เชื่อใน "โชคชะตา" เดินตามทางที่อยากไป

<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 กรกฏาคม 2553
 

เลือก โบรกเกอร์ให้ถูกใจ

โบรกเกอร์ (Broker) หรือบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ที่ได้จดทะเบียน โดยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ และได้รับการคัดเลือกแล้ว มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ซึ่งความแตกต่างกันก็คือ บริษัทที่มีทั้งคำว่าเงินทุนและหลักทรัพย์ จะประกอบธุรกิจด้านระดมเงินทุนและธุรกิจค้าหลักทรัพย์ควบคู่กันไป ในขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ จะประกอบธุรกิจค้าหลักทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียว
นอกจากบริษัทสมาชิกหรือโบรกเกอร์ คุณอาจเคยได้ยินคำว่าซับโบรกเกอร์ (Sub Broker) หรือบริษัทนายหน้าช่วง ซึ่งทำหน้าที่รับส่งคำสั่งจากผู้ลงทุนที่จะซื้อขายหลักทรัพย์เช่นเดียวกับโบรกเกอร์ แต่เนื่องจากซับโบรกเกอร์ไม่ได้เป็นบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องส่งคำสั่งไปยังโบรกเกอร์ก่อน หลังจากนั้นโบรกเกอร์จะส่งคำสั่งไปยังกระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์อีกต่อหนี่ง

ที่มา : //www.taladhoon.com/taladhoon/lib/setin01/setin01-3-d.htm

เคล็ดดีๆ เลือก โบรกเกอร์ให้ถูกใจคุณ
หากคุณต้องการซื้อขายตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ หน่วยลงทุน หน่วยลงทุนที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์
เช่น หน่วยลงทุน ETF หน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น รวมถึงถ้าต้องการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ เช่น Gold Futures ก็ไม่ต้องยุ่งยากไปหาซื้อขายที่ไหน คุณสามารถซื้อขายทุกอย่างผ่านบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือโบรกเกอร์ ที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานก.ล.ต. ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับตราสารนั้นๆ โดยสามารถติดต่อกับโบรกเกอร์ต่างๆ ที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานก.ล.ต. โดยดูข้อมูลที่
//www.sec.or.th
ปัจจุบันมีโบรกเกอร์เปิดให้บริการกว่า 40 บริษัท
คุณควรให้ความสำคัญในการเลือกโบรกเกอร์ เพราะนอกจากโบรกเกอร์จะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งคำสั่งซื้อขายตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ไปยังตลาดหลักทรัพย์ (SET) ตลาดตราสารหนี้ (BEX) หรือตลาดอนุพันธ์ (TFEX) ตามตราสารแต่ละประเภทที่คุณเลือกลงทุนแล้ว โบรกเกอร์ยังมีบทบาทในการให้คำแนะนำและให้ข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุน รวมถึงการดูแลทรัพย์สินของคุณที่ฝากอยู่กับโบรกเกอร์ด้วย ดังนั้นการเลือกโบรกเกอร์จึงเป็นก้าวแรกๆ ของการเริ่มลงทุน สำหรับแนวทางในการเลือกโบรกเกอร์นั้น คุณอาจพิจารณาจากแนวทางหลายๆ แนวทางที่นำเสนอนี้เพื่อเป็นแนวคิดในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ให้ถูกใจคุณ

1.ใบอนุญาตในการให้บริการ คุณควรเลือกโบรกเกอร์ที่ได้รับใบอนุญาตอย่างครบถ้วนจากสำนักงานก.ล.ต. ในการให้บริการเกี่ยวกับตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ เพื่อที่คุณจะได้ไม่พลาดโอกาสในการลงทุน เช่น ใบอนุญาตการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ก็ให้บริการเกี่ยวกับหุ้น ใบอนุญาตตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าก็ให้บริการเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ ใบอนุญาตนายหน้าค้าจัดจำหน่ายหน่วยลงทุนก็ให้บริการเกี่ยวกับหน่วยลงทุน ใบอนุญาตผู้ค้าและจัดจำหน่ายตราสารแห่งหนี้ก็ให้บริการเกี่ยวกับตราสารหนี้ เป็นต้น โดยคุณสามารถดูข้อมูลโบรกเกอร์ที่ได้รับใบอนุญาตต่างๆ ได้ที่
//www.sec.or.th
เลือก “ธุรกิจนายหน้าค้าจัดจำหน่ายและธุรกิจหลักทรัพย์อื่น” และเลือกดู “ผู้ให้บริการในแต่ละธุรกิจ”

2.ฐานะทางการเงินของโบรกเกอร์ ดูว่ามีฐานะการเงินที่มั่นคงน่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะถ้าโบรกเกอร์นั้นล้มถึงแม้ทรัพย์สินที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์จะไม่หายไปไหน (เพราะโบรกเกอร์จะมีการแบ่งแยกทรัพย์ของคุณออกจากตัวโบรกเกอร์เอง) แต่ก็ทำให้คุณต้องเสียเวลาและอาจพลาดโอกาสในการลงทุนได้ ซึ่งเรื่องนี้อาจตรวจเช็กได้จากงบการเงินของบริษัทว่ามีฐานะเป็นอย่างไร มั่นคงพอหรือไม่ การดำเนินงานมีกำไรขาดทุนเป็นอย่างไร มีการเตรียมการรองรับกรณีจำเป็นด้านการเงินไว้เพียงพอหรือไม่ เป็นต้น

