สงสัย ฉันจะแก่ จนสายตายาว แล้วเพราะฉัน ได้แต่แอบมอง เธออยู่ห่างๆ
<<
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 พฤษภาคม 2550
 
 

แฉ "แอดมิชชันส์" วิวาทะ สู่ความขัดแย้งในสังคมไทย

แฉ "แอดมิชชันส์" วิวาทะ สู่ความขัดแย้งในสังคมไทย


ชลเทพ ปั้นบุญชู ยุวโฆษก รุ่นที่1(นักวิชาการอิสระ)

นักเคลื่อนไหวทางการศึกษา สังคม วัฒนธรรม


ปีนี้ก็ครบรอบเป็นปีที่สองที่มีการใช้ระบบแอดมิชชันส์ ถ้าจะเท้าความถึงปีที่แล้วนับว่าเป็นปีแห่งกลียุคของการศึกษาเลยทีเดียว เด็กนับหมื่นมีปัญหาเรื่องคะแนนหายไป หรือมีความคลาดเคลื่อนในการตรวจจนเป็นเหตุให้มีการเลื่อนประกาศผลหลายครั้ง จนเรียกได้ว่า ตรวจกันจนวินาทีสุดท้ายก่อนประกาศผล ไม่รู้นะครับว่าทุกคนจะยังสงสัยคะแนนที่ได้กันอยู่หรือเปล่า ส่วนปีนี้ดูจะจัดการกับปัญหากับระบบได้ดีในระดับหนึ่ง ปัญหาทางเทคนิคจึงมีการเฝ้าระวังและตรวจตราเป็นพิเศษ แต่ผมกับมองว่าระบบการศึกษาบ้านเรายังไม่ได้แก้ไข หากจะเป็นชววนให้ทุกๆคนเข้าสู่ปัญหามากยิ่งขึ้น โดยส่วนตัวไม่ได้มีอคติกับระบบนี้ แต่ผมเห็นว่าระบบนี้ได้สร้างปัญหาและความยุ่งยากเข้าขั้นวิกฤติมาหลายต่อหลายครั้ง เป็นที่โชคดีว่ามีการประกาศยกเลิกระบบนี้อีก3ปีข้างหน้า แต่น้องๆมปลายรุ่นนี้ก็รับเคราะห์กันไปก่อนก็แล้วกันไม่เป็นไรหรอกครับ บ้านเราเป็นประชาธิปไตยแบบชี้นำ(กึ่งผูกขาดแกมบังคับ) จะไม่ทำตามก็ไม่ได้ เค้าว่าดี เราก็ว่าดี นี่แหละครับสังคมประชาธิปไตยแบบไทยๆ


