Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
22 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
อุปกรณ์ตัดตอน




อุปกรณ์ป้องกัน

1. เซอร์กิตเบรคเกอร์  (Circuit Breaker ,CB ) เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินพิกัด ติดตั้งสถานีควบคุมการจ่ายไฟ ทำงานด้วยมือ หรือรีเลย์ โดยรีเลย์กระแสเกินจะสั่งให้เซอร์กิตเบรคเกอร์เปิดวงจรโดยอัตโนมัติ และสั่งให้เซอร์กิตเบรคเกอร์ต่อวงจรโดยอัตโนมัติจนครบกำหนด ก็จะเปิดวงจรค้างไว้ ( Lock Out ) ตัวอย่างเซอร์กิตเบรตเกอร์ที่ใช้ได้แก่

1.1 เซอร์กิตเบรคเกอร์อากาศ ( Air Circuit Breaker ,  ACB )

1.2 เซอร์กิตเบรคเกอร์น้ำมัน  ( Oil Circuit Breaker ,  OCB )

1.3 เซอร์กิตเบรคเกอร์สุญญากาศ ( Vacuum Circuit Breaker )

1.4 เซอร์กิตเบรคเกอร์ก๊าซ (Gas- Filled Circuit Breaker,GCB)

2. รีโคลสเซอร์  (Recloser) เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินพิกัดทำงานโดยอัตโนมัติ เปิด-ปิดวงจรได้ เมื่อเกิดฟอลท์ โดยอัตโนมัติ เปิดวงจรได้สูงสุด 4 ครั้ง จึงเปิดวงจรค้างไว้

3. เซคชั่นนัลไลเซอร์  (Sectionalizer,Z) เป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ทำงานร่วมกับรีโคลสเซอร์ ไม่สามารถตัดกระแสฟอลท์ได้ จะตัดเฉพาะกระแสโหลด

4. ฟิวส์คัทเอ้าท์  หรือ ดรอพเอ้าท์ฟิวส์คัทเอ้าท์ (Dropout  Fuse Cutout) หรือฟิวส์ตัดตอนแรงสูง (Power  Fuse) เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน ที่มีราคาถูกที่สุด

อุปกรณ์ตัดตอน

ทำหน้าที่เชื่อมโยง หรือบายพาส ( By Pass) การจ่ายกระแสไฟฟ้าในระบบจำหน่ายแรงสูงออกเป็นช่วงๆ ประกอบด้วยอุปกรณ์ 3 ชนิด คือ

         1.   โหลดเบรคสวิตช์  (Load  Break  Switch) เป็นสวิตช์ตัดตอนที่สามารถปิด-เปิดวงจรได้ขณะที่มีโหลด แบ่งย่อยเป็น 4 แบบ คือ

ออยล์สวิตช์ (Oil Switch)

.   แวคคั่มสวิตช์  (Vacuum Switch)

โหลดอินเตอร์รัพเตอร์สวิตช์  (Load  Interrupter  Switch)

โหลดเบรคสวิตช์  SF6  (Load  Break  Switch  SF6)

         2.   แอร์เบรคสวิตช์ (Air  Break  Switch) เป็นสวิตช์ที่ออกแบบให้เปิดวงจรขณะไม่มีโหลด หรือใช้ตัด Charging Current ได้ไม่เกิน 10 A  ปิด-เปิดวงจรทีเดียว 3 เฟส

3. ดิสคอนเน็คติ้งสวิตช์  (Disconnecting  Switch) เป็นสวิตช์ใบมีดธรรมดา 1 ขา ปิด-เปิดวงจรทีละเฟส ขณะไม่มีโหลด


อุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้า
        การไหลของกระแสในวงจรไฟฟ้าจำเป็นต้องอาศัยส่วนประกอบอย่างน้อย 3 ส่วนคือ แหล่งจ่ายแรงดันตัวนำ (สายไฟฟ้า) และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า(load) โดยมีสวิตช์ทำหน้าที่ควบคุมปิด-เปิดการจ่ายกระแสไฟฟ้าในสภาวะปกติเมื่อกดสวิตช์ต่อวงจรจะมีกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรทำให้หลอดฟลูออเรสเซนต์ติดสว่าง   ถ้าหากหลอดฟลูออเรสเซนต์ต่อขนานกันหลายๆหลอดจะมีกระแสไหลมากขึ้นทำให้สายไฟฟ้ามีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถึงขั้นฉนวนของสายหลอมละลาย  หากไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอาจจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่ากระแสไหลเกินเนื่องจากโหลดเกินเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโอเวอร์โหลด (over load) ถ้าหากมีตัวนำหรือสายไฟฟ้า ต่อขนาดกับแหล่งจ่ายแรงดันเมื่อกดสวิตช์ต่อวงจรจะทำให้เกิดกระแสไหลมากกว่ากระแสปกติเรียกว่ากระแสเกิน   เนื่องจากลัดวงจร (short circuit)ซึ่งจะมีกระแสไหล จำนวนหลายเท่าของกระแสในสภาวะปกติ  ส่งผลให้แหล่งจ่ายแรงดันเสียหายหรือหน้าสัมผัสของสวิตช์หลอมละลายและเป็นอันตรายต่อระบบไฟฟ้าโดยรวมดังนั้นในทางปฏิบัติ จึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน(protection)โดยการเปิดวงจร (open circuit)หรือ ตัดวงจรทันที่

