เชื่อใน "โชคชะตา" เดินตามทางที่อยากไป

<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 กรกฏาคม 2553
 

ข้อมูลพื้นฐานในการลงทุน

ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ

ข้อมูลพื้นฐานที่คุณจะต้องเข้าใจ และใช้ในการพิจารณาตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญในเบื้องต้น 2 ประการด้วยกันคือ

1. การพิจารณาจากภาพตลาดโดยรวม

การรับทราบข้อมูลและพิจารณาภาพหรือสภาวะโดยรวมของตลาดหลักทรัพย์ เป็นสิ่งแรกที่คุณได้พบเห็นหรือได้ยินอยู่เป็นประจำ ซึ่งมีหัวข้อที่สำคัญดังนี้

1.1 ดัชนีราคาหุ้น มีการคิดค้นกันมาหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่ “ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” หรือ SET Index ซึ่งเป็นดัชนีราคาหุ้นประเภทที่คำนวณถัวเฉลี่ยราคาหุ้นสามัญแบบถ่วงน้ำหนักด้วยจำนวนหุ้นจดทะเบียน หมายความว่าหุ้นใหญ่หรือหุ้นที่มีหุ้นมาจดทะเบียนสูง หากมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของ SET Index มากกว่าการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของหุ้นเล็ก หรือหุ้นที่มีหุ้นมาจดทะเบียนต่ำหรือน้อยมาก
นอกจาก SET Index แล้ว ก็ยังมีดัชนีราคาหุ้นอื่น ๆ ที่มีการคิดค้นกันเพื่อใช้พิจารณาแนวโน้มของตลาดหลักทรัพย์อีก เช่น ดัชนี SET 50 Index, ดัชนีราคาหุ้นบุคคลัภย์ (Book Club Index), ดัชนีราคาหุ้นทิสโก้ (Tisco Price Index), ดัชนี CMRI (CMRI Index) รวมทั้งดัชนีหุ้นรายกลุ่ม (Sectorial Index) เพื่อใช้พิจารณาการเคลื่อนไหวของหุ้นแต่ละกลุ่มด้วยว่า เคลื่อนไหวขึ้นลง เป็นอย่างไรในช่วงนั้น ๆ

1.2 ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์
นอกจากดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แล้ว ตัวเลขที่ผู้ลงทุนมักได้ยินควบคู่กันไปคือปริมาณการซื้อขาย ซึ่งแสดงให้ผู้ลงทุนได้ทราบว่า ตลาดหลักทรัพย์มีการซื้อขายหนาแน่นหรือคึกคักเพียงใดถ้าภาวะตลาดดี ผู้ลงทุนก็จะเข้ามาซื้อขายกันอย่างคึกคัก ในทางตรงกันข้าม หากภาวะตลาดซบเซา ผู้ลงทุนก็จะเข้ามาซื้อขายกันน้อยลง ดังนั้นปริมาณการซื้อขายจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพิจารณาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

1.3 จำนวนหุ้นที่มีราคาปิดสูงขึ้น, ลดลงหรือเท่าเดิม
หากวันใดที่หุ้นส่วนใหญ่มีราคาปิดสูงขึ้น จะเป็นการสะท้อนให้เห็นภาพของสภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่ดี ในทางตรงข้ามหากวันใดที่ราคาหุ้นส่วนใหญ่ติดลบ สภาพตลาดอาจไม่ดีนัก หรือถ้าหุ้นส่วนใหญ่มีราคาปิดค่อนข้างคงที่ แสดงว่าตลาดหลักทรัพย์น่าจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ ซึ่งผู้ลงทุนอาจจะพิจารณาทิศทางที่ปริมาณหุ้นเปลี่ยนแปลงไปในการวิเคราะห์ตลาดด้วยตนเองได้ อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้อาจเป็นการมองภาพในระยะสั้น ๆ ผู้ลงทุนยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบด้วย

2. การพิจารณาคุณภาพหุ้นรายตัว
นอกเหนือจากการพิจารณาภาพตลาดหลักทรัพย์โดยรวมตามที่กล่าวมา คุณควรจะทราบด้วยว่าหุ้นที่ดีและน่าลงทุนนั้นสามารถดูได้จากอะไรได้บ้าง ซึ่งเราขออธิบายหลักการเบื้องต้นในการพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของคุณ

