ปฎิรูป-ถอยอย่างไรไม่ให้ล้ม*** WHITESPACE.CO.LTD

whitespace
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




เมื่อไม่มีสิ่งใดจริง จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
.....อ่านเรื่องพุทธบารมี
.....ลีลาสมเด็จพุฒาจารย์โต
.....ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา-หลวงปู่มั่น

Google..
.....................พ่อของแผ่นดิน...
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
9 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add whitespace's blog to your web]
Links
 

 
พายุถล่มไทย-กรุงเทพฯ ปลายสิงหานี้



เ ค ย อั พ บ ล็ อ ก ข่ า ว เ รื่ อ ง
สมิทธฟันธง! "พายุใหญ่ถล่มไทย-กทม.จมใต้บาดาล" สิงหา-ตุลาคม นี้จริงหรือ?
คลิ๊กอ่านได้ที่ กทม.จมบาดาล ส.ค.- ต.ค. ศกนี้

นี่ ม า ไ ด้ FWM อีกแล้ว
ว่าจะมีพายุไซโคลนถล่มไทย โดยเฉพาะแถวเจ้าพระยา

ลองอ่านดูค่ะ

FW: พายุใหญ่ถล่มประเทศไทย (ไม่ได้บ้าครับ ไม่ได้งมงาย แต่ป้องกันไว้ไม่เสียหายครับ เตรียมพร้อมไว้ดีกว่า)‏

ให้ระวังกันด้วยนะครับจะเกิดภัยพิบัติใหญ่ ช่วงปลายเดือน สิงหาคม และเดือนกันยายน ตุลาคม

เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภัยพิบัติแห่งชาติที่เป็นลูกศิษย์ของพระเกจิอาจารย์(วัดเสาธงเรียง) ที่เพชรบุรีเตือนมา และ พระท่านก็ย้ำตอนไปถวายผ้าขาวห่อศพจำนวน 200 ผืน (มีผู้มีจิดศัทธาร่วมบริจาคด้วย) ที่วัดที่เพชรบุรีเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ..หลังจากท่านได้นั่งสมาธิเพราะท่านเป็นพระปฎิบัติและได้นิมิตว่ามีศพลอยเกลื่อน ซึ่งสอดรับกับหน่วยงานราชการเกี่ยวกับการเตือนภัยพูด

' ท่านเลยขอรับบริจาคผ้าขาวห่อศพ เพราะคนจะตายจำนวนมากครับ และให้เราเตรียมตัว '

ว่าจะเกิดท่วมและโดนพายุไชโคลนยิ่งกว่าพายุนากิช สอง หรือ สามเท่า และดินริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะทรุด (แถวๆ ตึก state Tower) ให้ระวังเรื่องแผ่นดินทรุดน้ำท่วมอย่างฉับพลันด้วยครับ หลังโดนพายุ เข้าทาง ' อ่าวไทย ' น้ำท่วมสูงเท่าตึกสองชั้นครับ 4-6 เมตร

คิดว่ากรุงเทพปริมณทลคงไม่รอดแน่ รวมถึงจังหวัดที่โดนด้วย

ถ้าขนาดนั้นผมคิดว่าไฟฟ้าคงดับ น้ำประปาคงไม่ไหล ธนาคารไม่เปิด ห้างไม่เปิด ตลาดไม่มีของขาย แล้วเราจะทำตัวอย่างไรในภัยพิบัติครั้งนี้ครับเพราะคิดว่าถ้าเกิดจริงก็น่าจะลำบากไปอีกหลายเดือนครับ

การเตรียมการดังนี้ครับ(สำหรับความลำบากเป็นเวลาเดือนหรือ สองเดือน)
1.เตรียมแสงสว่าง ซื้อเทียน ไม้ขีดไฟ ตุนไว้ครับไฟฟ้าดับแน่นอน
2.เตรียม น้ำสะอาดไว้ดื่ม และ ชำระร่างกาย เช่น ถังน้ำตุนน้ำไว้
3.เตรียม ข้าวสาร อาหารแห้ง แก๊ชสำหรับหุงต้ม
4.ถุงดำเล็ก ใหญ่ ไว้ทิ้งขยะและปลดทุกข์
5.เก็บของขึ้นที่สูงไว้ป้องกันน้ำท่วม
6.เตรียมกระสอบทรายไว้กั้นเวลาน้ำจะเข้าบ้าน หรือทรัพย์สิน
7.อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือ เช่น นกหวีด ชูชีพ
8.อยู่ห่างตึกหรืออาคารสูงถ้าเกิดแผ่นดินทรุดครับ
9. ติดตามข่าวสารเรื่องภัยพิบัติอย่างต่อเนื่อง

