กะเต็นหัวดำ
นกกะเต็นหัวดำ Halcyon pileata (Black-capped Kingfisher) ที่พบโดยทั่วไปไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย แต่เป็นนกที่เดินทางอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทยหรืออพยพผ่านเฉพาะช่วงหน้าหนาว โดยจะเริ่มพบตัวได้ราวเดือนตุลาคมเป็นต้นไปของทุกปี โดยจะพบได้ตามป่าโกงกาง ป่าละเมาะ สวนสาธารณะ พื้นที่เกษตรกรรม บนสายไฟข้างทาง เนื่องจากเป็นนกกะเต็นที่มีขนาดตัวจากปลายปากจรดปลายหางถึง 30 เซนติเมตร และมีสีสันสะดุดตาจึงเป็นที่สังเกตเห็นตัวได้โดยง่าย







นกกะเต็นหัวดำมีปากสีแดงสด หัวและหน้าสีดำ โดยหัวสีดำนี้ ถ้ามองจากทางด้านหลังจะเห็นตัดกันชัดเจนกับคอสีขาวเป็นลักษณะเหมือนกับว่านกไว้ผมทรงหางเต่า ขนคลุมตัวด้านบนและหางที่ยาวพอประมาณเป็นสีน้ำเงิน ขนปีกสีน้ำเงินตัดกับสีขาวที่ขอบปีกนอก ขนคลุมลำตัวด้านล่างตั้งแต่ด้านข้างของอกเป็นสีออกส้มน้ำตาล บริเวณตรงกลางของอกเป็นสีขาวต่อเนื่องลงมาจากคอ มีขาและเท้าเล็กๆดูไม่ค่อยแข็งแรงสีแดง ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน







อาหารของนกกะเต็นหัวดำจะเป็นไปตามแหล่งที่อยู่อาศัย หากว่าอยู่ตามป่าชายเลน ก็จะกินปู กินปลา หากว่าอยู่ตามสวนสาธารณะ หรือแหล่งน้ำอื่นก็จะกินบรรดาแมลง กบ เขียด และสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ เมื่อจับเหยื่อได้นกก็จะนำมาฟาดกับกิ่งไม้จนตาย แล้วจึงกิน

นกกะเต็นหัวดำทำรังในโพรงดินริมฝั่งน้ำ โดยจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม นกตัวผู้จะเกี้ยวพาราสีตัวเมียโดยการบินโชว์ ร้องเสียงดัง แล้วบินไปเกาะโชว์ตัวเด่นๆบนกิ่งไม้ ขยับตัวไปซ้ายทีขวาที หากตัวเมียพอใจในลีลาท่าทางก็จะปลงใจช่วยกันขุดโพรงดินลึกราว1-3เมตร ทำมุมเฉียงขึ้นด้านบน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว แม่นกจะวางไข่ราว 4-5ฟอง พ่อแม่นกช่วยกันกกไข่ราว18-24วันก็จะฟักเป็นตัว ลูกนกถูกเลี้ยงในโพรงรังราว3-4สัปดาห์ก็จะออกมาข้างนอก พ่อแม่ก็ต้องหาอาหารมาป้อนนอกรังจนลูกนกโตพอที่จะหาอาหารได้เอง







อย่างไรก็ตาม นกกะเต็นหัวดำส่วนใหญ่ไม่ได้ทำรังวางไข่ในประเทศไทย (มีเพียง 1 รายงานที่พบว่าทำรังวางไข่ที่จ.นครสวรรค์)เป็นเพียงผู้อพยพหนีหนาวลงมาจากตอนเหนือของเกาหลีและประเทศจีน ซึ่งนกจะใช้เวลาในช่วงฤดูร้อนที่นั่น และเริ่มอพยพลงมาในช่วงกันยายน-ตุลาคม โดยนกชนิดนี้จะบินลงมาถึงศรีลังกา ประเทศไทย อินโดจีน มาเลเซีย ไปจนถึงอินโดนีเซีย จำนวนน้อยมากจะเดินทางลงไปถึงสุมาตราและชวา สำหรับประเทศไทยนั้นพบได้ทั่วประเทศ โดยนกที่พบทางภาคเหนือจะเป็นนกอพยพผ่านที่กำลังเดินทางลงมาใช้เวลาช่วงฤดูหนาวในภาคกลางและคาบสมุทรมลายู







ภาพนกกะเต็นหัวดำนี้ เจ้าของบล็อกถ่ายมาจากพุทธมณฑล ซึ่งจะพบนกชนิดนี้ได้เป็นจำนวนมากทุกปี ที่ว่ามากนี้ไม่ใช่ว่านกหากินอยู่ด้วยกัน นกกะเต็นหัวดำจะแยกกันหากิน และมักพบเพียงครั้งละ 1 ตัวเสมอ แต่ที่ว่ามากก็คือ เมื่อพบตรงนี้แล้ว ขับรถไปอีกจุดก็เจอ อีกจุดก็เจอ และเจอได้ทุกครั้งที่เข้าไปในพุทธมณฑลในช่วงฤดูที่นกอพยพมา


ข้อมูลจาก //www.bird-home.com



Create Date : 08 มกราคม 2548
Last Update : 11 กันยายน 2549 19:27:38 น.
Counter : 4238 Pageviews.

