ยุ่งเป็นลิงแก้แห
 

ดินแดนมิคสัญญี  พันกันยุ่งนุงนัง ดังลิงแก้แห ยิ่งแก้ยิ่งติด  ทำนองติดกระดุมเม็ดแรกผิด  
 


 


ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ฉบับรวบรัด

• เนื้อหาในบทความนี้ จะนำเสนอในรูปแบบของไทม์ไลน์เวลา ดังนั้นในบางเหตุการณ์ที่มีความละเอียดซับซ้อน อาจจะไม่ได้ปรากฏอยู่ในไทม์ไลน์นี้

- เนื้อหาจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ภาคหลักคือ
ภาค I ประวัติศาสตร์อิสราเอลแบบคร่าว ๆ
ภาค II กำเนิดรัฐอิสราเอล
ภาค III ความขัดแย้งจนถึงปัจจุบัน

ภาค I ประวัติศาสตร์อิสราเอลแบบคร่าว ๆ

ราว 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล

อับราฮัม (Abraham) นำชาวฮีบรู (Hebrew)  เดินทางอพยพจากดินแดนเมโสโปเตเมียเข้ามาในดินแดนคานาอัน (Canaan) หรือ ดินแดนแห่งพันธสัญญา (Promise Land) ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้กับชาวฮีบรู

ราว 1,500 ปี ก่อนคริสตกาล

ภัยพิบัติทางธรรมชาติทำให้ชาวฮีบรูตัดสินละทิ้งดินแดนคานาอันและอพยพไปยังอียิปต์ แต่พวกเขาก็ได้กลายเป็นทาสที่อียิปต์ยาวนานหลายร้อยปี

ราว 1,300 ปี ก่อนคริสตกาล

โมเสส (Moses) ได้ช่วยเหลือ และอพยพชาวฮีบรูออกจากอียิปต์ เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างเอ็กโซดัส (Exodus) ที่โมเสสได้แยกทะเลแดงเพื่อให้ชาวฮีบรูสามารถหลบหนีจากทหารอียิปต์ รวมไปถึงเหตุการณ์ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments) เพื่อให้โมเสสใช้สั่งสอนแก่ชาวฮีบรู

เมื่อชาวฮีบรูอพยพมาถึงดินแดนคานาอัน ปรากฏว่าในขณะนั้นดินแดนคานาอันได้ตกเป็นของชาวฟิลิสไตน์ (Philistine) ซึ่งชื่อฟิลิสไตน์ก็เป็นที่มาของคำว่า "ปาเลสไตน์" (Palestine) ด้วยเหตุนี้ชาวฮีบรูจึงต้องทำสงครามกับชาวฟิลิสไตน์เพื่อแย่งชิงดินแดนคานาอัน

ราว 1,020 ปี ก่อนคริสตกาล

ซาอูล (Saul) ผู้นำของชาวฮีบรูได้ถูกเลือกให้เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของชาวฮีบรู

ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กหนุ่มนามว่า เดวิด (David) ก็ได้สร้างวีรกรรมในการสังหารแม่ทัพโกไลแอธ (Goliath) ของฟิลิสไตน์ จนเป็นที่เลื่องลือของชาวฮีบรู

ราว 1,010 ปี ก่อนคริสตกาล

ซาอูลสิ้นพระชนม์ ชาวฮีบรูได้เลือกเดวิดเป็นกษัตริย์ สถาปนาอาณาจักรอิสราเอล (Kingdom of Israel) โดยมีกรุงเยรูซาเล็ม (Jerusalem) เป็นเมืองหลวง ชาวฮีบรูเอาชนะชาวฟิลิสไตน์ได้อย่างเด็ดขาด


970 ถึง 931 ปี ก่อนคริสตกาล

อาณาจักรอิสราเอลรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของกษัตริย์โซโลมอน (Solomon) มีการก่อสร้างมหาวิหารโซโลมอน (Solomon's Temple) อันเป็นศาสนสถานที่สำคัญของชาวฮีบรู


926 ปีก่อนคริสตกาล

หลังโซโลมอนสิ้นพระชนม์เกิดความแตกแยกภายในหมู่ชาวฮีบรู จนทำให้อาณาจักรอิสราเอลแตกออกเป็น 2 ส่วน คืออาณาจักรอิสราเอลเดิมที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงซามาเลีย (Samalia) กับอาณาจักรยูดาห์ หรือยิว (Kingdom of Judah) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่นครเยรูซาเล็ม

