เสพงานศิลป์ ๕



ภาพจากเวบ deviantart.com





"ฉันได้จากโลกนี้ไปแล้วโดยไม่เสียใจ

เพราะฉันได้อุทิศชีวิตของฉันให้กับ

บางสิ่งที่เป็นประโยชน์

ในฐานะเป็นผู้รับใช้ที่ต่ำต้อย

ในงานศิลปของฉัน

ชีวิตนั้นสั้น....แต่ศิลปะยืนยาว


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี





Romance - ‪Yuhki Kuramoto‬








สุภัททา สังสิทธิ, ณินทิรา โสภณพนิช, สมพันธ์ จารุมิลินท, ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ
ท่านผู้หญิงอินทิรา พลธร, ท่านผู้หญิงกอบกุล อุบลเดชประชารักษ์, และ นันทพงศ์ ศิลปีสวัสดิ์
ภาพจากนสพ. แนวหน้า ๑๖ ก.ค. ๒๕๕๕



"งานปักศิลปาชีพ"


เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๕ พรรษา ๕ ธ.ค. ๒๕๕๕ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘o พรรษา ๑๒ ส.ค. ๒๕๕๕ และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ ก.ค.๒๕๕๕ และเพื่อเป็นการอนุลักษณ์งานปักซอยแบบไทยโบราณ ซึ่งเป็นงานแผนกหนึ่งของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีพระราชดำริให้ตั้งขึ้นเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎร์อีกแขนงหนึ่ง เช่นเดียวกับงานทอผ้าไหม ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เห็นควรให้จัดนิทรรศการ “งานปักศิลปาชีพ” เพื่อเผยแพร่ผลงานฝีมือของชาวนาชาวไร่ของไทย ให้เป็นที่ประจักษ์สู่สายตาชาวไทยและชาวต่างชาติ





ภาพจากเวบ thairat.co.th





เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา บริเวณชั้น ๕ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กล่าวถึงการจัดนิทรรศการดังกล่าวว่า เกิดจากความตั้งใจของคณะผู้ทำงานถวายในแผนกปักผ้า ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ สร้างงานวาดภาพต้นแบบภาพปัก และปักผ้าตามแนวพระราชดำริคือ “ปักซอยแบบไทย” ที่มีกระบวนการตั้งแต่การสาวไหม ให้มีขนาดเล็กที่เรียกว่า “ไหมน้อย” ฝึกย้อมสีไหมให้ได้สีตามภาพต้นแบบ จึงมีความต้องการแสดงผลงานอันประณีตว่า ฝีมือชาวสวนชาวไร่สามารถอวดใคร ๆ ได้ ซึ่งครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่จัดแสดงงานปักศิลปาชีพอย่างเต็มที่ โดยจะนำภาพต้นแบบและผลงานจริงวางเคียงคู่กัน ท้าทายกันว่า “เหมือนหรือไม่เหมือน”





ภาพจากเวบ bangkokbiznews.com



สำหรับแนวภาพปัก ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ กล่าวว่า คณะจิตรกร แผนกจิตรกรรมต้นแบบภาพปักของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ในสวนจิตรลดา ปฏิบัติงานตามแนวพระราชดำริคือ สอดแทรกความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อาทิ ภาพผืนป่าดิบชื้น, ป่าพรุ, เถาวัลย์, นกต่าง ๆ ตลอดจนสอดแทรกความรู้เรื่องเมืองไทย, ศาสนา, ประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเช่น วรรณคดีไทย ในงานปักผ้าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีกุศโลบายสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ปักผ้า ทรงมีรับสั่งให้อาจารย์ที่เล่านิทานเก่ง มาเล่าเรื่องให้ผู้ปักเกิดแตกฉาน เป็นการสร้างแรงบันดาลใจทางอ้อมแก่การทำงาน









ด้าน นางณินทิรา โสภณพนิช กรรมการมูลนิธิหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เผยรายละเอียดของกิจกรรมซึ่งเริ่มมีตั้งแต่วันที่ ๒ ส.ค.ไปจนถึงวันที่ ๑๓ พ.ย. ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ กิจกรรมสอนปักผ้าแบบซอยขั้นพื้นฐาน เปิดสอนทุกวันเว้นวันพุธ ระหว่างเวลา ๑o.๓o - ๑๕.๓o น. สามารถซื้ออุปกรณ์การฝึกในราคาชุดละ ๕o - ๑oo บาท ซึ่งความพิเศษของกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากเยาวชนอายุระหว่าง ๙ - ๑๕ ปีเข้าร่วมปักผ้าแบบซอยขั้นพื้นฐาน จะเปิดโอกาสให้ส่งผลงานปักเข้าร่วมประกวดด้วย









