เล่นหุ้นเอาเงิน ไม่ได้เอาถ้วย
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
8 มิถุนายน 2552

money management (2)

ผมสังเกตดูในบอร์ดนี้ พบว่าเพื่อนๆ หลายคนสนใจในตัว Trading System และ Technical Analysis กันมาก ซึ่งผมก็เห็นด้วยว่ามันมีความสำคัญสำหรับการเทรดจริงๆ แต่ในความสำคัญนั้น ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่สำคัญกว่า หนึ่งในนั้นคือการวาง Trading Plan และการใช้ Money Management ซึ่งอาจเพิ่มผลกำไรให้เรา และทำให้การเทรดของเราปลอดภัยในระยะยาวได้อย่างไม่น่าเชื่อ ก่อนที่ผมจะเข้าเรื่อง การใช้ MM กับการเทรด Forex ผมอยากเริ่มต้นด้วยการให้ดูตัวอย่างสมมติจากการเทรดในรูปแบบต่างๆ เสียก่อนนะครับ ตามรูปที่แนบมานี้

โดยถ้าผมสมมติว่า
ผมมี Trading System ระบบหนึ่ง ที่มี %win 70% และ %Loss 30% และจำนวนจุดที่ได้จากการ win เฉลี่ย 50 จุด และ จำนวนจุดในการ loss เฉลี่ย 30 จุด
อ่านดูแล้วเป็นระบบที่ดูดีใช่ไหมครับ คราวนี้เราจะมาดูกันต่อ ว่าถ้าเราใช้ MM แบบต่างๆ หลังจากการเทรดไป 40 ครั้ง จะเกิดผลอย่างไรบ้าง โดยถ้ามีทุนเริ่มต้น $100

การเทรดแบบที่ซื้อ 2.0mLot ตลอดไป จะได้ยอดสุดท้ายเท่ากับ $298 ผมจะคิดค่านี้เป็น 100% นะครับ เพื่อเทียบกับการใช้ MM ในรูปแบบต่างๆ
เราจะพบว่า ถ้าใช้ MM ได้อย่างเหมาะสม ยอดที่ได้อาจจะสูงกว่าการไม่ใช้ MM ได้ถึงเท่าตัวทีเดียว ! ($607.8 หรือ 200%) ทั้งนี้ยังไม่ได้ยุ่งกับระบบเทรดเลยนะครับ ทุกอย่างยังเป็นระบบแบบเดิมๆ

ตอนนี้ทุกท่านเริ่มเห็นความสำคัญของ MM รียังครับ ถ้าเริ่มสนใจแล้วในตอนต่อไปผมจะเริ่มพูดถึง การวิเคราะห์ระบบเทรด และการหาค่า Expectancy ของ Trading System

ข้อคิดข้อที่ 1 : MM ที่ดีที่สุดไม่ใช้ MM ที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดนะครับ แต่เป็น MM ที่ให้ผลตอบแทนเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น



ตอนที่ 1 เกี่ยวกับค่า Expectancy ของ Trading System

ก่อนที่เราจะเริ่มใช้ MM กับการเทรดนะครับ อยากให้เพื่อนๆ สนใจตัวระบบเทรดของท่านเองก่อน

ระบบเทรดที่ดีควรจะเป็นอย่างไร ระบบเทรดจริงๆ แล้วมีหลายแบบ แต่ที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีระบบใดที่คาดการณ์เทรนได้ถูกต้อง 100% พูดอย่างง่ายๆ คือ คุณไม่สามารถออกแบบระบบที่จะทำให้การเทรดทุกครั้งกำไรได้ตลอด ดังนั้นระบบเทรดที่ดีนั้นคือระบบที่ ยังคงรักษาผลกำไรไว้เป็นบวกได้ แม้จะได้หรือเสียบ้าง

ในทางคณิตศาสตร์ เราสามารถแสดงว่าระบบเทรดนั้นสามารถทำกำไรให้เราได้หรือไม่ (พูดง่ายๆ คือให้ผลการเทรดเป็นบวก) โดยการอาศัยการประมาณค่า Expectancy หรืออาจจะเรียกว่า ค่าคาดหวังก็ได้ โดยค่าคาดหวังนี้มีสูตรการคำนวณดังนี้ (ดัดแปลงให้ง่ายสำหรับ Forex)


Expectancy=(PipsProfit x ProbProfit)-(PipsLoss x ProbLoss)