เตรียมตัวไว้ดีกว่าครับถ้าไม่เกิดก็เอาที่ตุนไว้มาใช้มากิน ไม่เสียหาย อาจจะคิดว่าบ้า ไปเชื่อพระ แล้ว ที่เจ้าหน้าศูนย์เตือนภัยแห่งชาติเตือนละควรฟังเขาไหม ถึงแม้ว่าเขาคาดการก็ตาม ถ้าจริงขึ้นมาละ คุณๆจะเอาตัวรอดกันยังไงเตรียมตัวไว้ดีกว่าครับไม่เสียหาย ถึงตอนนั้นก็คงต้องช่วยตัวเองและครอบครัวตัวเองแล้วครับ ถ้าจะให้ดีก็อย่าเดินทางไปแถวชายทะเลกันตอนปลายๆเดือนสิงหาคมละกันครับอยู่ใกล้บ้านจะได้ช่วยเหลือครอบครัวและทรัพย์สิน


โทรสอบถามเรื่องภัยพิบัติต่างๆในประเทศ
CALL Center 1860 ทั่วประเทศ

เว็บที่รายงานเรื่องแผ่นดินไหวแบบเรียบไทม์ (ทุกๆๆชั่วโมง) ทั่วโลก
//www.hdrtnsrs.com/

รายงานแผ่นดินไหวในประเทศ
//www.hdrtnsrs.com/Earthquake_local.htm

รายงานแผ่นดินไหวที่ผ่านมานอกประเทศ
//www.hdrtnsrs.com/Earthquake_June08.htm

รายงานแผ่นดินไหวของกรมอุตุนิยมวิทยา
//www.tmd.go.th/earthquake_report.php

เส้นทางเดินพายุโดยกรมอุตุนิยมวิทยา
//www.tmd.go.th/storm_tracking.php

เรดาห์ตรวจสอบอากาศผ่านดาวเทียม
//www2.tmd.go.th/radar/

แผนที่อากาศผ่านดาวเทียม
//www.sattmet.tmd.go.th/newversion/mergesat.html



อ้างอิงอีกรอบจากหนังสือพิมพ์
วันพฤหัสบดี ที่ 12 มิถุนายน 2551

สมิทธ ฟันธง ส.ค.-ต.ค. พายุใหญ่ถล่มประเทศไทย ทำให้กทม.จมบาดาล ระบบประปาพินาศ

สมิทธ ฟันธง ส.ค.-ต.ค. พายุใหญ่ถล่มประเทศไทย ทำให้กทม.จมบาดาล ระบบประปาพินาศ คนเมืองหลวงไม่มีน้ำใช้ จี้หน่วยงานรัฐเร่งหามาตรการรับมือโดยด่วน ขณะที่อดีตนายกสภาวิศวกรรมสถานฯ หวั่น วัดพระแก้ว เสียหายหากเกิดน้ำท่วมพระบรมมหาราชวัง

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช
ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

การออกมาแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมตัวรับมือกับภั ยพิบัติครั้งใหญ่ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครของ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ครั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ในการเสวนาเรื่อง แผนรับมือวิบัติภัยในมหานครกรุงเทพ ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร การเสวนาครั้งนี้มี นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมเสวนา

ดร.สมิทธ กล่าวว่า จากการศึกษาและติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติมาโดยตลอด พบว่า ภัยพิบัติที่จะกระทบ กทม.และปริมณฑล มีอยู่ 2 ประเภท คือ ภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว และภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง ซึ่งเกิดจากสภาวะโลกร้อน โดยภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหวเป็นภัยที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อมนุษย์จำนวนมาก ทั้งนี้ ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลัง อยู่ 13 รอย และจากการศึกษาพบว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิ รอยเลื่อนทั้งหมดเกิดรอยร้าวเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน ซึ่งการเกิดรอยร้าวดังกล่าวทำให้อาคารที่โครงสร้างไม่แข็งแรงใน จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ มีโอกาสถล่มลงมาได้

ดร.สมิทธ กล่าวต่อว่า ในพื้นที่ กทม.อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากรอยเลื่อน 2 รอย คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี หากเกิดแผ่นดินไหวซ้ำขึ้นมาอีก เชื่อว่าจะส่งผลให้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์แตก และทำให้น้ำปริมาณกว่า 17 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลทะลักเข้าสู่ จ.ราชบุรี จ.นครปฐม และ กทม.

'กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนดินเลน เมื่อได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวแล้ว ระยะสั่นสะเทือนจะขยายตัว 2-3 ริกเตอร์ ทำให้อาคารที่สูงไม่เกิน 6 ชั้น อาจแตกร้าวและพังทลายลงมา ส่วนอาคารสูงไม่น่าเป็นห่วง เพราะวิศวกรได้ออกแบบอาคารไว้รองรับอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีคว ามพร้อมในการรับมือกับแผ่นดินไหว โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติ หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงอาจทำให้เกิดความเสียหายมาก' ดร.สมิทธ กล่าว

ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขัง เนื่องจากสภาวะโลกร้อนขึ้นนั้น จากสถิติไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าพายุที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียจะมีแรงลมสูงมากถึงขนาดเป็นไซโคลน แต่ตอนนี้เกิดขึ้นแล้ว คือ พายุไซโคลนนาร์กีส ซึ่งมีความเร็วลมสูงถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเมื่อขึ้นฝั่งในลุ่มน้ำอิระวดีในพม่า แรงลมสูงสุดถึง 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความรุนแรงถึงระดับ 4

'ผมขอทำนายว่าในเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมนี้ จะมีพายุขนาดใหญ่พัดถล่มประเทศไทย ทางด้านอ่าวไทย ไล่ตั้งแต่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.เพชรบุรี เข้ามา ซึ่งอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ สตรอม เสิร์ช (Strom Search) หรือ น้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทำให้น้ำทะเลไหลเข้ามาถึงบริเวณปากอ่าวเจ้าพระยา และเข้าท่วมพื้นที่ กทม. โ ดยกว่าจะไหลย้อนกลับสู่ทะเลต้องใช้เวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์ และหากท่วมเหนือคลองประปา จะทำให้ประชาชนไม่มีน้ำในการอุปโภคบริโภค' ดร.สมิทธ กล่าว

ด้าน นายต่อตระกูล กล่าวว่า มีความเป็นห่วงว่าหากเกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้นจริงจะทำให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญหลายแห่งเสียหายโดยเฉพาะวัดพระแก้ว ซึ่งก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ไม่ได้มีการฝังเสาลงดิน หากเกิดน้ำท่วมในพื้นที่พระบรมมหาราชวังก็จะทำให้เสื่อมความแข็งแรงลงอย่างรวดเร็ว

หลังการเสวนา ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง ดร.วัฒนา กันบัว ผู้อำนวยการฝ่ายอุตุนิยมวิทยาทะเล กรมอุตุนิยมวิทยา เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดพายุใหญ่พัดถล่มประเทศไทยตามที่ ดร.สมิทธ กล่าวในการเสวนา ดร.วัฒนา ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่ช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม อาจจะเกิดพายุใหญ่ถล่มประเทศไทย เพราะช่วงดังกล่าวเป็นช่วงฤดูฝน อยู่ระหว่างช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าประเทศไทย จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าช่วงดังกล่าวมีพายุพัดถล่มประเทศไทยมาแล้วหลายครั้ง อย่างเช่น พายุไต้ฝุ่นเกย์ พายุไต้ฝุ ่นลินดา ที่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อนก็เกิดขึ้นในช่วงนี้

ดร.วัฒนา กล่าวต่อว่า สภาวะโลกร้อนอาจส่งผลให้ความรุนแรงของพายุเพิ่มมากขึ้นจากเดิมถึง 2 เท่า หากพายุพัดเข้าสู่พื้นที่ที่เป็นเมืองก็อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะหากพายุเคลื่อนเข้าประเทศไทยทางฝั่งภาคตะวันออกจะทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ กทม.โดยตรง ซึ่งมีความเป็นห่วงว่า หากมีพายุพัดเข้าบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาจะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ กทม. เนื่องจากขณะนี้แม้จะมีการสร้างเขื่อนกั้นริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาในหลายจุด แต่การสร้างเขื่อนที่ผ่านมาทำเพื่อรองรับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำเหนือไหลหลาก ไม่ได้มีไว้รองรับพายุที่พัดเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้บริเวณปากแม่น้ำยังไม่มีการก่อสร้างเขื่อน หากเกิดพายุพัดกระหน่ำจริง เขื่อนที่มีอยู่ก็ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมได้

ดร.วัฒนา กล่าวด้วยว่า มีความเป็นห่วงว่าหากช่วงเวลาที่เกิดพายุตรงกับช่วงที่ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดจะยิ่งทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง เพราะในช่วงเวลา ดังกล่าวอาจทำให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์พัดกระหน่ำบริเวณชายฝั่ง หากอาคารบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งไม่แข็งแรงก็จะสร้างความเสียหายร้ายแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยามีการติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมความพร้อมไว้ด้วย โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอพยพผู้ประสบภัย เพราะขณะเกิดเหตุภัยพิบัติหากมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ประสบภัยได้รวดเร็ว ความเสียหายต่อชีวิตของประชาชนก็จะลดน้อยลง





Create Date : 09 สิงหาคม 2551
Last Update : 9 สิงหาคม 2551 16:05:28 น. 0 comments
Counter : 1339 Pageviews.
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.