เชื่อใน "โชคชะตา" เดินตามทางที่อยากไป

<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
13 กรกฏาคม 2553
 

ประเภทคำสั่งซื้อขาย

ประเภทคำสั่งซื้อขาย

นอกจากคำสั่งซื้อขายทั่วไปที่ระบุราคาที่แน่นอน (Limit Price Order) แล้ว ตลาดหลักทรัพย์ยังอนุญาตให้สามารถส่งคำสั่งซื้อขายแบบมีเงื่อนไขได้ ดังนี้
1)MP (Market Price)

เป็นคำสั่งซื้อขายที่ใช้เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายทันที ณ ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือสามารถส่งคำสั่งซื้อขายที่ระบุราคา MP ได้เฉพาะช่วงเวลาเปิดทำการ ซื้อขายเท่านั้น
-ระบบซื้อขายจะถือว่าคำสั่ง MP เป็นการเสนอซื้อ ณ ราคาเสนอขายต่ำสุด หรือเป็นการเสนอขาย ณ ราคาเสนอซื้อสูงสุด ดังนั้นหากไม่มีคำสั่งซื้อหรือขาย ด้านตรงข้ามรอการจับคู่อยู่ คำสั่ง MP นั้นจะถูกยกเลิกหรือสั่งไม่ได้ แต่หากมีคำสั่งซื้อหรือขายด้านตรงข้ามรอการจับคู่อยู่ คำสั่ง MP จะสามารถจับคู่ซื้อขายได้ทันที ที่เข้ามาในระบบ
-หากจำนวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อขาย ณ ราคา MP ไม่สามารถจับคู่การซื้อขาย ได้หมดทั้งจำนวน
ระบบการซื้อขายจะจัดจำนวนหลักทรัพย์ที่เหลือเป็นการเสนอซื้อ ณ ราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายหรือ เป็นการเสนอขาย ณ ราคาที่ต่ำกว่า ราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายหนึ่งช่วงราคา
-สามารถส่งคำสั่งซื้อขายที่ระบุราคา MP ได้เฉพาะบนกระดานหลักและกระดาน ต่างประเทศเท่านั้น

2) ATO (At the Open) / ATC (At the Close)

-ATO เป็นคำสั่งซื้อขายที่ใช้เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ทันทีที่ตลาดเปิดการซื้อขาย ณ ราคาเปิด โดยสามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้เฉพาะในช่วงก่อนเปิดตลาดทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย
- ATC เป็นคำสั่งซื้อขายที่ใช้เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ทันทีที่ตลาด ปิดการซื้อขาย ณ ราคาปิด สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ตั้งแต่เวลา 16.30 น. ถึงเวลาปิด (Random เวลาในช่วง 16.35 - 16.40 น.)
-คำสั่ง ATO และ ATC เป็นคำสั่งที่มีเงื่อนไขเดียวกัน คือหากคำสั่งเสนอซื้อขาย สามารถจับคู่ได้เพียงบางส่วน ระบบการซื้อขายจะทำการยกเลิกจำนวนที่เหลือทั้งหมด โดยกำหนดในคำสั่ง
ดังกล่าวเป็นคำสั่งที่เป็น First Priority คือจะได้รับการจับคู่ซื้อขายก่อนคำสั่งประเภทระบุราคา (Limit Price Order)
-ใช้ได้สำหรับการซื้อขายบนกระดานหลักและกระดานต่างประเทศเท่านั้น

3) IOC (Immediate or Cancel)

เป็นคำสั่งซื้อขายที่ผู้ลงทุนต้องการสั่งให้ซื้อหรือขายหุ้นตามราคาที่ผู้ลงทุนระบุไว้ในขณะนั้น โดยทันที หากซื้อหรือขายได้ไม่หมดทั้งจำนวนที่ต้องการ ส่วนที่เหลือจะถูกยกเลิก นอกจากนี้ ในการส่งคำสั่ง IOC มีข้อกำหนดเพิ่มเติมดังนี้
-ส่งคำสั่งได้ในช่วงตลาดเปิดทำการซื้อขายเท่านั้น
-ต้องระบุราคาซื้อขายที่แน่นอน
-ไม่สามารถใช้คำสั่งที่มีเงื่อนไขนี้ร่วมกับ ATO ATC MP และ Publish Volume
-ใช้ได้สำหรับการซื้อขายบนกระดานหลักและกระดานต่างประเทศเท่านั้น

4) FOK (Fill or Kill)
เป็นคำสั่งซื้อขายที่ผู้ลงทุนต้องการซื้อหรือขายหุ้นในราคาที่กำหนด โดยต้องการให้ได้ทั้งจำนวน ที่ต้องการ หากได้ไม่ครบก็จะไม่ซื้อขายเลย โดยให้ยกเลิกคำสั่งนั้นไปทั้งหมด นอกจากนี้ ในการส่ง คำสั่ง FOK มีข้อกำหนดเพิ่มเติมดังนี้
-ส่งคำสั่งได้ในช่วงตลาดเปิดทำการซื้อขายเท่านั้น
-ต้องระบุราคาซื้อขายที่แน่นอน
-ไม่สามารถใช้คำสั่งที่มีเงื่อนไขนี้ร่วมกับ ATO ATC MP และ Publish Volume
-ใช้ได้สำหรับการซื้อขายบนกระดานหลักและกระดานต่างประเทศเท่านั้น