โดยที่ถ้าค่า Expectancy มีค่าเป็นบวก หมายถึงระบบสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว แต่มีค่าเป็นลบ ขอให้รีบห่างจากระบบนี้อย่างด่วนเลยนะครับ

เราลองมายกตัวอย่างง่ายๆ กันก่อน

ยกตัวอย่างการปั่นเหรียญ ซึ่งมีโอกาส 2 แบบ คือ ออกหัว 50% และ ก้อย 50% ถ้าเราสมมติว่าการเล่นแต่ละครั้งมีโอกาสได้หรือเสียเท่ากัน คือ 10 บาท เราจะได้ว่า
Expectancy=(10x0.5)-(10x0.5)=0 ซึ่งหมายความว่า ระบบนี้ไม่ทำกำไรในระยะยาว (แต่ก็ไม่ขาดทุน) ไม่ว่าจะเล่นนานเท่าไหร่ก็เสมอตัวครับ

คราวนี้มาลองดูระบบต่อไป ซึ่งโฆษณาว่ามีค่า %wins ถึง 80% ฟังแล้วดูดีใช่มั้ยครับ แต่อย่าเพิ่งตาลุกครับ เราลองมาดูต่อไปว่าระบบนี้จะมีค่า Expectancy เท่าไร ซึ่งเมื่ออ่านรายละเอียดของระบบเทรดนี้แล้ว ปรากฎว่า ค่า %wins 80% นี่เกิดจากการตั้ง SL ที่ 100 จุด และ TP ที่ 20 จุด ซึ่งจะได้ว่า Expectancy=(20x0.8 )-(100x0.2)=-4 ซึ่งหมายความว่า ระบบนี้ใช้แล้วขาดทุนนั่นเอง T T

ลองดูอีกซักตัวอย่างแล้วกันนะครับ(คือผมเริ่มเมื่อยแล้ว ) สมมติว่ามีระบบเทรดระบบหนึ่งที่มี %wins 40% และ %loss 60% ระบบนี้ดูไม่น่าเล่นใช่ไหมครับ แต่เดี๋ยวก่อน ผู้พัฒนาระบบบอกว่า เวลาคุณได้กำไรจะได้กำไรโดยเฉลี่ย 60 pips และถ้าเสียจะเสียเพียง 30 pips ซึ่งพอเรามาคิดค่า Expectancy จะได้ Expectancy=(60x0.4)-(30x0.6)=+6 ซึ่งหมายความว่า ระบบนี้ทำกำไรได้ เฉลี่ยแล้ว 6 pips ต่อการเทรด 1 ครั้ง น่าสนใจใช่มั้ยล่ะครับ

ทั้งหมดนี้เป็นค่าโดยประมาณเท่านั้นนะครับ เพราะว่าค่า Expectancy คำนวณจากผลในอดีตของเรา ซึ่งในอนาคตผลไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้น ดังนั้นถ้าหาค่า Expectancy ได้มีค่าใกล้ศูนย์ (แม้จะเป็นบวกน้อยๆ) ก็อาจจะทำกำไรในอนาคตไม่ได้นะครับ และที่สำคัญ ผลที่ใช้คำนวณค่า Expectancy ของเรา ขอให้คำนวณจากการเทรดของเรานะครับ ไม่ใช่เอาระบบคนอื่นมาไม่พอ ยังเอาผลการเทรดคนอื่นมาคิดด้วย เพราะนั่นคือค่า Expectancy ของเขา ไม่ใช่ของเราครับ ในการเทรดจริงๆ แล้ว ครึ่งหนึ่งมาจากอารมณ์ของเรานะครับ ขอให้คิดตรงนี้ด้วย

ข้อคิดข้อที่ 2 : MM จะไม่มีประโยชน์เลยสำหรับ Trading System ที่มี Expectancy เป็นลบ เพราะไม่ว่าจะเล่นอย่างไรก็เสีย

