ความสามารถคืออะไรกันแน่
ความสามารถคือะไร
ความสามารถใช่สิ่งใหม่หรือไม่
ความสามารถเป็นเรื่องเดียวกับความรู้ ทักษะ ทัศนคติหรือไม่
ความสามารถเป็นเรื่องของทุนมุนษย์ใช่ไหม
ความสามารถคือ การมองในแง่มุมทางจิตวิทยาอย่างนั้นหรือ
ความสามารถ สมรรถนะ/สมรรถภาพ ความเก่ง ความเชี่ยวชาญพิเศษ เป็นเรื่องเดียวกันใช่ไหม
โอ้! น่ามึนจัง ทำไมจึงมีความแตกต่างและมุมมองที่หลากหลายจัง



Create Date : 05 ธันวาคม 2548
Last Update : 23 กรกฎาคม 2550 22:20:48 น.
Counter : 8067 Pageviews.

6 comments
  
คำตอบมีที่นี่ครับ
โดย อ. ดนัย เทียนพุฒ
ผู้เชี่ยวชาญและรู้อย่างลึกซึ้งของเมืองไทย
โดย: Aj.Danai (dnt ) วันที่: 5 ธันวาคม 2548 เวลา:22:42:24 น.
  
ว่าด้วยคำว่า ความสามารถ
ในช่วงที่ผมทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับความสามารถให้กับ สำนักงาน ก.พ. ซึ่งได้มีการสอบถามผมว่า “Competency” จะใช้ภาษาไทยว่าอย่างไรดี เพราะทางสำนักงาน ก.พ.ได้นิยามกันไว้แล้วในภาษาไทย แต่ไม่ได้ใช้คำว่า “ความสามารถ”
ผมเองก็บอกว่าไม่เป็นไร จะใช้อะไรก็ได้ในระบบราชการ แต่ผมอยู่ในภาคธุรกิจผมขอให้ “ความสามารถ” และในรายงานทุกฉบับผมก็ขอใช้ตามแบบธุรกิจ
ทั้งนี้ก็เพราะคำภาษาอังกฤษมีที่มาต่างกัน คือ “Competence” “Competency” “Core Competency” “Capability” “Ability” และ “Talent”
แต่ถ้าไปดูพจนานุกรมของไทยในแทบทุกเล่มเกี่ยวกับคำศัพท์ข้างต้นแล้วเป็นอันปวดต่อมความคิดเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงและไม่ตรงกับการใช้จริงในธุรกิจหรือโลกสมัยใหม่
โดย: Aj.Danai (dnt ) วันที่: 5 ธันวาคม 2548 เวลา:22:43:20 น.
  
ความสามารถเรื่องเก่าเล่าใหม่?

หลายๆ ท่านคงจำวลีหรือประโยคต่อไปนี้ที่ชอบพูดกันมากในหมู่ผู้บริหาร หรือเป็นตัวอย่างในที่ประชุมทางธุรกิจ
......เราได้เสียพนักงานขายที่เป็นระดับ “เซียน” ไปคนหนึ่ง แต่กลับได้รับ “ผู้บริหารงานขาย” แย่ๆ มาคนหนึ่ง
......เราได้เสียหมอผ่าตัดมือดีไปคนหนึ่ง แล้วได้รับผู้อำนวยการโรงพยาบาลแย่ๆ มาคนหนึ่ง
2 ประโยคข้างต้นนี้เราได้ยินบ่อยมากและก็มากขึ้นในกรณีที่เราจะต้องแต่งตั้งผู้-บริหารใหม่ๆ ขึ้นมารับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่สูงสุด ถ้าจะพิจารณาในแนวคิดของการบริหารธุรกิจก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะใช้หลักการหรือทฤษฎีอะไรมาอธิบายในเรื่องดังกล่าว แต่ถ้าหากมีทฤษฎีแล้วยังตอบคำถามไม่ได้ก็คงหนีไม่พ้นต้องลงมือทำในสิ่งที่เรียกว่า “วิจัยธุรกิจ” กันเลย แต่อย่าเพิ่งตกใจนะครับเราไม่ได้ไปไกลขนาดนั้น
“ ความสามารถ (Competency) ในปัจจุบันไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจและอีกหลายๆ หน่วยงานมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สับสนและใช้อย่างลุ่มๆ ดอนๆ หรือคิดว่าใช้ได้อย่างถูกต้อง แต่เป็นความผิดในนัยที่กลายเป็นความนิยม
อ. ดนัย เทียนพุฒ ได้เปิดมิติความลุ่มลึกในเรื่องความสามารถที่เป็นความลงตัวอย่างสมบูรณ์มากๆ”

Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants
โดย: Aj.Danai (dnt ) วันที่: 4 มกราคม 2549 เวลา:13:10:50 น.
  
ความสามารถ (Competency) คืออะไรกันแน่!