ส่วนกิจกรรมในวันที่ ๑๙ ส.ค. จัดเสวนาเรื่อง “จากพระมหากรุณาธิคุณสู่ผ้าปัก” โดย ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ และนายดนัย จันทร์เจ้าฉาย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสอนวาดภาพสีน้ำขั้นพื้นฐาน โดย อ.พรชีวินทร์ มลิพันธุ์ คณะช่างวาดภาพต้นแบบงานผ้าปักศิลปาชีพ, กิจกรรมการแสดงโดยคณะผู้แสดงจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นต้น สำหรับกิจกรรมไฮไลท์ที่ได้จัดขึ้นภายในงาน มีการเปิดให้ผู้ที่มาเที่ยวชมแสดงความจงรักภักดี ร่วมถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วยการร่วมพลังสามัคคีช่วยกันปักผ้าไหมสีทอง เป็นคำว่า “ปักใจภักดิ์ รักพระราชินี” บนผืนผ้าไหมสีฟ้าขนาด ๓ เมตร ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ


“นิทรรศการงานปักศิลปาชีพ” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒ ส.ค. - ๑๓ พ.ย. ๒๕๕๕ ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้สนใจเข้าชมงานหรือกิจกรรมพิเศษ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ โทร.o๒–๒๘๑-๕๓๖o - ๑









ภาพและข้อมูลจากเวบ dailynews.co.th











"วัฒนธรรม กับ ความจริง พิเชษฐ กลั่นชื่น"


”วัฒนธรรม กับ ความจริง” ละครพูดสลับรำโดย พิเชษฐ กลั่นชื่น ศิลปินโลกชาวไทยเจ้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในลำดับชั้น Chevalier dans L’Ordre des Arts et des Lettres จากกระทรวงวัฒนธรรมและการสื่อสารของประเทศฝรั่งเศส ยังคงเปิดการแสดงทุกวันศุกร์และเสาร์ ๖ – ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เวลาสองทุ่มตรง โรงละครช้าง เพียง ๒o ที่นั่งต่อรอบการแสดง





ภาพจากเวบ wikalenda.com




โรงละครช้างแห่งนี้ ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างพื้นที่ของคนดูและนักแสดง ไม่มีการยึดติดกับรูปแบบของพื้นที่เวทีหรือที่นั่งชมการแสดง คนดูจะเลือกชมการแสดงได้จากทุกบริเวณของโรงละคร มีพื้นที่ที่เปิดกว้างให้ทั้งคนดูและนักแสดงได้เข้าหากัน เพื่อสื่อสารกันแบบตัวต่อตัว เพื่อต่อเติมความเข้าใจด้านศิลปะให้อีกฝ่ายได้เข้าใจใน สิ่งที่ยังไม่เคยเข้าใจ และเพื่อรับฟังความต้องการของอีกฝ่ายในฐานะผู้ฟังที่ดี และในฐานะผู้ที่ไม่รู้จักศิลปะแต่ต้องการใฝ่หาความรู้ พื้นที่ของโรงละครถูกเปิดกว้างเพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน รวมทั้งความเข้าใจที่ดี เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ระหว่างพื้นที่ของทั้งคนดูและนักแสดง


ละครพูดสลับรำ โดย พิเชษฐ กลั่นชื่นแสดงตั้งแต่
วันที่ ๑๕ มิถุนายน – ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕
 ที่โรงละครช้าง
ราคา บัตรราคา ๑,ooo บาท 
บัตรนักศึกษา ๓๕o บาท (จำกัดเพียง ๕ ที่นั่งต่อรอบการแสดง)
 เพียง ๒o ที่นั่งต่อรอบการแสดง 
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อโทร o๘o-๙๒๔-ooo๒ 
เว็บไซต์ pklifework.com






ภาพและข้อมูลจากเวบ
artbangkok.com
thaigoodnews.us













"พิมพ์จากป่า" (Print from Forest)



นิทรรศการ “พิมพ์จากป่า” นำเสนอผลงานภาพพิมพ์นามธรรม ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากแนวความคิดเกี่ยวกับการสรรหาสีสันจากจากผืนป่าและพันธุ์ไม้จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการทำงานศิลปะภาพพิมพ์สีธรรมชาติ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ปราศจากสารเคมีอันตราย และไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังแฝงไว้ด้วยแนวคิดของการให้คุณค่าต่อการอนุรักษ์ และเห็นความสำคัญของพืชพรรณป่าไม้ในธรรมชาติ โดย ญาณวิทย์ กุญแจทอง ศิลปินและอาจารย์สอนศิลปะจากรั้วหน้าพระลาน ผู้ซึ่งยึดถือแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ด้วยสีจากธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล (อาร์เดลเธิร์ดเพลส แกลลอรี) สุขุมวิท ๕๕ ทองหล่อ ๑o โทร o๒-๔๒๒-๒o๙๒ o๘๖-๘๙o-๒๗๖๒ Fax o๒-๔๒๒-๒o๙๑ อังคาร - เสาร์ ๑o.๓o - ๑๙.oo น. อาทิตย์ ๑o.๓o - ๑๗.๓o น. หรือที่เวบไซต์








ญาณวิทย์ กุญแจทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาพพิมพ์ ญาณวิทย์มีการแสดงผลงานเดี่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศมาแล้วถึง ๒๑ ครั้ง ได้รับรางวัลทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติกว่า ๑๖ รางวัล เป็นศิลปินคนแรกที่ได้คิดค้นการพิมพ์ภาพพิมพ์โดยใช้สีจากธรรมชาติ


ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับรางวัลที่ ๔ ภาพพิมพ์นานาชาติ จากนิทรรศการ “Kochi International Triennial Exhibition of Prints, Japan”


ได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยศิลปะชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นหลาย แห่ง เช่น Aichi Prefectural University of Fine Arts and Music, Tama Art University, Kyoto University of Art and Design, Musashino Art University, Joshibi University of Art and Design

เป็นผู้บรรยายและร่วม workshop ให้กับนักศึกษาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัย Australia National University





ภาพจากนสพ. Xcite ไทยโพสต์



ในปี ๒๕๕๔ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากสภาวิจัยแห่งชาติสาขาปรัชญา เรื่อง “กระบวนการสร้างภาพพิมพ์ด้วยสีธรรมชาติ”

ร่วมแสดงในนิทรรศการ “ไทยโย” วัฒนธรรมสรรค์สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ไทย - ญี่ปุ่น

นิทรรศการแสดงเดี่ยว “Season Writes…Kyoto”

นิทรรศการพิมพ์จากอดีต : ริมรอบขอบอาณาจักรสุโขทัย

นิทรรศการ “วังท่าพระศูนย์กลางของช่างสิปป์หมู่ ๒oo”

และการแสดงนิทรรศการผลงานศิลปกรรมโครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง : ศิลปกรรมจากภูมิปัญญาไทย “วิจิตรศิลป์ – สินไทย”

และได้รับเกียรติให้ร่วมแสดงนิทรรศการในงาน มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติแห่งเอเชีย ครั้งที่ ๒๖ ณ สาธารณรัฐเกาหลี





เบ่งบาน – Blossom, 2012, Organic Print, ๘๘ x ๖๓ ซ.ม.





ดาวป่าสงวน – Pa Sa-nguan Stars, 2012, Organic Print (turmeric & Siamese ebony) ๘๘ X ๖๓ ซ.ม.




ทุ่งสีทอง / A – Golden Field / A, 2012, Organic Print, ๗๖ x ๕๗ ซ.ม.





พิมพ์จากป่า R2 – Print from Forest R2, 2012 Organic Print, ๕๑.๕ X ๓๕.๕ ซ.ม.


ภาพและข้อมูลจากเวบ ardelgallery.com












"The Colour of the Narrative"


สถานเอกอัครราชทูตปากีสถานประจำประเทศไทยและหอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร ร่วมเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างปากีสถานและไทย ที่มีมายาวนานกว่า ๖o ปี จัดนิทรรศการ “The Colour of the Narrative” นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยจากปากีสถาน


งานนิทรรศการนี้ได้รับความร่วมมือจาก คุณซาลีมา ฮาชมิ ศิลปินผู้มีชื่อเสียงในปากีสถาน นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยนี้ได้รับการถ่ายทอดจากศิลปินรุ่นเยาว์และรุ่นกลางของปากีสถาน ซึ่งได้แก่ นาอีซา คาน, อะดีลา ซูไลมาน, อะเยชา เดอรานิ, อะทิฟ คาน, อับดุลลาห์ ซาอิด, อิมราน มูดัสซาร์ และ ซาบา คาน


“ศิลปะร่วมสมัยของปากีสถานในปัจจุบันนั้นมีความหลากหลายและเต็มไปด้วยพลัง และความคิดสร้างสรรค์ระดับโลก ศิลปินกลุ่มนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านศิลปะระดับนานาชาติ ซึ่งมีการเฉลิมฉลองใน Biennales และ Triennales นอกจากนี้ ผลงานของพวกเขายังเป็นที่ต้องการอย่างมากในงานประมูลผลงานด้านศิลปะต่าง ๆ พวกเขาได้สะท้อนความหลากหลายในวงการศิลปะเป็นอย่างแท้จริง” คุณซาลีมา ฮาชมิ กล่าว


นิทรรศการนี้จะจัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วยผลงานด้านประติมากรรม ภาพถ่าย สื่อผสม ศิลปะดิจิทัล งานอะคลิลิก และจุลจิตรกรรม ตั้งแต่วันที่ ๑๒ - ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ชั้น ๕ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


ภาพและข้อมูลจากเวบ wikalenda.com















“ร่องรอย (T R A C E S)”


นิทรรศการงานวิดีโอ และภาพถ่าย ที่จะร่วมรื้อค้นความทรงจำร่วมในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ณ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน วันที่ ๑๒ กรกฎาคม - ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕


ศิลปิน โฮ ซือ เงียน Ho Tzu Nyen (สิงคโปร์), โม สาท Moe Satt (พม่า), ณัฐพาส จิระสถิตย์วรกุล (ไทย), เหงียน ชิง ที Nguyen Trinh Thi (เวียดนาม), แพตตี้ ชาง และ เดวิด แคลลี่ Patty Chang and David Kelley (ลาว), ฟิลลิปป์ จาบลอง Philip Jablon (ไทย, พม่า, เวียดนาม, ลาว), สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์ (ไทย), วรรณดี รัตนา Vandy Rattana (กัมพูชา) และ วอง ฮอย ชอง Wong Hoy Cheong (มาเลเซีย)


