The IC Mapping Model: การแปลงธุรกิจให้ได้ทุนทางปัญญา

The IC Mapping Model

การรับเชิญไปบรรยายในเรื่อง HR Scorecard ให้กับหลายๆธุรกิจหรือการขยายความคิดในด้านการบริหาร HR แนวใหม่ ผู้เขียนมักจะเสนอ “SICM Model” (A Strategic In-tellectual Capital Model) ซึ่งเป็นโมเดลหลักในการวัดทุนทางปัญญา (Intellectual Capital Metric)

จุดใหญ่ใจความของความใหม่ใน HR อยู่ที่ว่า

การบริหารคนที่ครอบคลุมทั้งการบริหาร HR ในทุกๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นการบริหารและการพัฒนาคนในองค์กร

* ผู้เขียนศึกษาและสังเคราะห์ว่าขอบเขตของ HR Scorecard นั้นจะมีมิติทั้งความกว้างและความลึกขนาดไหนในบริบทของการบริหาร HR ในธุรกิจ


* ตลอดระยะเวลา 2 ปีเศษๆ (ช่วงปี 2547-2549) ที่ผู้เขียนทำการวิจัยเพื่อสังเคราะห์หาโมเดลทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทยจึงทำให้ต้องอ่านและศึกษาเรื่องทุนทางปัญญา (IC) ทั้งๆ ที่ได้ศึกษาเรื่องนี้มาก่อนเป็นเวลาพอสมควร แต่อยากเปลี่ยนความคิดใหม่ไม่ไปย้อนพิจารณาของเดิมโดยเริ่มศึกษาทั้งด้านสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Assets) การจัดการความรู้ (KM) ทุนทางปัญญา (IC) และทุนมนุษย์ (Human Capital) ในทุกๆ มิติเท่าที่จะทำให้การวิจัยเรื่องโมเดลทุนทางปัญญามีองค์ประกอบและ KPIs วัดอย่างชัดเจน


* มีโอกาสศึกษางานวิจัยในบริบทของ HR เกือบทั้งหมดอยู่ประมาณ 2 ปีเศษๆ นั้นพร้อมกับเกิดตกผลึกทางความคิดว่า
(1) HR Scorecard น่าจะมีขอบเขตกว้างที่สุดคือ สามารถครอบคลุมในเรื่องดัชนีวัดผลด้าน HR (HR Indicator) การจัดการผลงาน (Performance Management) ที่พูดๆ กันอยู่ในการวัดผลงานพนักงานอาจจะรวมวัดผลการฝึกอบรมและพัฒนาด้วย และการลงทุนด้านคน (Human Capital Investment) ที่ครอบคลุมในเรื่อง การจัดการทุนมนุษย์ (HCM: Human Capital Management) การวัดทุนทางปัญญา (IC Metric)


(2) ขอบเขตการบริหาร HR นั้นมีความครอบคลุมและกว้างมากกว่าแต่เดิม
มิติทางแนวตั้ง (Vertical Dimension) เป็นการพิจารณาในเชิงเศรษฐกิจมูลค่า (Value-Based Economy) คือการขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจเดิมที่เป็นการมุ่งเน้นงาน (Job-Based Approach) ไปสู่เศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง (Higher Value) ในเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ซึ่งเป็นเรื่องของการขับเคลื่อนด้วย สิ่งที่จับต้องไม่ได้/นวัตกรรมหรือสมรรถภาพ (Capabilities)
มิติแนวนอน (Vertical Dimension) คือ การบริหาร HR ในบทบาทของสินทรัพย์ที่จับต้องได้ที่ปรับจากการพนักงาน (Personnel) ไปสู่การบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM: Human Resource Management) แล้วก้าวเข้าสู่การจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ หรือทุนทางปัญญา (Intangible Assets/Intellectual Capital) ซึ่งเราเรียกในเบื้องต้นของ HR แนวนี้ว่า Human Capital Management แต่ขั้นสูงจะเรียกว่า Human Capital Investment
มิติทางแนวลึก (In-Depth Dimension) คือ การขับเคลื่อนจากงาน HR ที่เป็นงานสนับสนุนธุรกิจ (Supporting Unit) ไปสู่พันธมิตรธุรกิจ (Business Partners) และสุดท้ายในความลึกคือ ผู้คุมเกมกลยุทธ (Strategic Player)
แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนอยู่บ้าง แต่งานบริหาร HR ยุคใหม่ต้องมีทั้งมิติแนวตั้ง-แนวนอน-แนวลึก


(3) CWD มิติใหม่แกะกล่องของการพัฒนาคน ผลการศึกษาและสังเคราะห์ย้อนหลังในเชิงลึกพร้อมกับข้อมูลใหม่ในช่วงที่ผู้เขียนศึกษาด้านการจัดการธุรกิจในระดับปริญญาเอกได้ สังเคราะห์โมเดลใหม่ของการพัฒนาคนขึ้นมาโดยเรียกว่า 4-D Human Resource Development หรือมิติของการพัฒนาคน
โดยต้องบูรณาการด้านการวัดผลลัพธ์เข้ามาเป็นตัวตั้งของงาน HRD และในงานของ HRD เองจะมีอยู่ 3 มิติคือ 1) มิติด้านคน (People Dimension) เป็นการปรับเปลี่ยนสินทรัพย์ด้านคน (People Assets) กับวัฒนธรรมความรู้ (Knowledge Culture) โดยชี้ประเด็นว่าองค์กรต้องการคนที่มีทุนทางปัญญา (IC) ที่เกิดมาจากวัฒนธรรมการผลิตความรู้ไม่ใช่วัฒนธรรมการรับรู้ 2) มิติการพัฒนา (Development Dimension) คือ การพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งแท้จริงคือ การต่อยอดของงาน HRD เดิมที่มีเพียงการพัฒนารายคน (Individual Development) การพัฒนาอาชีพ (Career Development) และการพัฒนาองค์กร (OD) โดยจะต้องก้าวไปสู่ CDW (Corporate Wellness Development) องค์กรที่ยั่งยืนเปี่ยมสุข และ 3) มิติการจัดการความรู้ (KM Dimension) คือ การคว้าจับ การแบ่งปัน การประยุกต์และสร้างความรู้

The IC Mapping Model

การศึกษาและสังเคราะห์สิ่งที่เป็นความรู้ใหม่ๆ ด้านการบริหาร HR ผู้เขียนได้ค้นพบและนำไปสู่การพัฒนาโมเดลที่ใช้แปลงวิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจ (Mission) หรือนโยบายคุณภาพ (Quality Policy) ไปสู่ โมเดลทุนทางปัญญาที่มีองค์ประกอบของทุนทางปัญญาและดัชนีวัดทุนทางปัญญาพร้อมเบ็ดเสร็จ ซึ่งสามารถนำเสนอให้ดูได้ดังรูป

สำหรับในรายละเอียดจะขออธิบายลงลึกในส่วนที่เป็นเนื้อหาด้านนี้โดยเฉพาะของหนังสือ HR Scorecard- การวัดผลสำเร็จด้านคน

*New Business Knowlegde Network By Dr.Danai Thieanphut
1. Business Management : //biz2all.blogspot.com
2. Family Business : //drdanai.blogspot.com
3.สถาบันการจัดการความรู้แห่งประเทศไทย : //thekmthailand.blogspot.com

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNTConsultants Co.,Ltd.




Create Date : 23 มกราคม 2551
Last Update : 23 มกราคม 2551 11:39:57 น.
Counter : 1693 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Dnt.BlogGang.com

dnt
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]

บทความทั้งหมด