12 comments
you're halfway there พุดดิ้งรสกาแฟ
(11 ม.ค. 2568 13:23:07 น.)
Re dell'abisso affrettati from UN BALLO IN MASCHERA by Giuseppe Verdi ปรศุราม
(8 ม.ค. 2568 11:03:55 น.)
มาสค์ไรเดอร์ สตรองเกอร์ Zorawyt
(4 ม.ค. 2568 00:43:55 น.)
#สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ newyorknurse
(12 ม.ค. 2568 00:10:07 น.)
  
เป็นนกที่สวยงามมาก
โดย: jj IP: 61.19.228.46 วันที่: 30 กันยายน 2549 เวลา:12:33:29 น.
  
สวยดี
โดย: นาย ธรรมชาติ IP: 61.19.227.2 วันที่: 13 ธันวาคม 2550 เวลา:11:40:24 น.
  
นกสวยช่วยกันดูแลนะครับ
ขอบคุณที่เก็บภาพสวยงามอย่างนี้เป็นสี่งที่ยอดมาก
โดย: นาย ธรรมชาติ IP: 61.19.227.2 วันที่: 13 ธันวาคม 2550 เวลา:11:46:17 น.
  
สวยมากๆ
โดย: แพ็ก IP: 125.26.229.111 วันที่: 24 มิถุนายน 2552 เวลา:9:07:29 น.
  
เข้ามาในบ้านผมครั้งนุงด้วย
โดย: พี IP: 125.27.19.22 วันที่: 27 มิถุนายน 2552 เวลา:19:57:26 น.
  
สวยมากๆๆครับ.
โดย: manus IP: 110.77.146.37 วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:12:35:20 น.
  
ตอนนี้ที่บ้านมีตัวหนึ่งสงสัยอยู่ว่ามันจะบินกลับได้ไหม...เพราะว่าปล่อยให้มันบินก็ไม่บิน..ไม่รู้จาหาไรให้มันกิน เครียดจังเลย..

ปล.ไปเจอมันบาดเจ็บมา
โดย: hydejime IP: 222.123.18.75 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:02:45 น.
  
เจอนกบาดเจ็บมายังไงคงต้องพาไปหาหมอก่อนอะค่ะ (ตอบช้าไปไหมเนี่ย)

ขึ้นชื่อว่า Kingfisher ก็เป็นนกกินปลา
แต่เจ้าตัวนี้มักเห็นหากินไกลน้ำ อาหารก็อาจเป็นเนื้อสัตว์เล็กอื่นๆ พวกกบเขียดสัตว์เลื้อยคลานตามแต่จะหาได้

ส่วนเรื่องบินกลับ ต้องลองดูซักพัก พอถึงฤดูกลับและแข็งแรงพอก็คงจะบินกลับเอง (แถวๆก่อนหน้าร้อนนี่แหละค่ะ)

โดย: จันทร์น้อย วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:11:14 น.
  
กำลังสนใจศึกษาข้อมูลนกในพุทธมณฑลค่ะ
โดยเฉพาะนกกระเต็น

เมื่อมาพบบล็อกนี้ก็เก็บ Link ไว้นทันที
นั่งอ่านไปเรื่อยๆ ทำความเข้าใจทีละนิดละหน่อย

วันนี้ได้เข้ามาอ่านกระเต็นหัวดำ เกิดข้อสงสัยถึงการทำรัง
"ช่วยกันขุดโพรงดินลึกราว1-3เมตร"

??? ขุดได้เป็นเมตรจริงๆ หรือข้อมูลผิดพลาด???

ขอบคุณค่ะ
จะได้หายสงสัย
โดย: ข้าวปุ้น IP: 115.87.179.98 วันที่: 15 เมษายน 2554 เวลา:21:19:46 น.
  
ขุดได้เป็นเมตรจริงค่ะ เชื่อเถอะนะ
โดย: จันทร์น้อย วันที่: 6 พฤษภาคม 2554 เวลา:19:49:30 น.
  
น่ารักจริงๆ
โดย: แมวหง่าว (chaiwatmsu ) วันที่: 1 เมษายน 2557 เวลา:16:31:52 น.
  
ได้น้องมา 2 ตัวค่ะอยากรู้ว่าน้องมี เชื้อโรค หรือ โรคระบาด ไหมคะ
โดย: จ๊อบ IP: 1.46.0.181 วันที่: 6 เมษายน 2565 เวลา:18:40:02 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Channoi.BlogGang.com

จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]

บทความทั้งหมด