ทำไมจึงต้องเป็นความสามารถ
“ความสามารถคืออะไร คงเป็นคำถามที่ธุรกิจสนใจ แต่ ผู้บริหารธุรกิจส่วนใหญ่ไม่สามารถมาหาความหมายกันหรอก! เพราะเสียเวลาแต่ใช้กันเลย!!
ความสามารถแตกต่างจากความรู้ ทักษะและทัศนคติ อย่างไรหรือเป็นสิ่งที่เหมือนกัน ปัจจุบันมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมากมายในเรื่องของความสามารถ เพราะความสามารถก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้บริหารHR หรือผู้บริหาร HRD หรือเรียกให้ทันสมัยหน่อยก็ผู้บริหารทุนมนุษย์ รวมถึงที่ปรึกษาธุรกิจรุ่นใหม่ๆ รุ่นดั้งเดิมที่ขาดองค์ความรู้ในเรื่องนี้อธิบายกันในเวทีการสัมมนา



Create Date : 05 ธันวาคม 2548
Last Update : 23 กรกฎาคม 2550 22:20:14 น.
Counter : 756 Pageviews.

2 comments
  
“การใช้ระดับความสามารถ ตามแนวคิดของบลูม (Taxonomy’s-Bloom-Cognitive
Domain) ที่ กำหนดไว้ 6 ระดับคือ ความจำ-ความเข้าใจ-การนำไปใช้ การวิเคราะห์
การสังเคราะห์และการประเมิน
ต้องเข้าใจว่าเป็นระดับของสติปัญญาที่บอกความสำเร็จ (Achievement) ในการ
เรียนรู้อาจจะไม่เหมาะสมในการวัดระดับของความสามารถ (Degree of Competencies)
ซึ่งมีส่วนแรกที่เป็นระดับของสติปัญญา ในขณะที่ส่วนลึกมากๆ เป็นระดับจิตสำนึกหรือ
ระดับจิตใต้สำนึก ซึ่งสาระบบด้านขอบเขตความรู้-ความเข้าใจ (Cognitive Domain) ไม่
สามารถเข้าไปบอกระดับความแตกต่างที่ชัดเจนสมบูรณ์ได้
แต่กรณีในการสอบวัดความสามารถ หนึ่งในหลายๆ วิธีสามารถประยุกต์ใช้
ได้เฉพาะการสอบวัดความสามารถเท่านั้น ผู้เขียนประยุกต์ใช้เป็น 4 ระดับด้วยกันคือ
ระดับที่ 1 ความรู้-ความเข้าใจ ระดับที่ 2 การนำไปใช้ ระดับที่ 3 การวิเคราะห์-
สังเคราะห์ ระดับที่ 4 การประเมินคุณค่า”
PS. ทำความเข้าใจให้ดีครับในเรื่องระดับความสามารถ
Aj.Danai
โดย: Aj.Danai (dnt ) วันที่: 5 ธันวาคม 2548 เวลา:22:46:46 น.
  
ทำไม จึงต้องเป็นความสามารถ (Competency) ถึงไม่อาจจะใช้คำว่า “สมรรถภาพ"”(Capability) เข้ามาทดแทนได้ การเรียกหรืออธิบายที่ไปที่มาในรากฐานแนวคิดของ “Competency” จึงเป็นสิ่งสำคัญมากไม่ใช่อ้างกันไปอ้างกันมาสุดท้ายเป็น “ทัศนะส่วนบุคคล” ที่ใช้หรืออธิบายความสามารถ
โดยนัยแรกธุรกิจ นักกลยุทธ ฝ่ายบริหาร HR ที่ปรึกษาธุรกิจ จึงมีความพยายามที่จะอธิบายหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความสามารถ” ไว้อย่างมากมาย เพราะในปัจจุบันธุรกิจได้นำสิ่งนี้มาเป็นพื้นฐานทางด้านแนวคิดหลักที่สำคัญของการจัดการธุรกิจในศตวรรษที่ 21
มีหนังสือในท้องตลาดอยู่บ้างที่จะพยายามอธิบายถึง ความสามารถแต่......
(1) เป็นการอธิบายถึงความสามารถ ในมิติของความหมายที่เป็นไปในทางจิตวิทยาค่อนข้างมาก ผู้เขียนพิจารณาว่าน่าจะก้าวหลุดไปจากแนวคิดดังกล่าว แล้วก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจดูจะเหมาะสมและมีนัยสำคัญต่อการนำไปใช้ที่มีคุณค่ายิ่งกว่า
(2) การเขียนองค์ความรู้ทางธุรกิจ หรือสิ่งที่จะปรากฏเผยแพร่ให้มีการใช้ทั้งในธุรกิจและสถาบันการศึกษา สิ่งที่พึงตระหนักอย่างยิ่งคือ การบอกถึงที่มาหรือแหล่งค้นคว้าอ้างอิง ทั้งนี้จะเกิดประโยชน์ในการต่อยอดองค์ความรู้และเป็นการเคารพในความคิดหรือให้เกียรติกับนักคิดที่เป็นผู้บุกเบิกในทฤษฎีด้านนี้
ฉะนั้นหนังสือเล่มใดไม่มีการอ้างอิง หรือบอกถึงแหล่งค้นคว้าเอาไว้ แสดงว่า “หนังสือหรือตำราเล่มนั้นๆ ไม่มีคุณค่าใดๆ ในทางวิชาการได้เลย” จึงควรปล่อยวางไว้ตามเดิมมิอาจจะหยิบมาใช้งานได้ในทางธุรกิจ
“จุดเริ่มต้นคือ ทำความเข้าใจใน “ความสามารถ”
ผู้เขียนเชื่อว่าโดยพื้นฐานหากใครก็ตามที่ไม่ต้องการหลงยุค ดังนั้นจะต้องมีความจำเป็นที่จะต้องใช้คำฮิตเพื่อให้ทุกคนเข้าใจว่ารู้เหมือนกันนะ คำว่า "ความสามารถ" (Competency) ก็เป็นเช่นเดียวกัน
โดย: Aj.Danai (dnt ) วันที่: 5 ธันวาคม 2548 เวลา:22:47:52 น.

Dnt.BlogGang.com

dnt
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]

บทความทั้งหมด