ระหว่างนิพพานกับนิทาน

121   นิพพานก็นิพพาน  นิทานก็นิทาน คนละความหมายกัน 

     ลักษณะสำคัญของนิพพาน   ที่สืบเนื่องมาจากความหมายว่า "ดับ"  ซึ่งนับว่าเด่นน่าสนใจ มีอยู่ ๓ อย่าง คือ

          ๑. ดับอวิชชา    หมายถึง   การเกิดญาณทัศนะอันสูงสุด หยั่งรู้สัจธรรม

          ๒. ดับกิเลส    หมายถึง   กำจัดความชั่วร้าย และของเสียต่างๆ ภายในจิตใจ หมดเหตุที่จะก่อปัญหาความเดือดร้อนวุ่นวายต่างๆ แก่ชีวิตและสังคม

          ๓. ดับทุกข์     หมายถึง   หมดความทุกข์  บรรลุความสุขอันสูงสุด


 


  เรียน   ชาวพุทธ   ขอให้พวกท่านใจเย็นๆ   และทบทวนข้อความที่ดิฉันจะเขียน   ตกลง!! มันจริงหรือเท็จ?

    1. สมมติว่า  มีการเวียนว่ายตายเกิด  อัลเลาะห์จะให้ใครเกิด   ผู้นั้นก็ต้องเกิด  ยังไงคนที่อ้างว่าตนเองนิพพานแล้วนั้นก็ต้องเกิดอีก

    2. สมมติว่า   มีนิพพาน   พวกเทวดาก็ควรจะนิพพานก่อนมนุษย์  เพราะพวกเขามีคุณธรรม มีศีลธรรมมากกว่ามนุษย์

    3. เป็นแค่มนุษย์ควรรู้จักที่ต่ำที่สูง   แค่นั่งสมาธิได้   แล้วมาอวดเก่ง  อวดดี   ยกตนว่าดีเลิศประเสริฐสุด   หลงว่าตนเองดีเลิศกว่าเทวดานั้น   มันไม่สมควรเลย

    4. เมื่อไม่อยากเกิด   ไม่อยากมีตัวตน ณ.ที่แห่งใดเลย   เมื่อรับโทษในนรกหมดแล้ว  อัลเลาะห์ก็จะให้ผู้นั้นไม่มีตัวตนก็ได้  ไม่จำเป็นต้องนิพพาน

    5. แต่ถ้าให้เรา   มีตัวตนแบบเทวดา มีสุขนิรันดร์  นั่นมันไม่ดีกว่านิพพานหรือ?

    6. แท้จริงนิพพานคือฝันลมแล้งๆ มโนขึ้นเองของคนอินเดียชื่อ นาย สิทธัตถะ

    7. ผู้ที่ให้เกิดให้ตายคืออัลเลาะห์พระผู้สูงสุด  และพระผู้ควบคุมสรรพสิ่ง

    8. อัลเลาะห์  คือ พระผู้เป็นเจ้าของเราที่แท้จริง

 ดังนั้น .... เราอย่าตั้งผู้ใดในหมู่มนุษย์ขึ้นเทียบเคียง

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1202138073995558&set=gm.1263175090938958&idorvanity=800582937198178

https://www.facebook.com/photo/?fbid=371117365574771&set=gm.1803920793371402&idorvanity=238431716586992



เมื่อไก่ขันให้รีบขอดุอา อ.ยูซุฟ พงกาวี

https://www.facebook.com/557979141/videos/516849977303083?idorvanity=800582937198178

ส่วนชีวิตเกษตรกรไทยชนบทในอดีต 450 รุ่งสางได้ยินเสียงไก่ขัน ? 

https://www.facebook.com/watch/?v=580968105807496

ดุอา

https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/22943

ตีเป็นวัวเป็นควาย

https://www.facebook.com/100088066071173/videos/1096056164701960?idorvanity=663909027808154

พิธีกรรม

https://www.facebook.com/watch?v=270260748933595


235 มรรคหรือหนทางที่ที่จิตจะเดินไปสู่นิพพาน มี 9 ขั้น คือ 

  วิปัสสนาญาณ 9 ได้แก่

     1. อุทยัพพยานุปัสสนา หรือเรียกสั้นๆว่า อุทยัพพยญาณ  ญาณอันตามเห็นความเกิด-ดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้น และความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน   เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง  ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้  ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร  หยั่งทราบว่า  สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น  ครั้นแล้ว  ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด  เมื่อเกิดการรับรู้ หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม และตัวรู้ หรือ ผู้รู้ที่เกิดขึ้น แล้วทั้งรูปธรรม นามธรรม และตัวรู้นั้น ก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้

     2. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นๆว่า ภังคญาณ  ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิด-ดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้าๆ ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัด ในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด

     3. ภยตูปัฏฐานญาณ   เรียกสั้นว่าภยญาณ  ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

     4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ  เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

     5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่านิพพิทาญาณ  ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ

     6. มุญจิตุกัมยตาญาณ  ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น

     7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือปฏิสังขาญาณ  ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

     8. สังขารุเปกขาญาณ   ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป  ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้น ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร

     9. สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ  ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ  ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป  เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

 



Create Date : 22 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2567 20:31:12 น.
Counter : 203 Pageviews.

0 comments
: ถามตะวัน จันทราตอบ : กะว่าก๋า
(20 เม.ย. 2567 06:10:27 น.)
봄 처녀(Virgin spring) by 홍난파(NanPa Hong) ปรศุราม
(17 เม.ย. 2567 10:09:12 น.)
อยาก อยากได้ กฎที่ถูกที่ดี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 05:37:27 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 34 : กะว่าก๋า
(12 เม.ย. 2567 05:52:40 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด