Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
9 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
เครื่องมือสำหรับวัดไฟ

โวลต์มิเตอร์(volt meter) คือ เครื่องมือวัดไฟฟ้าที่ใช้วัดความแตกต่างของพลังงานไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุด วิธีใช้ต้องต่อขนานกับวงจร ค่าที่วัดได้มีหน่วย โวลต์ (V) 

โวลต์มิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ดัดแปลงมากจากแกลแวนอมิเตอร์ โดยต่อความต้านทานแบบอนุกรมกับแกลแวนอมิเตอร์ และใช้วัดความต่างศักย์ในวงจรโดยต่อแบบขนานกับวงจรที่ต้องการวัด

 สัญลักษณ์ของโวลต์มิเตอร์ คือ 

รูปแสดงลักษณะโวลต์มิเตอร์

            โวลต์มิเตอร์ที่ดีจะต้องมีความต้านทานสูงเพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้น้อยที่สุด

ข้อควรรู้

            โวลต์ (volt) เป็นชื่อของ อาเลสซันโดร วอลตา (Alessandro Volta) ผู้ประดิษฐ์คิดค้นแบตเตอรี่เป็นคนแรก

            เมื่อเราต้องการวัดความต่างศักย์ระหว่างจุด 2 จุดใดๆ ในวงจรไฟฟ้า สามารถทำได้โดยการนำโวลต์มิเตอร์ต่อคร่อมระหว่าง 2 จุดนั้น เราเรียกการต่อลักษณะนี้ว่า การต่อแบบขนาน ดังรูป

รูปแสดงการต่อโวลต์มิเตอร์ในวงจรไฟฟ้า

            การที่กระแสไฟฟ้าไหล เนื่องมาจากความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่ขั้วของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า และ ความต่างศักย์ไฟฟ้าของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแต่ละชนิดก็จะไม่เท่ากัน เช่น ถ่านไฟฉายมีความต่างศักย์ประมาณ 1.5 โวลต์ แบตเตอรี่รถยนต์มีความต่างศักย์ไฟฟ้าประมาณ 12 โวลต์ ส่วนสายไฟฟ้าภายในบ้านมีความต่างศักย์ไฟฟ้าประมาณ 220 โวลต์ ทั้งนี้ถ้าความต่างศักย์ไฟฟ้ามีค่ามากขึ้น ระดับพลังงานไฟฟ้าก็จะมากขึ้นด้วย ซึ่งจะมีผลและเกิดอันตรายได้ง่าย

 แอมมิเตอร์ (amp meter)  คือเครื่องมือวัดไฟฟ้าที่ใช้วัดปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้า

            กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่ง กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นได้หลายวิธี เช่น เกิดจากความแตกต่างของพลังงานสองบริเวณ เกิดจากปฏิกิริยาเคมี เกิดจากการเหนี่ยวนำของวัตถุ เป็นต้น
             มีหน่วยการวัดคือ แอมแปร์ (ampere) ใช้ตัวย่อแทนกระแสไฟฟ้าว่า  I สัญลักษณ์ของแอมมิเตอร์ คือ 

รูปแสดงลักษณะของแอมมิเตอร์

            แอมมิเตอร์ที่ดีต้องมีความต้านทานน้อย เพื่อให้กระแสไฟฟ้าในวงจรไหลผ่านตัวแอมมิเตอร์ให้มากที่สุด
การใช้แอมมิเตอร์วัดปริมาณกระแสไฟฟ้าต้องต่อแอมมิเตอร์แทรกในวงจรที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เรียงลำดับในวงจรไฟฟ้าเป็นการต่อแบบอนุกรม เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่อ่านได้จากแอมมิเตอร์เป็นค่าเดียวกับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจรนั้น ดังรูป

รูปแสดงการต่อแอมมิเตอร์ในวงจรไฟฟ้า

แอมมิเตอร์กระแสตรงจะต้องต่อให้ถูกขั้ว

โอห์มมิเตอร์(Ohm meter) เป็นเครื่องมือวัดที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัดอุปกรณ์เฉพาะความต้านทาน และมีประโยชน์ต่อเนื่องไปถึงการวัดอุปกรณ์อื่นๆได้ด้วยเช่น วัดการตัดต่อของสวิตซ์ หน้าสัมผัสต่าง ๆ ตลอดจนวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ว่า ดี , เสียได้ด้วย 

             โครงสร้างของโอห์มมิเตอร์ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 อย่างคือ ดาร์สันวาล์มิเตอร์ แบตเตอรี ( ถ่านไฟฉาย ) และตัวต้านทานปรับค่าได้ โดยนำอุปกรณ์ 3 ส่วนดังกล่าวมาต่อวงจรจะได้โอห์มมิเตอร์ขึ้นมา และปรับแต่งสเกลหน้าปัดให้บอกค่า โอห์ม โอห์มมิเตอร์แบ่งลักษณะการต่อวงจรออกเป็น 3 แบบ ด้วยกันคือ

1.โอห์มมิเตอร์ แบบนุกรม(อันดับ)

