เริ่มต้นโมเดลความสามารถ
การจัดทำ Competency Scorecard นอกจากธุรกิจจะต้องมีความเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวไว้อยู่เสมอคือ การเลือกที่จะนิยามความสามารถให้ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

มีตัวอย่างของธุรกิจหลายแห่งที่ผู้เขียนได้มีโอกาสทั้งการเข้าไปดำเนินการในด้านการจัดทำกลยุทธธุรกิจ หรือปรับระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งธุรกิจ
หลายๆ แห่งเหล่านี้จะพูดกันเป็นแฟชั่นแล้วว่า ได้จัดทำเรื่องของความสามารถ
แต่เข้าไปดูเนื้อหาจริงๆ ปรากฏว่า
*มีความเป็นสีเทาค่อนข้างสูงในสิ่งที่เรียกว่า องค์ประกอบของความสามารถ หมายความว่า ไม่มีความชัดเจนในความหมาย รายการความสามารถกำกวมและไม่อาจจะอธิบายในเชิงรูปธรรมให้เป็นที่เข้าใจได้โดยทั่วไปทั้งองค์กร
*วิธีที่จะใช้ในการประเมินนิยมในรูปแบบของ รายการตรวจสอบ (Checklist) หรือเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งไม่อาจนำไปสู่การวัดหรือประเมินความสามารถที่แท้จริงได้
*สุดท้ายไม่รู้ว่าเข้าใจจริงหรือไม่ เพราะชอบพูดว่า
ได้มีการจัดทำ “ดิกชันนารีความสามารถ” ทั้งนี้เพราะว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการไปรวมนิยามและรายการพฤติกรรมความสามารถเข้ามาไว้อยู่ด้วยกัน


การจัดทำโมเดลความสามารถที่ธุรกิจสามารถดำเนินการได้นั้นสามารถสรุปเป็นวิธีการหลักๆ ได้ในหลายวิธีการด้วยกัน ซึ่งผู้เขียนเคยสรุปไว้ดังนี้
เทคนิควิธีที่ว่าไว้ในเรื่องการจัดทำ โมเดลความสามารถนั้น ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดจะต้องมีลำดับขั้นตอนที่เป็นสากลคือ
1)ธุรกิจจะต้องกำหนดนิยามความสามารถให้ถูกต้องและเป็นที่เข้าใจทั่วทั้งองค์กร
2)การตัดสินในใจวิธีการกำหนดกลยุทธในการจัดทำโมเดลความสามารถ อาจจะพิจารณาจากแนวทางต่อไปนี้

โครงสร้างของโมเดลความสามารถจะประกอบด้วยส่วนประกอบอะไรบ้าง เช่นโมเดลความสามารถทั่วไป
ซึ่งโดยปกติจะมีองค์ประกอบของโมเดลความสามารถ ในหลายองค์ประกอบทั้งนี้ธุรกิจอาจจะใช้ 6 องค์ประกอบ หรือ 8-12 องค์ประกอบก็ได้โดยจะขึ้นอยู่กับผลการศึกษาหรือวิเคราะห์เพื่อค้นหาโมเดลความสามารถนั้นๆ และในแต่ละองค์ประกอบของความสามารถ จะมีส่วนสำคัญหลักๆ คือ นิยามองค์ประกอบของความสามารถ รายการที่บ่งบอกถึงองค์ประกอบของความสามารถตามนิยามที่กำหนดไว้และระดับของความสามารถ
*ต้องกำหนดหรือตกลงกันให้ได้ว่าทั้งองค์การจะมีกี่โมเดลความสามารถ จึงจะครอบคลุมต่อในการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
-โมเดลความสามารถของผู้นำ เป็นการกำหนดโมเดลความสามารถสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ
-โมเดลความสามารถของผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งมักจะประกอบด้วยโมเดลความสามารถทั่วไป และโมเดลความสามารถเฉพาะตำแหน่งหรือด้านทักษะวิชาชีพ
-โมเดลความสามารถของพนักงาน หรือมักจะเรียกกันว่า โมเดลความสามารถทั่วไป ซึ่งจะมี 2 ส่วนของโมเดลหลักๆ คือ โมเดลความสามารถทั่วไปและโมเดลความสามารถด้านเทคนิคหรือทักษะวิชาชีพ

อ.ดนัย เทียนพุฒ
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants



Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2549
Last Update : 23 กรกฎาคม 2550 22:17:29 น.
Counter : 890 Pageviews.

2 comments
  
ศักยภาพธุรกิจประกันวินาศภัยคือ
โดย: ศรัณยธร/secretary@newindia-bkk IP: 203.121.152.222 วันที่: 29 มีนาคม 2549 เวลา:10:09:09 น.
  
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรก็ตามสิ่งที่เป็นความเก่งหรือความเชี่ยวชาญ ที่คู่แข่งไม่สามารถทำตามหรือเรียนแบบได้ สิ่งนั้น ละ! คือ ศักยภาพ

อ.ดนัย เทียนพุฒ
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants
โดย: Danai IP: 58.8.115.24 วันที่: 13 พฤษภาคม 2549 เวลา:10:40:05 น.

Dnt.BlogGang.com

dnt
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]

บทความทั้งหมด