ภัณฑารักษ์ กฤติยา กาวีวงศ์
ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ แมรี่ ปานสง่า


ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียน การทำงานของกลุ่มอาเซียนจะเป็นไปตามครรลองของรัฐต่อรัฐ จึงทำให้ขาดความสัมพันธ์และการรับรู้ในระดับประชาชน และบุคคลต่อบุคคลในระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันเอง ทางหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน จึงตั้งใจทำงานเชิงรุก ด้วยการจัดนิทรรศการด้านศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยการนำผลงานของศิลปินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาจัดแสดงตั้งแต่วัน ที่ ๑๒ กรกฎาคม ถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ นิทรรศการในครั้งนี้ตั้งใจที่จะรื้อค้น ‘ประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรม’ ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN) และสำรวจถึงการรับรู้และความเข้าใจ เรื่องราวความทรงจำในสังคม และการพลิกรื้อประวัติศาสตร์ที่เรามีร่วมกันในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจสถานะ ตำแหน่งและความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมเป็น สมาชิกอาเซียน (ASEAN) มากขึ้น


ประชาคมอาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑o โดยรัฐบาลประเทศอินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย เนื่องจากความหวาดกลัวต่อระบอบคอมมิวนิสต์ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ระหว่างการประชุมอาเซียนครั้งที่ ๓ ที่ คาเมรอน ไฮแลนด์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศสมาชิกเน้นเรื่องความร่วมมือทางด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นหลัก เนื่องจากทางประชาคมเล็งเห็นถึงความสำคัญ และผลที่จะได้จากความร่วมมือเพื่อพัฒนาความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก ที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันในการสร้างอัตลักษณ์ให้ประชาคมอาเซียน ปัจจุบันสมาชิกทั้ง ๑o ประเทศพยายามที่จะผลักดันความรู้ความเข้าใจที่มีต่อประชาคมอาเซียน และความเป็นชุมชนร่วม รวมถึงการอนุรักษ์ส่งเสริมมรดกทางวัฒธรรมและความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน


ในช่วงปีที่ผ่านมา สมาชิกประชาคมอาเซียน (ASEAN) ได้เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นพันธมิตรทางการเมือง มาเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจเพื่อเน้นความร่วมมือ โดยการเพิ่มมิติเรื่องทางสังคม-วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ เปรียบเสมือนการรำลึกถึงการประชุมอาเซียนเมื่อครั้ง พ.ศ. ๒๕๑๒ ที่เหล่าประเทศสมาชิกจะได้ย้อนกลับไปมองระเบียบวาระดั้งเดิม เพื่อค้นหาความร่วมมือทางด้านศิลปะ และกิจกรรมทางวัฒนธรรม หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ดำเนินงานภายใต้มูลนิธิ เจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน ที่มีพันธกิจในการสนับสนุนและส่งเสริมงานทางด้าน วัฒนธรรมอยู่แล้ว จึงตั้งใจที่จะต่อยอดวิสัยทัศน์นี้ และช่วยพัฒนาช่องทางในการสร้างความร่วมมือ และหวังว่านิทรรศการในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับทั้งคนไทยเองและเหล่าประเทศสมาชิก ในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เรามีอยู่ร่วมกัน อีกทั้งยังทำให้เห็นอีกว่าเราควรที่จะเปิดช่องทางการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยใช้นิทรรศการศิลปะ เป็นพื้นที่และเวทีสำหรับศิลปินประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน เพื่อการแบ่งปันข้อมูล แลกเปลี่ยนทัศนคติ รวมถึงร่วมมือกันในหลาย ๆ ระดับต่อไป


หากประวัติศาสตร์หมายถึงเรื่องราวในอดีตที่ถูกบันทึกและจดจำ แต่ก็รวมหมายถึงเรื่องราวที่ไม่ถูกบันทึก และถูกลืมเลือนด้วย ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงสมควรที่จะถูกกลับไปมองและสำรวจอีกครั้ง ‘TRACES’ หรือ ‘ร่องรอย’ นิทรรศการงานวิดีโอและภาพถ่าย ที่จะร่วมรื้อค้นความทรงจำร่วมในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิทรรศการในครั้งนี้มุ่งที่จะเป็นพื้นที่และกลไกผลักดันสำหรับคนไทย และประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน ให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัยและงานวิจัย ทางสังคมวิทยา ซึ่งพูดถึงประเด็นความทรงจำร่วมและพื้นที่สาธารณะ รวมถึงการพลิกรื้อประวัติศาสตร์สงครามเวียดนาม และการสร้างชาติของประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราเข้าใจประเทศและประวัติศาสตร์เหล่านี้มากขึ้นผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัย รวมทั้งช่วยให้เราเข้าใจในตัวตนและเห็นการเป็นชุมชนร่วมของประเทศ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