2.1 ราคา (Price) โดยปกติผู้ลงทุนมักเห็นราคาของหุ้นเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงจากแรงซื้อแรงขายอยู่ตลอดเวลา และเมื่อตลาดหลักทรัพย์ปิดทำการ ผู้ลงทุนมักดูราคาปิดของหุ้นที่ตนเองสนใจว่าเพิ่มขึ้น ลดลง หรือเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด และราคาก็หมายถึงจำนวนเงินที่ผู้ลงทุนพิจารณาว่าเหมาะสมต่อการซื้อ-ขาย หรือถือหุ้นนั้น ๆ ไว้หรือไม่อย่างไร แต่ในการวิเคราะห์คุณภาพของหุ้นต่าง ๆ นั้น ราคาหุ้นจะต้องนำมาวิเคราะห์ร่วมกับผลการดำเนินงานอันได้แก่ กำไรต่อหุ้น การจ่ายปันผล หรือข้อมูลอื่น ๆ อีกหลายประการ ดังนั้นราคาจึงเป็นเพียงตัวกำหนดเพื่อประกอบการตัดสินใจเบื้องต้นเท่านั้น

2.2 ราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ration) เป็นเกณฑ์ที่คิดจากอัตราส่วน (Ratio) ราคาปิด (Close Price : P) เทียบกับกำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share : E) ซึ่งสามารถแสดงคุณภาพในระดับพื้นฐานของหุ้นตัวนั้น ๆ ได้
ค่า P/E Ratio คำนวณได้จากการเอาราคาปิดของหุ้น ณ วันทำการหนึ่ง ๆ หารด้วยมูลค่ากำไรต่อหุ้น ของหุ้นนั้น ๆ ดังมีสูตรดังนี้

P/E = ราคาปิด หรือราคาตลาดของหุ้น (P)/ กำไรสุทธิต่อหุ้นประจำงวด 12 เดือนของหุ้น (E)

ตัวเลขที่ได้เท่ากับเป็นการบอกว่า ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนในหลักทรัพย์ตัวนั้นเป็นจำนวนเงิน เท่าไร เพื่อที่จะให้ได้รับผลตอบแทนหรือกำไรสุทธิในงวดระยะเวลา 12 เดือน กลับคืนมา 1 บาท
เช่น หุ้น ABC มีราคาปิด (Price : P) เท่ากับ 100 บาท และมีกำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share : E) เท่ากับ 20 บาท ดังนั้นค่า P/E Ratio จึงเท่ากับ 100/20 หรือ 5 เท่า (ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อ(ลงทุนลงทุนในหุ้นตัวนี้ 5 บาท จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา 1 บาท ในระยะเวลา 1 ปี)
หุ้นตัวใดมีค่า P/E Ratio ต่ำ ย่อมมีคุณภาพที่จัดได้ว่าดีกว่าหุ้นที่มีค่า P/E Ratio สูง

ในทางกลับกัน สมมติว่าหุ้น DEF มีราคาปิดเท่ากับ 200 บาท และมีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 20 บาท ดังนั้นค่า P/E Ratio ของหุ้นตัวนี้จึงเท่ากับ 200 หารด้วย 20 หรือ 10 เท่า (ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อผู้ลงทุนลงทุนในหุ้นตัวนี้ 10 บาท จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา 1 บาท ในระยะเวลา 1 ปี) เมื่อเปรียบเทียบหุ้น ABC กับหุ้น DEF เราก็พอจะสรุปได้ในระดับหนึ่งว่า หุ้น ABC มีคุณภาพสูงกว่าหุ้น DEF กล่าวโดยสรุป หุ้นที่มีค่า P/E Ratio ที่ต่ำกว่า แสดงว่ามีความสามารถในการทำกำไรได้ดีกว่า หรือราคาหุ้นยังต่ำกว่าหุ้นที่มีค่า P/E Ratio ที่สูง เมื่อคิดจากประสิทธิภาพในการดำเนินงานหรือผลกำไร

2.3 อัตราปันผลตอบแทน (Dividend Yield) หมายถึงอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากหุ้นตัวใดมี Dividend Yield สูง ก็อาจได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนมากกว่า เนื่องจากให้ผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลมากกว่า ซึ่งสามารถเปรียบเทียบระหว่างหุ้นแต่ละตัวได้ว่าตัวใดน่าสนใจในแง่นี้มากกว่ากัน
อัตราปันผลตอบแทนสามารถคำนวณได้จากสูตรดังนี้คือ