3.ระบบการบริหารงานและการปฏิบัติงาน ดูว่าระบบการบริหารเป็นอย่างไร คณะผู้บริหารมีประสบการณ์และความรู้ในเรื่องธุรกิจหลักทรัพย์เป็นอย่างดีหรือไม่ เจ้าหน้าที่ที่ติดต่อด้วยมีความรู้ความชำนาญตอบข้อสงสัยของเราได้ไหม มีเครื่องมือพร้อมที่จะให้บริการทั้งในส่วนของการติดต่อซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดและการซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ระบบการปฏิบัติงานต้องได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ ไม่มีประวัติการบริหารงานและการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม สามารถดูข้อมูลได้จากสำนักงานก.ล.ต. //capital.sec.or.th/webapp/ers/ers_show.php
หรือจากตลาดหลักทรัพย์ (SET)
//www.set.or.th/th/regulations/enforcement/penalties_p1.html

4.ข้อมูลและเครื่องมือช่วยตัดสินใจลงทุน คุณควรลองอ่านบทวิเคราะห์ของแต่ละโบรกเกอร์ และทำความเข้าใจดูว่าบทวิเคราะห์ของที่ไหนอ่านแล้วเข้าใจมีข้อมูลครบถ้วน และต้องพิจารณาในแง่ของความน่าเชื่อถือของบทวิเคราะห์ด้วย โดยคุณอาจหาข้อมูลได้จากสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
//www.saa-thai.org/thai/home.html
นอกจากนี้ควรพิจารณาในเรื่องความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสารต่างๆ และระบบการจัดส่งด้วย เพราะถ้าข้อมูลหรือระบบการจัดส่งข้อมูลล่าช้า ข้อมูลที่ได้มานั้นอาจมีประโยชน์น้อยลง หรือไม่มีประโยชน์เลยในการตัดสินใจลงทุน

5.การบริการหลังการซื้อขาย คุณอาจลองโทร.ถามโบรกเกอร์ดูว่าการรับจ่ายเงินจากการซื้อขายหลักทรัพย์ โบรกเกอร์นั้นๆ ใช้บริการธนาคารไหนอยู่บ้าง เพราะปัจจุบันการรับจ่ายเงินทำผ่านระบบตัดเงินอัตโนมัติที่เรียกว่า ATS ซึ่งคุณจะต้องมีบัญชีกับธนาคารนั้นๆ ด้วย นอกจากนี้ระบบการโอนหุ้น ระบบการติดตามและดูแลผลประโยชน์ของทรัพย์สินที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งคุณควรพิจารณาให้ดีด้วย

6.ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ ในการซื้อขายหลักทรัพย์นั้นโบรกเกอร์จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการให้บริการโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดมูลค่าการซื้อขายในวันนั้น โดยบางโบรกเกอร์ไม่ได้มีการกำหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำไว้ แต่บางโบรกเกอร์อาจมีการกำหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำไว้ เช่น 200 บาท 100 บาท 50 บาท เป็นต้น การใช้บริการโบรกเกอร์ที่คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำในอัตราที่สูงกว่าโบรกเกอร์อื่นๆ นั้น คุณต้องพิจารณาถึงบริการต่างๆ ที่โบรกเกอร์นั้นจัดให้ว่าเหมาะสมกับค่าธรรมเนียมที่คุณต้องจ่ายไปหรือไม่

7.บริการเสริม เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการลงทุนและเพิ่มความสะดวกให้แก่คุณที่เป็นนักลงทุนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ปัจจุบันโบรกเกอร์ที่ให้บริการโดยส่วนใหญ่จะมีบริการซื้อขายหลักทรัพย์ และตราสารอนุพันธ์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยดูข้อมูลผู้ให้บริการได้จากตลาดหลักทรัพย์ (SET) //www.set.or.th/th/products/member/equity/brokerage_member_p1.html
และตลาดอนุพันธ์ (TFEX)
//www.tfex.co.th/th/member/list.html
ซึ่งจะมีโบรกเกอร์บางรายที่ให้บริการเสริมโดยซื้อขายผ่านมือถือหรือ PDA ควบคู่กันไปด้วย โดยกำหนด User Name และ Password เดียวกัน และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

8.ความสะดวกสบาย แน่นอนว่าคุณต้องเลือกใช้บริการโบรกเกอร์ที่ติดต่อง่าย เดินทางสะดวก มีห้องค้าไว้บริการ รวมถึงมีบริการรับส่งเอกสารให้กับคุณด้วย
ที่มา : //money.impaqmsn.com/content.aspx?id=17608&ch=227

ข้อมูลเพิ่มเติมคะ

รวมรายชื่อโบรกเกอร์ : //www.set.or.th/set/memberlist.do?language=th&country=TH

เปรียบเทียบบริการโบรกเกอร์ ซื้อขายแบบผ่านระบบ internet
//www.settrade.com/brokerpage/IPO/StaticPage/OpenAccount/compare_member.html

หวังว่าจะมีประโยชน์กับท่านที่ยังไม่เปิดบัญชีนะคะ หรือหากท่านได้เปิดไปแล้ว
อยากเปลี่ยนด้วยเหตุผลใด ๆ ก็แล้วแต่ ลองเลือกและเปรียบเทียบด้วยตนเองดูคะ
............................................

จากกระทู้ //www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I9437472/I9437472.html




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2553
0 comments
Last Update : 12 สิงหาคม 2553 7:53:16 น.
Counter : 2747 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Ooh 1234
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Hello all of you.
Welcome to my blog....
[Add Ooh 1234's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com