Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
22 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้แสงสว่าง

ไฟฟ้าแสงสว่างที่นิยมใช้ในบ้านพักอาศัยมีอยู่ 2 แบบ คือ

1 หลอดชนิดไส้ (Incandescent Lamp) หมายถึง หลอดไฟฟ้าที่ไส้หลอดทำด้วยโลหะทังสเตนภายในเป็นสูญญากาศ การใช้จะต้องเสียบลงในขั้วหลอด ซึ่งมีทั้งแบบเกลียว และแบบเขี้ยว หลอดไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ บอกกำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์
ซึ่งเป็นหลอดที่ให้แสงออกมาได้โดยผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าที่หลอดไส้ ซึ่งทำให้มันร้อนและให้แสงออกมา
 หลอดไส้ ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
- หลอดไส้แบบธรรมดา ( Normal Incandescent Lamp)
- หลอดทังสเตนฮาโลเจน(Tungsten Halogen Lamp) เป็นหลอดที่ไม่ค่อยนิยมใช้กันในบ้านโดยทั่วไปจึงจะไม่กล่าวถึง





2 หลอดวาวแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent)
เป็นหลอดมีไส้อีกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ รางหลอด ขั้วหลอด บัลลาสต์ และสตาร์ตเตอร์สวิตช์ ซึ่งต่อเป็นวงจร ดังรูป



1) บัลลาสต์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของหลอดวาวแสง เพราะเป็นตัวจำกัดกระแสไฟฟ้า ทำให้หลอดมีอายุยืน มีขนาด40 วัตต์, 32 วัตต์ (สำหรับหลอดกลม) และ 20 วัตต์ ปัจจุบันมีนโยบายประหยัดพลังงาน บริษัทได้ผลิตบัลลาสต์ชนิดประหยัดพลังงานไฟฟ้า เรียกว่า “โลลอสบัลลาสต์” (Low Loss Ballast) เป็นบัลลาสต์ที่มีการสูญเสียกำลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าบัลลาสต์ธรรมดา เป็นการประหยัดไฟฟ้าได้ 4 - 6 วัตต์ต่อ 1 หลอด คิดเป็น 40 เปอร์เซนต์ของบัลลาสต์แบบเดิม


2) สตาร์ตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ประกอบวงจรหลอดวาวแสง ขาหลอดจะออกแบบไว้ใส่สตาร์ตเตอร์ โดยเฉพาะสตาร์ตเตอร์มีหน้าที่ต่อวงจร เพื่ออุ่นไส้หลอดเกิดอิเล็กตรอนไหลในหลอด แล้วสตาร์ตเตอร์จะตัดวงจรโดยอัตโนมัติโดยอาศัยหลักการขยายตัวของโลหะต่างชนิดกัน เรียกว่า แผ่นไบเมทอล (Bimetallic strip)





การทำงานของหลอดไฟฟ้า

ภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์ สูบอากาศออกให้เหลือความดันประมาณ 1/6 ของบรรยากาศ แล้วหยดไอปรอทลงไป ผนังหลอด
ฉาบสารเรืองแสง (ฟลูออ) เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านวงจรผ่านบัลลาสต์ จะทำให้เกิดแรงดันกระแสไฟฟ้าสูง อิเล็กตรอนจะหลุดออกจากไส้หลอดด้านหนึ่งผ่านหลอดไปยังอีกขั้วหลอดที่อยู่ตรงข้าม ซึ่งช่วงนี้บัลลาสต์จะลดแรงดันกระแสไฟฟ้าลง สตาร์ตเตอร์สวิตช์ก็เปิดวงจรไฟฟ้า ขณะที่อิเล็กตรอนผ่านและชนโมเลกุลของไอปรอท ทำให้เกิดแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้เกิดการเรืองแสงในหลอด

ลอดฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดที่มีประสิทธิภาพแสงและอายุการใช้งานมากกว่า หลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์แท่งยาวที่ใช้แพร่หลายมีขนาด 36 วัตต์ แต่ยังมีหลอดแสง สว่างประสิทธิภาพสูง (หลอดซุปเปอร์ลักซ์) ซึ่งมีราคาต่อหลอดแพงกว่าหลอดแสงสว่าง 36 วัตต์ธรรมดา แต่ให้ปริมาณแสงมากกว่าร้อยละ 20 ในขนาดการใช้กำลังไฟฟ้าที่เท่ากัน นอกจากนี้ยังมีหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (CFL) หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ชนิดที่ให้สีของแสงออกมาเทียบเท่าร้อยละ 8 เท่าของหลอดไส้ มี 2 แบบ คือ แบบขั้วเกลียวกับขั้วเสียบ