อัตราปันผลตอบแทน = ( มูลค่าปันผลต่อหุ้นx100)/กำไรสุทธิต่อหุ้น

เช่นหุ้น ABC มีกำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากัน 20 บาท ประกาศจ่ายเงินปันผลเท่ากับ 2 บาทดังนั้น

อัตราปันผลตอบแทนหุ้น ABC = ( 2x100)/20 = 10%

2.4 ปริมาณการซื้อขาย ในการที่ผู้ลงทุนจะซื้อหรือขายหุ้นปริมาณการซื้อขายหุ้นหรือสภาพคล่องนับว่ามีส่วนสำคัญ กล่าวคือ หากหุ้นมีสภาพคล่องสูงหรือมีปริมาณหุ้นเข้ามาหมุนเวียนซื้อขายมาก การเข้าซื้อหรือขายออกย่อมทำได้ง่าย แต่หากมีสภาพคล่องต่ำ หรือมีปริมาณการซื้อขายน้อย การจะเข้าซื้อย่อมเป็นไปได้ยากเพราะขาดหุ้นที่มีผู้เสนอขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ลงทุนมีหุ้นต้องการจะขาย หากแต่ไม่มีผู้เสนอซื้อ หรือมีเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้การขายหลักทรัพย์นั้นเป็นได้ยาก ส่งผลเสียต่อผู้ลงทุนที่มีความเร่งรีบในการใช้เงิน ดังนั้นการพิจารณาปริมาณการซื้อขายหุ้นจึงมีความจำเป็นด้วยเช่นกัน

2.5 การพิจารณาหุ้นในเชิงธุรกิจการเงิน
หมายความถึงการวิเคราะห์พิจารณาดูว่าหุ้นที่น่าสนใจลงทุนนั้นควรมีศักยภาพในการเจริญเติบโต มีความมั่นคง เข้มแข็งในทางการเงินและการบริหาร มีโอกาสที่จะตอบแทนผลกำไรที่คุ้มค่าแก่ผู้ลงทุนหรือผู้ที่เข้ามาซื้อหุ้นนั้น ๆ ไว้ การพิจารณาในเรื่องดังกล่าวนี้อาจจะค่อนข้างละเอียดซับซ้อน ซึ่งเมื่อผู้ลงทุนได้ทำความเข้าใจในการลงทุนเบื้องต้นดีพอแล้ว จึงค่อนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต่อไป

ที่กล่าวมานี้คือการพิจารณาจากสภาพตลาดและตัวหลักทรัพย์อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีกหลายประการส่งผลต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของตลาดและราคาหุ้น ซึ่งสื่อต่าง ๆ ได้รายงานไว้เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบ โดยในหัวข้อต่อไปคุณจะได้ทราบว่ามีสื่ออะไรบ้างที่สามารถให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์กับคุณ ก่อนจะได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คุณพิจารณาตัดสินใจว่าควรจะลงทุนในหลักทรัพย์หรือไม่เพียงใด หรือเมื่อใด

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นผลกระทบที่สำคัญที่สุด เนื่องจากหากเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ก็อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่น ๆ ได้อีกมากมาย และเป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความหวั่นไหวให้กับผู้ลงทุนมากที่สุด ตลาดหลักทรัพย์มักอยู่ในภาวะซบเซาเมื่อเกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจดังต่อไปนี้

1. สภาพคล่องทางการเงิน เมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งหมายความว่าธุรกิจหรือกิจการทั้งหลายขาดเงินหมุนเวียนที่จะใช้ในการดำเนินงาน ย่อมก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้

2. อัตราดอกเบี้ย เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอัตราดอกเบี้ยจะขยับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตของกิจการหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ สูงขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม หากสภาพคล่องทางการเงินมีมาก อัตราดอกเบี้ยจะลดต่ำลง ผู้คนในสังคมจะมีกำลังซื้อมากขึ้นส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัว ธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ก็จะได้รับผลดีตามไปด้วย

3. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศหรือค่าเงิน ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนอาจเกิดขึ้นเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ เนื่องจากหากค่าของเงินอ่อนลง ย่อมทำให้ค่าใช้จ่ายในการสั่งสินค้าเข้ามาผลิตหรือจำหน่ายสูงขึ้นตามไปด้วย แต่สำหรับกิจการที่ส่งสินค้าหรือบริการที่รับเงินกลับเข้ามาในประเทศ อาจได้รับผลดีเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้สินค้าหรือบริการมีมูลค่าสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย ซึ่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่พึ่งพอการนำเข้า และมีภาระหนี้สินต่างประเทศค่อนข้างมาก ค่าของเงินบากที่อ่อนลงจะส่งผลทางลบที่รุนแรง

