สิงหาคม 2553

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
22
26
27
28
29
30
31
 
 
ทฤษฎีเกี่ยวกับแสงสว่างพื้นฐาน 2
1.2 ธรรมชาติของการมองเห็นของตา

1.2.1 ส่วนประกอบของตามนุษย์
โดยธรรมชาติตาของคนเราจะมีส่วนประกอบและการทำงาน คล้ายกับกล้องถ่ายรูป
ดวงตามีลักษณะกลม และถูกห่อหุ้มด้วยกระจกตา (Cornea)
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นๆที่สำคัญ เช่น กระบอกตา เลนส์ตา เรตินา เปลือกตา




รูปที่ 1.2 ส่วนประกอบของดวงตา



กระจกตาและม่านตาจะทำหน้าที่เหมือนเลนส์ กล้ามเนื้อที่อยู่ภายในตาจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่อยู่ด้านบนและด้านล่างลูกตา ภายในลูกตาจะมีของเหลวโปร่งใสอยู่เพื่อให้ลูกตาคงรูปอยู่
ส่วนประกอบนับตั้งแต่กระจกตา, รูม่านตา, เลนส์ตา สิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวรับแสงเข้ามาแล้วไปตกกระทบบนเรตินา
ซึ่งทำหน้าที่เป็นฉากรับภาพ เซลล์ประสาทที่อยู่บนเรตินาจะทำการเปลี่ยนแปลงผล
ให้เป็นสัญญาณส่งไปสู่เส้นประสาทตา และส่งไปยังสมองเพื่อประมวลผลตามลำดับ
ทำให้เกิดการรับรู้หรือมองเห็นสิ่งต่างๆได้ โดยปกติแล้วกล้ามเนื้อตาจะทำหน้าที่ขยายหรือหดตัว
เพื่อปรับโฟกัสให้แสงไปรวมตัวที่เรตินาตามระยะการมองใกล้ไกล (ดูรูปที่ 1.3)
ส่วนม่านตาจะทำหน้าที่คอบควบคุมปริมาณแสงสว่างให้เข้าสู่กระบอกตาตามความเหมาะสม




รูปที่ 1.3 แสดงการทำงานของตาตามระยะการมอง




เรตินาเป็นบริเวณที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากบริเวณนี้จะประกอบด้วยเซลล์ประสาทตาเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ๆดังนี้

• เซลล์โคน (Cone Cells) มีจำนวนประมาณ 7 ล้านเซลล์ต่อกระบอกตาแต่ละข้าง จะอยู่บริเวณกึ่งกลางของเรตินา และจะคอยตอบสนองการมองเห็นทางด้านสี และช่วยแยกแยะรายละเอียดต่างๆของสิ่งที่เรามองเห็นได้เป็นอย่างดี การทำงานนั้นจะทำงานได้ดีในเวลากลางวัน

• เซลล์รอด (Rod Cells) มีจำนวนประมาณ 130 ล้านเซลล์ต่อกระบอกตาแต่ละข้าง จะตอบสนองการมองเห็นทางด้านแสง ทำให้มองเห็นสิ่งของหรือวัตถุได้อย่างหยาบๆ ไม่สามารถตอบสนองทางด้านสีได้เลย จะทำงานได้ดีในเวลากลางคืน (ดูรูปที่ 1.4)



รูปที่ 1.4 ประเภทของเซลล์ประสาทบน “เรตินา”


-----------------------------------------------------------------------------

Architectural Lighting Second Edition ; M. David Egan , Victor Olgyay
: McGraw-Hill Higher Education ,2002

Concept in Architectureal Lighting : M. David Egan
; McGraw-Hill Book Company, 1983

Concept and Practice of Architectural Daylighting
; Fuller Moore : Van Nostrand Reinhold Company, NY , 1985


ชำนาญ ห่อเกียรติ : เทคนิคการส่องสว่าง : กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2540



Create Date : 21 สิงหาคม 2553
Last Update : 21 สิงหาคม 2553 23:56:20 น.
Counter : 12034 Pageviews.

3 comments
  
fdyfrurel
โดย: 123 IP: 171.100.41.218 วันที่: 2 ธันวาคม 2555 เวลา:21:01:22 น.
  
สุดยอดดดดดดดดดด
โดย: จุดดด IP: 171.6.106.8 วันที่: 24 มิถุนายน 2557 เวลา:21:51:07 น.
  
ยย
โดย: ยย IP: 49.229.192.252 วันที่: 6 มีนาคม 2562 เวลา:13:16:21 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bemynails
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 69 คน [?]



ผู้หญิงธรรมดาที่ชอบช๊อปปิ้ง แต่งหน้า เพื่อความสุขเล็กน้อยๆของตัวเอง ในโลกการทำงานที่ผู้ชายเป็นใหญ่
งานออกแบบเป็นชีวิต....ก็ขอออกแบบชีวิตประจำวันด้วยสีสันบ้าง....

เพราะผู้หญิงก็ยังเป็นผู้หญิงวันยังค่ำ.... ^_^


ไม่อนุญาตให้ใช้ข้อมูลหรือชื่อ bemynails ในการนำไปอ้างอิงเพื่อขายสินค้าใดๆค่ะ


แอดเป็นเพื่อนกันใน facebook ได้ค่ะ

bemynails