คราวนี้ลองมาดูว่าระบบนี้สร้างปัญหาอย่างไร พี่จะขอยกงานวิจัยที่ตนเองได้ไปศึกษาเก็บข้อมูลเพื่อสรุปเป็นประเด็นให้น้องๆได้ลองพิจรณาเป็นของหวานก่อน จากงานสารนิพนธ์ ถึงปัญหาแอดมิชชันส์กับผลกระทบของนักเรียนชั้นม ปลาย ได้ข้อสรุปว่า แอดมิชชันส์เป็นระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีการปรับปรุงจากระบบเดิม โดยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบความเข้มแข็งให้กับสพฐ ให้นักเรียนได้สนใจเรียนเพิ่มขึ้นและลดภาวะความเครียดจากการเรียนกวดวิชาเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย โดยสร้างแรงจูงใจเรื่องการนำจจีพีเอ เข้ามาในการคำนวญ แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับตรงกันข้ามเด็กมีภาวะกับความเครียดหลายด้านเช่น ไม่เคยชินกับระบบใหม่(ไม่มีบรรทัดฐานที่เคยกำหนดไว้) ในมิติทางสังคมวิทยา การที่เปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆย่อมนำมาซึ่งความตึงเครียดเสมอ เนื่องจากเพระาเรายังไม่เคยชิน และไม่มีวิถีปฎิบัตินั่นเอง นอกจากนั้นยังเครียดกับความไม่เท่าเทียม โดยการใช้จีพีเอมาเป็นตัวกำหนด ซึ่งมาตราฐานในการให้คะแนนของแต่ละโรงเรียนแตกต่างกัน เอาแบบว่าใครเฟ้อกว่าก็โอกาสมากกว่า ใครเคี่ยวกว่าก็ไปทำข้อสอบให้ได้ก็แล้วกัน อันนี้เราต้องยอมรับความแตกต่างระหว่างศักยภาพโรงเรียน แต่ในมุมมองแล้วระบบที่เที่ยงตรงจะต้องมีมาตราฐานที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันที่สุด เพระานี่คือระบบกลางในการรับของประเทศ เครียดกับความไม่แน่นอนของสทสและสกอ อันนี้น่าเห็นใจครับปีแรกความผิดพลาดทางเทคนิคสูงอยู่แล้ว เพระาเราไม่รู้ว่าสถานการณ์เฉพาะหน้าที่จะเกิดคืออะไร จะตั้งรับแบบไหน จนทำให้ปัญหาตามมา108พันประการ อาจารย์ประทีปต้องแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออก โดยส่วนตัวเข้าใจและเห็นใจคณะทำงาน เพราะคณะที่ทำงานนี้มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับภาระความรับผิดชอบ ระบบการตรวจแบบoptic นี่จริงๆฝ่ายระบบก็มีการทดลองและวิจัยมาแล้วว่าได้ผลดี แต่นี่คงสุดวิสัยที่จะคาดการณ์เพราะปัญหาในตอนนั้นมันยังไม่เกิดจึงทำให้ทางผู้ใหญ่ชะล่าใจจนแทบจะนองเลือดกันหน้าสทส และสกอ อย่างที่เป็นข่าวเมื่อปีที่แล้ว ความเครียดกับการสอบที่มากมายหลายชุดทั้งแบบยาก แบบง่าย ทำให้หลายคนเหนื่อกับการสอบ นอกเหนือจากการทำเกรดให้ดีแล้วยังต้องมาพบกับมหากาพย์การสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบหลายม้วนจบ เล่นเอาสอบเสร็จนี่ร่างกายแทบแตกสลาย ทั้งโอเนทบ้าง เอเนทบ้าง สอบตรงบ้าง รวมไปถึงการสอบเข้ายังสถาบันต่างๆอีก เครียดสุดท้ายคือเครียดกับสภาวะความกดดันของการแข่งขัน ในสังเวียนการต่อสู้ย่อมมีการแข่งขัน มีผู้ที่สมหวังและพลาดหวัง ทุกคนย่อมต้องเจอกับสภาวะแบบนี้แต่จะมากน้อยนี่ขึ้นอยู่กับพื้นฐานเฉพาะบุคคลกับการจัดการกับความกดดันดังกล่าว รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่เป็นกลไกหนึ่งในสภาวะดังกล่าวด้วย ใครเตรียมตัวดี พร้อมก็จะมีชัย แต่ใครก้ำกึ่งก็ต้องลุ้นกันแบบหืดขึ้นคอ หายใจกันแทบไม่ทัน


ระบบแอดมิชชันส์นอกจากจะสร้างความเครียดแล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาการกวดวิชาได้อีก ที่สำคัญยังเป็นการส่งเสริมให้มีการกวดวิชาเพิ่มขึ่น จากกวดวิชาเพื่อสอบเข้า ยังมีคอร์สเพิ่มเกรด ในแต่ละกลุ่มสาระ เรียนทั้งในห้องและนอกห้องเต็มรูปแบบเรียนตั้งแต่คอร์สโอเนทยังเอเนท และเพิ่มจีพีเอแบบเอ็กคลูชีพไม่ต้องพักกันแล้วครับเด็กไทย กีฬาก็ไม่ต้องเล่น การเรียนรู้นอกห้องเรียนก็ไม่ต้องมี ตั้งหน้าเรียนติวเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยกันอย่างเดียว การศึกษาแบบสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตจึงล้มเหลวเน้นเพื่อการทำทุกวิถีทางที่จะบังคับเด็กให้เข้ามหาวิทยาลัยโดยไม่ได้ถามความสมัครใจ แปลกครับตอนที่มีการสอบเอ็นทรานส์รุ่นผมไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรใช้จีพีเอ10/ คะแนน 90/ จะมีก็แต่เรื่องเปอร์เซ็นไทล์ กับจีพีเอบ้าง แต่ไม่ค่อยมีผลอะไรมากนัก และส่วนใหญ่ชอบระบบนี้เพราะมีโอกาสแก้ตัวได้สองรอบ และมีโอกาสใช้คะแนนเก่าที่ดีที่สุดได้3ปี ระบบนี้สร้างทางเลือกชีพวิตได้มากกว่า


