รายละเอียดของศีลข้อที่ 5 ห้ามดื่มสุรา กลับไปอ่านเรื่องของศีลข้อที่ 1 และทัศนคติของผมต่อการกินเนื้อสัตว์ กลับไปอ่านเรื่องของศีลข้อที่ 2 ห้ามลักขโมย กลับไปอ่านรายละเอียดของศีลข้อที่ 3 เรื่องกาเมสุมิจฉาจาร กลับไปอ่านรายละเอียดของศีลข้อที่ 4 ห้ามพูดโกหก สุรา มีที่ทำจากแป้ง ทำจากขนม ทำจากข้าวสุก ทำจากแป้งเหล้า ทำจากเครื่องปรุงต่างๆ มีของเผ็ดร้อน เป็นต้น เมรัย มีที่ทำด้วยดอกไม้ ทำด้วยผลไม้ ทำด้วยผลจันทร์ ทำด้วยน้ำอ้อย ทำด้วยเครื่องปรุงทั้งหลาย มีสมอ เป็นต้น องค์ประกอบของการดื่มสุรา มี 4 ประการดังนี้ 1. เป็นน้ำเมา 2. มีเจตนาจะดื่ม 3. กระทำการดื่ม 4. น้ำเมานั้นล่วงลำคอลงไป เมื่อครบองค์ประกอบ 4 ประการนี้แล้ว ศีลก็ขาด ข้อนี้จะสังเกตได้ว่า แม้ว่าสุราจะยังไม่ทันออกฤทธิ์ ศีลก็ขาดไปแล้วครับ ผลที่จะได้รับทันทีคือ 1. ทรัพย์ถูกทำลาย 2. เกิดวิวาทบาดหมาง 3. เป็นบ่อเกิดแห่งโรค 4. เสื่อมเกียรติ 5. หมดยางอาย 6. ปัญญาเสื่อมถอย หรือพิการทางปัญญา ผลที่จะได้รับในอนาคตในรูปของวิบากกรรมคือ อาจจะได้เกิดในนรก นายนิรยบาลจะกรอกด้วยน้ำทองแดงทำให้ไส้พุงขาดกระจัดกระจาย ตายแล้วก็จะกลับฟื้นขึ้นมาเสวยทุกขเวทนาต่อ หรือเกิดเป็นดิรัจฉาน เปรตวิสัย แต่หากได้เกิดเป็นมนุษย์ อาจจะได้เป็นคนบ้า คนใบ้ เสียจริตผิดจากมนุษย์ทั้งหลาย รักษาศีลข้อที่ 5 แล้วได้อะไร อาจจะได้เกิดในสุคติภูมิ หรือบนสวรรค์ แต่หากได้เกิดเป็นมนุษย์ จะได้รับผล 35 ประการคือ *รู้กิจการ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้รวดเร็ว *มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ *มีปัญญาดี มีความรู้มาก *มีแต่ความสุข *มีแต่คนนับถือยำเกรง *มีความขวนขวายน้อย หากินง่าย *มีปัญญามาก *มีปัญญาบันเทิงในธรรม *มีความเห็นถูกทาง *มีศีลบริสุทธิ์ *มีใจละอายแก่บาป* รู้จักกลับบาป *เป็นบัณฑิต *มีความกตัญญู *มีกตเวที *พูดแต่คำสัตย์ *รู้จักเฉลี่ยเจือจาน *ซื่อตรง *ไม่เป็นบ้า *ไม่เป็นใบ้ *ไม่มัวเมา *ไม่ประมาท *ไม่หลงใหล *ไม่หวาดสะดุ้งกลัว *ไม่บ้าน้ำลาย *ไม่งุนงง ไม่เซ่อเซอะ *ไม่มีความแข่งดี *ไม่มีใครริษยา *ไม่ส่อเสียดใคร และไม่มีใครส่อเสียด *ไม่พูดคำหยาบ และไม่มีใครพูดคำหยาบด้วย *ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์ *ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน *ไม่ตระหนี่ *ไม่โกรธง่าย *ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และในสิ่งที่เป็นโทษ เหตุการณ์ดื่มสุราของภิกษุสมัยพุทธกาล พระสาคตะเดินทางไปตำบลบ้านรั้วงาม ท่ามะม่วง จะถูกพญานาคพ่นพิษใส่ พระสาคตะจึงเข้าเตโชสมาบัติ บัลดาลไฟต้านทานไว้ นาคสู้จนหมดฤทธิ์จึงยอมแพ้ ชาวบ้านรู้ว่าพระสาคตะปราบนาคร้ายได้ จึงเลื่อมใสจะหาของที่ถูกใจมาถวาย ได้ไปสอบถามกับพระรูปอื่นว่า อะไรเป็นของหายากที่ท่านชอบ (สาเหตุที่ไปถามกับพระรูปอื่น คงเพราะเพื่อให้เป็นเซอร์ไพร์แก่พระสาคตะ) แต่พระรูปนั้นไม่ค่อยจะดีนัก ได้บอกไปว่า พระสาคตะท่านชอบสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ ชาวบ้านจึงหามา เมื่อพระสาคตะผ่านมาชาวบ้านได้นิมนต์พระสาคตะเข้าไปฉันสุรา ในหลายๆครัวเรือนได้นิมนต์ท่านเข้าไปฉันสุราทั้งนั้น จนท่านเมาไม่ได้สติ ล้มกลิ้งอยู่หน้าประตูเมืองโกสัมพี ขณะนั้น พระพุทธองค์เสด็จมาถึง เห็นพระสาคตะนอนอยู่ จึงทรงให้หมู่ภิกษุช่วยกันหามพระสาคตะไปสู่อาราม