สงสัย ฉันจะแก่ จนสายตายาว แล้วเพราะฉัน ได้แต่แอบมอง เธออยู่ห่างๆ
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
29 มิถุนายน 2550
 
 
คุณค่าของหนังสืออยู่ที่ไหน?

คุณค่าของหนังสืออยู่ที่ไหน?

เคยถามตัวเองไหมครับว่า คุณค่าหนังสืออยู่ที่ไหน จริงๆ แล้วตัวผมไม่เคยคิดถึงตรงนี้มาก่อนเลยครับ เมื่อก่อนการเลือกหนังสือสักเล่มขึ้นมากอ่านก็เพราะ "เขาว่ามันสนุก" ก็เลยอ่านบ้าง บางเรื่องซื้อมาก็สนุกจริงๆ ครับ แต่บางเรื่องอ่านแล้วก็ไม่ประทับใจนัก เคยคิดไปว่าหนังสือเล่มหนึ่งจะเกิดคุณค่าและความประทับใจกับคนอ่านนั่น อาจเป็นที่ตัวคนอ่านเองก็ได้

ผมเป็นคนไม่ค่อยชอบซื้อหนังสือเท่าไหร่ครับ เพราะทรัพค่อนข้างน้อย หนังสือเล่มไหนก็ตามที่ผมซื้อมือหนึ่งไว้ก็คือมันเป็นสุดยอดหนังสือที่ผมอยากอ่านแล้วจริงๆ

ดังนั้นผมจึงหันไปซื้อหนังสือมือสองมาอ่านแทน

แต่ว่าครับใครบอกว่าหนังสือมือสองเป็นของเก่า เศษจากคนอื่น ผมขอเถียงว่าหนังสือมือสองเดี๋ยวนี้สภาพดีเท่าหนังสือมือใหม่เลยครับ คือบางทีผมเข้าไปร้านหนังสือมือสองนี่ เจอหนังสือออกใหม่ที่เพิ่งออกไปไม่นานมาวางแป้นแล้นลดราคา50% กับเขาแล้ว จนความคิดที่อยากจะซื้อหนังสือมือหนึ่งลดลงเรื่อยๆ (ไม่รู้ว่าเขาจะเรียกว่าอุดหนุนหนังสือผี นิยายเถื่อนหรือเปล่านะ แต่หนังสือมือสองมันก็ของถูกลิขสิทธิ์นี่หว่าไม่ใช่ก๊อบบี้สักหน่อย หย่วนๆ น่า)

ผมชอบอ่านนิยายไทยเก่าๆ มากๆ เลยครับ บางเล่มเลิกพิมพ์ไปแล้วหายากมาก พอได้มาแล้วจะเกิดความรู้สึกภูมิใจมากๆ เลย บางเล่มแม้จะพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ผมก็ยังไปหาเล่มที่พิมพ์ครั้งแรกมาเก็บไว้อยู่ดี เพราะว่าครั้งแรกที่เขาพิมพ์มันจะมีอะไรหลายๆ อย่างที่เล่มล่าสุดไม่มีครับ

จนมีคนถามว่าซื้อไว้ทำไมเก่าก็ก็เก่า ขาดก็ขาด ผมเองก็ตอบไม่ได้เหมือนกันนอกจากบอกว่า นี่แหละคือคุณค่าของมัน ผมไม่เคยมีอคติกับหนังสือเสียเท่าไหร่ แต่ที่จะมีอคติบ้างก็คือผู้ผลิต

ส่วนที่ทำให้เกิดตัวอคติขึ้นมาก็อาจเพราะว่าเมื่อก่อนนั้นหนังสือที่ทำออกมาเต็มเปียมไปด้วยคุณค่าจริงๆ แต่เดี๋ยวนี้ผมกลับรู้สึกว่าคุณค่าของมันลดลง อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนเขียน (ผมไม่นับรวมเรื่องส่วนตัวของเขานะครับ นับเฉพาะความคิดต่อเขาที่สื่อออกมาทางผลงานเท่านั้น) เดี๋ยวนี้พอไปเดินตามแผงหนังสือแล้วอดทำหน้านิ่ว คิ้วเหลือแค่นิ้วเดียวไม่ได้ เพราะรู้สึกว่าผู้ผลิต ล่วงๆ ออกมาขายกันจริงๆ ผมข้อนข้างจะยึดถือเรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญามากพอสมควรครับเห็นอะไรถูกลอกจะทนไม่ค่อยได้ แต่หน้าปกหนังสือบางเล่มไปก๊อบผลงานต่างชาติมาแยะนะผมว่า (ไม่กล่าวถึงนะจ๊ะไปดูตามแผงกันเอง)

นักเขียนใหม่ที่เกิดขึ้นมามักถูกผู้ใหญ่สอนให้รู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ตลอด พูดเลยว่าชีวิตนี้มีลิขสิทธิ์กันแล้ว แต่พอไปดูผลงานที่ผู้ผลิตทำออกไป เอ๊ะ ทำไมไปก๊อบเขามาละนั่น เห็นแล้วอายแทนครับ เกมบางเกมที่ผมเล่นมาตั้งแต่จำความได้ถูกเอาไปขึ้นหน้าปกเปลี่ยนชื่อเกมเป็นชื่อนิยายซะแล้ว เห็นแล้วถามว่าผมอยากอ่านไหม? ผมอาจจะเดินไปเปิดดูครับ แต่คงไม่ซื้อหรอก เพราะผมรู้สึกว่าคุณค่าของมันหายไปตั้งแต่ที่สายตามองเห็นแล้ว แม้จะยอมรับว่าในจำนวนนั้นมีหนังสือที่น่าอ่านที่มีคุณค่ารวมอยู่ก็ตาม ผมก็อธิบายไม่ถูกแฮะ แต่มันทำให้สงสัยว่าผู้ผลิตเขาใสใจตรงนี้หรือเปล่า เขามีความเป็นมืออาชีพจริงไหม? ทำไมแค่ทำให้เป็นตัวของตัวเองทำไม่ได้ต้องไปเอาของเขามา หรือคิดเพียงว่าประชากรในประเทศมีหกสิบล้านฉันพิมพ์ออกมาสามพันเล่มขายไม่ได้ก็ให้มันรู้ไป

ผมเชื่อว่านักเขียนทุกคนอยากให้หนังสือของตัวเอง อยู่นานๆ นั่นคือมีคนอ่านตลอด มีจนจดจำได้ ไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพียงสามปีห้าปีแล้วหายไปกับสายลม กว่าจะเขียนหนังสือได้เล่มหนึ่งไม่ใช่แค่เดือนสองเดือนแต่อาจเป็นปี สิ่งที่ถูกกลั่นกรองออกมาจากความคิดนั่นมีคุณค่า แต่การผลิตที่ดูเหมือนจะไม่ใส่ใจแบบนี้ผมเลยสงสัยว่า ผู้ผลิตมีความรู้สึกเช่นนั่นหรือไม? มีความรู้สึกอยากที่จะ "คง" หนังสือที่ท่านเชื่อมั่นว่าสนุก มีสาระ(ในวันนี้) ให้คงอยู่ได้นานที่สุด ด้วยการทำให้มันมีคุณค่าที่สุด และคงคุณค่าเช่นนั้นเรื่อยไปไหม ด้วยการใส่ใจกับขั้นตลอดการผลิตอีกนิด อย่างน้อยก็อย่าให้พี่หยุ่น พี่เกา หรือพี่กา เขามาหัวเราะส่ายหน้าเวลาหยิบหนังสือขึ้นมา "โอ ไอจำได้นี่เป็นผลงานของไอนี่ โอ้โนวทำไมไทยแลนด์ทามจั๊งซี่"

