เทคนิคการบริหารจากสนามจริง
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
4 ตุลาคม 2553

เิงินบาทแข็ง สร้างโอกาสในวิกฤติของผู้ส่งออกได้อย่างไร?

ไตรมาส 3 ของปี 2010 ดูเหมือนจะเป็นฝันร้ายของผู้ส่งออกไทยส่วนใหญ่เพราะค่าเงินบาทแตะที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอีกครั้ง ในรอบ 3 ปี ถ้าย้อนไปดูสถิตินับตั้งแต่วิกฤติปี 1997 ค่าเงินบาทระหว่างนั้นจนถึงปี 2005 ส่วนใหญ่จะแกว่งอยู่ระหว่าง 35-40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และจะสังเกตได้ว่าหลังจากปี 2005 แนวโน้มเงินบาทเริ่มแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับ ปี 2007, 2008 และ 2010 ทำสถิติแตะที่ประมาณ 30 บาทดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้การเมืองจะลุ่ม ๆ ดอน ๆ แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เงินบาทแข็งค่าอยู่ เกิดขึ้นต่อเนื่องเกือบทุกปี ซึ่งข้อนี้ผู้ประกอบการส่งออกเป็นหลักต้องกลับไปคิดแล้วล่ะว่าจะจัดการกับปัญหานี้ในระยะยาวอย่างไร
แล้วถ้าบริษัทไหนต้องนำเข้าจากญี่ปุ่นเพื่อมาผลิต แต่ต้องส่งออกเป็นเงินเหรียญนี่ร้องไห้แน่นอน เพราะเงินเยนแข็ง แต่เงินดอลลาร์อ่อน พูดง่าย ๆ ว่าต้องซื้อของแพงแต่ขายถูก ถึงแม้บาทจะแข็ง แต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากเยนอยู่ดี

ทางรอดของผู้ส่งออก ทำอย่างไรดี?
เรามาดูกันก่อนว่าที่ทำอยู่เขาทำอย่างไรกันบ้าง

1. บริษัทส่วนใหญ่จะปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาด 100% ถ้าเลือกวิธีนี้ก็เหมือนเลือกทางเดิน high risk high return ก็แล้วแต่จังหวะ โอกาส และว่าใครจะโชคดีกว่ากัน ถ้าเลือกวิธีนี้ ณ ตอนนี้ก็ต้องยอมรับสภาพอย่างเดียวว่าเจ็บตัวแน่ ๆ หรืออย่างน้อยก็ขาดทุนกำไร

2. บางบริษัทเลือกซื้ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าในระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ตนเองพอใจ อาทิเช่น ตอนนี้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30 บาทดอลลาร์สหรัฐ แต่เราคาดว่าแข็งบาทจะแข็งค่ามากกว่านี้ ก็เลือกที่จะซื้ออัตราแลกเปลี่ยน ณ อัตราเท่านี้ ในอีก 3 เดือน 6 เดือนข้างหน้า โดยเสียค่าธรรมเนียมให้ธนาคารนิดหน่อย และเืมื่อถึงวันที่แลกเปลี่ยนจริง ราคาตลาดจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าไรก็แล้วก็ รายการที่เราเลือกไว้ก็จะแลกเปลี่ยนกันในอัตราที่เราซื้อไว้ อาจจะขาดทุน หรือกำไรก็ได้ ไม่มีใครรู้่ ก่อนซื้อเราจึงต้องเข้าใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตลาดเงิน และตลาดทุนด้วยจะยิ่งดี ทำให้การประเมินค่อนข้างใกล้เคียง แต่ในความเป็นจริงทุกคนก็มีโอกาสพลาดด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีอะไรแน่นอน แ่ต่การมีข้อมูลที่มากพอ และมีเป้าหมายชัดเจน ประกอบกับพอใจกับผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคต ก็จะทำให้การตัดสินใจแต่ละครั้งจะทำให้องค์กรได้รับผลประโยชน์ในระดับที่เหมาะสมและไม่มีปัญหาเรื่องการตัดสินใจผิดพลาดตามมาภายหลัง มีนักบริหารหลาย ๆ คนที่หลุดจากตำแหน่งเพราะเรื่องนี้มามาก การไม่ประมาทน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