1 อุปกรณ์ป้องกันระบบไฟฟ้า
          การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันระบบไฟฟ้าจำเป็นต้องมีมาตรการต่าง ๆ มารองรับอาทิ เช่น มาตรการในการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมก่อนจะนำไปใช้งาน  ต้องศึกษาให้เข้าใจถึงคุณสมบัติ ต่างๆ รวมถึงวิธีการติดตั้ง อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ ฟิวส์ เซฟตี้สวิตช์ สวิตช์ทิชิโน อุปกรณ์ป้องกันการลัดวงจรลงดิน  รีเลย์ป้องกันกระแสเกิน  เครื่องป้องกันไฟฟ้ารั่วลงดิน
        1.1 เซอร์กินเบรกเกอร์ (circuit breaker) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซีบี (CB.)  NEMA (National Electrical Manufacturers Association )  ให้นิยามเซอร์กิตเบรกเกอร์ดังนี้ “อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเปิดและปิดวงจรโดยไม่อัตโนมัติและสามารถเปิดวงจรได้โดยอัตโนมัติเมื่อกระแสไหลเกิน กว่าค่อที่กำหนดไว้ดยที่ตัวมันเองไม่ได้รับความเสียหาย
          จากนิยามจะเห็นว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์จะเกี่ยวข้องกับหระแสเกินเป็นหลัก  เซอร์กิตเบรกเกอร์ในระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ (น้อยกว่า 1,000 โวลท์) แบ่งออกได้ 3 ประเภทดังนี้
            1. MCCB. (Molded Case Circuit Breaker)
            2. Air Circuit Breaker หรือ Power Circuit Breaker
            3. Miniature Circuit Breaker
       แต่ละชนิดมีรายละเอียดดังนี้
            1. MCCB. (Molded Case Circuit Breaker)  คือเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ห่อหุ้มปิดมิด ชิดโดยmoldedจำนวนสองส่วนซึ่งได้ทำการทดสอบ  dielectric strength ก่อนที่จะวางจำหน่าย moldedทำหน้าที่เป็นฉนวนหุ้ม ปกปิดเซอร์กิตเบรคเกอร์ส่วนใหญ่ ทำจาก phenolicเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้ทำหน้าที่หลัก 2 อย่างคือทำหน้าที่เป็น สวิตช์เปิด-ปิด ด้วยมือและเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ (เมื่อกระแสเกินเนื่องจากโหลดเกินหือลัดวงจร) เมื่อเซอร์กิต เบรคเกอร์เปิดวงจรจะสังเกตเห็นว่าด้ามจับคันโยกจะเลื่อนมาที่ตำแหน่งTripซึ่งจะอยู่กึ่งกลางระหว่าง ON และ OFF (ลักษณะนี้เซอร์กิตเบรกเกอร์ได้เปิด วงจรออกจาก ระบบเรียบร้อยแล้ว) เมื่อช่างได้ทำการแก้ไขสิ่งผิดปกติ (fault)ออกจากระบบ  ก็จะสามารถโยกเลื่อนกลับไปต่อใช้งานได้เช่นเดิม ด้วยการ reset คือกดลงตำแหน่ง OFF ก่อน จากนั้นจึงเลื่อนไป ยังตำแหน่ง ONถ้าเลื่อน ไปยังตำแหน่ง ONผลปรากฏว่าด้ามจับรีกลับมา ที่ตำแหน่ง Trip แสดงว่า ขณะนั้นเกิดสภาวะกระแสเกินเนื่องจากกระแสไหลเกิน   จะต้องหาสาเหตุของสภาวะผิดปกติและแก้ไขให้เรียบร้อยจึง จะสามารถดันด้ามจับไปตำแหน่ง ON ได้การทำงานในลักษณะดังกล่าวเรียกว่า Quick make หรือ Quick break
            Molded Case Circuit Breaker ที่จำหน่ายในท้องตลาด  แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
Thermal magnetic circuit breaker และ Electronic trip circuit breaker
            1. Thermal magnetic MCCB. ลักษณะดังรูปที่ 6.4 เป็นตัวอย่างขนาด 1 ขั้ว (one pole) และ2 ขั้ว (two pole) MCCB. ชนิดนี้มีอุปกรณ์สำหรับการสั่งปลดวงจรจำนวน 2 ส่วนคือ

รูป Thermal UnitMagnetic MCCB

             ก. Thermal Unit ใช้สำหรับปลดวงจรออกเมื่อกระแสเกินเนื่องจากโหลดเกิน (over load)จากรูป เมื่อกระแสเกินเนื่องจากโหลดเกินไหลผ่านแผ่นไบเมทอล (bimeta)จะเกิดความร้อนจนโก่งงอไปปลดอุปกรณ์ทางกล (mechanical) ทำให้เซอร์กิตเบรคเกอร์ปลดวงจรออกหรือที่เรียกว่าเซอร์กิตเบรคเกอร์ทริป (trip)