ตอนที่ 2 ทำไมต้องใช้ Money Management

ในการเทรด คุณเคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้หรือไม่


เทรดได้หลายๆ ครั้ง เริ่มมั่นใจ แล้ว overtrade แล้วก็เสีย T T ยอดเงินที่เสียครั้งเดียวเกือบเท่าๆ กับ ครั้งที่ได้ผ่านๆ มารวมกัน
เทรดโดยใช้ %Risk สูงๆ เพื่อหวังให้ยอดเงินโตเร็วๆ แต่พอเสียครั้งหนึ่งแล้วหมดความมั่นใจ ครั้งต่อมาก็ลงน้อยๆ สุดท้ายพอได้มาก็ได้นิดเดียว ไปๆ มาๆ กลายเป็นว่า เวลาได้ลงน้อย เวลาเสียลงมาก ซะงั้น สุดท้ายกลายเป็น หมดตูด T T
กรณีนี้ดีขึ้นมาหน่อย คือเล่นได้กำไรไปเรื่อยๆ แต่พอเสีย 3-4 ทีติดกัน เงินหายไปเกือบครึ่ง เล่นเอาหมดความมั่นใจไปพักใหญ่
ไม่รู้ว่าระบบที่ตัวเองใช้ควรจะลงเงินเท่าไหร่ดี เพิ่มยอดเท่าไหร่ดี ทำให้การเทรดไม่มีแบบแผน แม้จะได้กำไรก็ไม่มากเท่าที่ควร แถมยังควบคุมความเสี่ยงไม่ได้

และความสำคัญของ MM ก็คือ

กรณีที่ระบบเทรดของเราได้กำไรอยู่แล้ว MM จะช่วยทำให้กำไรที่ได้นั้นมากขึ้น (โดยไม่ต้องพัฒนาระบบ) ซึ่งสามารถทำให้ระบบบ้านๆ ของเราสามารถสร้าง Capital Growth เหนือกว่าระบบที่สุดยอดแต่ไร้การวางแผนได้
ในกรณีที่เราเล่นเสีย MM จะคอยควบคุมการเสียของเราให้อยู่ในความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และรักษาเงินทุนของเรา ช่วยให้สามารถผ่านช่วงที่เสียหนักๆ (ช่วงที่เกิด Drawdown) ได้

จากเหตุผลที่กล่าวมานี้ MM จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเทรดนะครับ ในตอนต่อไปผมจะเริ่มกล่าวถึงชนิดของ MM แล้วนะครับ

ข้อคิดข้อที่ 3 : การเทรดที่กำไรเป็นส่วนประกอบของ ระบบเทรด 20% Money Management 30% และ Emotions (รวมถึง Discipline) 50% แต่หลายคนกลับสนใจ 20% ส่วนแรกมากที่สุด (สรุป: ทำให้คนที่ประสบความสำเร็จใน Forex มีไม่ถึง 20% แต่ 80% นั้นเสีย (สรุปแบบขำๆ นะครับ จริงๆ แล้วยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีกมาก))

ตอนที่ 3 ชนิดของ Money Management

แม้ว่า MM จะมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นระบบที่วางด้วยช่วงเวลา อัตราส่วนการลงทุน หรืออัตราส่วนการเติบโตของเงินทุน แต่เราสามารถแบ่ง MM ได้เป็น 3 แบบ (ในบางที่อาจจะใช้แค่ 2 แบบนะครับ) ดังนี้

1. Constant Investing Money Management - การเทรดแบบนี้คือการตั้งค่าการเทรดตั้งแต่เริ่มเทรดเลย เช่น ตั้งไว้ที่ 2.0 Lot ก็จะเทรดเท่านี้ต่อไปตลอด จนยอดเพิ่มขึ้นมากขึ้นแล้วอาจจะเปลี่ยนการตั้งค่า โดยเริ่มคิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็น MM ที่ง่ายที่สุด ข้อดีคือยิ่งเล่นได้มากขึ้น ความเสี่ยงโดยรวมก็จะยิ่งลดลง และลำดับการได้เสียไม่มีผลต่อการเทรด (เช่น เสียติดกันสิบครั้ง แล้วตามด้วยได้สิบครั้ง ให้ผลไม่ต่างจากได้สลับกับเสียอย่างละครั้ง) โดยทั่วไปจะใช้ MM แบบนี้เป็นตัวเปรียบเทียบกับ MM ในรูปแบบอื่นๆ

ตัวอย่างเช่นดังตารางด้านล่างนะครับ (เทรดด้วย Quantity เท่าเดิมตลอด)
เทรดครั้งที่ เงินลงทุน กำไร/ขาดทุน เทรดครั้งที่ เงินลงทุน กำไร/ขาดทุน
1 1000 +200 1 1000 +200
2 1200 +200 2 1200 +200
3 1400 -100 3 1400 +200
4 1300 -100 4 1600 +200
5 1200 -100 5 1800 +200
6 1100 +200 6 2000 -100
7 1300 +200 7 1900 -100
8 1500 -100 8 1800 -100
9 1400 +200 9 1700 -100
10 1600 -100 10 1600 -100
1500 1500