722 ปีก่อนคริสตกาล

อาณาจักรอิสราเอลล่มสลายจากการบุกโจมตีของจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่

587 ปีก่อนคริสตกาล

อาณาจักรยูดาห์ล่มสลายจากการบุกโจมตีของจักรวรรดิบาบิโลนใหม่ มหาวิหารโซโลมอนถูกทำลาย ชาวฮีบรูถูกกวาดต้อนไปที่กรุงบาบิโลน

ราว 530 ปีก่อนคริสตกาล

จักรวรรดิเปอร์เซียขยายอำนาจและยึดครองบาบิโลน พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great) กษัตริย์เปอร์เซียทรงปลดปล่อยชาวฮีบรูในบาบิโลนให้เดินทางกลับมายังดินแดนบ้านเกิด

ชาวฮีบรูได้ฟื้นฟูกรุงเยรูซาเล็ม และก่อสร้างมหาวิหารเฮรอด (Herod's Temple) เพื่อทดแทนมหาวิหารโซโลมอนที่ถูกทำลายไป

331 ปีก่อนคริสตกาล

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) แห่งจักรวรรดิมาชิโดเนียบุกยึดครองอิสราเอล

64 ปีก่อนคริสตกาล

โรมันได้ผนวกอิสราเอลให้เป็นส่วนหนึ่งของโรมันในชื่อแคว้นยูเดีย (Judea) ซึ่งในช่วงเวลานี้เอง ที่ชาวฮีบรูได้ถูกเรียกโดยโรมันว่า ชาวยิว

ค.ศ. 5 ถึง 30

ช่วงชีวิตของพระเยซู (Jesus) ศาสดาของศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นชาวยิวที่อาศัยอยู่ในแคว้นยูเดีย

66-73

ชาวยิวในแคว้นยูเดียก่อกบฏเพื่อต่อต้านอำนาจของโรมันแต่ไม่ประสบความสำเร็จ กรุงเยรูซาเล็ม และมหาวิหารเฮรอดถูกเผาทำลาย ชาวยิวถูกเข่นฆ่าเป็นจำนวนมาก

131-135

ชาวยิวพยายามก่อกบฏต่อต้านโรมันอีกครั้ง   แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีก ในช่วงเวลานี้เองที่ชาวยิวได้เริ่มอพยพออกจากแคว้นยูเดีย และเดินทางไปยังดินแดนต่าง ๆ ทั่วทั้งทวีปยุโรป


ศตวรรษที่ 5

ดินแดนอิสราเอลตกอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์   มีการปราบปรามชาวยิวครั้งใหญ่ ทำให้ชาวยิวอพยพออกจากอิสราเอลมากยิ่งขึ้น

ศตวรรษที่ 7                                         450

ดินแดนอิสราเอลตกอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิอิสลาม  ชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามเริ่มอพยพเข้าไปอยู่ในดินแดนอิสราเอล ซึ่งพวกเขาจะกลายมาเป็นชาวปาเลสไตน์ในเวลาต่อมา ดินแดนอิสราเอลเริ่มถูกเรียกชื่อเป็นดินแดนปาเลสไตน์

ศตวรรษที่ 11 ถึง 13

นครเยรูซาเล็ม และดินแดนปาเลสไตน์ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งของสงครามครูเสด



1516

ดินแดนปาเลสไตน์ตกอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมัน

ศตวรรษที่ 15 จนถึง 19

ชาวยิวที่กระจัดกระจายทั่วทั้งยุโรป (รวมไปถึงทั่วโลก) ก็ได้ตกอยู่ในสภาวะที่ยากลำบาก พวกเขาอยู่อย่างเร่ร่อนไม่มีหลักแหล่ง และเป็นที่รังเกียจของชาวยุโรป  (โดยเฉพาะกับชาวคริสต์)

หลังจากที่พวกเขาต้องร่อนเร่กว่าพันปี นั่นจึงทำให้มีชาวยิวบางกลุ่มต้องการที่จะเดินทางกลับมายังดินแดนอิสราเอล (หรือดินแดนปาเลสไตน์) อันเป็นดินแดนที่พวกเขาจากมา