Thermal unit สภาวะปกติ
Thermal unitเมื่อปลดวงจรออก

        โดยทั่วไปการสั่งปลดวงจรของ Thermal unitจะใช้เวลานานพอสมควร(ขึ้นอยู่กับจำนวนกระแสและความร้อนที่จะทำให้แผ่นไบเมทอลเกิดการโค้งงอ) ดังนั้นเมื่อเกิดการลัดวงจรจึงต้องมีอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งเพื่อปลด วงจรออก อย่างรวดเร็ว
                ข. Magnetic unit ใช้สำหรับปลดวงจรออกเมื่อกระแสเกินเนื่องจากลัดวงจร (short circuit) จากรูปถ้าหากเกิดการลัดวงจรหรือกระแสสูงๆ ประมาณ 8-10 เท่าขึ้นไปไหลผ่านจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กและเกิดแรงขึ้นจำนวนหนึ่งจนสามารถดึงอุปกรณ์ทางกล  ทำให้เซอร์กิตเบรคเกอร์ปลดวงจรออกได้

รูป Magnetic unit

         การสั่งปลดวงจรของ magnetic unit จะรวดเร็วมาก  ดังนั้น MCCB. ชนิดนี้จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ทั้งสองส่วนเพื่อทำหน้าที่ปลดวงจร             
        2. Electronic trip MCC. หรือ solid state trip จะใช่วงจรอิเล็กทรอนิกส์วิเคราะห์ค่ากระแส
เพื่อส่งปลดวงจรดังรูป ภายในจะมีหม้อแปลงกระแส (current transformer: CT) ทำหน้าที่แปลง
กระแส ให้มีขนาดต่ำลง โดยมีไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำหน้าที่วิเคราะห์ค่อของการะแสที่ไหลผ่าน ถ้าหกาสูงเกิน กว่าค่าที่กำหนดไว้ก็จะสั่งให้ triping coil ดึงอุปกรณ์ทางกลเพื่อให้ เซอร์กิตเบรกเกอร์ปลดวงจร  เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้ จะมีปุ่มปรับค่ากระแสและเวลาปลดวงจร ดังรูป นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้ง อุปกรณ์ที่เรียนกว่า ammeter & fault indicator โดยจะแสดงสาเหตุการผิดปกติของวงจรและค่ากระแส ได้อีกด้วยดังรูป (ข) ทำให้การวิเคราะห์หาสาเหตุในการปลด วงจรทำได้อย่างรวดเร็ว

รูป ไดอะแกรมของการสั่ง Trip

           2. Air Circuit Breaker (ACB) ใช้สำหรับระบบแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า 1,000โวลท์
ส่วนใหญ่จะมีพิกัดกระแสระหว่าง 255A-6,300A และมีค่า  interrupting capacity (กระแสลัดวงจรสูงสุดที่ CB. ยังสามารถปลดวงจรได้อย่างปลอดภัย)  ตั่งแต่ 35KA-150KA ส่วนใหญ่โครงสร้างจะทำด้วยเหล็ก ทำให้มี น้ำหนักมาก จึงต้องติดตั้งใน รางเลื่อน Air Circuit Breakerส่วนใหญ่ จะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นตัววิเคราะห์ค่ากระแส เพื่อสั่งปลดวงจร ABCมี 2 ประเภทคือ Fixed type และDraw out type ดังรูป

รูป ลักษณะ Air Circuit Breaker

           3. Miniature Circuit Breaker เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ขนาดเล็กใช้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์ป้องกันวงจรย่อยในแผงไฟฟ้าย่อย (load center) หรือแผงไฟฟ้าประจำห้องพักอาศัย (consumer unit)มีทั้งชนิด 1 Pole, 2 Pole, 3 Poleแต่เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้ จะไม่สามารถปรับตั้งค่าได้ ดังรูปโดยทั่วไปจะ มีพิกัด แรงดัน 240/415 Vac. พิกัดกระแสสูงสุด 100A และมีค่ากระแสลัดวงจรติดตั้งแต่ 5KA ถึง 10KA โดยจะนำไป ใช้ป้องกันวงจรย่อยหลายอย่าง อาทิเช่นแสงสว่าง,เต้ารับ, เครื่องปรับอากาศ,มอเตอร์ขนาดเล็ก เนื่องจากทนกระแส ลัดวงจรได้ต่ำ ปัจจุบันเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดป้องกัน ไฟฟ้าดูด (earth leakage) ดังรูป เป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อถือได้ ปลอดภัยต่อผู้ใช้  กล่างคือถ้าหากกระแสรั่วไหลมากกว่า 10 mAจะปลดวงจร ภายใน 0.02 วินาทีึงนิยมนำไปติดตั้งใช้กับวงจรเครื่องทำน้ำร้อน  เครื่องซักผ้าและอื่นๆ

(ก) เซอร์กิตเบรคเกอร์ชนิดปรับค่าไม่ได้

(ข) Earth leakage CB

รูป่ Miniature  Circuit Breaker

             3.1  Load center  หมายถึงแผงไฟฟ้าย่อยเหมาะสำหรับบ้านพักทั่วไป  อาคารสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม  ขนาดสูงสุด 250Aมีทั้ง 1 เฟส 2 สายและ 3 เฟส 4 สาย จำนวน วงจรย่อย เท่ากับ12,18,24,30,36และ 42 วงจร ดังรูปที่