จะเห็นว่ายอดการเทรดเท่ากัน ไม่ว่าระบบจะมีลำดับการกำไร ขาดทุนอย่างไรก็ตาม ข้อดีของระบบนี้ คือ ง่ายๆ ตรงไปตรงมา ไม่คิดมาก ลำดับการเทรดไม่มีผลต่อกำไร ขาดทุน ยิ่งเล่นนานโอกาสเสียหมดตัวยิ่งน้อยลงมาก ส่วนข้อเสีย คือ ทุนเติบโตช้ามาก อาจจะเร็วในช่วงแรก แต่จะช้ามากในช่วงหลังๆ จนต้องปรับแผนใหม่ (บางทีอาจไม่นับการเล่นแบบนี้เป็น MM)

2. Martingale Money Management - การเล่นแบบนี้เรียกง่ายๆ ว่า แทงทบ ซึ่งหลายๆ ท่านอาจจะเข้าใจดีจากเว็บพวก Casino ที่เล่นปั่นหัว-ก้อย และมีสูตรตามบอร์ดบอกถึงวิธีได้ 100% หรืออะไรทำนองนี้ (ซึ่งมันไม่จริงหรอก) ซึ่งระบบนี้ใช้หลักการที่ว่า

สมมติฐานที่ 1: เมื่อเราเทรดเสีย การจะกลับไปมีเงินทุนเท่าเดิมนั้นจะยากขึ้น เช่น คุณมีพอร์ทขนาด $100 เสียไปครึ่งหนึ่ง คือ $50 การที่จะทำให้ทุนเท่าเดิมจึงต้องเทรดให้ได้กำไรเป็นสองเท่าของทุนแล้ว (จาก 50-100) ไม่ใช่เทรดเพิ่มอีกครึ่งหนึ่งแบบตอนที่เสีย ลักษณะแบบนี้เราจะเรียกว่า Drawdown ดังนั้นในการเทรดครั้งหลังๆ ควรจะลงทุนเป็นจำนวนมากขึ้น เพื่อให้ทุนกลับมาเท่าเดิมได้เร็วขึ้น

สมมติฐานที่ 2: การเทรดเสียแต่ละครั้ง ในบางโอกาส เมื่อเราเสียครั้งหนึ่งแล้ว โอกาสที่จะเสียครั้งต่อไปจะลดลง เช่นการเทรดพวก Commodities Future ซึ่งอาจมีราคาต่ำสุดในรอบฤดูกาลนั้นๆ และคาดการณ์ได้ว่าราคาจะขึ้นในช่วงต่อไป อาจจะใช้วิธีนี้ หรืออาจจะใช้การเล่นแบบซื้อเฉลี่ยได้ ซึ่งโอกาสที่ซื้อครั้งหลังๆ (ราคาต่ำมากแล้ว) จะมีโอกาสเสียน้อยลง เพราะ Commodities ราคาจะไม่เป็น 0 แน่นอน

ข้อดี: ระบบนี้เหมาะมากสำหรับระบบที่เข้ากับสมมติฐานทั้งสองข้อข้างต้น และอาจใช้ร่วมกับการซื้อเฉลี่ยได้ ผลกำไรที่ได้จากการเทรดครั้งหลังๆ จะเป็นทวีคูณ

ข้อเสีย: ระบบนี้ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับการเทรดที่ใช้ Margin หนักๆ อย่าง Forex เนื่องจากการทบนั้นครั้งหลังๆ จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นทวีคูณ และการเล่น Forex ก็คาดการณ์ได้ยากว่าราคาจะขึ้นหรือลงไปถึงจุดไหน แถมด้วยโอกาสได้เสียของการเทรดแต่ละครั้งยังเป็นอิสระต่อกันด้วย เช่นเดียวกับการเล่น หัว-ก้อย ซึ่งไม่ควรใช้ระบบนี้เช่นกัน เพราะว่าเมื่อออกหัวติดๆ กันหลายครั้งแล้วไม่ได้หมายความว่าครั้งต่อไปโอกาสออกก้อยมากขึ้น โอกาสออกก้อยก็ยังเป็น 50% เท่าเดิม ซึ่งบางครั้งการแจกแจงความน่าจะเป็นในชีวิตจริงก็ทำไม่ได้อย่างตรงไปตรงมานะครับ อีกอย่างด้วยระบบนี้อาจทำให้เสียหมดตัวได้ ในการเทรดช่วงเดียว (ช่วงที่เจอ Drawdown อาจหมดตัวได้)

