ เบลเยี่ยม อังกฤษ และฝรั่งเศส จนเป็นเหตุให้แนวตั้งรับของพันธมิตรแตกลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรบในฝรั่งเศส ในภาพจะเห็นตอนหัวของเครื่องใกล้กับใบพัด มีไซเรนสีขาวติดอยู่ เพื่อทำให้เกิดเสียงแหลมขณะเครื่องดำดิ่งลงสู่เป้าหมาย เป็นการทำลายขวัญของทหารฝ่ายตรงข้าม

จุดอ่อนของเครื่องบินชนิดนี้ก็คือ เมื่อดำลงไปทิ้งระเบิดแล้ว ขณะที่นักบินเชิดหัวเครื่องขึ้น ในช่วงนี้เครื่องบินจะตกเป็นเป้านิ่งของเครื่องบินข้าศึกได้ง่าย ในการโจมตีเกาะอังกฤษของฮิตเลอร์ ตามแผนยุทธการสิงโตทะเล (Sealion) ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม1940 เครื่องบินชนิดนี้ ประสบกับความสูญเสียจาก เครื่องบินขับไล่ ของอังกฤษเป็นอย่างมาก จนต้องถอนกำลังออกมา ภายหลังเครื่องบินสตูก้านี้ ได้รับการปรับปรุงให้เป็นเครื่องบินทำลายรถถัง (tank buster) ในแนวรบด้านรัสเซีย

ภายหลังยกเลิกยุทธการสิงโตทะเลในการบุกเกาะอังกฤษแล้ว ฮิตเลอร์เตรียมบุกรัสเซีย แต่ก็ต้องส่งกำลังเข้าบุกยูโกสลาเวียใน 6 เมษายน 1941 และกรีซ (Greece) ก่อน เพราะรัฐบาลยูโกสลาเวียที่เป็นฝ่ายเยอรมันถูกโค่นล้ม โดยฝ่ายปฏิวัติที่สนับสนุนโดยทหารอังกฤษที่กรีซ ซึ่งทำให้แผนการบุกรัสเซียต้องล่าช้าออกไป

เยอรมันใช้เวลาเพียง 10 วันในการยึดยูโกสลาเวีย และใช้เวลากว่าสองสัปดาห์ ยึดกรีซได้สำเร็จ ทหารอังกฤษกว่า 18,000 คนในกรีซถอยไปตั้งมั่นอยู่ที่เกาะครีต (Crete)

ฮิตเลอร์ส่งกำลังพลร่ม หรือ ฟอลชริม เจกอร์ (Fallschirmjager) เข้าโจมตีเกาะครีต เป็นการปฏิบัติการส่งทางอากาศครั้งยิ่งใหญ่ของเยอรมัน ซึ่งแม้เยอรมันจะยึดเกาะครีตได้สำเร็จ ในปลายเดือนพฤษภาคม แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก โดยมีทหารพลร่มเยอรมันเสียชีวิตและบาดเจ็บถึงกว่า 10,000 คน และนับจากยุทธการที่เกาะครีต ฮิตเลอร์ก็ไม่เคยสั่งใช้กำลังพลร่มในการโจมตีใหญ่ๆ อีกเลย

หลังจากต้องเสียเวลาในการจัดการกับประเทศในบอลข่านแล้ว ฮิตเลอร์ก็เปิดฉากบุกรัสเซียในเวลา 03.30 รุ่งอรุณของวันที่ 22 มิถุนายน 1941 ในยุทธการบาร์บารอสซ่า เป็นเวลา 129 ปี หลังจากที่นโปเลียนโบนาปาร์ต จักรพรรดิ์แห่งฝรั่งเศส บุกรัสเซียเมื่อปี 1812 ทหารเยอรมันกว่าสามล้านคน รถถัง 3,580 คัน ปืนใหญ่ 7,184 กระบอก เครื่องบินกว่า 2,000 ลำ กำลังมุ่งหน้าเข้าไปสู่หล่มแห่งความหายนะครั้งยิ่งใหญ่ของอาณาจักรไรซ์ที่สาม ของฮิตเลอร์



แผนที่ยุโรป ในปี 1942 ซึ่งฮิตเลอร์ได้เข้าครอบครองยุโรปเกือบทั้งหมด

สีน้ำตาลอ่อนนั้นคือดินแดนในครอบครองของเยอรมัน จะเห็นว่าฝรั่งเศสแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนที่เยอรมันครอบครอง และส่วนที่ไม่ได้ครอบครอง (Unoccupied Zone) แต่ปกครองโดยรัฐบาลหุ่นของเยอรมัน โดยจอมพลวิซี่

สีน้ำตาลเข้ม คือฝ่ายอักษะ ซึ่งเป็นพันธมิตรของเยอรมัน มีทั้ง อิตาลี ฮังการี โรมาเนีย บัลกาเรีย ฟินแลนด์

สีขาวคือ ประเทศเป็นกลาง มี สวิตเซอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และไอร์แลนด์ สเปนเป็นประเทศที่ฮิตเลอร์ผิดหวังมาก เพราะก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเลอร์ส่งกำลังเข้าไปช่วยในสงครามกลางเมือง แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น รัฐบาลสเปนกลับวางตัวเป็นกลาง แทนที่จะเข้าร่วมกับเยอรมัน

สีเขียวคือฝ่ายพันธมิตร มีอังกฤษ และรัสเซีย



Create Date : 22 พฤษภาคม 2552
Last Update : 25 มิถุนายน 2556 11:16:50 น.
Counter : 15755 Pageviews.