นิทรรศการในครั้งนี้ยังมุ่งที่จะตั้งคำถามว่า ประวัติศาสตร์หรือความทรงจำร่วม ทางสังคมใดที่เรายังคงมีร่วมกันอยู่ ระหว่างประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อะไรคือสิ่งที่เราเลือกที่จะจำ และอะไรคือสิ่งที่เราหลงลืม หรืออะไรคือสิ่งที่ทำให้เราเกิดการตั้งคำถาม นิทรรศการ ‘TRACES’ จะรื้อค้นอีกครั้งกับ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พื้นที่ทางสังคม และความทรงจำร่วม รวมถึงปฏิกิริยาของปัจเจกบุคคลต่อสังคมที่หยุดนิ่ง และต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วในบางประเทศ ผลงานที่นำมาจัดแสดงมีทั้งผลงานภาพถ่าย โครงการวิจัย วิดีโอสารคดี และสารคดีเทียม (mockumentary) โดยศิลปิน ๑o ท่าน จากประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียดนาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า กัมพูชา และสหรัฐอเมริกา


โดยงานแสดงจะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ประกอบด้วย ส่วนแรกที่ว่าด้วย ‘พื้นที่ทางสังคมและความทรงจำร่วม’ โดยมีผลงานภาพถ่ายของ Philip Jablon ที่แสดงถึงการล่มสลายของโรงหนังชุมชน และการหดหายของพื้นที่สาธารณะในประเทศไทย และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลงานวิดีโอ ‘กรุงเทพตอนเย็น ๆ’ โดยสมพจน์ ชิตเกษรพงศ์ ที่เรียกร้องให้เกิดการตั้งคำถามและมองกิจวัตรประจำวัน ในการยืนตรงเคารพเพลงชาติ ในพื้นที่สาธารณะ งานภาพถ่ายของ ณัฐพาส จิระสถิตย์วรกุล ‘school uniforms’ ที่พูดถึงหนึ่งในกฎระเบียบของโรงเรียน ที่ตั้งขึ้นเพื่อ ลดความแตกต่างและสร้างมาตรฐานให้เป็นหนึ่งเดียว และงานภาพถ่าย ‘Bomb Pond’ ของ Vandy Rattana ที่แสดง ภาพภูมิทัศน์ในชนบทของประเทศกัมพูชา ซึ่งถูกวางระเบิดอย่างรุนแรงโดยทหารสหรัฐ ในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งเปรียบเสมือนบทบันทึกชี้แจ้งความจริง ที่แอบแฝงอยู่ในประเทศ และอยู่ในชาวกัมพูชา


ส่วนที่สองของนิทรรศการกับ ‘การพลิกรื้อประวัติศาสตร์เรื่องราวยุคหลังการล่าอาณานิคมและ ยุคหลังสงครามเวียดนาม’ กับผลงานวิดีโอ ‘ReLooking’ โดย Wong Hoy Cheong ที่เสนอเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกแต่งขึ้นของการล่าอาณานิคมของรัฐมาเลเซีย ที่มีอำนาจเหนือประเทศออสเตรีย เช่นเดียวกับผลงานวิดีโอ ‘Utama – Every Name in History is I’ ของ Ho Tzu Nyen ที่เป็นการผสมผสานระหว่าง ตำนาน เรื่องแต่ง และสารคดีประวัติศาสตร์การค้นพบประเทศสิงคโปร์ และผลงานวิดีโอ ‘Chronicle of a Tape Recorded Over’ โดย Nguyen Trinh Thi ที่บันทึกปากคำ ประวัติศาสตร์ ผ่านปากของสามัญชนคนเล็กคนน้อย ที่อาศัยอยู่บนเส้นทางลำเลียงสายสำคัญของโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นเส้นทางในการลำเลียงเสบียงและกำลังพลจากเหนือลงใต้ในยุคสงครามเวียดนาม


ส่วนสุดท้ายของนิทรรศการจะพูดถึง ‘การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และการต่อรองกับตนเอง’ ประกอบด้วย ผลงานวิดีโอ ‘Route 3’ โดย Patty Chang และ David Kelley ที่บอกเล่าเรื่องราว เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ ที่อยู่ติดกับเส้นทางที่เพิ่งสร้างขึ้นเพื่อขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจีน ลาว และไทย และงานภาพถ่าย พร้อมวิดีโอ ‘F n' F (Face & Fingers)’ โดย Moe Satt ศิลปินชาวพม่า กับภาพสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนความคิด เรื่องของสิ่งที่มีความหมาย และไร้ความหมาย


สนับสนุนโดย มูลนิธิ เจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน, Bloom Pro Lab & Studio และ บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด (จิม ทอมป์สัน)

ติดต่อ : โทร. o๒-๖๑๒-๖๗๔๑, o๘o-๑๑๗-๘๙๑๑

อีเมล์ pr_artcenter@jimthompsonhouse.com


ภาพและข้อมูลจากเวบ wikalenda.com












“ศิลปะบำบัดด้วยกระบะทราย”