เนื่องจากระบบนี้ไม่ค่อยเกี่ยวข้องนักกับการลงทุนใน Forex ผมจึงจะไม่ขอกล่าวถึงมากนะครับ ส่วนตัวอย่างรูปแบบการลงทุน อาจจะเป็นได้ทั้งแบบ 2n หรือ 3n ก็ได้ เช่น เริ่มจากจำนวน Lot 0.1->0.2->0.4->0.8->1.6->3.2 อย่างนี้เป็นต้น

3. Anti Martingale Money Management - ระบบนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าตรงกันข้ามกับระบบ Martingale หรือระบบ แทงทบ ซึ่งจะลงเพิ่มเมื่อเงินทุนลดลง แต่ MM แบบนี้ จะเพิ่มจำนวนการเทรดขึ้นเมื่อยอดเงินเพิ่มขึ้นพอสมควรแล้ว ซึ่งลักษณะการเพิ่มของระบบนี้ ในทางคณิตศาสตร์จะเพิ่มในลักษณะของกราฟเอกซ์โพเนนเชียล หรือในลักษณะของอนุกรมเรขาคณิต ซึ่งเป็นระบบที่พวกเราทั่วๆ ไปใช้กันนั่นเอง ส่วนรายละเอียดของระบบนี้ขอเป็นคราวหน้าแล้วกันนะครับ ครั้งนี้ผมเมื่อยแล้ว 555+

ข้อดี: ความเสี่ยงในการเทรดค่อนข้างคงที่ การเพิ่มของเงินทุนเป็นแบบอนุกรมเรขาคณิตซึ่งรวดเร็วมาก

ข้อเสีย: หากควบคุมความเสี่ยงไม่เหมาะสมกับการเทรด หรือมี Trading System ที่มี Expectancy เป็นลบ (แต่เข้าใจว่ามันเป็นบวก T T) หรือการกระจายตัวของการเทรดไม่เหมาะสม ระบบนี้ก็อาจจะเร่งการเสียได้เร็วพอๆ กับเร่งยอดของเงินทุน ซึ่งอันตรายมาก แต่วิธีนี้ก็มีทางแก้ โดยการใช้รูปแบบของการเทรดแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละแบบก็จะเหมาะสมกับนิสัยและสไตล์การเทรดของแต่ละคน

ปล. ช่วงหลังๆ อาจไม่เขียนตัวอย่างนะครับ เพราะว่าผมเหนื่อยอ่ะ เอาเป็นว่าท่านอื่นๆ ถ้าอยากแสดงตัวอย่างการเทรดแบบต่างๆ ก็สามารถแสดงกันได้เต็มที่เลยนะครับ ^^

ปล. 2 เนื่องจากขณะที่เขียน ผมเขียนๆ เอาโดยอาศัยจำๆ เอา อาจจะไม่ได้อ้างอิงความถูกต้องมากนัก ดังนั้นอาจจะมีที่ผิด (จากความเข้าใจผิดของผม) ในที่ใดที่หนึ่งได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง วานท่านผู้รู้ช่วยแก้ไขและตรวจสอบความถูกต้องให้ด้วยนะครับ

และในคราวหน้าเราจะเริ่มพูดถึงขวากที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับนักลงทุน นั่นคือ Drawdown

ข้อคิดข้อที่ 4: เมื่อมี Trading System ที่ดีแล้ว MM จะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะเป็นนักลงทุนประเภทใด ถ้าใช้ Constant Investing คุณจะเป็นนักออมเงินทีดี หากใช้ Martingale MM คุณจะกลายเป็นนักพนัน และสุดท้ายหากใช้ Anti Martingale MM อย่างเหมาะสม คุณจะกลายเป็นผู้มีอิสระภาพทางการเงิน

