
เพื่อเป็นการหาสาเหตุมาอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่ามีปัจจัยหลักที่ทำให้ปริมาณน้ำในทะเลสาบแห่งความตายนี้ลดลงทุกปีๆอยู่สองปัจจัย คือ
ประการแรก แหล่งต้นน้ำที่จะใหลลงสู่ทะเลสาบแห่งความตายมีปริมาณน้ำใหลน้อยลงมาก ผู้อ่านต้องเข้าใจว่า ทะเลสาบแห่งความตายเป็นทะเลสาบปิดไม่มีทางออกทางทะเล นั่นหมายถึงว่า ทะเลสาบแห่งนี้จะไม่สามารถรับน้ำได้จากทางอื่นเลย ทางตอนเหนือของจอร์แดนและอิสราเอลนั้นมีแม่น้ำสายหนึ่งใหลผ่าน และแม่น้ำสายนี้เองที่ใหลลงสู่ทะเลสาบแห่งความตายและเป็นแหล่งปันน้ำแหล่งเดียวที่ให้กับทะเลสาบแห่งความตาย คำถามก็คือว่า ปริมาณน้ำของแม่น้ำสายนี้มีน้อยลงหรืออย่างไร เพราะความแห้งแล้งหรือเปล่า คำตอบที่ได้ก็คือว่า ไม่ใช่ นักวิทยาศาสตร์ได้ขึ้นไปดูที่ตาน้ำของแม่น้ำสายนี้ในเขตทหารของอิสราเอลแล้วพบว่า ปริมาณน้ำจากต้นกำเนิดของแม่น้ำสายนี้ไม่ได้มีปริมาณลดน้อยลงไปแต่อย่างไร แต่หากเกิดจากการที่ประเทศจอร์แดนและอิสราเอลมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เอาไว้เก็บกักน้ำจากแม่น้ำสายนี้ ทั้งสองประเทศนี้จะผันน้ำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร แน่นอนว่าในประเทศกลางทะเลทรายแบบนี้ น้ำหายากและมีค่ายิ่งกว่าทองคำ ฉะนั้น การกักเก็บน้ำไว้ใช้จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และต้องทำอย่างเร่งด่วน เขื่อนที่สร้างขึ้นมานี้สร้างความมั่งคั่งให้กับประชาชนของสองประเทศนี้มาก เช่น ชาวจอร์แดนสามารถเลี้ยงปลาเพื่อการอุปโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออกได้ เป็นต้น แต่การกักเก็บน้ำของทั้งจอร์แดนและอิสราเอลนั้นมากเกินไป มากจนทำให้แม่น้ำสายนี้ไม่มีปริมาณน้ำเพียงพอในการที่จะใหลลงไปสู่ทะเลสาบแห่งความตายนี้ได้ ทะเลสาบแห่งนี้จึงมีปริมาณน้ำลดน้อยลงทุกปีๆ
ประการที่สอง ในประเทศอิสราเอลนั้นมีการสร้างโรงงานผลิตแร่โปรตัสเซียมขนาดใหญ่ขึ้นที่ริมชายหาดทะเลสาบแห่งความตาย แน่นอนว่าความเค็มของน้ำในทะเลสาบแห่งนี้อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆมากมาย เช่น โปรตัสเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น การผลิตแร่โปรตัสเซียมนั่นก็คล้ายกับการทำนาเกลือในบ้านเรา กล่าวคือ โรงงานต้องสูบน้ำจากทะเลสาบแห่งความตายขึ้นมาในปริมาณมากๆ น้ำที่ถูกสูบขึ้นมานี้จะนำมาตากแดดไว้จนแห้งตกตะกอน และตะกอนนี้เองที่เป็นแร่โปรตัสเซียมซึ่งทำรายได้มหาศาลให้กับอิสราเอล ประเทศนี้สามารถส่งแร่ชนิดนี้ออกไปขายได้มากเป็นอันดับที่สองของโลกเลยทีเดียว คนงานที่ทำงานในโรงงานแห่งนี้กล่าวว่า « ทะเลสาบแห่งความตายนี้สร้างงาน สร้างเงินให้กับพวกเขาเป็นจำนวนมาก หากเลิกสูบน้ำเค็มจากทะเลสาบแห่งนี้ไป พวกเขาจะทำมาหากินอะไร แล้วครอบครัวที่อยู่ข้างหลังพวกเขาอีกหละ จะให้ทำอะไร ในฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่ฝนตกชุก เมื่อถึงตอนนั้น ปริมาณน้ำในทะเลสสาบแห่งความตายก็จะเพิ่มขึ้นเอง » ความคิดนี้ดูจะเห็นแก่ตัวมากไปหน่อย ในประเทศที่อยู่กลางทะเลทรายเช่นนี้ ปริมาณน้ำฝนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการเพิ่มปริมาณน้ำในทะเลสาบอยู่แล้ว นอกจากนั้น สัดส่วนระหว่างการสูบน้ำมาใช้หาแร่โปรตัสเซียมกับปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีมันไม่สมดุลย์กันมาก

คำถามก็คือว่า ทำอย่างไรที่จะทำให้การเจริญเติบโตอยู่ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ผู้เขียนไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ แต่ก็ตระหนักดีว่าสองสิ่งนี้ต้องอยู่คู่กัน ถ้าไม่เจริญก้าวหน้า มนุษย์เราก็คงไม่สบายและไม่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเหมือนปัจจุบันนี้ แต่หากเจริญมากเกินไปจนทำลายธรรมชาติ มนุษย์เราก็อยู่ไม่ได้เเช่นกัน อย่าลืมว่าธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่กว่าเรามากเพราะเมื่อใดก็ตามที่ธรรมชาติลงโทษมนุษย์ เราจะไม่มีทางที่จะต่อสู้ได้เลย ทางที่ดีควรยึดหลักสายกลางเข้าไว้ เราหาผลประโยชน์จากธรรมชาติ แต่เราก็ควรปล่อยให้ธรรมชาติมีเวลาฟื้นตัวบ้าง หากทำทุกอย่างมากจนเกินไปเพื่อความสุขของตนเอง ทุกอย่างก็จะขาดความสมดุลย์ และเมื่อนั้นเอง เราก็จะพบกับภัยพิบัตอย่างร้ายแรง
นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อมก็พยายามหาทางแก้ใขไม่ให้ทะเลสาบแห่งความตายนี้ได้พบจุดจบสมชื่อ มีการเสนอว่า ในเมื่อปริมาณน้ำในทะเลสาบแห่งความตายนี้ลดลงเรื่อยๆเพราะไม่มีแหล่งน้ำที่จะใหลมาลงเพียงพอ ก็แก้ใขโดยให้สูบน้ำจากทะเลแดงแล้วส่งนำมาตามท่อเพื่อมาปล่อยลงที่ทะเลสาบแห่งความตายแทน ด้วยความก้าวหน้าทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยนี้ทำได้แน่นอน แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยที่คัดค้านโครงการนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า ในทางธรณีวิทยา ทะเลแดงนั้นเป็นส่วนที่แคบและเปราะบางมาก ถ้าเราสูบน้ำออกจากทะเลแดงในปริมาณมากๆ อีกไม่นานที่ดินรอบๆทะเลแดงก็จะเผชิญกับปัญหาแแบบเดียวกันกับที่เกษตรริมทะเลสาบแห่งความตายเจออยู่ในปัจจุบันนี้ นอกจากนั้น องค์ประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในน้ำของทะเลแดงก็แตกต่างกับน้ำในทะเลสาบแห่งความตายโดยสิ้นเชิ้ง การกระทำเช่นนี้จะก่อให้เกิดความเสียหายทางชีววิทยาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
ปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้เราไม่สามารถชะลอ « ความตาย » ของทะเลสาบแห่งความตายได้ก็คือ หนึ่ง การเล็งเห็นผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจมากเกินไปจนทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ทางธรรมชาติ สองก็คือเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศในตะวันออกกลางเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้ไม่มีการประสานงานกันอย่างจริงจังในระดับประเทศ ก่อนจะจบบทความนี้ ผู้เขียนอยากจะทิ้งท้ายไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์เอาผลประโยชน์จากธรรมชาติมากจนเกินไป เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ทำร้ายธรรมชาติจนทำให้เกิดความไม่สมดุลย์กันทางสิ่งแวดล้อม เมื่อนั้นธรรมชาติก็จะลงโทษเราอย่างร้ายแรงเหลือกำลังที่มนุษย์จะต้านทานได้ ธรรมชาติก็เปรียบเสมือนกับต้นไทรที่ให้อาหาร ให้ชีวิตแก่มวลมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ แต่ « ต้นไทร » ต้นนี้ก็สามารถทำลายล้างเราได้อย่างง่ายดายเช่นกัน ถ้าเราหันกลับมามองที่คำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่อง «ความไม่เที่ยง» เราก็จะพบว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเป็นอนิจจัง มีเกิดก็ต้องมีดับ ไม่มีอะไรอยู่คำฟ้าได้นิรันดร์ แม้แต่ดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งให้ชีวิตแก่จักวาลทั้งหมดยังมีวันดับและแตกสลาย แล้วประสาอะไรกับทะเลสาบแห่งความตายที่จะไม่พบจุดจบ หากแต่ว่าจุดจบนั้นควรจะมาจากธรรมชาติเองมิใช่ฝีมือมนุษย์ ส่วนมนุษย์เรานั้นไม่ได้ยิ่งใหญ่เลยหากเทียบกับจักรวาลและธรรมชาติ เรานั้นเป็นเพียงเถ้าธุลีดินที่เล็กมากจนมองไม่เห็น ในเมื่อดวงอาทิตย์หรือแม้แต่จักรวาลยังมีจุดจบได้ในวันหนึ่ง ทำไมมนุษย์ตัวเล็กๆอย่างเราจะไม่พบกับจุดจบแบบนี้บ้าง เพราะฉะนั้น ความโลภ ความหลงในชื่อเสียง เกีรติยศ คำเยินยอและเงินทองก็ล้วนเป็นสิ่งไม่จีรังยั่งยืน มนุษย์ควรรู้จักสละ รู้จักประมานตนรู้จักความสมดุลย์และความพอเพียงในชีวิต ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนควรร่วมมือกันช่วยเหลือให้ทะเลสาบแห่งความตายนี้ไม่ต้องพบกับ « ความตาย » สมชื่อก่อนเวลาอันควร แล้วฉบับหน้าพบกันใหม่นะครับ


ท้ายนี้ผมขอขอบคุณทุกๆท่านที่เสียสละเวลาเข้ามาอ่านนะครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้คงจะกระตุ้นให้เราใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติมากขึ้นนะครับ แล้วบล็อค "กระดาษกับดินสอ" บล็อคหน้าจะนำเสนองานเขียนที่มีทั้งสนุกและได้สาระมาฝากกันอีกนะครับ
|
Create Date : 30 ตุลาคม 2550 |
|
50 comments |
Last Update : 30 ตุลาคม 2550 11:11:34 น. |
Counter : 2268 Pageviews. |
|
 |