2. โอห์มมิเตอร์แบบขนาน

3. โอห์มมิเตอร์แบบปรับแบ่งแรงดัน

โอห์มมิเตอร์แบบอนุกรม   คือ  โอห์มมิเตอร์ที่มีตัวต้านทานไม่ทราบค่าที่ต้องการวัดต่อนุกรมกับขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์ สภาวะการบ่ายเบนของเข็มมิเตอร์จะขึ้นอยู่กับขนาดของความต้านทานที่ไม่ทราบค่า ถ้า ขนาดความต้านทานไม่ทราบค่าสูง จะจำกัดกระแสให้ผ่านขดลวดเคลื่อนที่น้อย ถ้าขนาดความต้านทานไม่ทราบค่าต่ำ จะทำให้กระแสไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่มาก จากผลดังกล่าวทำให้เข็มมิเตอร์จะชี้ค่าความต้านทานออกมา การเปลี่ยนสเกลหน้า ปัดของมิเตอร์ให้เป็นสเกลของโอห์มมิเตอร์ทำได้โดยใช้ตัวต้านทานมีค่าความต้านทานต่างๆ แทนค่าลงในสมการ คำนวณค่าออกมาเป็นกระแสในค่าต่างๆ กำหนดค่าความต้านทานลง ตามกระแสที่คำนวณได้ ก็จะได้สเกลของโอห์มมิเตอร์แบบอนุกรมตามที่ต้องการ

  โอห์มมิเตอร์แบบขนาน เป็นโอห์มมิเตอร์ที่วัดค่าความต้านทานค่าต่ำ ๆ ได้ดี จากผลของการต่อความต้านทานไม่ทราบค่าขนานกับมิเตอร์นั่นเอง ในทำนองเดียวกันการต่อตัวต้านทานทราบค่าต่ำๆ ขนานกับมิเตอร์ ก็สามารถนำ โอห์มมิเตอร์ไปวัดความต้านทานต่ำได้เช่นกัน และสามารถเปลี่ยนค่าความต้านทานของมิเตอร์ได้ ทำให้สามารถวัดค่าความต้านทานได้กว้าง เรียกโอห์มมิเตอร์แบบนี้ว่าโอห์มมิเตอร์แบบปรับแรงดัน โดยอาศัยตัวต้านทานขนานค่าต่ำที่ต่อร่วมกับตัวต้านทานที่ต้องการวัดค่า ต่อร่วมเป็นวงจรแบ่งแรงดัน ผลการแบ่งแรงดัน จะทำให้มีแรงดันไฟตรงตกคร่อมขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีกระแสไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่เปลี่ยนไป เกิดการบ่ายเบนที่เปลี่ยนแปลง เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงสเกลหน้าปัดให้เป็นสเกลโอห์มมิเตอร์ ก็สามารถอ่านค่าความต้านทานที่ทำการวัดได้                

          สเกลของโอห์มมิเตอร์แบบขนานจะตรงข้ามกับสเกลของโอห์มมิเตอร์แบบอันดับคือมี 0 โอห์ม อยู่ทางซ้ายมือ และมีอินฟีนิตี้โอห์มอยู่ทางขวามือ

โอห์มมิเตอร์แบบปรับแบ่งแรงดัน ความจริงมีโครงสร้างมาจากโอห์มมิเตอร์แบบอันดับโดยทำการดัดแปลงสง่นประกอบวงจรคือเพิ่มตัวต้านทานค่าต่ำขนานกับมิเตอร์ ดังนั้นสเกลของโอห์มมิเตอร์แบบนี้ จะมีสเกลเหมือนกับโอห์มมิเตอร์แบบอันดับ คือ 0 โอห์ม จะอยู่ทางขวามือ และ อินฟีนิตี้ จะอยู่ทางซ้ายมือ

โอห์มมิเตอร์แบบหลายย่านวัด คือโอห์มมิเตอร์ที่วัดค่าความต้านทานได้กว้าง ตั้งแต่ค่าต่ำไปหาค่าสูง โดยอาศัยหลักการของโอห์มมิเตอรแบบปรับแรงดันย่านวัดถูกสร้างให้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ 1 เท่า, 10 เท่า , 100 เท่า, 1,000 เท่า ฯลฯ ส่วนสำคัญของโอห์มมิเตอร์หลายย่านวัดคือ จะต้องใช้สเกลการวัดค่าเพียงสเกลเดียว การกำหนดค่าสเกลจะต้องมองที่ย่านกลางสเกลของโอห์มมิเตอร์ย่านต่ำสุด


ข้อควรระวัง  :  การใช้โอห์มมิเตอร์ไม่ควรใช้วัดความต้านทานขณะที่มีแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมตัวต้านทานอยู่เพราะจะทำให้โอห์มมิเตอร์เกิดความเสียหาย






Create Date : 09 พฤษภาคม 2556
Last Update : 27 ตุลาคม 2556 19:31:47 น. 0 comments
Counter : 8718 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yaovarit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add yaovarit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.