รูป Load center 


              3.2  Consumer unit  หมายถึงแผงไฟฟ้าประจำห้องพัก ร้านค้า มีเฉพาะระบบ 1 เฟส 2 สาย จำนวนวงจรย่อยเท่ากับ 2,4,6,8,12และ 16 วงจร  แสดงดังรูปที่ 6.11(ข)

  รูป Consumer unit

   คำศัพท์เฉพาะของเซอร์กิตเบรกเกอร์ ได้แก่
            1. Amp trip
            2. Amp frame
            3. Pole
            4. IC
            5. Push to trip
            6. Triping curve
            7. Coordination
            8. Accessories
                ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                1. Amp trip หรือ Ampare trip (AT) หมายถึงพิกัดกระแสของเซอร์กิตเบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะแสดงไว้ที่ name plate หรือด้ามคันโยก  ถ้าหากเป็นชนิดปรับค่าไม่ได้จะปั๊มตัวนูนไว้ ที่ด้ามคันโยก การกำหนดค่า AT ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ตามมาตรฐานของ NEC (มาตรฐานนานาชาติ) กำหนดพิกัดกระแสไว้ดังนี้
                15 , 20 , 25 , 30 , 35 , 40 , 50 , 60 , 70 , 80 , 90 , 100 , 110 , 125 , 150 , 175 , 200 ,
225 , 250 , 300 , 350 , 400 , 450 , 500 , 600 , 700 , 800 , 1,000 , 1,200 , 1,600 , 2,00 , 2,500 ,
3,000 , 4,000 , 5,000 และ 6,000A

         อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ป้องกันของผู้ผลิตอาจจะไม่ตรงตามที่ระบุไว้การกำหนดขนาดของ Amp tripของเซอร์กิตเบรคเกอร์ NEC  กำหนดไว้ว่า “หากวงจรมีโหลดทั้งโหลดต่อเนื่องและโหลดไม่ต่อเนื่อง ขนาดของอุปกรณ์ป้องกันต้องมีค่าไม่น้อยกว่าผลรวมของโหลดไม่ต่อเนื่อง รวมกับ 125% ของโหลดต่อเนื่อง ยกเว้นอุปกรณ์ป้องกันที่เป็นชนิด 100%” (โหลดต่อเนื่องคือโหลดที่ใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลาเท่ากับหรือมากกว่า 3 ชั่วโมง) โดยทั่วไปการปลดวงจรของเซอร์กิตเบรกเกอร์มีอยู่ 2 ลัษณะคือ