สิ่งที่ผู้เขียนได้วิจัยและศึกษาในโครงการพัฒนา โมเดลความสามารถของข้าราชการไทย (ชื่อทางการเข้าใจยากแบบราชการจึงเรียกง่ายๆ ดังข้างต้น)
หากสรุปให้ชัดแล้วไม่มีข้อยุติในเรื่องของความสามารถ เพราะมีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกัน
จุดเริ่มต้น ของการศึกษาเรื่องของความสามารถ
ในปี 1960 David C. McClelland ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของการวัดIQ และบุคลิกภาพ หลังจากนั้นในปี 1973 ได้ตีพิมพ์บทความชื่อ "Testing for Competence Rather than Intelligence" (อ้างจาก Spencer : 1993, Competence at Work) สรุปว่าข้อสอบที่วัดด้านความถนัด (Aptitude Test) และวัดความรู้ (Knowledge Content) ไม่สามารถทำนายผลงานหรือความสำเร็จในชีวิตได้และเป็นที่มาของการวิจัยต่อมาว่า ตัวแปรความสามารถอะไรบ้างที่จะทำนายผลงานและไม่มีอคติจากเพศ เชื้อชาติ สถานภาพทางสังคม
วิธีการที่ McClelland ใช้คือ กำหนดเกณฑ์ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มผลงานสูงสุดหรือ Superstars กับกลุ่มคนระดับกลาง แล้วจึงใช้เทคนิคที่พัฒนาขึ้นมาเรียกว่า BEI (Behavioral Event Interview) เพื่อสัมภาษณ์บุคคลที่ประสบความสำเร็จ 3 คนและล้มเหลว 3 คน ซึ่งทำให้ได้คุณลักษณะของความสามารถที่แตกต่างระหว่างกลุ่มคนที่มีผลงานสูงสุดกับกลุ่มผลงานปานกลาง
ผลสรุปก็คือ McClelland พบว่า ผู้ที่มีผลงานซึ่งมีคุณค่าสูงสุด จะมีความแตกต่างที่คุณลักษณะส่วนบุคคล เช่น ความว่องไวต่อการประสานสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม (Cross-Cultural) ความสามารถที่จะเรียนรู้เครือข่ายทางการเมืองได้อย่างรวดเร็วและมีความคงที่มากในการทำนายผลงานมากกว่า การวัดผลสำเร็จจากวิธีการวัดทางจิตวิทยา (Psychometric Test)

Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants
โดย: Aj.Danai (dnt ) วันที่: 4 มกราคม 2549 เวลา:13:13:01 น.
  
ข้อค้นพบสำคัญในเรื่อง ความสามารถ
1) การสอบวัดทางจิตวิทยา (Psychometric Test) เช่น การสอบวัด
ความถนัด (Aptitude) การวัดความรู้ (Knowledge Content) ไม่สามารถทำนาย
ผลสำเร็จในการทำงานหรือการดำรงชีวิต
2) เป็นการปฏิวัติทางจิตวิทยาที่จะสนใจเพียงวัดด้านสติปัญญา
(Intelligence) และทดสอบบุคลิกภาพ (Personality Test) ไปสู่การหาเครื่องมือใหม่
ในการวัดและประเมินความสามารถ (Competency Assessment)

Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants
โดย: Aj.Danai (dnt ) วันที่: 4 มกราคม 2549 เวลา:13:13:49 น.
  
ในช่วงแรกนี้ (ปี 1973, 1982) แม้ว่า ความรู้เรื่องความสามารถที่กำลังแยกตัวออกจากความรู้ทางด้านจิตวิทยาจะไม่ชัดนักแต่ก็เป็นรูปร่างแล้วด้วยเหตุผลที่ว่า
"คะแนนทดสอบ (Test Score) ทางด้านความถนัด และการวัดความรู้
ไม่ทำนายผลสำเร็จในการทำงานและการดำเนินชีวิต"
"ความสามารถคือ คุณลักษณะของบุคคลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ
บทบาทในตำแหน่งนั้น
นั่นคือ==> ความสามารถเป็นแรงจูงใจ (Motives) ลักษณะ (Trait)
แนวคิด/ความคิดของตนเอง (Self-Concepts) ทัศนคติ (Attitude) หรือ คุณค่า
(Values) ความรู้ในเนื้อหา (Knowledge Contents) หรือความรู้-ความคิด
ทักษะเชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้หรือเชื่อได้ว่าได้แสดงถึง ความแตกต่าง
ระหว่างผู้ที่เหมาะสมที่สุด กับผู้ที่เหมาะสมปานกลาง หรือระหว่างผู้ที่มี
ประสิทธิภาพกับไม่มีประสิทธิภาพ"

Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants
โดย: Aj.Danai (dnt ) วันที่: 4 มกราคม 2549 เวลา:13:14:35 น.

Dnt.BlogGang.com

dnt
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]

บทความทั้งหมด