3. ข้อนี้ไม่แน่ใจว่ามีใครนำมาใช้กับบ้างหรือเปล่า แต่สำหรับตัวเองนำมาประยุกต์ใช้ในหลายกรณีและได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจกับคู่ค้าที่เราติดต่อด้วย เพราะเป็นการลดความเสี่ยงของทั้งคู่ คือเราจะไม่ได้กำไรหรือขาดทุนจนสุดโต่ง เพราะเราเลือกทางสายกลาง ก็คือใช้หลักการกำหนดค่ากลาง และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจากค่ากลางเกินกว่าเปอร์เซ็นต์ที่เรากำหนดไว้ ราคาสินค้าจะขยับไปตามฐานที่เรากำหนดไว้ในตารางมาตรฐาน อย่างเช่น ค่ากลางอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และจะคงราคานี้ไว้ที่ +10% และ -10% หากราคามากกว่าหรือน้อยกว่าเพดานด้านล่างหรือบนที่เรากำหนดไว้เกินกว่า 30 วัน ราคาสินค้าจะถูกขยับไปยังช่องต่อไป ซึ่งเราจะคำนวณไว้กับคู่้ค้าล่วงหน้าแล้ว เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง เราก็แค่มาดูว่า
- เปอร์เซ็นต์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้วหรือยัง
- เวลาเป็นไปเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้วหรือยัง
ถ้า 2 อย่างนี้เข้าหลักเกณฑ์ทั้งคู่ ราคาก็จะถูกเปลี่ยนเองอัตโนมัติ วิธีนี้คู่ค้าจะชอบมากเพราะลดความเสี่ยงได้มาก ประมาณการง่ายกว่า

หลายบริษัทอาจจะไม่กล้าไปคุยในประเด็นนี้ เพราะกลัวว่าคู่ค้าจะไม่ยอม ให้จำไว้อย่างหนึ่งว่า คำตอบที่แย่ที่สุดที่เราจะได้รับก็คือการไม่ยอมรับ ซึ่งมันก็คือเงื่อนไขปัจจุบันที่เป็นอยู่ แต่นี่คือเรายังไม่ได้ไปคุยกับเขานะ แล้วถ้าเราไปคุยล่ะ คำตอบก็มีอยู่ 2 อย่าง คือ ได้ กับ ไม่ได้ ก็แค่นั้นเอง ดังนั้นที่เหลือจึงอยู่ที่ทัีกษะการเจรจาแล้วล่ะ ว่าจะทำอย่างไรให้เขาเป็นประโยชน์จากตรงนี้ได้ แต่สำหรับเราในเวลานี้มันคือการกู้วิกฤตนั่นเอง แต่เราก็ต้องพยายามทำให้คู่ค้าเห็นว่าเราไม่ได้เอาเปรียบเขานะ ถ้าเมื่อไรถึงคราวเขาบ้างเราก็ยินดีที่จะให้เขาทำแบบเราเช่นกัน สุดท้ายก็จะมาสู่จุดที่ว่า win win นั่นเอง เพราะคำตอบเดียวของธุรกิจ ไม่มีอะไรหรอกค่ะ นอกจากผลประโยชน์เป็นที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่่าย และถ้ายิ่งเป็นสินค้าที่เราผูกขาด หรือเป็นเจ้าตลาดก็ยิ่งต้องรีบทำ เพราะเรามีโอกาสอยู่แล้ว เพียงแต่ก็ไม่ควรจะทำให้คู่ค้ารู้สึกว่าเราใช้โอกาสมากเกินไปเท่านั้นเอง




Create Date : 04 ตุลาคม 2553
Last Update : 4 ตุลาคม 2553 22:28:03 น. 0 comments
Counter : 579 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

littletoi
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ชื่อเล่นว่า ต้อย เพราะเป็นคนตัวเล็ก ก็เลยกลายมาเป็น littletoi นั่นเองค่ะ ก็ผ่านงานมาหลากหลายอาชีพ แต่ก็ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับแวดวงธุรกิจ ตั้งแต่ภาคตลาดทุน หลังจากนั้นก็ผันตัวเองมาสู่ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่ละสนามก็โหดหินต่างกันไป ถึงวันนี้ตัวยังเล็กเหมือนเดิม ยกเว้นความแกร่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับภาวะโลกร้อน:) มันจำเป็นค่ะ เพราะในโลกธุรกิจไม่มีอะไรง่ายเลยจริง ๆ
free counters
[Add littletoi's blog to your web]