ให้นอนหันศีรษะไปทางพระพุทธเจ้า แต่พระสาคตะได้พลิกกลับเอาเท้าไปทางพระพุทธองค์ พระพุทธองค์รับสั่งถามพวกภิกษุว่า ภิกษุทั้งหลาย แต่เดิมพระสาคตะมีความเคารพยำเกรงในพระตถาคตหรือไม่ ใช่พระพุทธเจ้าข้า แล้วในตอนนี้ พระสาคตะยังมีความเคารพยำเกรงในพระตถาคตอยู่หรือไม่ ข้อนั้นไม่เลยพระเจ้าข้า "ภิกษุทั้งหลาย! สาคตะได้ต่อสู้จนชนะนาคร้าย ที่ท่ามะม่วงมามิใช่หรือ ? "ชนะมาแล้วพระพุทธเจ้าข้า" "ภิกษุทั้งหลาย! แล้วเดี๋ยวนี้สาคตะจะสู้แม้เพียงกับงูน้ำได้หรือไม่ ?" "ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า" "ภิกษุทั้งหลาย! น้ำที่คนดื่มเข้าไปแล้วทำให้ขาดสตินั้น สมควรจะดื่มหรือไม่ ?" "ไม่ควรดื่ม พระพุทธเจ้าข้า" ทรงตำหนิการกระทำของพระสาคตะ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้ภิกษุดื่มสุราและเมรัย หากภิกษุดื่มเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน. อย่างไรก็ดี อาบัติปาจิตตีย์ ก็คืออาบัติอย่างเบาอย่างหนึ่ง ไม่ใช่อาบัติอย่างหนักถึงขั้นต้องสึก ดังนั้น ข่าวการจับพระที่ดื่มเหล้าให้สึกนั้น จึงเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องครับ แต่อย่างไรก็ดี พระที่สึกนั้นยังมีสิทธิ์กลับมาบวชใหม่ได้อีกครับ ถูกต้อง
สุรา ของมึนเมาที่มาจากการกลั่น เมรัย ของมึนเมาที่การหมัก ศีล คือ ปกติที่ยอมรับ ถ้าในสังคมทำสิ่งหนึ่งได้ไม่ผิด แต่ถ้าไปทำในสิ่งเดียวกันที่สังคมอื่นไม่ยอมรับก็ผิด ศีล จึงขึ้นอยู่กลับสังคม คิดว่าพรรณนั้น ขอบคุณที่นำธรรมมาฝาก จ๊ะ โดย: บ้าได้ถ้วย
![]() ตอนนี้กำลังเริ่มเรียนเตภูมิกถาอยู่ครับ เนื้อหาเยอะมากๆ ภาพรวมคือ ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
โดย: ดนย์
![]() เมื่อวานไม่มีเจตนาจะดื่มครับ
เดินออกมาจากโต๊ะกินข้าว มาเข้าห้อง ...น้ำ ก็นึกได้ว่าในกลุ่มนั้นกินเหล้ากันเกือบทุกคน เราจะต้องถูกแกล้ง แน่ ๆ ซึ่งก็เป็นจริง มีคนแกล้ง เอาเหล้ามารินใส่แก้วน้ำ(เป๊บซี่) ผมก็ทำใจครับ ... คิดว่าก็ต้องกินไป เพื่อไม่ให้ใครผิดสังเกตุ และก็อธิฐานก่อนว่า น้ำนี้เรารู้ชัดว่าเป็นสุรา แต่เราไม่มีเจตนาดื่ม หากศีลอันเราสร้างมาดีแล้ว ขอให้เหล้านี้จงเป็นดั่งน้ำเปล่า เราจะไม่ติดใจในรสของมัน หมดแก้วนี้แล้วก็จบกัน ไม่มีแก้วอื่นอีก กลับมาบ้านก็ต้องล้วงคอ อาเจียนมันออกมา จนแสบท้องไปหมด ก่อนที่จะกินอาหารอย่างอื่นเข้าไปได้ *อยู่ในสังคมแบบนี้ ลำบากพอควรครับ จนกว่าจะหมดเวรกัน นั่นแหละ... ![]() โดย: อัสติสะ
![]() ขอบคุณมากนะค่ะ สำหรับความรู้ที่ได้รับ ขอบคุณจร้าาาา
โดย: ฟิล์มจร้า IP: 171.99.98.148 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2555 เวลา:22:37:11 น.
|
บทความทั้งหมด
|
คำว่า "ศีลธรรม" ในความเข้าใจของผม คงแยกออกเป็น
"ศีล" ผมคิดว่าหมายถึงเส้น ที่แบ่งระหว่างกุศลและอกุศลเอาไว้อย่างชัดเจน เป็นเส้นคมๆ มีอยู่แล้วในธรรมชาติ พระพุทธองค์กล่าวถึงศีลตามความเป็นจริง โดยมิได้กล่าวให้เส้นนั้นใกล้เกินจริงเพื่อความเคร่ง หรือกล่าวให้ไกลเกินจริงเพื่อความหย่อน เพราะการกล่าวให้ความจริงเคลื่อนไปจะเป็นการมุสา และการได้รับรู้ระดับของศีลตามความเป็นจริง ผู้เคร่งประสงค์ที่จะเคร่งมากหรือน้อยก็เป็นความคิดส่วนตัวของผู้นั้นครับ
ส่วน "ธรรม" ผมคิดว่าเป็นเรื่องของระดับ คือ เมื่อผิดศีลแล้วมีระดับความบาปมากน้อยเพียงไร คือ อยู่ไกลเส้นไปมากเท่าไร