สัมผัสประสบการณ์ทางจิตวิญญาณผ่านงานสร้างสรรค์ศิลปะในกระบะทราย สำหรับผู้ที่แสวงหาการเติบโตภายใน รวมทั้งผู้ที่ต้องการเครื่องมือใหม่ ๆ ในการแสดงออกเพื่อการบำบัดฟื้นฟูจิตใจ ร่วมเรียนรู้กับวิทยากรชาวแคนาดา Linda McLagan & Nancy MacDougal ผู้สั่งสมประสบการณ์การใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ทั้งศิลปะ ละคร การเล่นบำบัด และการบำบัดด้วยกระบะทรายมากว่า ๑๓ ปี


นิทรรศการจัดตั้งแต่วันที่ ๒o - ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ 
เวลา ๑o.oo - ๑๗.oo น.
สถานที่ : ศูนย์ศิลปะฮิวแมนเซ็นเตอร์ เลขที่ ๔๙๕ ถ. ราชวิถี กรุงเทพมหานคร ๑o๔oo
โทรศัพท์ o๒-๒๔๖-o๑๗๒ โทรสาร o๒-๖๔๔-๙๖oo
เว็บไซต์ //www.art4human.com/work.html






ภาพและข้อมูลจากเวบ
ardelgallery.com
wikalenda.com













"ภาพถ่ายฝีมือชั้นครู พรศักดิ์ ศักดิ์แดนไพร"


หากบทเพลงและภาพลักษณ์ของนักร้องลูกทุ่ง คืออัตลักษณ์ของคนไทยชั้นล่างและคนชนบทส่วนใหญ่ ห้องภาพพรศิลปของ พรศักดิ์ ศักดิ์แดนไพร ก็ประสบความสำเร็จ ที่สามารถเนรมิตความฝันของคนหนุ่มสาวชาวพิมายผู้มีผิวคลำดำเกรียมกร้านแดดจากไร่นา ให้ดูหล่อเหลา สวยคม ราวกับเทพบุตร-เทพธิดานักร้องลูกทุ่งบนปกแผ่นเสียงที่พวกเขาบูชา






ภาพถ่ายขาว-ดำจำนวน ๓o ชิ้นของ พรศักดิ์ ศักดิ์แดนไพร (วัย ๗๔ ปี) ช่างภาพอาวุโสมือหนึ่งจากอำเภอพิมาย นครราชสีมา ถ่ายขึ้นในปี ๒๕o๘ – ๒๕๑o คือภาพสะท้อนอิทธิพลและแรงบันดาลใจอย่างดี จากยุคทองยุคแรกของเพลงลูกทุ่งไทย เมื่อผู้คนในชุมชนเก่าที่สุดแห่งหนึ่งของไทย กำลังเปิดรับและก้าวสู่ความทันสมัย “ศิวิไลซ์” ด้วยการเดินเข้าร้านถ่ายรูปพรศิลปกันอย่างคึกคัก






คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี่ มีความภูมิใจที่จะเสนอผลงานภาพถ่ายของ พรศักดิ์ ศักดิ์แดรไพร ที่อัดขยายจากฟิล์มกระจกต้นฉบับ ซึ่งไม่เคยแสดงที่ใดมาก่อน เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่ “ช่างภาพชั้นครู” อันนับเป็นหนึ่งในโครงการของแกลเลอรี่ “ค้นหาครูถ่ายภาพไทย” (Seeking Forgotten Thai Photographers) ที่ประวัติศาสตร์ภาพถ่ายไทยยังมิได้บันทึก

นิทรรศการเปิดให้ชมทุกวัน (เว้นวันจันทร์) ตั้งแต่ ๗ กรกฎาคม – ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๑.oo - ๑๙.oo น. โทร o๒-๒๓๔-๖๗oo


ภาพและข้อมูลจากเวบ goplaymagazine.com ๔












"Cinema Diverse"


หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครฝ่ายกิจกรรม ร่วมกับ Films Forum เสนอ โครงการฉายภาพยนตร์คัดสรร Cinema Diverse นำเสนอภาพยนตร์จากนานาประเทศ เนื้อหาเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นน่าสนใจ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้สัมผัสกับประสบการณ์ แนวคิด และมุมมองที่แตกต่างจากวัฒนธรรมที่แวดล้อมอยู่ในปัจจุบัน






ช่วงท้ายรายการมีการเสวนากับผู้กำกับ นักแสดงนำ และทีมผู้สร้างภาพยนตร์ เพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์และมุมมองของผู้สร้างภาพยนตร์ให้ได้แลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างผู้สร้างสรรค์งานและผู้เสพงานศิลปะในเชิงภาพยนตร์


กำหนดการฉายภาพยนตร์ ที่ห้อง Auditorium ชั้น ๕ หอศิลปกรุงเทพฯ เดือนมิถุนายน – เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๑๗.oo - ๒๑.oo น. รายละเอียดดังนี้

อาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ Colors of Passion (อินเดีย)

เสาร์ที่ ๒๘ กรกฏาคม ๒๕๕๕ August Drizzle (ศรีลังกา)

เสาร์ที่ ๒o ตุลาคม ๒๕๕๕ Nino (ฟิลิปปินส์)