แต่อย่างไรต้องขอขอบคุณในความคิดของการเปลี่ยนรูปแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะอย่างน้อยก็ได้เห็นถึงความสำคัญของการปฎิรูปการศึกษา แต่ไม่ถูกจุดเท่านั้นเองครับ ผมคิดว่าหากจะเพิ่มความสนใจในห้องเรียนเราน่าจะมาเปลี่ยนหลักสูตรแบบบูรณาการ หรือวิชาชีพกับความรู้ให้มีการเชื่อมโยงกันได้จริง อันนี้ต้องดูญี่ปุ่น สิงโปร์ หรือในตะวันตก เค้าไม่ได้เน้นให้เด็กเป็นเลิศทางวิชาการ แต่สอนให้คิดเป็น ทำเป็น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เรียนแบบยูโทเปียอย่างบ้านเรา วิชาการกับวิชาชีวิตแยกห่างออกจากกัน ความรู้ที่มีอยู่จึงนำไปใช้ไม่ได้เพระาขาดการบูรณาการทางความคิด เน้นย้ำเพือ่การสอบวัดผล การได้เกรดดีเพียงเท่านั้น ระบบดังกล่าวจึงสร้างทางเลือกให้กับคนที่เรียนเก่งและมีเกรดเฉลี่ยดีเท่านั้นที่จะผ่านด่าน18 อรหันต์เข้าไปสู่มหาวิทยาลัยหอมิมานงาช้าง มหาวิทยาลัยกับโรงเรียนมัธยมก็มีทัศนะคติในการคัดเลือกที่ต่างกัน ผลคิดว่ามหาวิทยาลัยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้เด้กที่เรียนเก่งมากมายอะไร แต่ต้องการเด้กที่มีสำนึกที่ดีต่อสังคม นำความรู้ไปใช้พัฒนาประเทศในภาคส่วนต่างๆ มีมโนสำนึกที่ดี มีทัศนะคติที่ดีต่อสาขาวิชา เพราะถ้าเจตคติดีแล้ว แรงจูงใจในการเรียนก็จะประสบความสำเร็จ บ้านเมืองเราสรรเสริญคนแค่ความเก่ง ใครเรียนหมอวิศวะเก่ง เงินดี แต่ทุกภาคส่วนทุกวิชาชีพมีความสำคัญในหน้าที่และบทบาทที่ได้รับอยู่แล้ว ไม่มีใครสำคัญกว่าใคร เพระาทุกอาชีพมีคุณค่าในตนเอง ที่จะทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปข้างหน้า หมอก็ต้องรับเงินภาษีจากประชาชน วิศวะกรก็ต้องเจ็บป่วย อาจารย์ก็มีหน้าที่สอนทั้งความรู้และประสบการณ์ที่ดี ทุกอย่างมีส่วนสัมพันธ์สอดคล้องกันอย่างยิ่งมิใช่ว่าใครจะสูงกว่าใคร หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วย่อมเกิดภาวะชงักงันแน่นอน ดังนั้นเราต้องทำหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับให้ดีที่สุด อาจารย์ก็มุ่งเน้นที่จะสร้างค่านิยมให้นักเรียนเรียนตามความถนัดมากกว่าค่านิยมและความสูงส่งของสถาบัน เพราะถ้าแนะแนวที่ผิดพลาดนั่นหมายถึงว่าผิดจริยธรรมทางวิชาชีพอย่างรุนแรง สูญเสียโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพมนุษย์อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้รับ อันนี้คงต้องฝากอาจารย์แนะแนวให้ตระหนักถึงความสำคัญตรงนี้ด้วย มหาวิทยาลัยคือสถาบันอุดมศึกษาที่เกิดจากรากฐานแห่งประชาธิปไตย มิใช่มานั่งแบ่งศักดินา ว่าใครจบจากที่ไหน เข็มใครดีเลิศกว่ากัน เลือดครเข้มข้นกว่า ภูมิใจในวิทยะฐานะและศักดิ์รีแห่งความเป็นนิสิตนักศึกษาของสถาบันที่ตนได้รับการอบรมบ่มเพาะ ลดอคติ ค่านิยมที่ผิด และทลายกำแพงวรรณะลงจะนำมาซึ่งการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุข ใครจะดีไม่ดีได้สถาบันอย่างเดียวมิได้เป็นตัวกำหนด หากแต่ยังขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และประสบการณ์ที่ได้รับจากนอกตำรา(สำคัญมาก) ตรงนี้ผมว่าเกิดจากความเข้าใจที่ผิดพลาดของข้อมูลข่าวสาร มหาวิทยาลัยรํฐอาจมิได้ดีไปกว่าเอกชน หรือมหาวิทยาลัยราชภัฎแตกต่างกับมหาวิทยาลัยปรกติ เราควรต้องศึกษาข้อดีและจุดเด่นของแต่ละสถาบัน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มหาวิทยาลัยบางแห่งโดดเดนด้านวิชาการเหมาะที่จะเป็นนักวิชาการ หรือนักวิจัย หรือบางที่เน้นงานภาคปฎิบัติมากกว่าภาคทฏษฎี ดังนั้นต้องรู้เป้าหมายของตนเองว่าจะเรียนเพื่ออะไร ความต้องการอยู่แค่ไหน จะประกอบอาชีพอะไร แล้วเราจะเลือกมหาวิทยาลัยได้อย่างเหมาะสม ไม่ใช่ที่โน่นเก่งกว่าที่นี่ อาจารย์ที่นี่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์มากมาย มหาวิทยาลัยนั้นเก่าแก่มีชื่อเสียงคนยอมรับ ผมอยากให้มองถึง กำลังทรัพย์ สาขาวิชา ตลาดแรงงาน งานวิจัย อาจารย์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่นสาขาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเอกชนจะมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตได้ตรงกว่ามหาวิทยาลัยรัฐในตลาดแรงงาน หรือ การเรียนด้านวิชาการควรเรียนมหาวิทยาลัยรัฐเพระาจะได้แนวคิดทฤษฎีที่หลากหลายและเข้มข้น อันนี้ต้องลงลึกไปถึงหลักสูตร เช่นม.สุรนารี ม.พระจอมเกล้าจะเน้นวิศวะภาคปฎิบัติและการประยุกต์หากเทียบกับจุฬาหรือม.เชียงใหม่