ภาค II กำเนิดรัฐอิสราเอล

1897

ชาวออสเตรียเชื้อสายยิวนามว่า ธีโอดอร์ เฮิร์ตเซิล (Theodor Herzl) ได้ก่อตั้งขบวนการไซออนิสต์ (Zionist) องค์กรที่มีเป้าหมายสำคัญในการก่อตั้งรัฐของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์

1917

ปฏิญญาบัลฟอร์ (Balfour Declaration) อังกฤษสนับสนุนขบวนการไซออนิสต์ในการก่อตั้งรัฐชาวยิวในปาเลสไตน์

1918

ดินแดนของจักรวรรดิออตโตมันในภูมิภาคตะวันออกกลางตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอังกฤษและฝรั่งเศส โดยดินแดนปาเลสไตน์อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษในสถานะรัฐอารักขา

ทศวรรษที่ 1920

ชาวยิวเริ่มอพยพเข้าไปในดินแดนปาเลสไตน์ ก่อให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งกับชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ก่อนหน้านั้น

ทศวรรษที่ 1930

ปัญหาระหว่างชาวยิวกับชาวปาเลสไตน์เริ่มลุกลามบานปลายมากยิ่งขึ้น ทางการอังกฤษพยายามเข้ามาไกล่เกลี่ย และออกนโยบายจำกัดจำนวนของชาวยิวที่จะอพยพเข้ามาในปาเลสไตน์

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945)

ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปถูกนาซีเยอรมันจับเข้าค่ายกักกันและถูกสังหาร เกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว (Holocaust) ที่ทำให้มีชาวยิวล้มตายมากกว่า 6 ล้านคน

1945

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด  ชาวยิวนับล้านคนที่รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้เดินทางเข้าไปในปาเลสไตน์ ปัญหาระหว่างชาวยิวกับชาวปาเลสไตน์เกิดขึ้นอีกครั้ง



1947              (แบ่งกันแล้ว น่าจะ ok  ได้ ต่างก็พัฒนาพื้นที่ของตัวไป)    450 

ทางการอังกฤษไม่สามารถยุติความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายได้ อังกฤษจึงถอนตัวออกจากปาเลสไตน์ และนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อทางสหประชาชาติเพื่อให้เป็นผู้แก้ไขปัญหา

สุดท้ายสหประชาชาติก็มีมติให้แบ่งดินแดนของปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน คือ ดินแดนของชาวยิว  กับ  ดินแดนของชาวปาเลสไตน์  โดยกรุงเยรูซาเล็มจะอยู่ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ

1948

วันที่ 14 พฤษภาคม ดินแดนของชาวยิวนปาเลสไตน์ประกาศก่อตั้งรัฐอิสราเอล (State of Israel) โดยมี เดวิด เบนกูเรียน (David Ben Gurian) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอล

การก่อตั้งประเทศอิสราเอลได้สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างมากให้กับกลุ่มประเทศอาหรับ ดังนั้นกลุ่มประเทศอาหรับ ซึ่งประกอบไปด้วย อียิปต์, ซีเรีย, จอร์แดน, เลบานอน และอิรัก จึงได้ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ (League of Arab) เพื่อต่อต้านอิสราเอล

1948-1949

สันนิบาตอาหรับส่งกองทัพบุกโจมตีอิสราเอล  เกิดเป็นสงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้งที่ 1 ปรากฏว่าอิสราเอล  (ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ)  สามารถเอาชนะกองทัพของสันนิบาตอาหรับได้

แม้ว่าสันนิบาตอาหรับจะเป็นฝ่ายแพ้สงคราม   แต่สันนิบาตอาหรับก็สามารถยึดครองดินแดนบางส่วนของอิสราเอลได้

โดยอียิปต์เข้ายึดครองดินแดนที่เรียกว่า  'ฉนวนกาซ่า' (Gaza Strip) ส่วนจอร์แดนก็เข้ายึดครองดินแดน 'เวสต์แบงก์' (West Bank)

นอกจากนี้กรุงเยรูซาเล็มยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เยรูซาเล็มตะวันตกเป็นของอิสราเอล และเยรูซาเล็มตะวันออกเป็นของจอร์แดน

