เล่นหุ้นเอาเงิน ไม่ได้เอาถ้วย
<<
มกราคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
4 มกราคม 2556

ย้อนรอยปัญหาเพดานหนี้สหรัฐ 2012

ถ้าติดตามการเมืองของสหรัฐอเมริกาในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาคงจะเห็นประเด็นเรื่อง “เพดานหนี้สาธารณะ” กลายเป็นประเด็นร้อนตลอดไม่เว้นแต่ละวัน

กรณี “เพดานหนี้สาธารณะ” (Debt Ceiling Crisis) นี้เป็นเรื่องน่าสนใจเพราะนอกจากจะเกี่ยวพันกับนโยบายการคลัง การจัดสรรงบประมาณของประเทศยังมีปัจจัยเรื่องการเมืองภายใน การบังคับใช้รัฐธรรมนูญและยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ลามไปถึงภาวะเศรษฐกิจโลก

ประเด็นใหญ่ที่สลับซับซ้อนอย่างนี้อาจจะต้องทำความเข้าใจกับต้นสายปลายเหตุของเรื่องราวเสียก่อน

เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆ สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือรัฐบาลสหรัฐมีปัญหาเรื่องงบประมาณ เพราะงบประมาณประจำปีมีรายจ่ายมากกว่ารายรับและรัฐบาลไม่สามารถกู้เงินมาโปะได้ เพราะหนี้สาธารณะ (public debt) ของรัฐบาลสูงกว่าที่รัฐธรรมนูญสหรัฐกำหนดเพดานไว้(debt ceiling)

ทางแก้ก็คือขยายเพดานหนี้สาธารณะ หรือ ตัดงบประมาณลงซึ่งสองพรรคการเมืองใหญ่ รีพับลิกัน และเดโมแครต ก็เสนอคนละแนวทาง ปัญหาก็คือทั้งสองพรรคมีคะแนนเสียงพอฟัดเหวี่ยงกันในทั้งสองสภาและยังเจรจาหาจุดลงตัวกันไม่ได้ ถ้ารัฐสภาไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ในวันที่ 2 สิงหาคม 2555(ปัญหาเพดานหนี้รอบแรกในรัฐบาลโอบามา อนุมัติผ่าน) นี้หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอาจจะถูกตัดงบลงบางส่วน รวมถึงสหรัฐอาจจะต้อง “เบี้ยวหนี้” ด้วย

รู้จัก “หนี้สาธารณะ”

หนี้สาธารณะ (public debt) เป็นศัพท์เรียกทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคอธิบายง่ายๆ มันหมายถึง “หนี้ของรัฐบาล” นั่นเอง

รัฐบาลสามารถเป็นหนี้ได้เฉกเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป นั่นคือมีรายจ่าย (งบประมาณแผ่นดิน) มากกว่ารายรับ (ภาษีที่เก็บได้) พูดง่ายๆว่าถ้าการจัดทำงบประมาณประจำปีติดลบ (เรียกว่า “งบประมาณขาดดุล”) รัฐบาลก็ต้องขอกู้เงินจากที่อื่นมาโปะให้มีเงินใช้พอดีซึ่งก็สามารถกู้จากประชาชนในประเทศ (ผ่านการออกพันธบัตร)หรือจะกู้จากต่างประเทศก็ได้

เงินกู้ของรัฐบาลนั่นเองเรียกว่า “หนี้สาธารณะ”

รัฐบาลอาจจะเป็นหนี้ในปีนี้ และใช้หนี้หมดในปีถัดไปได้แต่ในทางปฏิบัติแล้ว รัฐบาลของประเทศที่เป็นหนี้ ก็มักจะเป็นหนี้ต่อไปเรื่อยๆทุกปี หนี้เหล่านี้ก็จะทบกันไปเรื่อยๆ จนมีมูลค่ามหาศาล

ตามปกติแล้วการเปรียบเทียบ “หนี้สาธารณะ” มักจะเทียบกับGDP ของประเทศว่าเป็นกี่ % ของ GDP

ประเทศที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจมักมีหนี้สาธารณะเป็นสัดส่วนสูงๆเมื่อเทียบกับ GDP ในปัจจุบันประเทศต่างๆ มีค่าใช้จ่ายมาก และหาประเทศที่มีหนี้สาธารณะน้อยๆได้ยาก

ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะประมาณ 40-45% ของ GDP ซึ่งถือว่าไม่เยอะนัก(รายละเอียดดูที่ สำนักบริหารหนี้สาธารณะ)ประเทศที่มีหนี้สาธารณะมากที่สุดในโลกคือญี่ปุ่น ประมาณ 220%ของ GDP ของประเทศ

เพดานหนี้สาธารณะ

เพื่อไม่ให้ประเทศต้องมีหนี้มากเกินไปทุกประเทศจะมีกฎระเบียบว่าจะสามารถสร้างหนี้ได้สูงสุดเท่าไร(ลักษณะเดียวกับวงเกินสูงสุดของบัตรเครดิต) ซึ่งตัวเลขจะต่างกันไปในแต่ละประเทศ

ตัวเลขนี้เรียกว่า “เพดานหนี้สาธารณะ” หรือ(debt ceiling)

สำหรับกรณีของสหรัฐอเมริกา ตามรัฐธรรมนูญสหรัฐได้กำหนดให้ “รัฐสภา” เป็นคนประกาศกฎว่าจะจะมีหนี้ได้มากที่สุดเท่าไร ซึ่งที่ผ่านมานับร้อยปีรัฐสภาสหรัฐก็ขยับเพดานหนี้สาธารณะมาเรื่อยๆ (แค่รัฐบาลโอบามา 2 ปีกว่า ก็เพิ่มเพดานหนี้สาธารณะไปแล้ว 3 รอบ)

4 ปีที่ผ่านมาหนี้เพิ่มขึ้นทุกปี
ปี 2007 ระดับหนี้อยู่ที่ 7.38 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ปี 2008 ระดับหนี้อยู่ที่ 11.32 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ปี 2009 ระดับหนี้อยู่ที่ 12.39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ปี 2010 ระดับหนี้อยู่ที่ 14.29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ช่วงระยะเวลา 4 ปี ปี 2007 – 2010 เพดานหนี้เพิ่มจาก 7.38 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มาเป็น 14.29ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มเกือบเท่าตัว (94 เปอร์เซ็นต์)


นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งบอกว่าหนี้ของอมริกาเกิดจากการมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ เช่นโครงการประชานิยมโครงการประกันสังคม โครงการประกันสุขภาพ โครงการอวกาศ และการทำสงครามทางทหาร ก็มีส่วน แต่ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นน้อยกว่าค่าใช้จ่ายของรัฐบาลอเมริกันที่ใช้อุ้มสถาบันการเงินที่ล้มจากวิกฤตเศรษฐกิจ ที่เป็นผลมาจากการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ในปี 2000

หลายประเทศ รวมทั้งยุโรปเช่น กรีก อิตาลี ปอร์ตุเกส ฮังการีไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ ยูเครน ปากีสถาน ฯลฯ ประเทศเหล่านี้ไม่มีสงคราม แต่ก็เกิดหนี้ท่วมประเทศเช่นกันจนต้องพึงพากองทุนการเงินระหว่างประเทศและประชาคมยุโรป

เพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐในปัจจุบันคือ 14.294 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสภาอนุมัติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2010

งบประมาณแผ่นดินสหรัฐปี 2011

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศใหญ่ที่มีค่าใช้จ่ายมากมายหลายด้านทั้งงบประมาณด้านทหาร ด้านสวัสดิการสังคม ด้านบริการสุขภาพ ฯลฯจึงเป็นหนี้สาธารณะมาโดยตลอด

และในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐที่เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2008 เป็นต้นมารัฐบาลสหรัฐมีภารกิจมากมายในการกู้เศรษฐกิจและ “อุ้ม”ภาคธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้ ทำให้หนี้สาธารณะของสหรัฐในช่วงปลายรัฐบาลบุชพุ่งสูงมาก(แต่ยังไม่สูงถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งตอนนั้นมีหนี้เท่าไรก็ได้ขอให้ชนะสงครามก็พอ)


ปัญหาของสหรัฐก็คือรัฐบาลโอบามาก่อหนี้สาธารณะสูงมาก และยังไม่สามารถแก้วิกฤตเศรษฐกิจได้ทำให้รัฐบาลต้องกู้ยืมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

สหรัฐอเมริกามีรอบของปีงบประมาณเหมือนกับประเทศไทยคือสิ้นสุด ณ วันที่ 30กันยายน ก่อนจะขึ้นรอบปีงบประมาณใหม่