 

ภาพแสดงหลอดฟลูออเรสเซนต์ ประเภทต่างๆ


ลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ แบ่งออกได้หลายชนิด คือ


หลอด SL แบบขั้วเกลียว มีบัลลาสต์ในตัว มีขนาด 9, 13, 18, 25 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับหลอดไส้ เหมาะกับสถานที่ที่เปิดไฟนานๆ หรือบริเวณที่เปลี่ยนหลอดยาก เช่น โคมไฟหัวเสา ทางเดิน เป็นต้น


หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ 4 แท่ง  ขั้วเกลียว (หลอดPL*E/C) ขนาด 9,11,15 และ 20 วัตต์ มีบัลลาสต์อีเล็กทรอนิกส์ในตัว เปิดติดทันที ไม่กระพริบ ประหยัดไฟได้ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับหลอดไส้


หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ตัวยู 3 ขด (หลอด PL*E/T) ขนาดกะทัดรัด 20 และ 23 วัตต์ ขจัดปัญหาหลอดยาวเกินโคมประหยัดไฟได้ร้อยละ 80 ของหลอดไส้


หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ขั้วเสียบ (หลอด PLS) บัลลาสต์ภายนอกขนาด 7, 9 และ 11 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 80 ของหลอดไส้


หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ 4 แท่ง ขั้วเสียบ (หลอด PLC) บัลลาสต์ภายนอก ขนาด 8, 10, 13, 18 และ 26 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 80 ของหลอดไส้



 

ภาพแสดงหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ประเภทต่างๆ

 

การเลือกซื้อและเลือกใช้หลอดไฟให้มีการประหยัดพลังงาน


1.วิธีการเลือกซื้อหลอดไฟให้มีการประหยัดพลังงาน


1.1 ศึกษาหลักการทำงานเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของหลอดไฟในแต่ละรุ่น
     - พิจารณาประสิทธิภาพของแสงโดยดูที่ค่าประสิทธิผล (ลูเมนต่อวัตต์) ถ้ายิ่งมากยิ่งดี และมีประสิทธิภาพสูง (ลูเมน คือ ปริมาณแสงที่ปล่อยออกมาจากหลอดแสงสว่าง ส่วนวัตต์ คือ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการกำเนิดแสง) ซึ่งประสิทธิผลของหลอดต่าง ๆ แสดงได้ดังนี้
ตารางแสดงค่าประสิทธิผลของหลอดชนิดต่าง ๆ



ชนิดของหลอดแสงสว่าง

ประสิทธิผล(ลูเมนต่อวัตต์)

หลอดไส้

8-22

หลอดฟลูออเรสเซนต์

30-83


ในกรณีการใช้หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (Compact Fluorescent) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับหลอดฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้กับทุกพื้นที่ สามารถทำได้เพราะค่าความสว่างใกล้เคียงกัน และยังสามารถหาจุดคุ้มทุนได้ถึงแม้จะมีราคาสูงกว่า

1.2 เลือกดูหลอดไฟที่โครงสร้างหลอดมีความคงทนแข็งแรง ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐานอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เพื่อยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟให้ยาวนานยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพ

1.3 เลือกซื้อหลอดไฟที่มีฉลากแสดงถึงประสิทธิภาพ และพยายามเลือกรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง ควรเลือกซื้อหลอดไฟที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

1.4 เลือกซื้อหลอดไฟในรุ่นที่ไม่ส่งผลเสียต่อสภาวะแวดล้อม 

1.5 มีคู่มือการใช้งานเพื่อการประหยัดพลังงานและการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ

1.6 เลือกขนาดให้เหมาะสมกับขนาดของครัวเรือน และเลือกใช้ดวงโขนาดพื้นที่และการใช้งานด้านต่าง ๆ
     - ในพื้นที่ทำงานทั่ว ๆ ไปที่ไม่ต้องเน้นการให้ความถูกต้องของสีหรือปริมาณแสงสว่างจากดวงโคม ให้ใช้โคมหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบเปลือยดีที่สุดเนื่องจากมีการระบายความร้อนที่ดีอายุใช้งานก็จะนานขึ้น
     - สำหรับบริเวณภายนอกอาคารให้ใช้หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์กำลังไฟฟ้าต่ำเพราะเป็นบริเวณที่มีการเปิดใช้หลอดไฟฟ้าเป็นเวลานานและเป็นโคมที่มีระดับการป้องกันความชื้นที่ดี เช่น เป็นโคมครอบแก้ว
     - ในกรณีที่ห้องขนาดเล็กแต่เป็นห้องที่ต้องการความส่องสว่างสูง เช่น บริเวณห้องน้ำที่มีส่วนแต่งหน้าอยู่อาจใช้โคมไฟส่องลง (Down light) กับหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ - ระดับแสงสว่างในห้องที่มีการใช้สายตาน้อย เช่น บริเวณห้องนอน สามารถติดตั้งหลอดไฟให้อยู่ในระดับปริมาณความส่องสว่างค่าต่ำได้ หากต้องการทำกิจกรรมเพิ่มเติม เช่น การอ่านหนังสืออ่านติดตั้งเป็นโคมไฟเพิ่มเติมบริเวณหัวเตียงได้


ตารางแสดงค่าความสว่างตามมาตรฐาน IES

 


ลักษณะพื้นที่ใช้งาน

ความสว่าง(ลักซ์)

พื้นที่ทำงานทั่วไป

300-700

พื้นที่ส่วนกลางทางเดิน

100-200

บ้านที่อยู่อาศัย ห้องนอน

50

หัวเตียง

200

ห้องน้ำ

100-500

ห้องนั่งเล่น

100-500

ห้องครัว

300-500

บริเวณบันได

100


     - การเลือกใช้โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง เป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรคำนึงถึงเพราะอาคารสำนักงานหรือบ้านที่อยู่อาศัย ที่ยังใช้โคมไฟชนิดที่มีประสิทธิภาพต่ำ สะท้อนแสงได้น้อย ต้องใช้หลอดตั้งแต่ 2 – 3 หลอด ถ้าเปลี่ยนมาใช้โคมไฟชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งมีแผ่นสะท้อนแสงทำด้วยอะลูมิเนียมขัดเงาหรือเคลือบโลหะเงินเพิ่มเข้าไปในตัวโคมไฟ จะสามารถลดจำนวนหลอดลงได้จากเดิม 2 หลอด เหลือเพียง 1 หลอดและจากเดิม 3 หลอด เหลือเพียง 2 หลอด โดยแสงสว่างจะยังคงได้เท่าเดิม จึงช่วยให้ประหยัดไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง

2.วิธีการใช้หลอดไฟให้มีการประหยัดพลังงาน


2.1 ศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด ทำความเข้าใจถึงหลักการทำงานของหลอดไฟอย่างดี


2.2 ปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้งานเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างเคร่งครัด

     - รู้จักใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ เช่น จัดวางตำแหน่งโต๊ะทำงานหรือบริเวณอ่านหนังสือไว้ใกล้หน้าต่าง
     - ใช้สีอ่อนทาผนัง ฝ้าเพดาน และวัสดุสีอ่อนปูพื้น เพราะค่าการสะท้อนแสงที่สูงจะช่วยให้ห้องดูสว่างมากขึ้น รวมกับการใช้หลอดไฟอย่างมีประสิทธิภาพ
     - รักษาระดับอุณหภูมิห้องให้อยู่ที่ระดับ 25 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้หลอดฟลูออเรสเซนต์มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด


2.3 รู้จักสังเกตการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของหลอดไฟ 

     - สังเกตสีและแสงที่ให้จากหลอดไฟว่าสว่างเหมือนเดิมหรือไม่ เมื่อหลอดไฟมีการกระพริบ หากทำได้ต้องรีบเปลี่ยนทันทีเพราะหลอดไฟที่กระพริบจะกินไฟสูงกว่าหลอดปกติมาก


2.4 ปิดสวิทช์เมื่อไม่ใช้งาน เมื่อไรก็ตามที่ออกจากห้อง ต้องแน่ใจว่าดับไฟเรียบร้อยแล้วถึงแม้ว่าจะเป็นเวลาสั้น ๆ ก็ตาม





Create Date : 22 กรกฎาคม 2556
Last Update : 23 กันยายน 2556 20:25:06 น. 0 comments
Counter : 5916 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yaovarit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add yaovarit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.