บางคนอาจแย้งว่าแกไปยุงอะไรกับเขาละนั่น อันนี้ผมว่าหันมายุ่งหน่อยก็ดีนะครับ เพราะผู้ใหญ่สอนให้เราไม่เลียนแบบไม่ลอก ไม่ขโมย แต่ทำไมทำเองเสียละ แล้วแบบนี้จะมาหวังอะไรกับเด็กที่กำลังนั่งมองอยู่จริงไหม? หนังสือหนึ่งเล่มเนื้อในของหนังสือคือการแสดงปัญญาของคนเขียนซึ่งบางครั้งก็ถูกต่อว่าบ้าง ถูกเปลี่ยนแปลงบ้างกว่าจะออกมาเป็นตัวหนังสือได้ ส่วนภายนอกทั้งหมดคือปัญญาของผู้ผลิต ตั้งแต่การทำ การขายและความซื่อสัตย์ ถ้าแสดงปัญญาด้วยการไปลอกเขามา บางทีอาจมีสักวันที่เจอคนถามว่า "มีปัญญาแค่นี่เองหรือ?" การสร้างหนังสือเล่มหนึ่งให้งดงามและมีคุณค่าได้คงต้องอาศัยทั้งสองฝ่ายไม่ใช่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแน่นอนครับ

คุณค่าของหนังสือสำหรับผมคือ การที่หยิบหนังสือเล่มนั่นขึ้นมาอ่านได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าวันนี้ ปีหน้า หรืออีกสิบปีข้างหน้า มันก็ยังให้อะไรเราได้เสมอ ผมไม่ใช่คนที่จะเลือกอ่านหนังสือเพราะหน้าปกนะครับ แน่นอนอยู่แล้วว่าอันดับหนึ่งก็คืออ่านเพราะสนุก แต่การผลิตที่ เอาใจใส ก็เพิ่มโอกาสในการหยิบหนังสือนั่นๆ ขึ้นมาอ่านได้ง่ายขึ้นด้วยครับ

มีน้องคนหนึ่งบอกว่าผมว่าเธอเลือกอ่านหนังสือเพราะสำนักพิมพ์ ถ้าเป็นสนพ นี้จะไม่อ่านจะอ่านแต่สนพ.นี้ สำหรับผมผมคิดว่า เสียดายครับ ผมมักจะกอบโกยทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ขอแค่กอบแล้วมันเป็นประโยชน์กับชีวิตผมก็จะกอบมาให้หมด แต่ถ้ามันไม่ได้อะไรผมก็ค่อยโกยหนี ผมเชื่อเสมอว่าหนังสือทุกเล่มมีคุณค่า แต่ปริมาณของคุณค่าอาจต่างกันและขึ้นอยู่กับว่าคนอ่านมองเห็นและเข้าใจมันไหม

ผมคิดว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ต่างกับการร้องเพลงชาติไทย

ถามตัวเองไหมครับเวลาร้องเพลงชาติไทยรู้สึกอย่างไร ถ้าร้องโดยไม่รู้สึกอะไรเลยก็เหมือนการอ่านหนังสือที่ไม่ได้ซึมซับเอาประโยชน์จากมันนั่นแหละครับ แต่ถ้าร้องแล้วคิดตาม

ประเทศไทย...รวมเลือด เนื้อ...ชาติเชื้อไทย...เป็นประชา...รัฐ

ลองคิดตามสิครับว่าในข้อความนั้นมีอะไรอยู่บ้าง มันไม่ใช่แค่คำที่จับมารวมๆ กันให้มีความหมาย แต่มีทั้งประเทศ มีทั้งความเป็นไทย มีทั้งเลือดเนื้อและประชาชนอยู่ในนั้น

อ่านหนังสือแล้วก็ลองกอบและโกยคุณค่าของมันดูนะครับแล้วจะรู้ว่าบางทีแล้ว คีย์ ของชีวิตอาจอยู่ใกล้แค่สายตาเราเองก็ได้



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 28 มิถุนายน 2550 / 11:16
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 28 มิถุนายน 2550 / 11:18

ที่มา //www.dek-d.com/board/view.php?id=893341



Create Date : 29 มิถุนายน 2550
Last Update : 29 มิถุนายน 2550 16:52:20 น. 0 comments
Counter : 753 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

fluorinel!
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




oO[สงสัย ฉันจะแก่ จนสายตายาว แล้วเพราะฉัน ได้แต่แอบมอง เธออยู่ห่างๆ ]Oo-ST.UZ_Pondy

[Add fluorinel!'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com