เสาร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ The Clay Bird (บังคลาเทศ)

เสาร์ที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ ฟ้าทะลายโจร






ภาพและข้อมูลจากเวบ เฟซบุคหอศิลปกรุงเทพฯ













"Selectively Revealed"


๙ มิถุนายน - ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ออสเตรเลียนำนิทรรศการมีเดียอาร์ท เชิญผู้ชมชาวไทย ค้นหาเส้นแบ่งระหว่างความเป็นสาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว ผลงานวีดิทัศน์ “We dance in the studio (to that shit on the radio)” โดย ไมเคิล ซาวโรส สถานทูตออสเตรเลีย กรุงเทพฯ และ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ศูนย์วิทยทรัพยากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภูมิใจเสนอ Selectively Revealed นิทรรศการผลงานด้านมีเดีย อาร์ท ของศิลปินร่วมสมัยผู้มีชื่อเสียงชาวออสเตรเลีย Selectively Revealed นิทรรศการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ ๖o ปีความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและไทย


ซาร่าห์ บอนด์ (เอเชียลิงค์)และ แคลร์ นีดแฮม (เอ็กซ์เพอริเมนต้า) สองภัณฑารักษ์ของนิทรรศการสำรวจแนวคิดว่าอะไรคือความเป็นสาธารณะ และอะไรคือความเป็นส่วนตัวในสังคมร่วมสมัยของเรา แม้ที่ผ่านมาจะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าอะไรคือเรื่องภายในหรือส่วนตัว และอะไรเป็นเรื่องภายนอกหรือสาธารณะ แต่ในโลกปัจจุบันซึ่งมีทั้งรายการโทรทัศน์ที่แสดงสภาพความเป็นจริง (เรียลลิตี้ทีวี) ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค และวีดิทัศน์คำสารภาพทางยูทูบ คำอธิบายเดิม ๆ นั้นก็ไม่เพียงพออีกต่อไป


นิทรรศการ SelectivelyRevealed นำเสนอผลงานศิลปะของศิลปินชาวออสเตรเลีย ๑๒ คน ภายใต้แนวคิดดังกล่าวผ่านจอภาพและเทคนิคการถ่ายทำวีดิทัศน์ร่วมสมัยที่หลากหลาย






มร ไซมอน ฟาร์เบนบลูม อัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยจะเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการในวัน ศุกร์ที่ ๘ มิถุนายน เวลา ๑๘.๓o น.โดยก่อนเริ่มพิธี ซาร่าห์ บอนด์ หนึ่งในภัณฑารักษ์จะนำผู้ที่สนใจเข้าชมและฟังการบรรยายรอบพิเศษเริ่ม เวลา ๑๖.๓o น. ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ ผู้ที่สนใจเข้าชมรอบพิเศษนี้โปรดติดต่อสถานทูตออสเตรเลีย กรุงเทพฯ ที่เบอร์ o๒-๓๔๔-๖๔๖๓ หรือ o๒-๒๑๘-๒๙๖๕


นิทรรศการสัญจรครั้งนี้เดินทางสู่ประเทศไทย ด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันเอเชียลิงค์ แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นและเอ็กซ์เพอริเมนต้า มีเดีย อาร์ท เพื่อนำเสนอความหลากหลายและพลังแห่งศิลปะมีเดียอาร์ทร่วมสมัยในปัจจุบัน


นิทรรศการนี้รวบรวมผลงานจากหลายศิลปินได้แก่ ปีเตอร์ อัลเวสท์, แคทเธอรีน เบลล์, จูเลีย เบิร์นส์, เพเนโลเป้ เคน, คริสโตเฟอร์ ฟูลแฮม, ไอโซเบล โนเลส และ แวน โซเวอไวน์, อนาสตาเซีย โคลเซ่, เจส แมคนิล, แองเจอริก้า เมซิติ, มิส แอนด์ มิสเตอร์, แอนนี่ สก็อต วิลสัน และ ไมเคิล ซาวโรส


ภาพและข้อมูลจากเวบ artbangkok.com













"Nice to Meet You Anyway"


โอเพ่น มิวเซียม นางแล ภูมิใจเสนอ “ไนซ์ทูมีทยูเอนี่เวย์” การนำเสนอผลงานเกี่ยวกับศิลปะและการออกแบบ โดย จีเอ็มโปรเจค จากประเทศญี่ปุ่น


นิทรรศการ : Nice to Meet You Anyway

ศิลปิน : Hideki, Chiako, Nami, Rui, Mao, Ryu, Yasumasa

สถานที่ : โอเพ่น มิวเซียม นางแล 99 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ต.นางแล อ.เมือง เชียงราย ๕๗๑oo

วันที่ ๒o กรกฎาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๗.๓o - ๒o.๓o น.