รัฐบาลสหรัฐจะต้องเสนอร่างงบประมาณของปีถัดไปให้รัฐสภาอนุมัติก่อนหน่วยงานภาครัฐจึงจะมีงบประมาณใช้งานได้ตามกฎหมายและรัฐบาลโอบามาได้เสนอร่างงบประมาณของปีงบประมาณ 2011 (1 ตุลาคม 2011-30 กันยายน 2012) ไปแล้วและรัฐสภาก็อนุมัติไปแล้วเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2011

แต่ร่างงบประมาณที่โอบามาเสนอมีรายรับน้อยกว่ารายจ่ายอยู่ที่ 1.48 ล้านล้านดอลลาร์ และรัฐบาลไม่สามารถกู้เงินมาโปะในส่วนนี้ได้อีกเพราะได้กูเต็มวงเงินของรัฐบาลสหรัฐ (ซึ่งก็คือ “เพดานหนี้สาธารณะ”)ไปแล้ว

ทางแก้ “ชั่วคราว” ของรัฐบาลโอบามา (และรัฐบาลอื่นๆ ในอดีต) ก็คือ ใช้วิธี “กู้ยืมแบบพิเศษ” (extraordinary measures) ที่ไม่อยู่ใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญเช่น การกู้เงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ไปก่อน

วิกฤตเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐมีทางออกที่เป็นไปได้ 2 แบบใหญ่ๆ (scenario)

· แก้ปัญหาไม่ทันเวลา – สหรัฐจะต้องตัดค่าใช้จ่ายภาครัฐและผิดนัดชำระหนี้ ถือเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด (worst case scenario)

· แก้ปัญหาทันเวลา – สหรัฐจะหายใจคล่องไปอีกประมาณ 1 ปี แต่วิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐ และปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะของรัฐบาลก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะแก้ไขในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างมากแค่ทรงตัวเท่านั้น

ในระยะสั้นถ้าหากสหรัฐแก้ปัญหาเพดานหนี้ไม่ทันเวลานอกจากประชาชนอเมริกันจะได้รับผลกระทบโดยตรงแล้วความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจสหรัฐจะลดลงด้วย และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกนักลงทุนฝั่งยุโรปและสหรัฐน่าจะย้ายฐานลงทุนระยะสั้นมายังเอเชียมากขึ้นการถือดอลลาร์จะลดลง และนักลงทุนยิ่งหันมาลงทุนในทองและโภคภัณฑ์อื่นๆ มากขึ้น

ส่วนในระยะยาวปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐจะยังคงอยู่ต่อไปเช่นเดิมและอาจทำให้เจ้าโลกอย่างสหรัฐเสื่อมอิทธิพลลงเรื่อยๆ ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขได้

ข้อมูลบางส่วนจาก San Francisco Chronicle

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก 2011 U.S. debt ceiling crisis



ยิ่งไปกว่านั้นสภาคองเกรสยังเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้รัฐบาลจัดทำงบประมาณสมดุลซึ่งเป็นข้อเสนอที่พรรครีพับลิกันเรียกร้องมาเป็นเวลานานหากสภาสามารถแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้ภายในช่วงปลายปีนี้รัฐบาลนายโอบามาจะได้สิทธิเพิ่มเพดานหนี้สินได้อีก 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

จีนกับเพดานหนี้สหรัฐ

นายกวน เจี้ยนจง ประธานบริษัท ต้ากง โกลบอล เครดิตเรทติ้งส์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของจีน กล่าวว่าแม้ว่าสภาครองเกรสของสหรัฐฯ จะเห็นชอบการลงมติเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐฯ แล้วแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า วิกฤติหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ จะสิ้นสุดลง

การปรับเพิ่มเพดานหนี้ ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลสหรัฐฯสามารถนำหนี้ก้อนใหม่มาโปะหนี้เก่าได้ตามกฎหมายซึ่งเท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ชั่วคราว และไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯ มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดีขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากวิกฤติหนี้สาธารณะยังคงดำเนินอยู่

นอกจากนี้ นายกวน กล่าวว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังอ่อนแอและมีช่องทางกระตุ้นการขยายตัวได้เพียงเล็กน้อยสำหรับประเทศเศรษฐกิจที่เคลื่อนไหวตามการขยายตัวของอุปสงค์ด้านสินเชื่อเพื่อกระตุ้นการบริโภค

นายกวน กล่าวว่า การที่สหรัฐฯ จะปรับยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศและปรับแนวทางด้านสวัสดิการสังคมของประเทศเพื่อลดยอดขาดดุลการคลังนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง สหรัฐฯ มีทางเลือกเดียว คือ การพึ่งพาและเพิ่มรายได้จากตราสารหนี้

เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถเพิ่มรายได้และเปลี่ยนแปลงรายจ่ายได้ ขณะนี้จึงเหลือแค่ว่าเมื่อไหร่สหรัฐฯจะสามารถหลุดพ้นจากวิกฤติหนี้สาธารณะไปได้ เว้นเสียแต่ว่า สหรัฐฯจะเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจ และสังคมอย่างจริงจัง

ก่อนหน้านี้ บริษัทต้ากง โกลบอล เครดิต เรทติ้งส์ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ จาก A+ สู่ระดับ Aพร้อมระบุว่า การตัดสินใจปรับเพิ่มเพดานหนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงที่ว่า หนี้สินของสหรัฐฯ มีมากกว่าประเทศอื่นๆทั่วโลก และมีมากกว่ารายได้ด้านการคลังของสหรัฐฯ เอง ซึ่งสภาวะเช่นนี้จะทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลงด้วย

สหรัฐจ่อหนี้ชนเพดานรอบใหม่ 2013

นักวิเคราะห์เตือนว่าการขยายเพดานหนี้สหรัฐครั้งล่าสุดอีก 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 36 ล้านล้านบาท) อาจอยู่ไม่ถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือน พ.ย.นี้และอาจเป็นอาวุธใหม่ให้พรรครีพับลิกันใช้โจมตีจุดอ่อนของประธานาธิบดีบารัค โอบามาเรื่องใช้จ่ายงบประมาณฟุ่มเฟือย

หากสหรัฐชนเพดานหนี้ก่อนถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดี6 พ.ย.บรรยากาศการต่อสู้ในรัฐสภาที่เกือบทำให้สหรัฐผิดนัดชำระหนี้เมื่อฤดูร้อนปีก่อนจะกลับมาอีกครั้งและจะทำให้ตลาดเงินตลาดทุนสั่นสะเทือนรวมทั้งจะเปิดช่องให้พรรครีพับลิกันโจมตีโอบามาว่าใช้จ่ายจนยอดขาดดุลงบประมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์แม้ทำเนียบขาวโต้ว่าจำเป็นต้องขยายเพดานหนี้ช่วงเศรษฐกิจถดถอยปี 2550-2552 เพื่อไม่ให้ลุกลามกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ก็ตาม

ข้อตกลงขยายเพดานหนี้เมื่อฤดูร้อนปีก่อนมีจุดประสงค์ให้มีงบประมาณใช้ได้ถึงสิ้นปีนี้แต่คณะกรรมการลดยอดขาดดุลในรัฐสภาไม่สามารถตกลงกันได้จึงไม่สามารถขยายเพดานหนี้เป็น 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 72 ล้านล้านบาท)ตามที่รัฐบาลต้องการและถูกจำกัดเพดานไว้ที่ 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ(ราว 63 ล้านล้านบาท)ล่าสุดสภาผู้แทนราษฎรที่มีพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากได้ลงมติคว่ำร่างขยายเพดานหนี้อีก1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 36 ล้านล้านบาท)เมื่อวันที่ 16 ม.ค.ตามเวลาท้องถิ่น

ทั้งนี้ต่อให้สภาผ่านร่างขยายเพดานหนี้ครั้งใหม่สหรัฐก็จะชนเพดานก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดี เพราะปีงบประมาณ 2555 ที่เริ่มเมื่อวันที่1 ต.ค.ปีก่อน รัฐบาลขาดดุลเฉลี่ยเดือนละ 107,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.21 ล้านล้านบาท)หากปล่อยให้ขาดดุลในอัตรานี้จนถึงเดือนตุลาคมปีนี้ ก็จะขาดดุลรวม 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 33 ล้านล้านบาท)เหลือช่องว่างเพดานอีกเพียง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3ล้านล้านบาท) เท่านั้นขณะที่กระทรวงคลังมีกำหนดต้องชำระหนี้ครบกำหนดในวันที่ 15 พ.ย.88,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.64 ล้านล้านบาท)อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่รัฐบาลยืนยันว่ากระทรวงคลังจะสามารถรักษาสภาพคล่องได้จนถึงหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีหลังจากนั้นรัฐสภาจะต้องขยายเพดานหนี้ครั้งใหม่ทันที




Create Date : 04 มกราคม 2556
Last Update : 4 มกราคม 2556 10:51:31 น. 0 comments
Counter : 2424 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sai_zelda
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]





[Add sai_zelda's blog to your web]