              ก. Standard Circuit breaker มาตรฐาน NEC กำหนดไว้ว่า “หากนำเซอร์กิตเบรคเกอร์ ชนิดนี้ไปใช้กับโหลดต่อเนื่อง จะปลดวงจรที่พิกัดกระแสของเซอร์กิตเบรกเกอร์”
              ข. 100% rated circuit breaker มาตรฐาน NEC กำหนดไว้ว่า “หากนำเซอร์กิตเบรคเกอร์ชนิดนี้ไปใช้กับโหลดต่อเนื่อง จะปลดวงจรที่พิกัดกระแสของเซอร์กิตเบรกเกอร์”                
            สรุปได้ดังนี้คือ
                   - กรณีอุปกรณ์ป้องกันทั่วไป (standard)
                      CB.= 1.25(กระแสโหลดต่อเนื่อง) + 1.00 (กรแสโหลดไม่ต่อเนื่อง)
                   - กรณีอุปกรณ์ป้องกันที่ทำงานได้ 100% ของขนาดที่ตั้งไว้ (100% rated)
                     CB.= 1.00 (กระแสโหลดต่อเนื่อง) + 1.00 (กระแสโหลดไม่ต่อเนื่อง)               
             ตัวอย่าง เช่น แผงไฟฟ้าประกอบด้วยโหลดต่อเนื่อง 2,000A และโหลดไม่ต่อเนื่อง 500 A
จงหาขนาดอุปกรณ์ป้องกัน
                   1. เมื่อเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันแบบทั่วไป
                        CB.= (1.25) (2,000) + 500 = 3,000A
                       ดังนั้นเลือกใช้ CB.ขนาด 3,000A และบัสบาร์ขนาด 3,000A
                    2. เมื่อเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันแบบ 100%
                        CB. = 2,000+500 =2,500A
                ดังนั้นเลือกใช้ CBขนาด 2,500A และบัสบาร์ขนาด 2,500A
                จะเห็นว่าการเลือกใช้อุปกรณ์แบบ 100% rated จะประหยัดขนาด feeder และบัสบาร์ ทำให้มีขนาดเล็กลงตามไปด้วย       
        2. Amp frame หรือ Ampare frame (AF) คือขนาด AT สูงสุด ที่ CB. ในรุ่นนั้นมีจำหน่ายเช่น CB.ขนาด 125AT/250AF แสดงว่า CB. รุ่นนี้มี CB. รุ่น 250 AT/250AF เป็นพิกัดกระแสสูงสุด โดยที่เซอร์กิต เบรกเกอร์ทั้งสองรุ่น จะใช้  molded และอุปกรณ์ประกอบชนิดเดียวกันจะแตกต่างกัน ก็คือการปรับแต่งค่าของกระแส ปลดวงจรซึ่งจะทำการทดสอบก่อน ส่งออกจำหน่ายนั่นคือค่า Amp frame จะแสดงค่าทางกายภาพด้วย มาตรฐาน NEMA ระบุขนาด AF ไว้ดังนี้
   50 , 100 , 225 ,400 , 600 , 800 , 1,000 , 1,200 , 1,600 , 2,000 ,2,500 ,4,000 และ 5,000 F        
         3. Pole หรือขั้วจะบอกให้ทราบว่า CB. เป็นชนิด 1 เฟส หรือ 3 เฟส
                    1 Pole หมายถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟส่โดยใช้ป้องกันสาย lineอย่างเดียว
                    2 Pole หมายถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟสโดยใช้ป้องกันสาย line และ สาย meutral
                    3 Pole หมายถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับ ระบบ 3 เฟส โดยใช้ป้องกันสาย line อย่างเดียว
                    4 Pole หมายถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 3 เฟส โดยใช้ป้องกันสาย line และสาย neutral           
        4. IC หรือ interrupting capacity หมายถึงค่ากระแสลัดวงจรสูงสุดที่ CB.นั้นสามารถปลดวงจรได้โดย ตัวมันเอง ไม่เกิดความเสียหาย ส่วนใหญ่จะระบุหน่วยเป็นกิโลแอมป์ (KA) กระแสลัดวงจรจะทำให้เกิด ความเครียดทางกล (mechanical stress) และความเครียดทางความร้อน (thermal stress) ซึ่งเป็นอันตราย ต่ออุปกรณ์ป้องกันและผู้ใช้              
         5. Push to trip คือปุ่มที่ใช้สำหรับทดสอบสภาพการทำงานทางกลของเซอร์กิตเบรกเกอร์  มื่อติดตั้งใช้งานนาน 2-3 ปีอาจจะไม่เคยเกิดสภาวะผิดปกติ สปริงยังมีแรงดึงปลดวงจรได้ทันท่วงทีหรือไม่โดยทั่วไปจะทดสอบปีละครั้ง         
        6.Triping curve หมายถึงกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระแสกับเวลาปลดวงจร บาง ครั้ง
เรียกว่า I-T curve บนกราฟจะมีสเกลของ Log แกน X แสดงจำนวนเท่าของกระแสพิกัด ส่วน แกน Y แสดงค่าเวลา ในหน่วย วินาที Triping curve ของเซอร์กิตเบรกเกอร์แต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่น จะมีลักษณะแตกต่างกันไปโดยจะแบ่งเป็น 2 แบบตามลักษณะการสั่งปลดวงจร ได้แก่ Thermal magnetic CB. Triping curve และ Electronic trip CB. Triping curve
          1. Thermal magnetic CB. triping curve เป็นกราฟที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและเวลา ปลดวงจรของเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิด thermal magnetic  ตามที่ได้กล่าวไว้ตอนต้นว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ปลดวงจร 2 ชนิด คือ thermal unit และ magnetic unit thermal unit ใช้ปลดวงจรเมื่อเกิด กระแสโหลดเกินซึ่งจะใช้เวลา ในการปลดวงจรนานพอสมควรกล่าวคือหากกระแสน้อยจะใช้เวลานาน แต่ถ้ากระแสมาก จะใช้เวลาน้อย เป็น ลักษณะ  inverse time ใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์รุ่น KH ขนาด 150A ตั้งค่า magnetic tripไว้ที่ high คือช่วงกระแสตั้งแต่  150A (ตัวคูณ=1) ถึง 1,200A (ตัวคูณ=8) ซึ่งใช้เวลาปลดวงจรเร็ว ที่สุด ประมาณ 15 วินาที อีกส่วนหนึ่งคือ mgneticunitเป็นตัวปลดวงจรเมื่อกระแสเกินสูงๆ หรือเกิดกระแส ลัดวงจร โดยใช้เวลาปลดวงจรอย่างรวดเร็ว
หากอ่านจากกราฟคือช่วงตั้งแต่ 8 เท่าของพิกัดกระแส หรือ 1,200A ขึ้นไป