ดังนั้นเราควรจะกำหนดจุดยืนในการรับนักศึกษาร่วมกัน ว่ามีความต้องการแบบไหน ทั้งทปอ สกอ และสทส และใช้วิธีการดังกล่าวรับจากส่วนกลาง แต่ต้องไม่ลืมถึงส่วนที่รับตรง เพื่อสร้างทางเลือกเพิ่มขึ้น และขยายโอกาสให้ทุกคน หรือคนในท้องถิ่นได้รับการศึกษาอย่างถ้วนทั่ว การสอบควรใช้ความถนัดเข้ามาเป็นส่วนประกอบ ไม่ควรใช้โอเนทมาเป็นตัววัด ใช้เพียงการทดสอบ และควรใช้วิชาหลักให้ตรงและเท่าที่จำเป็นมากที่สุด เกรดเฉลี่ยควรใช้พิจารณาประกอบแบบขั้นผ่าน แต่ไม่ใช่การนำไปคำนวน จะได้สร้างทางเลือกให้ทุกคนได้รับความเสอภาคกันและมีโอกาสอย่างเท่าเทียมในการสอบ ควรเน้นวิชาความถนัดเฉพาะทางหรือวิชาชีพ เพื่อเป็นการวัดความเหมาะสมได้ตรงจุด โควต้าตรงควรมีทางเลือกให้กับเด็กหลายกลุ่ม เช่น กิจกรรมดี เยาวชนดีเด่น เด็ก3จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือจังหวัดที่ยากจน นอกเหนือจากเรียนดี เพื่อให้ทุกกลุ่มเข้าถึงอย่างเสมอภาค การสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้มิได้ยืนยันได้อย่าง100/ว่าคนคนนั้นจะมีความเหมาะสมในสาขาวิชานั้นๆ แสดงว่าระบบการรับกลางบ้านเราเน้นความรู้ทางวิชาการเพียงอย่างเดียว ตรงนี้ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันบนความหลากหลายนี้ เพระาการได้รับความรู้ทางวิชาการแต่ละโรงเรียนยังไม่เทากันจึงเป็นการวัดที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง การแข่งขันที่เอาเป็นเอาตายนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ยังทำให้สังคมแปลกแยก มีความเป็นชายขอบ เช่นกลุ่มเด็กซิลปีนี้ก็เป็นชนชายขอบเพระาติดปัญหาโอเนท ในสังคมประชาธิปไตยควรที่จะกระจายโอกาสให้ได้รับความเสมอภาคอย่างครอบคลุมมิควรจำกัดสิทธิ์ และให้เสียงของนักเรียนเป็นตัวสะท้อนกับปัญหามีส่วนร่วมกับการแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากนโยบายรัฐ ความชอบธรรมและดุลยภาพจะบังเกิดขึ้และจะนำมาซึ่งการยอมรับในสังคม


ที่มา //www.eduzones.com/knowledge-2-7-40373.html




 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2550
0 comments
Last Update : 8 พฤษภาคม 2550 16:20:37 น.
Counter : 515 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

fluorinel!
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




oO[สงสัย ฉันจะแก่ จนสายตายาว แล้วเพราะฉัน ได้แต่แอบมอง เธออยู่ห่างๆ ]Oo-ST.UZ_Pondy

[Add fluorinel!'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com