Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
8 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
การผลิตไฟฟ้าและการจ่ายไฟฟ้า

1.แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้า ที่สำคัญ มีดังนี้

1.1 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นโรงจักรที่ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยอาศัยพลังน้ำจากเขื่อน


1.2 โรงจักรไอน้ำ เป็นโรงงานไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงต้มน้ำให้เดือดกลายเป็นไอแห้ง แล้วไปหมุนกังหัน(turbine) ซึ่งต่อแกนร่วมกับ Armature ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generater)



1.3 โรงจักรไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์ ใช้ความร้อนจากเตาปฏิกรณ์ไปทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอ และไอแห้ง (Supper heat Steam)


2.การส่งกระแสไฟฟ้า

เมื่อโรงไฟฟ้าผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว จะส่งไปที่หม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อเพิ่มแรงดันกระแสไฟฟ้าให้สูงขึ้นทำให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าเป็นระบบทางไกลๆได้  และก่อนจะจ่ายให้ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องผ่านหม้อแปลงอีกครั้งหนึ่งเพื่อลดแรงดันไฟฟ้าลงให้พอดีกับลักษณะการใช้งานคือให้เหลือแรงดันกระแสไฟฟ้าเท่ากับ
220 โวลต์


2.1 ระบบการส่งกำลังไฟฟ้า (Transmission Line) การส่งกำลังไฟฟ้าระบบทางไกล ๆ จะเกิดปัญหาจากการสูญเสียแรงดันไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า เนื่องจากความต้านทานของสายไฟฟ้า และการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาจึงต้องเพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้น สำหรับประเทศไทยในการส่งกำลังไฟฟ้าต้องเพิ่มแรงดันไฟฟ้าถึง 230,000 โวลต์

  •  ลักษณะของสายส่งไฟฟ้าแรงสูง การส่งสายไฟแรงสูงจำเป็นจะต้องใช้สายไฟที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าเดินได้สะดวก ดังนั้นจึงลดน้ำหนักของสายไฟฟ้า ด้วยการใช้วัสดุที่นำไฟฟ้าได้ดี และมีน้ำหนักเบา เช่น อะลูมิเนียม
  •  เสาส่งไฟฟ้าแรงสูง เสาส่งไฟฟ้าแรงสูง จะต้องมีความแข็งแรง และมีความสูงของเสาตามพิกัดขนาดแรงดันไฟฟ้านั้น ๆเสาไฟฟ้าแรงสูงอาจจะใช้เสาไม้ หรือคอนกรีดก็ได้



3.การจ่ายกระแสไฟฟ้า

3.1 ระบบจำหน่าย 
ในระบบส่งกำลังไฟฟ้าก่อนที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าถึงบ้านผู้ใช้ไฟฟ้า จะต้องลดแรงดันไฟฟ้าเสียก่อน โดยผ่านสถานีย่อย (Sub-station) สายนี้เรียกว่า สายป้อน (Feeder) และสายที่ต่อจากสายป้อนนี้จะส่งต่อไปด้วยแรงดันไฟฟ้า 12 กิโลโวลต์ สายส่งระดับนี้จะกระจายไปตามถนนสายต่าง ๆ และต่อเข้าหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อลดแรงดัน ระบบนี้เรียกว่า ระบบจำหน่าย (Distribution System) จากนั้นหม้อแปลงไฟฟ้าจะแปลงแรงดันไฟฟ้าจาก 12,000 โวลต์ ลงเป็น 220 โวลต์ สำหรับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว และเป็น 380 โวลต์ สำหรับระบบไฟฟ้าสามเฟส แล้วแต่ชนิดของผู้ใช้ไฟฟ้า 
ไฟฟ้าในระบบจำหน่ายเป็นไฟฟ้าที่มีแรงดันกระแสไฟฟ้าสูง ก่อนที่จะนำไปสู่บ้านเรือนประชาชน จะต้องลดแรงดันลงโดยผ่านสถานีย่อยดังที่กล่าวมาแล้ว
ไฟฟ้าแรงสูงนี้มีอันตรายมาก ดังนั้น จึงต้องใช้ลูกถ้วย (Pininsutator)ทำหน้าที่เป็นฉนวนไม่ให้สายไฟฟ้าแรงสูงสัมผัสส่วนของเสาลูกถ้วยที่ใช้อาจจะมีขนาด
แตกต่างกันแล้วแต่ลักษณะการใช้งาน

3.2 ระบบสายบริการ 
ระบบของสายบริการ หมายถึง ระบบของสายไฟฟ้าที่ต่อจากหม้อแปลงไฟฟ้าไปยังบ้านพักอาศัยทั่วไป หม้อแปลงไฟฟ้านี้จะติดตั้งไว้บนเสาไฟฟ้า
สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้กระแสไฟฟ้ามาก จะต้องใช้หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ จึงต้องมีสถานที่โดยเฉพาะ (Plot Form) สายไฟฟ้าบริการที่จะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า หรือตามถนนสายต่าง ๆ มีหลายระบบดังนี้

1) ระบบไฟฟ้าเฟสเดียว 2 สาย หมายถึง ระบบที่ใช้สายไฟ 2 สาย ต่อออกจากหม้อแปลงไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าหรือถนนสายต่าง ๆ ระบบนี้นิยมใช้ในชนบท
ที่มีบ้านอยู่ห่างไกลกัน และใช้ปริมาณไฟฟ้าน้อย



2) ระบบไฟฟ้าเฟสเดียว 3 สาย ระบบนี้จะมีสายไฟฟ้า 3 สาย นิยมใช้ในท้องถิ่นที่มีผู้ใช้ไฟฟ้ามากขึ้น และใช้กับหม้อแปลงขนาดใหญ่ขึ้น

3) ระบบไฟฟ้าสามเฟส 3 สาย ไฟฟ้าระบบ 3 เฟสนี้ จะให้แรงดันกระแสไฟฟ้า 380 โวลต์ ดังนั้น จึงใช้กับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
แบบ 3 เฟสเท่านั้น ซึ่งมีสายไฟฟ้า 3 สาย 

4) ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย ระบบนี้ ใช้ไฟฟ้าได้ทั้ง 2 ระบบ คือ ระบบเฟสเดียว 220 โวลต์ และระบบ 3 เฟส 380 โวลต์
นิยมใช้ในเมืองใหญ่ท้องถิ่นที่มีความเจริญ และใช้ไฟฟ้ามาก




Create Date : 08 พฤษภาคม 2556
Last Update : 23 กันยายน 2556 20:06:36 น. 2 comments
Counter : 4097 Pageviews.

 
so good.


โดย: boonluae IP: 1.20.1.163 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2556 เวลา:14:30:14 น.  

 
iughy


โดย: สา IP: 27.55.81.67 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:9:48:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yaovarit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add yaovarit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.