                    การอ่านค่าจากกราฟจำเป็นต้องปรับค่าตัวคูณของพิกัดกระแสให้เป็นแกนของค่ากระแสทั้งหมด 
เช่น 2 เท่า ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ขนาด 150 AT ก็คือกระแสเท่ากับ 2×150AT = 300A หลังจากที่ปรับแกน X ทั้งหมด เป็นค่ากระแสแล้ว  ให้คำนึงถึงผลเนื่องจากสภาวะต่าง ๆ ด้วยเช่นหากนำเซอร์กิตเบรกเกอร์ ไปใช้ที่อุณหภูมิ55 องศาเซลเซียส ก็จะมีค่าตัวคูณ  (multiplier) ถ้าตัวคูณ = 0.9  ก็จะต้องปรับค่าแกน Xทั้งหมด อีกครั้งหนึ่งโดยคูณด้วย 0.9 กับค่ากระแสเดิม (ซึ่งเท่ากับ 300A)นั้นคือ2×150×0.9=270A แต่ถ้าหาก เป็นโหลดต่อเนื่องและเซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นชนิด Standard rate ก็ต้องคูณด้วย 0.8 อีกครั้งแต่ถ้าหากเป็นโหลดไม่ต่อเนื่องก็ไม่จำเป็น
          2. Electronic trip CB. triping curve เป็นการฟที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระแส
และเวลาปลดวงจรของเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิด electronic trip วงจรภายในจะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์วิเคราะห์ค่ากระแส ดังนั้นความสัมพันธ์ ระหว่างค่ากระแสและเวลาปลดวงจรจึงแม่นยำและสามารถปรับค่าต่างๆได้ 
             ก. long time pickup ใช้สำหรับปรับตั้งค่าพิกัดกระแสปลดวงจร เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ 2,000A
ตั้งไว้ 0.8 หมายถึงพิกัดกระแสใหม่เท่ากับ 1,600A
             ข. long time delay ใช้สำหรับปรับการหน่วงเวลาในการปลดวงจรให้ช้าหรือเร็ว
             ค. Short time pickup ใช้สำหรับปรับตั้งค่ากระแสปลดวงจร เนื่องจากกระแสลัดวงจร
             ง. Short time delay ใช้สำหรับปรับการหน่วงเวลาในการปลดวงจร เนื่องจากกระแสลัดวงจร ให้ช้าหรือเร็ว
             จ. Instantaneous pickup คือการปรับตั้งค่ากระแสปลดวงจรทันทีทันใด  โดยไม่ต้องมี
                delay time          
          7. Coordination หมายถึงจัดลำดับการปลดวงจรของเซอร์กิตเบรกเกอร์  เพื่อทำให้การป้องกันระบบไฟฟ้า ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด  โดยเลือกขนาดและปรับตั้งค่าของอุปกรณ์ให้เหมาะสม กล่าวคือเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ควบคุมอยู่ในจุดผิดปกติควรจะต้องเปิดวงจร  แต่ถ้าไม่มีการจัด Coordinationของเซอร์กิตเบรกเกอร์ในระบบไฟฟ้า  เมื่อเกิด over  load อาจจะทำให้เซอร์กิตเบรกเกอร์ตัวที่อยู่ถัดขึ้นไป ด้านบนทำหน้าที่เปิดวงจร  ซึ่งเป็นการรบกวนบริเวณอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ถ้าจะอธิบายง่ายๆ ก็คือ triping curveของเซอร์กิตเบรกเกอร์แต่ละตัวต้องไม่ซ้อนกันในช่วง curve กระแสเกินและกระแสลัดวงจร          
          8. Accessories หมายถึง  อุปกรณ์ประกอบต่อเข้าไปเพื่อเพิ่มความสามารถของเซอร์กิตเบรกเกอร์อาทิเช่น
               1. shunt trip ทำหน้าที่สั่งปลดวงจรเซอร์กิตเบรกเกอร์เมื่อ coil shunt trip ได้รับแรงดันไฟฟ้าจากระบบอื่น ดังรูปที่

รูป การต่อ shunt trip เพื่อสั่งปลด CB.

         2. Auxiliary switch หมายถึงหน้าสัมผัสช่วยซึ่งอยู่ภายใน CB. จะเปลี่ยนสถานะเมื่อ CB. อยู่ในตำแหน่ง OFF หรือ trip ส่วนใหญ่จะใช้กับวงจรควบคุมหรือวงจร inter lock          
6.1.2 ฟิวส์ (fuse)  คืออุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินเนื่องจากโหลดเกินและลัดวงจร 
กล่าวคือ เมื่อมีกระแสไหลมากขึ้นเนื่องจากโหลดเกิน(over load) จะทำให้เกิดความร้อนสะสมบนตัวฟิวส์จนทำให้หลอมละลายและขาดจากกันในที่สุด ในกรณีลัดวงจรฟิวส์จะขาดทันทีและเร็วกว่าในกรณีที่โหลดเกิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกระแสลัดวงจรที่ไหลผ่านจะมีค่ามากกว่าปกติเท่าใด ปัจจุบันฟิวส์มีจำหน่ายหลายชนิดหลายมาตรฐานเช่นมาตรฐาน UL (อเมริกา) มาตรฐาน VDE (เยอรมัน)และ อื่นๆ แต่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือฟิวส์แรงต่ำและฟิวส์แรงสูง
              สำหรับฟิวส์แรงต่ำใช้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับระดับแรงดันต่ำกว่า 600 โวลท์ 
ฟิวส์ที่ใช้ตามบ้านเรือนและอาคารสำนักงานทั่วไปได้แก่
              1. ฟิวส์ตะกั่ว  ผลิตจากส่วนผสมของตะกั่วกับดีบุกซึ่งมีจุดหลอมละลายต่ำิยมใช้ติดตั้งกับสวิตช์ตัดตอน หรือที่เรียกว่าคัทเอาท์  (cut out) ดังรูปที่ 6.16 เนื่องจากติดตั้งง่าย ราคาถูกมีหลายขนาดโดยจะเรียกตามเบอร์ ของฟิวส์  แต่ละเบอร์ของฟิวส์ตะกั่วจะมีอัตราการทนกระแสต่างกัน  ดังตาราง  ฟิวส์ตะกั่วโดยทั่วไป จะเรียกว่าฟิวส์เส้นเนื่องจากมีลักษณะเป็นเส้นกลมๆ