ผลของสงครามในครั้งนี้ทำให้ชาวปาเลสไตน์นับแสนคนต้องอพยพออกจากดินแดนปาเลสไตน์ที่บัดนี้กลายเป็นของอิสราเอล ไปยังดินแดนประเทศอาหรับรอบ ๆ ข้างแทน

1956

เกิดวิกฤตการณ์คลองสุเอซ (Suez Crisis) หรือสงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้งที่ 2 อังกฤษและฝรั่งเศสสนับสนุนอิสราเอลในการทำสงครามกับอียิปต์ แต่ชัยชนะในสงครามตกเป็นของอียิปต์

1964

ยัสเซอร์ อัล-อาราฟัต (Yasser al-Arafat)  ผู้นำของชาวปาเลสไตน์ก่อตั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์หรือขบวนการ PLO เพื่อต่อสู้กับอิสราเอล และทวงคืนดินแดนปาเลสไตน์จากชาวยิว

ภาค III ความขัดแย้งจนถึงปัจจุบัน

ทศวรรษที่ 1960 ถึง 1980

PLO ก่อเหตุวินาศกรรมและก่อการร้ายภายในอิสราเอล

• 1967

สงครามหกวัน (Six Day War) หรือสงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้งที่ 3 อิสราเอลเป็นฝ่ายชนะสงคราม และยึดครองฉนวนกาซ่าและเวสต์แบงก์จากฝ่ายอาหรับได้  นอกจากนี้อิสราเอลยังยึดครองแหลมไซนาย (Sinai) ซึ่งเป็นดินแดนของอียิปต์ได้อีกด้วย

ที่สำคัญอิสราเอลยังยึดครองเยรูซาเล็มตะวันออกที่เป็นของจอร์แดนได้ เยรูซาเล็มทั้งหมดจึงตกเป็นของอิสราเอล ก่อนที่ในปี 1980 อิสราเอลจะประกาศให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของประเทศ

1973

สงครามยมคิปปูร์ (Yom Kippur War) หรือ สงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้งที่ 4 อิสราเอลเป็นฝ่ายชนะสงคราม และยึดครองดินแดนบางส่วนของซีเรีย และอียิปต์

1978

อิสราเอล และอียิปต์ทำข้อตกลงสันติภาพแคมป์เดวิด (Camp David Accord) โดยมีสหรัฐฯ เป็นตัวกลาง

1982

อิสราเอลส่งกองทัพเข้าไปในเลบานอนเพื่อกวาดล้างกลุ่ม PLO ที่ซ่อนตัวอยู่ในเลบานอน ชาวเลบานอน บางส่วนจัดตั้งกลุ่มติดอาวุธฮิซบอลเลาะห์ (Hezbollah) เพื่อต่อสู้กับอิสราเอล

1985

กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ขับไล่กองทัพอิสราเอลให้ออกไปจากเลบานอนได้สำเร็จ นับแต่นั้นฮิซบอลเลาะห์จะกลายเป็นกลุ่มการเมืองที่มีอำนาจมากที่สุดในเลบานอน

1988

วันที่ 15 พฤศจิกายน ยัสเซอร์ อัล-อาราฟัต ประกาศก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์  (State of Palestine) อาราฟัตประกาศยุติการก่อร้ายของ PLO และจะใช้สันติวิธีเพื่อเจรจากับอิสราเอล

PLO ยังก่อตั้งกลุ่มการเมืองที่เรียกว่า กลุ่มฟะตะห์ (Fatah) ที่เน้นการต่อสู้แบบสันติวิธี ทำให้มีชาวปาเลสไตน์บางส่วนไม่พอใจ และก่อตั้งกลุ่มฮามาส (Hamas) ที่เน้นใช้ความรุนแรงในการต่อสู้

1993

อิสราเอลและปาเลสไตน์ทำสนธิสัญญาสันติภาพออสโล (Oslo Accord) โดยมีสหรัฐฯ เป็นตัวกลาง

นอกจากยังมีการกำหนดเส้นเขตแดนใหม่ โดยฉนวนกาซ่า และเวสต์แบงก์จะตกเป็นดินแดนของปาเลสไตน์ โดยมีเมืองรามัลเลาะห์ (Ramallah) ในเวสต์แบงก์เป็นเมืองหลวงของปาเลสไตน์


สถานการณ์ในปัจจุบัน

แม้ว่าอิสราเอลกับปาเลสไตน์จะลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพมาแล้วหลายรอบด้วยกัน แต่ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายก็ยังคงเกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน

ไม่ใช่เฉพาะความขัดแย้งระหว่างชาวยิว กับ ชาวปาเลสไตน์เท่านั้น เพราะภายในปาเลสไตน์เองก็ได้เกิดความแตกแยกกันเองเช่นกัน

โดยภายในปาเลสไตน์ถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ โดยบริเวณฉนวนกาซ่าอยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มฮามาส ส่วนบริเวณเวสต์แบงก์อยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มฟะตะห์ซึ่งเป็นรัฐบาลของปาเลสไตน์

ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่กินเวลายาวนานกว่า 70 ปี (จริง ๆ อาจจะเรียกว่าพันปีก็ได้)  ก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ สงคราม ความสูญเสีย และความเกลียดชังก็ยังคงมีอยู่ในดินแดนแห่งนี้

ณ สถานการณ์ปัจจุบัน ความขัดแย้งก็ได้อุบัติขึ้นอีกครั้ง เมื่อกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซาทำการโจมตีอิสราเอล เช่นเดียวกับทางการอิสราเอลที่ทำการตอบโต้กลุ่มฮามาสเช่นกัน นับเป็นเหตุความรุนแรงมากที่สุดในรอบ 50 ปี

จาก 

https://www.facebook.com/photo/?fbid=804182695047515&set=a.439959818136473

https://www.youtube.com/watch?v=dTnQGIGH8UY


สถานที่จัดดนตรีเขาสร้างปติมากรรมแบบพุทธไว้อยู่

https://www.facebook.com/photo/?fbid=289109914015639&set=gm.1372722336650899&idorvanity=800582937198178
 

https://f.ptcdn.info/955/081/000/s2c6js1fdm5CqYLLk9B4k-o.jpg

https://www.facebook.com/photo/?fbid=327203539851471&set=gm.1370512816871851&idorvanity=800582937198178

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02t5mysG4awg7dcuMN3ujCJUnVLLVfam6oHN7zVvzAubKGHxNE7z5S55LVX5Kd3xFGl&id=100000223943089


ลานจัดดนตรีเพื่อสันติภาพ   ก่อนที่หลายคนจะสิ้นอิสรภาพ  ก่อนที่หลายร้อยคนจะมรณภาพ (มรณภาพใช้กับภิกษุ   แต่น่าจะใช้กับคนทั่วไปได้ แต่ฟังขัดๆหู   มรณะ  แปลว่า ตาย.  มรณภาพ = ความตาย) 
 

เข้าไปคุมเชิงแล้ว

https://www.youtube.com/post/Ugkx6gkUQo0NZ2wEYsaxJ4mYUuwbn8GUh01p
 


มนุษย์เป็นทั้งผู้สร้างทั้งผู้ทำลาย

https://www.facebook.com/photo/?fbid=173271292490379&set=a.115674741583368

https://www.facebook.com/photo?fbid=363294369374894&set=pcb.1374109863178813


https://www.facebook.com/photo/?fbid=793794252749817&set=a.713354807460429

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10159347515626809&set=pcb.1859648241121386


ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ มาห์มูด อับบาส  กล่าววันนี้ (16/10/66) ระหว่างการสนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีไบเดนของสหรัฐฯ :

ไบเดน:  กลุ่มฮามาสจะต้องถูกกำจัด  แต่เขาสนับสนุนสถานะรัฐปาเลสไตน์  นี่เป็นนโยบายของสหรัฐฯ มานานหลายทศวรรษ

ปาเลสไตน์:   เราไม่เห็นด้วยกับกลุ่มฮามาส

การกระทำของกลุ่มฮามาสไม่ได้เป็นตัวแทนของชาวปาเลสไตน์  และเขาประณามการโจมตีครั้งล่าสุดของพวกเขาต่ออิสราเอลตอนใต้




Create Date : 10 ตุลาคม 2566
Last Update : 12 ธันวาคม 2566 12:32:27 น.
Counter : 337 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
เติมให้ความมี เติมให้ความไม่มี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 20:54:29 น.)
อยาก อยากได้ กฎที่ถูกที่ดี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 05:37:27 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 34 : กะว่าก๋า
(12 เม.ย. 2567 05:52:40 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Samathijit.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]

บทความทั้งหมด