ห้องเรียนนิยาย เรื่องการเลื่อนเวลา ว่าจะไม่เขียนเรื่องห้องเรียนนิยายแล้วนะ เพราะขี้เกียจ (เป็นเหตุผลเพียวๆ เลย) อีกข้อ หนิงก็มีปล่อยคลิป วิจารณ์ปะก็อปปะแก็ปไปหลายตอนแล้ว จริงๆ ก็เกือบครบแล้วสำหรับเบสิคๆ ห้องเรียนนิยาย ทีนี้พยายามบอกหนิงให้เขียนเรื่องการเลื่อนเวลา แต่หนิงบอกว่าน่าจะยากไป ซึ่งก็จริง ถ้าเทียบกับคลิปต่างๆ ที่หนิงสอน เรื่องการเลื่อนเวลามันก็ถือว่าจัดการยาก แต่ในขณะเดียวกัน มันก็มีพลังมากเช่นกัน ส่วนตัวรุ้งจะชอบเทคนิคการเลื่อนเวลา และสัญลักษณ์ เวลาที่คนเขียนจัดแจงสองอย่างนี้ให้ถูกที่ถูกเวลา โอ้โห ตอนอ่านอยู่จะแฮปปี้ ตอนอ่านจบก็จะจำไปอีกนานเลยทีเดียว แต่ถึงกระนั้น คนเขียนก็ต้องทำสิ่งที่เป็นพื้นฐานให้ได้ดีก่อน ทำไมถึงบอกว่าการเลื่อนเวลากับสัญลักษณ์มันยาก (จริงๆ ถึงว่าเป็นเทคนิคระดับกลางๆ เกือบต้นๆ ด้วยซ้ำ มันยังมีเทคนิคฟู่ฟ่าใช้บรมยากกว่านี้อีกเยอะ) คือเอาจริงๆ เทคนิคสองอย่างนี้ต้องมาพร้อมกับความคิด จินตนาการ และการวางแผนที่ดี มันเลยยาก เช่น สัญลักษณ์ ถ้านักเขียนอ่านแค่คำจำกัดความ ก็แค่คิดง่ายๆ ว่า เอาขวดถ้วยถุงกะละมังหม้อใส่ลงไป แล้วพยายามบอกคนอ่านว่าไอ้พวกนั้นมีความหมายแฝงนะ จบกัน ไม่ประทับใจหรอก ชีวิตมันไม่ง่ายขนาดนั้นเน้อ แม้ว่าจะยกตัวอย่างสัญลักษณ์ แต่ว่าวันนี้จะพูดแค่การเลื่อนเวลาเฉยๆ คำว่า การเลื่อนเวลา เป็นศัพท์ที่รุ้งคิดเอง ไม่รู้ว่าจริงๆ เขาใช้คำนี้กันรึเปล่านะคะ อธิบายคร่าวๆ ว่า ตามปกติ การเขียนนิยายโดยส่วนใหญ่จะเรียงลำดับเวลา (chronological order) คือเหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่องจะถูกเรียงกันตามลำดับอะไรที่เกิดก่อนเกิดหลัง แต่ว่าก็มีนิยายหลายๆ เรื่องสลับเวลาเล่าเรื่อง เช่น เอาอนาคตขึ้นก่อนปัจจุบัน หรืออยู่ในปัจจุบันแล้วก็ย้อนกลับไปอดีต เหมือนเราเอาลำดับเหตุการณ์ทั้งหมดมาเรียงใหม่ โดยอาจจะเรียงตามความตั้งใจของคนเขียนที่จะค่อยๆ ปล่อยข้อมูลให้คนอ่านรู้ (Clue) หรือ สิ่งที่เป็นไฮไลท์ของเรื่องที่ต้องการจะบอกตอนสุดท้ายให้เป็นไคล์แมกซ์ มันดันอยู่ในอดีต เพราะงั้นเทคนิคการเลื่อนเวลาก็จะถูกนำมาใช้ เทคนิคนี้ก็สามารถจะใช้เพราะสลับเหตุการณ์ของทั้งเรื่องเลย หรือ อาจจะถูกดึงมาใช้เป็นเหตุการณ์เล็กๆ เพื่อเพิ่มพลังให้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนตัวขอจัดเทคนิคการเลื่อนเวลาตามนี้นะคะ 1. การสลับ Element of Plot ถ้าคนที่อ่านถึงตรงนี้แล้วงงว่า Element of Plot คืออะไร ขอให้หยุดอ่านแล้วกลับไปทบทวนเบสิคทั้งหมดก่อน เพราะบทความนี้จะช่วยอะไรคุณไม่ได้เลยถ้าหากว่าเบสิคไม่แน่น (ไม่ได้โหด ไม่ได้ดูถูก พูดจริงๆ นะจ๊ะ) การเรียงลำดับเรื่องในก็จะเริ่มจาก Background, Beginning Force, Rising Action, Crisis, Climax, Resolution, Ending การสลับเวลาวิธีนี้ ถือว่าจัดชุดใหญ่ เท่าที่อ่านรุ้งเจอน้อยกว่าแบบอื่นๆ ที่จะพูดถึงต่อไป แต่มันก็มีจุดประสงค์ซ่อนอยู่ชัดๆ ง่ายๆ ว่า ไคล์แมกซ์หรือ ความลับมันถูกซ่อนไว้ในอดีต ในบางครั้งผลลัพธ์ของเรื่องก็ไม่ได้สำคัญเท่ากับระหว่างทาง เพราะฉะนั้น ในหลายๆ เรื่องในอนาคตมันถูกเอามาพูดก่อน ให้เรารู้กันไปเลยว่าจุดจบของเรื่องคืออะไร กระตุ้นความอยากอ่านของเราให้เราอยากรู้ว่า มันเกิดอะไรขึ้น ถึงได้มาเป็นแบบนี้ได้ จริงๆ มีตัวอย่างเรื่องที่ชอบและก็อยากแนะนำมาก แต่จำชื่อเรื่องไม่ได้ อยากจะบอกว่า อ่านรอบเดียวเมื่อสิบปีที่แล้ว ยังจำเรื่องราวได้ถึงตอนนี้ Powerful มาก ขอบอก 2. การใช้ Foreshadow เป็นเทคนิคการเลื่อนเวลาที่รุ้งชอบมากที่สุด เห็นทีไรแฮปปี้ทุกที Foreshodow คืออะไร หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินมา แต่ว่าอาจจะงงๆ สารภาพ รุ้งก็งงๆ เพราะไม่รู้สโคปของมันว่ากว้างขนาดไหน แต่ในเมื่อบล็อกนี้อิงประสบการณ์ส่วนตัว ก็จะขอจำแนกมันว่า มันเป็นการที่นักเขียนใส่เหตุการณ์บางอย่างอย่างจงใจ เพื่อส่งสัญญาณให้คนอ่านรู้สึกว่าน่าจะมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในอนาคต โดยไม่บอกตรงๆ โต้งๆ โดยคนอ่านอาจจะรู้ หรือไม่รู้ในตอนนั้นว่ามันเป็น Foreshadow แต่คนอ่านจะมามั่นใจเมื่อเห็นเหตุการณ์เดียวกันเกิดขึ้นจริงๆ ต่อมา และจำทำให้คนอ่านคิดอุทานในใจว่า คนเขียนมันใบ้ชั้นไว้ก่อนแล้วนี่หว่าส่วนใหญ่มักจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยดี เป็นลางอะไรแบบนี้ ถ้าใครอยากจะอ่าน Foreshadow ดีๆ จัดใหญ่จัดหนักแทบจะเป็นเมนของเรื่อง ขอให้ไปอ่าน จันดารา ถ้าเล่าก็สปอยด์ แต่อ่านแล้วแปร๊บมาก 3. การใช้ Flashback Flashback คืออะไรล่ะ มันก็คือตัวละครอยู่ในปัจจุบัน หรืออดีตก็ได้ แล้วมีการเล่าเรื่องย้อนอดีต อาจจะผ่านปากของตัวละคร ผ่านความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร อาจจะเล่าแบบมุมมองพระเจ้า หรือแม้แต่ความฝันถึงอดีตของตัวละครก็ได้ จุดประสงค์ของการใช้ก็เยอะแยะมากมายเช่น อาจจะเพื่อให้ background ของเหตุการณ์ หรือตัวละครนั้นๆ หรือ อาจจะเพื่อเปิดเผยเหตุการณ์บางอย่างในอดีต (ที่ยังไม่มีใครรู้ หรือยังไม่มีใครรู้ความจริง) หรือแม้แต่อาจจะมีไว้เพื่อ เฉลยเหตุการณ์สำคัญในเรื่องเลยก็ได้ โดย ณ จุดนี้การเฉลยอาจจะผ่านปากของตัวละครเอง หรือตัวละครมโนสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเองจากข้อมูล (clue) ที่ถูกปล่อยมาทั้งหมด (ซึ่งอย่างหลังจะเป็นที่ชื่นชอบของรุ้งมาก ถ้าทำได้ดี จะบวกแต้มเพิ่มเลย ขอย้ำว่า การใช้ Flashback ไม่ได้แปลว่าจะเล่าเหตุการณ์ที่เป็นความจริงๆ เสมอไป เพราะมันหลายวิธีที่เล่า เช่นเล่าผ่านปากตัวละคร หรือตัวละครมโนเอง มันอาจจะให้ข้อมูลที่บิดเบือนได้ เพราะงั้น การให้ข้อมูลบิดเบือนนี้มันก็ทำให้คนเขียนสามารถพลิกแพลงเล่นกับเทคนิคได้เยอะในการหลอกคนอ่าน อย่างเช่นเรื่อง ราโชมอน ก็ Flashback ทั้งเรื่อง เล่ามันเรื่องเดียวกันนี่แหละ ผ่านปากสามสี่คน ก็คนละเรื่องกันเลย ย้อนจนคนอ่านงง แต่ก็สนุกมากเช่นกัน อย่างที่บอกว่า Flashback ใช้ได้กับแทบจะทั้งเรื่อง เสียบตรงไหนก็ใช้ได้ มันก็เลยเป็นเทคนิคที่ใช้แพร่หลายที่สุด ยิ่งสำหรับนิยายสมัยนี้ เจอเกือบทุกเรื่อง ใช้โดนบ้าง ไม่โดนบ้าง บางเรื่องก็ใช้เหมือนยิงปืนกล โดนบ้างไม่โดนบ้างโดยเน้นปริมาณ รุ้ว่าเทคนิคพวกนี้ คิดก่อนใช้เยอะๆ วางแผนกับมันดีๆ จะมีประโยชน์มากกว่าใช้ทิ้งใช้ขว้างนะคะ 4. อื่นๆ อื่นๆ ในที่นี้อาจจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเทคนิคทั้งสามด้านบนก็ได้ แต่เนื่องจากรุ้งเขียนเองแบ่งเอง ไม่ได้อิงของใครเลยอยากจะแยกมันออกมาเพื่อจะอธิบายมันได้ง่ายขึ้น อื่นๆ ในที่นี่ก็คือพวกฝันเห็นอนาคตโต้งๆ ไปหาหมอดูร่างทรงทำนายอดีต พวกชาติที่แล้ว) หรืออนาคต หรือมีคนจากอนาคตมาบอกคนในอดีต หรือคนจากต่างดาว หรือวิธีการต่างๆ ที่มีการสลับไปมาระหว่างเรื่องราวอดีตปัจจุบันอนาคต แต่ส่วนใหญ่ถ้าอยู่ในเกณฑ์ของหัวข้ออื่นๆ พวกนี้ เรื่องทั้งเรื่องจะถูกครอบงำโดยเรื่องราวอดีตและอนาคตแทบทั้งสิ้น ตัวละครจะถูกผูกกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นต่างกาลเวลา ถือว่าเป็นธีมใหญ่ของเรื่องเลย สิ่งพวกนี้ก็ต้องใช้เทคนิคสามตัวด้านบนเข้าช่วยอย่างเต็มพิกัด สรุปสุดท้าย เทคนิคทั้งหมดทั้งมวลของการเลื่อนเวลา ส่วนใหญ่จะมีไว้เพื่อบิดเบือนข้อมูล ดีเลย์การให้ข้อมูลกับคนอ่าน เพราะฉะนั้น Point of view ที่จะเอามาใช่ด้วยกันได้ดี รุ้งอธิบายเรื่องการเลื่อนเวลาด้านบนโดยแทบจะไม่ให้ตัวอย่าง ทำให้การอ่านบทความนี้จะทำความเข้าใจได้ยากมาก แต่อยากให้อ่านแค่ข้อมูล แล้วระหว่างทางหลังจากนี้ ไม่ว่าจะอ่านนิยายใดใด ขอให้สังเกตสิ่งพวกนี้ นิยายดีๆ จะมี qualities นี้ มันไม่มีประโยชน์ที่จะอ่านเทคนิค แล้วเอาไปลองเขียนเอง มันจะพิกลพิการ ขอให้อ่านเรื่องดีๆ เยอะๆ เทคนิคมันจะมาเองค่ะ |
บทความทั้งหมด
|