รูป ฟิวส์ตะกั่ว


รูปการติดตั้งฟิวส์ตะกั่วเข้ากับสวิตช์ตัดตอน (cut out)


ตารางคุณสมบัติของ (ตะกั่วผสมดีบุก)

เบอร์

กระแสที่หลอมละลาย (แอมป์)

25

3

24

3.5

23

4

22

5

21

6

20

7

18

10

16

16

           2. ฟิวส์ก้ามปู  ตัวฟิวส์จะมีลักษณะแบนเรียบ  บริเวณหัวและท้ายจะทำด้วยแผ่นทองแดง 
ผ่าเป็นช่องสำหรับขันสกรูยึด  ใช้ติดตั้งร่วมกับคัทเอ้าท์เช่นเดียวกับฟิวส์ตะกั่ว  ฟิวส์ก้ามปู จะบอกพิกัด  กระแสใช้งานบริเวณแผ่นทองแดงดังรูปที่ 6.17  มีหลายขนาดดังนี้3,5,10,15,20,30,40,50,60,75,100แอมป์และสูงกว่านี้

รูป ฟิวส์ก้ามปู 

           3. ปลั๊กฟิวส์  (plug fuse)  นิยมติดตั้งคู่กับสวิตช์ตัดตอน (cut out)  ภายในบ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงาน  โครงสร้างทั่วไปจะประกอบด้วยเส้นฟิวส์เพื่อระบายความร้อนและการดับอาร์กดังรูป ปลั๊กฟิวส์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าฟิวส์หลอดเนื่องจากฟิวส์บรรจุไว้ภายในหลอดกระเบื้องนั่นเอง

รูป ปลั๊กฟิวส์  (plug fuse)


 ส่วนประกอบของปลั๊กฟิวส์  (ฟิวส์หลอด)
                ก. ฐานฟิวส์  ประกอบด้วยเกลียวตัวเมีย  สำหรับรองรับฝาครอบเกลียวมีหลายขนาด  เช่น 25A,63A 100Aและ 200A เป็นต้น
                ข. แท่นรับหลอดฟิวส์
                ค. หลอดฟิวส์ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
                     ทรายละเอียด            ทำหน้าที่ระบายความร้อนและดับอาร์กในขณะที่ฟิวส์หลอม ละลาย
                     เส้นฟิวส์(ลวดละลาย)  ทำหน้าที่ตัดวงจรให้ขาดจากกันระหว่างขั้วหัวและขั้วท้าย
                     ลวดยึดปุ่มบอกสภาพ   ทำหน้าที่ยึดแผ่นสีที่ติดไว้บนขั้วหัว  เพื่อบอกสภาพของหลอด
                                                   ฟิวส์ (ดีหรือเสีย)
                    ปุ่มบอกสภาพ             จะพิมพ์เป็นสีต่างๆ ตามตารางที่ 6.2 ปุ่มบอกสภาพจะหลุดออก
                                                   จากหลอดฟิวส์เมื่อเส้นฟิวส์ขาด
             ง. ฝาครอบเกลียว ด้านล่างจะมีเกลียวสำหรับขันกดให้ขั้วท้ายและขั้วหัวแนบแน่นกับจุดสัมผัส เพื่อให้ กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้สะดวก  สำหรับด้านบนของฝาครอบจะมีช่องหน้าต่างเพื่อดูสภาพ ของปุ่มบอกสภาพกล่าวคือ ถ้าหากปุ่มบอสภาพหลุดหายไป แสดงว่าฟิวส์ขาด

ตารางที่ 6.2 คุณลักษณะของฟิวส์เส้น

ฐานฟิวส์

25 A

63 A

100 A

200 A

เกลียว

E 27

E 33

E1 ¼”

E 2”

แท่นรับหลอดฟิวส์

3/16”

3/16”