13 comments
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
หนังสือและอุปกรณ์การเรียนสำหรับเด็ก ป.1 ของโรงเรียนประถมที่ญี่ปุ่น SN_monchan
(7 เม.ย. 2567 05:39:08 น.)
โรงงานผลิตอาหารเสริมผู้ชาย ตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้คุณภาพ สมาชิกหมายเลข 7213059
(3 เม.ย. 2567 00:10:02 น.)
9 แนวคิดที่ทำให้เรามีชีวิตประจำวันที่ดีกว่าเดิม peaceplay
(31 มี.ค. 2567 09:18:27 น.)
  
เยี่ยมครับ เยี่ยมๆๆๆๆๆๆๆ
โดย: เอ็ม IP: 58.147.26.106 วันที่: 1 มิถุนายน 2552 เวลา:15:57:39 น.
  
ชอบมาก เพิ่งเข้ามาอ่านครับ
โดย: 123 IP: 203.131.217.37 วันที่: 17 มิถุนายน 2552 เวลา:20:54:06 น.
  
ได้ความรู้มาก ๆ เลยครับ

ขอบคุณครับ
โดย: ลูกทุ่งคนยาก วันที่: 5 สิงหาคม 2552 เวลา:14:00:46 น.
  
ขอบคุณครับ
โดย: โต้ง IP: 192.168.20.145, 202.28.84.49 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:14:31:42 น.
  
whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him
โดย: da IP: 124.122.247.144 วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:22:32:12 น.
  
123
โดย: 123 IP: 61.90.122.155 วันที่: 8 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:00:39 น.
  
เยี่ยม ๆๆ มากๆๆคร๊
โดย: 123 IP: 61.90.122.155 วันที่: 8 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:01:22 น.
  
เพิ่งมาเจอ WEB นี้
อ่านได้ความรู้ประวัติติศาสตร์ และมีภาพประกอบน่าสนใจมากครับ
ขอบคุณมาครับ
โดย: ภาคภูมิ IP: 124.121.186.34 วันที่: 16 เมษายน 2554 เวลา:21:03:21 น.
  
เยี่ยมจรืงๆ หลังเกษียณได้มีเวลาหาความรู้ ขอบคุณมากค่ะที่มีเผยแพร่ความรู้ประวัติศาสตร์
โดย: วนาเทวี1 IP: 110.49.233.206 วันที่: 2 มิถุนายน 2555 เวลา:13:27:14 น.
  
ขอบคุณครับ
โดย: panda IP: 110.171.40.98 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:22:32:27 น.
  
ฝ่ายสัมพันธมิตร เริ่ีมแรกมี อังกฤษ ฝรั่งเศษ และรัสเซียครับ
ไม่มีอิตตาลี ส่วนอเมริกานั้นแรกเริ่มวางตัวเป็นกลาง เข้าร่วมสงครามหลังจากถูกญี่ปุ่นโจมตีที่เพอร์ฮาเบิล อิตตาลีนั้นเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ที่มี เยรมัน ญี่ปุ่น และ อิตตาลี ข้อมูลผิดพลาดนะครับ
โดย: Lt.McRyan IP: 171.5.192.58 วันที่: 17 ตุลาคม 2556 เวลา:7:10:14 น.
  
เรียนคุณ Lt.McRyan

ในย่อหน้าแรกที่เขียนว่า "อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษและสหรัฐฯ เป็นฝ่ายพันธมิตร" นั้น หมายถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งครับ ไม่ใช่สงครามโลกครั้งที่สอง

ผมเขียนว่า สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลง พันธมิตรในขณะนั้น (หมายถึงพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) คือ อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษและสหรัฐฯ ร่วมกันร่างสนธิสัญญาแวร์ซายส์

ข้อมูลถูกต้องแล้วครับ .. รบกวนอ่านอีกครั้งนะครับ

unmoknight
โดย: unmoknight (unmoknight ) วันที่: 22 ตุลาคม 2556 เวลา:14:41:17 น.
  
มีคำถามครับ
เยอรมันเกณฑ์ทหารฝีมือดีๆเยอะๆมาจากไหนครับ? ในเมื่อสนธิสัญญาแวร์ซายด์จำกัดจำนวนทหารเยอรมันไว้ แต่ในเวลาเพียงไม่กี่ปีหลังฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายด์ เยอรมันก็ยึดทั่วยุโรปได้อย่างง่ายดาย หรือที่มีทหารเก่ง+เยอะเพราะคนเยอรมันส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าตัวเองไม่ได้แพ้ในสงครามครั้งก่อนแต่เป็นเพราะตำนานแทงข้างหลัง? หรือว่าเพราะสนธิสัญญาโมโลตอฟเบนิทอฟที่ทำให้ชาติอื่นๆไม่ชอบรัสเซียที่ยึดดินแดนไปและหันเข้ามาเป็นพันธมิตรกับเยอรมันและสมัครเข้ากองทัพเยอรมันครับ?
โดย: peaceable IP: 202.28.7.91 วันที่: 29 มีนาคม 2557 เวลา:21:42:23 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Vuw.BlogGang.com

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]

บทความทั้งหมด