4. การผลิต ซึ่งภาพโดยกว้างอาจหมายรวมไปถึงตลาดการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันคือตลาดต่างประเทศ หากอุตสาหกรรมภาคการผลิตและบริการของเรา สามารถผลิตและจำหน่ายสินค้าที่ตรงตามความต้องการของประเทศคู่ค้าได้ ทั้งยังมีราคาและคุณภาพเหมาะสมหรือดีกว่าสินค้าจากประเทศคู่แข่ง มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ได้รับการสนับสนุนที่เข้มแข็งจากภาครัฐ ปัจจัยเหล่านี้ก็จะส่งผลให้สามารถนำเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาเสริมสร้างสภาพคล่องได้มากขึ้น และกำลังซื้อก็จะกระจายไปยังกิจการอื่น ๆ ในประเทศได้

5. สภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเราดี ความต้องการของสินค้าย่อมมีมากขึ้น ส่งผลดีต่อยอดขายและเม็ดเงินที่กลับเข้ามา ในทางตรงข้าม หากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าประสบปัญหา ก็จะทำให้ยอดจำหน่ายสินค้าของอุตสาหกรรมแขนงต่าง ๆ ของเราลดลง อันจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม

ปัจจัยทางการเมือง เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาหุ้นได้รวดเร็วและรุนแรง โดยเฉพาะการเมืองในประเทศ เนื่องจากภาคการเมืองหรือรัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ที่อาจมีผลเอื้อประโยชน์หรือขัดขวางต่อการลงทุนอย่างมากที่สุด นอกจากนี้ ภาคการเมืองยังมีความเกี่ยวข้องในด้านการกำหนดอัตราภาษี, การส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งการช่วยหาตลาดต่างประเทศที่สำคัญด้วย

ปัจจัยที่เกิดจากผลกระทบอื่น ๆ เช่น ปัจจัยจากธรรมชาติอันได้แก่ ฝนแล้ง, น้ำท่วม, แผ่นดินไหว, หรือภัยพิบัติใด ๆ รวมทั้งความไม่สงบทั้งภายในและภายนอก เช่นบริเวณชายแดนหรือประเทศใกล้เคียงด้วย ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องกระทบต่อสภาพการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะปัจจัยทางเศรษฐกิจ

ปัจจัยของตลาดหลักทรัพย์หรือตัวหลักทรัพย์ เช่น การเกิดข่าวลือ การเก็งกำไรที่มากเกินไปจนปัจจัยพื้นฐานรองรับไม่ไหว, กฎระเบียบที่เข้มงวดหรือหย่อนยานจนเกินไป, อัตรามาร์จิน (Margin) และดอกเบี้ยที่ไม่เอื้อต่อผู้ลงทุน เหล่านี้คือปัจจัยทางลบของตลาด ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวหลักทรัพย์โดยตรงได้แก่ ผลกำไร, สถานะทางการเงิน ผู้บริหาร, รวมทั้งการประกาศเพิ่มทุน, จ่ายเงินปันผล ก็อาจส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ได้ทั้งสิ้น
ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นปัจจัยทางด้านพื้นฐาน ซึ่งก็ยังคงมีรายละเอียดอีกมากมาย เช่น บางครั้งเราอาจเคยได้ยินคำว่า “การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)” ซึ่งอาจอธิบายสั้นๆ ในที่นี้ได้ว่า เป็นการวิเคราะห์หุ้นโดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของตลาดหลักทรัพย์ ที่แสดงออกโดยผ่านการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นและมูลค่าการซื้อขายหุ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยเวลาหนึ่ง ๆ มาทำการคาดคะเนแนวโน้มของหุ้นในอนาคต การวิเคราะห์ในลักษณะนี้มีรายละเอียดที่ลึกซึ้งและมีความซับซ้อนมาก ผู้ที่มีความสนใจสามารถศึกษาต่อเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ที่มา : //www.taladhoon.com/taladhoon/lib.shtml
....................................................................................

จากกระทู้ //www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I9501409/I9501409.html




 

Create Date : 27 กรกฎาคม 2553
0 comments
Last Update : 12 สิงหาคม 2553 7:48:16 น.
Counter : 1307 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Ooh 1234
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Hello all of you.
Welcome to my blog....
[Add Ooh 1234's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com