ปลอกรับหลอดฟิวส์

ปลอกรับหลอดฟิวส์

พิกัดกระแสและสี
ของปุ่มบอกสภาพ

6 A เขียว
10 A แดง
16 A เทา
20 A น้ำเงิน
25 A เหลือง

35 A ดำ
50 A ขาว
63 A ทองแดง

80 A เงิน
100 A แดง

125 A เหลือง
160 A ทองแดง
200 A น้ำเงิน

                4. คาร์ทริดจ์ฟิวส์  (cartridge fuse) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าฟิวส์กระบอก  นิยมใช้ติดตั้งภายในสวิตช์นิรภัย หรือที่เรียกว่าเซฟตี้สวิตช์  (safety  switch0 คาร์ทริดจ์ฟิวส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบปลอกและแบบใบมีด
                ก. แบบปลอก  มีขนาดเล็ก พิกัดกระแสตั้งแต่ 10 A – 60 A ดังรูปที่ 9.19 (ก) โดยมีหน้าสัมผัสติดกับเดือยสวิตช์
                ข. แบบใบมีด มีขนาดใหญ่  พิกัดกระแสตั้งแต่ 70 A ขึ้นไป ดังรูป (ข) เมื่อฟิวส์ขาดสามารถเปลี่ยนไส้ฟิวส์ได้                
         นอกจากนี้ผู้ผลิตังได้ออกแบบให้เป็นฟิวส์หน่วงเวลา (Time delay fuse) กล่าวคือจะขาดทันทีเมื่อมีกระแสลัดวงจรไหลผ่าน  แต่ในกรณีที่โหลดเกิน (over load) กระแสน้อยกว่า 5 เท่าของกระแสพิกัดจะหน่วงเวลา ไม่ให้ขาด ในทันที ทั้งนี้เพื่อขจัดปัญหาการตัดวงจรโดยไม่จำเป็นอันเนื่องมาจากการใช้งานเกินพิกัดเพียงเล็กน้อย  ในช่วงเวลาสั้นๆโดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายตัวอย่างเช่น  การเริ่มเดินมอเตอร์ (สตาร์ทมอเตอร์)เป็นต้น

รูป(ก) ฟิวส์แบบปลอก
รูป(ข) แบบใบมีด

1.3 เซฟตี้สวิตช์  (safety  switch)
            คืออุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินและสวิตช์ตัดตอนที่ใช้กับระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำตามอาคารสำนักงานทั่วไป ภายในกล่องของเซฟตี้สวิรช์จะประกอบด้วยหน้าสัมผัสและคาร์ทริดจ์ฟิวส์แบบปลอกหรือแบบใบมีด
           ดังนั้นการเปิดวงจรใดๆจึงอาศัยคุณสมบัติของฟิวส์ เซฟตี้สวิตช์จะเป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวหลัก(เมนใหญ่) ทำหน้าที่รับไฟจากภายนอกอาคาร เข้าสู่ภายในอาคารก่อนที่จะจ่ายให้กับโหลดเซนเตอร์ (Load center) ตามจุด ต่าง  ๆ ต่อไป

รูป เซฟตี้สวิตช์  (safety  switch)

                ลักษณะเฉพาะตัวของ Safety Switch ได้แก่
                                1. ต้องกดคันโยกลงก่อนทุกครั้ง (OFF) จึงจะเปิดฝากล่องได้
                                2. ต้องปลดหรือต่อวงจรได้พร้อมกันทุกๆ ตัวนำเส้นไฟ
                                3. ต้องประกอบด้วยฟิวส์สำหรับป้องกันกระแสไหลเกิน





Create Date : 22 กรกฎาคม 2556
Last Update : 23 กันยายน 2556 20:54:24 น. 7 comments
Counter : 63498 Pageviews.

 
สุดยอดๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: พิทยา IP: 171.99.209.9 วันที่: 21 มิถุนายน 2557 เวลา:13:41:35 น.  

 
Hi there, I found your blog by means of Google while searching for a comparable subject, your site got here up, it looks good. I have bookmarked it in my google bookmarks.
Louis Vuitton Handväskor på Sale utlopp //www.goevent.se/omgevent.cfm


โดย: Louis Vuitton Handväskor på Sale utlopp IP: 94.23.252.21 วันที่: 12 สิงหาคม 2557 เวลา:7:40:50 น.  

 
oqDiSF //www.FyLitCl7Pf7kjQdDUOLQOuaxTXbj5iNG.com


โดย: Bradley IP: 94.23.252.21 วันที่: 9 สิงหาคม 2558 เวลา:13:18:27 น.  

 
VjEO7S //www.FyLitCl7Pf7kjQdDUOLQOuaxTXbj5iNG.com


โดย: JimmiXzS IP: 188.165.201.164 วันที่: 14 ตุลาคม 2559 เวลา:3:47:12 น.  

 
uk pharmacy //pharmacy-onlineasxs.com/ pharmacy orlando


โดย: Nllpflick IP: 188.40.113.83 วันที่: 11 มกราคม 2564 เวลา:3:10:15 น.  

 
https://ljcialishe.com/ - cialis price per pill https://cialisvja.com/ - free cialis https://viagraonlinejc.com/ - discount viagra https://viagratx.com/ - viagra 50 mg https://buycialisxz.com/ - natural cialis


โดย: BrfgFunc IP: 188.40.113.83 วันที่: 30 มีนาคม 2564 เวลา:7:12:02 น.  

 
https://kloviagrli.com/ - best price on viagra 100mg https://vigedon.com/ - viagra single packs price https://llecialisjaw.com/ - coupons for cialis 5mg https://jwcialislrt.com/ - when can i take viagra after taking cialis https://jecialisbn.com/ - what happens if a woman takes cialis


โดย: Grvteeva IP: 188.40.113.83 วันที่: 1 เมษายน 2564 เวลา:3:06:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yaovarit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add yaovarit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.