ตอนที่ 4 Drawdown
ว่ากันว่าอุปสรรคสำคัญที่สุดที่ทำให้นักลงทุนแทบทุกคนที่ท้อ เจ๊ง และหมดทุนเลิกเล่นกันไปหลายรายนั้น ก็เพราะว่าผ่านช่วงที่เป็น Drawdown ไม่ได้นี่แหละครับ ในตอนนี้เราจะพูดถึงความสำคัญของ Drawdown และมาดูกันว่า Drawdown ที่แท้จริงแล้วคืออะไร
ก่อนจะรู้จัก Drawdown ผมว่าเราควรรู้จักการเสียก่อน นั่นคือ Loss โดยการเสียนั้น เราจะเห็นได้จากประวัติในอดีต โดยครั้งที่เราเสียมากที่สุด เราจะเรียกมันว่า Maximum loss เช่นมีคุณมีลำดับการเทรดดังภาพที่แนบมานะครับ
ท่านจะเห็นที่ผมขีดเส้นสีแดงไว้นะครับ นั่นแหละ Maximum loss การเสียครั้งเดียว -400 ดูน่ากลัวใช่มั้ยครับ แต่มันเทียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่แฝงในกราฟนี้ นั่นคือ Drawdown คุณคิดว่าช่วงที่คุณเสี่ยงที่สุดคือช่วงที่คุณ -400 หรือเปล่าครับ ถ้าใช่นั่นก็แสดงว่าคุณคิดผิดเข้าให้แล้ว และถ้าคุณสร้าง MM จากค่า -400 คุณก็อาจจะหมดตัวเอาได้ง่ายๆ ลองดูเส้นสีน้ำเงินที่ผมขีดให้ดูสิครับ จะเห็นได้ว่า แม้จะเสียน้อยๆ (แถมมีกำไรนิดๆ มาคั่นตลอดด้วย) แต่รวมๆ แล้ว รอบหลังเราเสียถึง -600 นั่นแหละครับคือ Maximum Drawdown
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า สิ่งที่กำหนดว่าความเสี่ยงสูงที่สุดคือเท่าไหร่ ไม่ใช่ Maximum loss อย่างที่หลายๆ คนคิด ทำให้การเทรดผิดพลาดมาก เพราะคิดแต่ว่า "ฉันจะเสียได้เท่าไหร่ต่อการเทรด 1 ครั้ง" แต่จริงๆ แล้ว สิ่งที่กำหนดว่าระบบเทรดของเราจะรอดมั้ยนั่นคือ Maximum Drawdown ซึ่งหากระบบไหนวางแผนการเสียสูงสุดน้อยกว่า Maximum Drawdown แล้วล่ะก็ ระบบนั้นก็จะทำให้ท่าน หมดตูด อย่างแน่นอน
สรุปคือ Drawdown คือช่วงการเทรดที่มีการเสียและมีการลดเงินทุนอย่างต่อเนื่อง (ถ้าเป็น Technical ก็คือลดลงเรื่อยๆ และทำ new high ไม่ได้ซะที 555+) ซึ่งมักจะเกิดขึ้นตอนไหนบ้าง ขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดครับ ผมจะลองยกตัวอย่างซัก 2 แบบใหญ่ๆ แล้วกัน

กลุ่มที่เน้นเล่นระบบ Trend Following เช่นการใช้ MACD หรือ MA แบบต่างๆ maximum drawdown คือช่วง Sideway ครับ ซึ่งจะเข้าๆ ออกๆ บวกบ้างลบบ้าง แต่โดยมากจะลบซะมากกว่า สะสมเรื่อยๆ กลายเป็น drawdown
ส่วนกลุ่มที่เน้นเล่นระบบ Swing Trading เช่นใช้ Indicator ประเภทที่เป็น oscillator และให้สัญญาณเร็ว เช่น Stochastic และซื้อตาม OB/OS จะเสียหนักในตอนช่วงที่ตลาดกำลังมีเทรน และจุดนั้นจะเป็นตัวกำหนด maximum drawdown ครับ

และต่อท้ายหน่อยแล้วกัน จากกราฟตัวอย่างที่ผมแสดง ทุกท่านคิดว่าเหมาะกับ MM ประเภทไหนครับ Constant Martingale หรือ Anti-martingale
ผมเฉลยเลยแล้วกัน ระบบนี้จริงๆ แล้วเลิกใช้ได้เลยจะดีมาก 555+ เพราะว่า Drawdown สูงมาก อาจจะทำให้หมดตัวเอาง่ายๆ ครับ
แต่ถ้าให้เลือกสักอัน ผมจะเลือก MM แบบ Constant Investing ครับ เพราะว่า Drawdown ที่สูงขนาดนี้คงไม่เหมาะกับระบบพวก Anti-martingale แน่นอน (และโดยเฉพาะระบบแบบ Matingale ด้วย???) ซึ่งการเพิ่มเงินทุนอย่างช้าๆ ไม่ทันใจของ Constant Investing ก็แลกกับความเสี่ยงในการรับ Drawdown ที่ดีขึ้นครับ

โดยระบบเทรดทุกระบบเทรด จะให้ Maximum Drawdown มาคำนวณความเสี่ยงสูงสุด และใช้ในการเลือก Trading Plan ที่เหมาะสมครับ