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ : อังกฤษ อัจฉริยโสภณ โทร : o๘๖-๙๑๑-๕๓๓๑

อีเมล์ : angkrit@gmail.com


ภาพและข้อมูลจากเวบ artbangkok.com









ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย


"ประกวดศิลปกรรมร่วมสมัยประจำปี ๒๕๕๕"


ธนาคารกสิกรไทยจัดประกวดศิลปกรรมร่วมสมัยประจำปี ๒๕๕๕ ชิงเงินรางวัล ๑.๔ ล้านบาท เน้นเป็นเวทีให้ศิลปินไทย-เทศสร้างสรรค์ผลงาน ๒ มิติ ๓ มิติอย่างอิสระ เปิดรับงานจากทุกภาคทั่วไทย ๗ - ๙ กันยายนนี้


ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทย ได้จัดการประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ประจำปี ๒๕๕๕ ซึ่งนับเป็นเวทีระดับชาติที่เปิดโอกาสให้ศิลปินไทยหรือศิลปินต่างชาติที่พำนักในไทยไม่น้อยกว่า ๖ เดือน สามารถส่งผลงานที่สร้างสรรค์แนวเรื่องอย่างอิสระตามความคิดและฝีมือของตนเอง เข้าร่วมประกวดได้ โดยแบ่งประเภทศิลปกรรมเป็น ๒ ประเภท คือ


ผลงานศิลปกรรมที่มีลักษณะ ๒ มิติ ได้แก่ งานวาดเส้น (Drawing) งานจิตรกรรม (Painting) และงานภาพพิมพ์แบบต่าง ๆ (Print) และผลงานศิลปกรรมที่มีลักษณะ ๓ มิติ ได้แก่ งานประติมากรรม (Sculpture) รวมถึงผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบอื่น ๆ โดยกำหนดให้ประเภทงาน ๒ มิติ จะต้องมีขนาดกว้างและยาวด้านละไม่เกิน ๒ เมตร เมื่อรวมกรอบ ส่วนประเภทงาน ๓ มิติ จะต้องมีขนาดกว้าง ยาว และสูง ด้านละไม่เกิน ๑ เมตร ไม่รวมแท่นฐาน โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องใช้วิธีการและวัสดุที่คงทนถาวร อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะติดตั้งได้


ภาพและข้อมูลจากเวบ kasikornbank.com










"ประกวดศิลปกรรมร่วมสมัยประจำปี ๒๕๕๕"


การแสดงภาพพิมพ์และวาดเส้นนานาชาติครั้งที่ ๓ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ จัดแสดง ณ หอศิลป์กรุงเทพมหานคร ตรงข้ามมาบุญครอง ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม - ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เปิดให้ชมวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา ๑o.oo- ๑๙.oo น. (ปิดวันจันทร์)


การแสดงภาพพิมพ์และวาดเส้นนานาชาติครั้งนี้ ประกอบด้วยผลงานที่ได้รับรางวัลและคัดเลือกเข้าร่วมแสดงประเภทภาพพิมพ์ และวาดเส้นของศิลปินจากทั่วโลก จำนวน ๒๔๖ ชิ้น นอกจากนี้ ยังมีการสาธิตการทำผลงานภาพพิมพ์ และการฉายวีดิทัศน์เกี่ยวกับการทำศิลปภาพพิมพ์ในงานอีกด้วย


หลังจากนั้นจะนำไปจัดแสดงนิทรรศการสัญจร ระหว่างวันที่ ๑o มกราคม – ๒o กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และประมาณเดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ จัดแสดง ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่






ภาพและข้อมูลจากเวบ wikalenda.com










ภาพจากเวบ เฟซบุค Rama IX Museum Foundation.


"ทิวทัศน์ชนบทและภาพนู้ด"


๓ ก.ค. - ๕ ส.ค. ๒๕๕๕ ขอเชิญชมนิทรรศการ "ทิวทัศน์ชนบทและภาพนู้ด" โดยชาญ สุธาราพงศ์ จิตรกรอิงเพรสชั่นนิสท์ ณ ห้องสมุดแนลสันเฮส์ ๑๙๕ ถนนสุรวงศ์ บางรัก กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา o๙.๓o-๑๗.oo น. สอบถามโทร. o๒-๒๓๓-๑๗๓๑ หรือ o๒-๙๕o-๖o๔๙ ดูเพิ่มเติมที่ neilsonhayslibrary.com


ภาพและข้อมูลจากเวบ thaidragonnews.com


บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii

Free TextEditor




Create Date : 19 กรกฎาคม 2555
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2555 18:55:48 น.
Counter : 6563 Pageviews.

0 comments
봄 처녀(Virgin spring) by 홍난파(NanPa Hong) ปรศุราม
(17 เม.ย. 2567 10:09:12 น.)
บันเทิงเริงจีน 449:เทพีมหาสงกรานต์ 67/หมีเซียะ&เซียะหลี/21ปีเลสลี่/Kowloon Walled City/บุปผารักอลวน ข้าน้อยคาราวะ
(12 เม.ย. 2567 20:34:55 น.)
Udankhatole(उड़न खटोला) from Jubilee (TV Series) ปรศุราม
(2 เม.ย. 2567 10:34:32 น.)
วาดสวย สมาชิกหมายเลข 4313444
(27 มี.ค. 2567 08:29:19 น.)

Haiku.BlogGang.com

haiku
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]

บทความทั้งหมด