5)คำสั่งซื้อขายแบบให้ระบบการซื้อขายส่งให้โดยอัตโนมัติ (Publish Volume)

เป็นคำสั่งซื้อขายแบบพิเศษที่ช่วยให้ผู้ซื้อหรือขายที่ต้องการซื้อขายจำนวนมากแต่ไม่ต้องการให้แสดง ปริมาณการซื้อขายทีเดียวทั้งหมด เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ดังนั้นจึงต้องการ เสนอซื้อขายทีละส่วน โดยภายใต้คำสั่งนี้นักลงทุนสามารถทำการส่งคำสั่งเพียงครั้งเดียว จากนั้นระบบการซื้อขายจะทำการเสนอซื้อหรือขายเป็นหลายรายการโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ส่ง คำสั่งทำงานสะดวกขึ้น
การส่งคำสั่งแบบ Publish Volume มีหลักเกณฑ์ในการส่งคำสั่งดังนี้
-จำนวนหุ้นที่ส่งในแต่ละครั้งต้องไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยการซื้อขาย
-ระบบการซื้อขายจะทำการเสนอให้เป็นครั้งๆ โดยอัตโนมัติตามที่ระบุ ซึ่งแต่ละครั้งต้องมี ปริมาณซื้อขายไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยการซื้อขาย โดยระบบการซื้อขายจะส่งคำสั่งเข้าไป เมื่อการเสนอซื้อหรือขายก่อนหน้านี้ได้รับการจับคู่การซื้อขายแล้ว
-ส่งคำสั่งนี้ได้ในช่วงเวลาตลาดเปิดทำการ โดยต้องระบุราคาที่แน่นอนและต้องไม่มีเงื่อนไขอื่น หากจับคู่การซื้อขายได้ไม่หมดในช่วงเวลาซื้อขายแรก คำสั่งนั้นจะถูกยกเลิก หากต้องการ ส่งคำสั่งซื้อหรือขายต่อ ต้องส่งคำสั่งเข้ามาใหม่ในช่วงเวลาซื้อขายที่สอง
-เมื่อมีการขึ้นเครื่องหมาย 'H' (Halt) ในหลักทรัพย์ใด คำสั่งที่เป็น Publish Volume ของ หลักทรัพย์นั้นจะถูกยกเลิกทันที

6)Basket Order
Basket Order เป็นการบันทึกคำสั่งเสนอซื้อหรือขายกลุ่มของหลักทรัพย์ในคราวเดียวกัน โดยเมื่อคำสั่งซื้อขายแบบ Basket Order ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งย่อยหลายๆคำสั่ง ถูกส่งเข้ามายังระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แล้ว คำสั่งซื้อขายย่อยๆ เหล่านั้นจะต้องเข้าคิวเพื่อรอการจับคู่ซื้อขายในแต่ละหลักทรัพย์เช่นเดียวกับคำสั่งซื้อขายปกติ
องค์ประกอบของ Basket Order มีลักษณะดังนี้
-เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในรายชื่อ SET50 Index หรือ FTSE SET Large Cap Index
-จำนวนหลักทรัพย์ ต้องไม่น้อยกว่า 10 หลักทรัพย์ (Securities)
-มูลค่าการซื้อขายรวม ต้องไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท
-คำสั่งย่อยใน 1 Basket ต้องเป็นการเสนอซื้อหรือขายอย่างใดอย่างหนึ่ง
-คำสั่งย่อยใน Basket ต้องมาจากลูกค้ารายเดียวกัน
-ต้องเป็นคำสั่งระบุราคา (Limit Price) และอยู่ในช่วง +/- 3% ของราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Last Execution Price) และสามารถระบุราคา ATO และ ATC ในช่วง Pre-Open และ Pre-Close ได้
-คำสั่งย่อยใน Basket ต้องเป็นการเสนอซื้อหรือขายอย่างใดอย่างหนึ่ง
กระดานซื้อขาย: กระดานหลัก (Main Board) และกระดานต่างประเทศ (Foreign Board)
วิธีการจับคู่ซื้อขาย: การซื้อขายแบบจับคู่โดยอัตโนมัติโดยระบบซื้อขาย (Automated Order Matching หรือ AOM)
ช่วงเวลาซื้อขาย: สามารถส่ง Basket Order ได้ทุกช่วงเวลา
ที่มา : //www.set.or.th/th/products/trading/equity/tradingsystem_p5.html
.........................................................

จากกระทู้ //www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I9466023/I9466023.html


Create Date : 13 กรกฎาคม 2553
Last Update : 12 สิงหาคม 2553 7:50:58 น. 0 comments
Counter : 1529 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Ooh 1234
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Hello all of you.
Welcome to my blog....
[Add Ooh 1234's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com