แล้วก็อย่าลืมว่า ไม่ว่าจะเป็น Maximum loss หรือ Maximum drawdown ก็เป็นข้อมูลในอดีตเช่นเดียวกับค่า Expectancy ซึ่งอนาคตการันตีไม่ได้ว่าจะไม่มีการเสียมากกว่านี้ในรอบหนึ่งๆ ดังนั้นค่าเหล่านี้ก็เป็นเพียงข้อมูลในอดีตที่ช่วยตัดสินใจเท่านั้นนะครับ และโดยทั่วไปแล้ว ระบบเทรดที่ดีมักจะวางยอดเงินที่เสียได้สูงสุดสูงกว่า Drawdown 2-3 เท่าก็ด้วยเหตุผลนี้ (แต่มีข้อมูลก็ยังดีกว่าไม่มีข้อมูลใช่ไหมล่ะครับ)

จบเท่านี้ก่อนละกัน พรุ่งนี้ค่อยมาต่อเรื่อง Fixed Fractional MM ซึ่งเป็น MM ที่นิยมแนะนำกันโดยทั่วไป และมาพูดถึงข้อดีข้อเสียของมันกันครับ

ปล.ผมแนบไฟล์ xls มาด้วยนะครับ เผื่อท่านใดต้องการตกแต่ง และโพสต์ให้ผมใหม่ จะได้สวยขึ้น ^^

ข้อคิดข้อที่ 5 วัฏจักรการเทรดมีอยู่ 5 ขั้นตอน คือ
1.ฝากเงินทุนเริ่มต้น >
2.เทรดจนกำไร หน้าชื่นตาบาน (มั่นใจในความรู้ ฝีมือการเทรด และระบบเทรด) >
3.เจอ Drawdown เสียเงินกว่าครึ่ง >
4.ท้อใจ ถอนเงิน หมดหวัง หมดความมั่นใจ และเลิกเล่น (ความเชื่อมั่นในความรู้หมดไป สิ้นหวังกับตลาด) >
5.ไปหาความรู้มาใหม่ ทำใจอยากเข้าตลาดอีกครั้ง

และก็จะวนกลับมาที่ 1.ฝากเงินทุนเริ่มต้น ซ้ำอีกเป็นรอบที่ 2 และรอบต่อๆ ไป ซึ่งเหตุผลที่คนกว่า 80% ไม่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะทนกับวัฏจักรนี้ได้ไม่เกินสามสี่รอบ และเลิกเล่นกลางคัน การที่คุณผ่านวัฏจักรที่กล่าวมาได้รอบแล้วรอบเล่า นั่นหมายถึงความใกล้ประสบความสำเร็จของคุณนะครับ

ปล.2 เรื่องจริงของชีวิต ผมผ่านวัฏจักรนี้มาแล้วกว่าห้ารอบ ท้อใจมาแล้วรอบละเป็นปี แต่ผมก็ยังไม่หมดหวังครับ อยากให้เพื่อนๆ ท้อได้ แต่อย่าหมดหวัง ในขณะที่ความรู้และประสบการณ์การควบคุมตัวเองของเราดีขึ้น ซักวันด้วยสิ่งที่เราสะสมมาในแต่ละรอบ จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้แน่นอนครับ ^^



อันสุดท้ายนั้นเป็นเพียงแค่ Fixed Risk หรืออัตราส่วนการเสีย 1 ครั้งต่อจำนวนเงินทุนเท่านั้นครับ ต่างจากวิธีที่ใช้ Kelly Criterion ที่เป็นการ Optimized แบบหนึ่ง

จริงๆ แล้ว Kelly Criterion นี่ไม่ค่อยเหมาะกับการเทรดซักเท่าไหร่นะครับ แต่น่าจะเหมาะกับพวกการพนันมากกว่า เพราะมันเป็นการทำ Optimize ประเภทหนึ่งที่คิดถึงผลกำไรเป็นหลักโดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง
และสำหรับนักเทรดทั่วๆ ไป แม้กระทั่งมืออาชีพก็ยังไม่กล้าใช้ เพราะอะไรน่ะเหรอครับ ผมจะลองยกตัวอย่างให้ดูสักตัวอย่างแล้วกัน

เช่นระบบเทรดในกระทู้แรก ถ้าใช้ Kelly Criterion ช่วยในการคำนวณ เราจะได้ว่า
f*=(bp-q)/b
อธิบายนิดหนึ่ง
f* คือจำนวนเงินเป็นเปอร์เซ็นต์ที่จะลงในแต่ละครั้ง
b คืออัตราส่วนระหว่างจุดที่ได้ กับจุดที่เสีย
p คือความน่าจะเป็นที่จะได้
q คือความน่าจะเป็นที่จะเสีย

เราจะแทนค่าระบบเช่นเดียวกับระบบที่ใช้ PlanE คือให้ b=50/30=1.66 p=0.70 และ q=0.30 ซึ่งจะได้ค่า
f*=(1.66x0.7-0.3)/1.6
= 0.54 หรือ 54% !!!

ผมว่าไม่มีท่านใดในบอร์ดนี้กล้าเทรดครั้งละ 54% หรอกใช้มั้ยครับ เพราะอะไรน่ะหรือ มีเหตุผลสำคัญ 4 ข้อครับ
1.จำนวน % ของเงินลงที่คิดจาก Optimized Profit จะมีค่าสูงจนคนเทรดอาจจะเกิดอาการณ์มือไม้สั่นได้ และไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาวที่เน้นความมั่นคงเป็นอย่างยิ่ง
2.ค่าที่ใช้คำนวน f* ล้วนเป็นค่าจากอดีต ซึ่งไม่ได้ยืนยันว่าอนาคตจะเป็นเช่นนั้น
3.การเทรดที่ % สูงๆ อาจจะทำให้เวลาเสียครั้งหนึ่งท่านนั่งเครียดได้ ก้อเล่นเสียทีเงินหายครึ่งนึ่งนี่นา
4.กรณีที่เสียติดกันหลายๆ ครั้ง จะทำให้ทุนลดฮวบฮาบ (แบบ Exponential เช่นกัน) ซึ่งเกิดจากการที่สูตรนี้ Optimized Profit แต่ไม่ได้ Optimized Risk

แต่ผลกำไรสำหรับ Kelly Plan นั้นมากซะจนน่าตกใจ ดัง Plan $ ที่ผมแนบมาที่ใช้ Optimized Risk 54% ได้ผลดังตาราง
ผลที่ได้ก็ตามที่คาดไว้ คือยอดสุดท้ายสูงถึง 300000 เหรียญ หรือคิดเป็น 1000 เท่า ของระบบปกติ ทั้งนี้เนื่องมาจากการ optimal จาก maximum profit

ว่าแต่มีใครกล้าเล่นแบบนี้มั้ยครับ เทรดเสียครั้งเดียวเสียเงินครึ่งนึง



Create Date : 08 มิถุนายน 2552
Last Update : 28 กรกฎาคม 2552 9:07:10 น. 6 comments
Counter : 8357 Pageviews.  

 

fixed percentage risk ส่วนใหญ่นักลงทุนเค้ามักใช้กันสักกี่เปอร์เซ็นต์ครับ เคยได้ยินว่าพวกกองทุนนิยมใช้ 2% กัน แต่ trader ที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้นมาหน่อย ถ้าใ้ช้สัก 5% จะถือว่ามากไปไหมครับ ถ้าผมจะนำมาใช้ควรมีข้อระวังอะไรบ้างไหมครับ

ขอบคุณครับ


โดย: smkf IP: 58.8.203.101 วันที่: 4 ตุลาคม 2552 เวลา:0:09:39 น.  

 
ขอบคุณมากครับ พี่


โดย: broco IP: 180.183.208.77 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:19:54:04 น.  

 
ขอบคุณครับพี่ ตาสว่างเลยครับ


โดย: ogreen IP: 115.67.243.219 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:0:02:08 น.  

 
หวัดดีครับ ซาอิ

แวะมาอ่านครับ


โดย: e i j i IP: 111.84.183.181 วันที่: 6 ตุลาคม 2553 เวลา:7:23:16 น.  

 
เน€เธžเธดเนˆเธ‡เธกเธฒเน€เธˆเธญเธซเธฅเธฑเธ‡เธˆเธฒเธเธœเนˆเธฒเธ™เน„เธ›เธซเธฅเธฒเธขเธ›เธต เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธกเธฒเธเธ„เนˆเธฐ เน„เธ”เน‰เธ›เธฃเธฐเน‚เธขเธŠเธ™เนŒเธกเธฒเธ


โดย: เธบBenge IP: 14.207.157.198 วันที่: 6 ธันวาคม 2555 เวลา:4:31:33 น.  

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 1932853 วันที่: 11 ธันวาคม 2557 เวลา:22:35:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sai_zelda
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]





[Add sai_zelda's blog to your web]