|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญชมสุริยุปราคาและจันทรุปราคาสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
เรื่องนี้เป็นการคำนวณย้อนหลังด้วยโปรแกรมดูดาว stellarium ไม่มีบันทึกประวัติศาสตร์ยืนยัน โดยผมเคยใช้ดูสุริยุปราคาสมัยพุทธกาลมาแล้ว แต่ความถูกต้องแม่นยำของโปรแกรมนี้ก็ไม่ 100% นะครับ (ต้องทำใจไว้เลย) มีความคลาดเคลื่อนอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่มากมายอะไร แล้วมันแค่ไหนหละเนียะ -*- เอาเป็นว่า คลาดเคลื่อนไม่ถึง 5 นาทีก็แล้วกัน ส่วนโปรแกรมที่แม่นยำกว่านี้ นักวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทยแนะนำโปรแกรม WinOccult 4 ก็แสดงผลเน้นตัวเลขมากกว่า คงไม่มีภาพให้เห็น อย่างงี้ก็เซ็งหนะสิ -*-
เอ่า ตัดสินใจเอาโปรแกรมเดิมนั่นหละดู อยากดูในประวัติศาสตร์ไทยที่สมัยไหนดี เอาเป็นว่า เริ่มสมัยสุโขทัยละกัน(บางกระแสตัดเหลือแค่อยุธยาแล้ว) กษัตริย์พระองค์แรกก็คงจะเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปีครองราชย์ไม่ทราบ พ.ศ. 1782 หรือ 1792 ส่วนปีสุดท้ายสันนิษฐานว่าปี 1822 พระองค์น่าจะเป็นปฐมกษัตริย์ของไทย แต่ความพยายามหาตัวตนที่แท้จริงของสิ่งที่อาจไม่มีตัวตนที่แท้จริง(ต้องทำใจกับปรัชญานี้นะครับ) ก็ทำให้เกิดความปั่นป่วนขึ้น เพราะกษัตริย์พระองค์แรกอาจจะเป็นพ่อขุนศรีนาวนำถุม ซึ่งครองสุโขทัยอยู่ก่อนจะเสียให้ขอม-ละโว้ ก็ได้ โดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นำสุโขทัยกลับคืนมาได้ในภายหลัง
เอาหละ(พล่ามมาซะยาว)เรามาดูอุปราคาในสมัยของพระองค์กันเลยนะครับ ก่อนอื่นเราก็ต้องทราบพิกัดของเมืองสุโขทัยก่อน เพื่อนำไปลงในโปรแกรม โดยพิกัดก็คือ ละติจูด = N 17° 1' 0.84" ลองจิจูด = E 99° 42' 21.24"

ตลอด 30 ปีที่ทรงครองราชย์อยู่นั้น มีสุริยุปราคา 10 ครั้ง และจันทรุปราคา 30 ครั้ง เยอะมาก ดูจนอวกเลย ใจจริงอยากจะดูแค่สุริยุปราคาอย่างเดียว เพราะเป็นอะไรที่น่าสนใจมากกว่า แต่จันทรุปราคาก็เป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้สามารถระบุวันเวลาในประวัติศาสตร์ได้เหมือนกัน และเป็นปรากฏการณ์ที่สังเกตุเห็นได้ง่ายกว่า เพราะสามารถดูด้วยตาเปล่าได้เลย แต่การดูทั้งสองอย่าง ทำให้ Blog นี้ออกจะยาวไปหน่อย
เริ่มที่ 14 พฤษภาคม 1792 สุริยุปราคาบางส่วนกินลึกมากจนท้องฟ้าครึ้มเลย และเป็นปีแรกแห่งการขึ้นครองราชย์ซะด้วย ไม่รู้เป็นฤกษ์ดีหรือไม่อย่างไร โดยเกิดที่เวลาประมาณ 8 โมง 10 นาที ที่มุมเงย(สูงจากขอบฟ้า)ประมาณ 31 องศา 50 ลิปดา

8 เมษายน 1794 จันทรุปราเต็มดวง เกิดขึ้นในอีกสองปีถัดมา โดยเกิดขึ้นเวลาประมาณตี 3 สิบนาที มุมเงยประมาณ 39 องศา 30 ลิปดา

27 มีนาคม 1795 จันทรุปราคาบางส่วนตอนพระจันทร์กำลังขึ้น

19 กันยายน 1795 ยังไม่ทันข้ามปี ก็มีจันทรุปราคาบางส่วนอีกแล้ว (754 ปีก่อนรัฐประหาร)

1 มีนาคม 1796 สุริยุปราคาบางส่วนตอนพระอาทิตย์ตก

31 กรกฎาคม 1797 จันทรุปราคาบางส่วนขณะพระจันทร์กำลังขึ้นตอนพรบค่ำ

21 กรกฎาคม 1798 จันทรุปราคาบางส่วนขณะพระจันทร์กำลังตกตอนใกล้รุ่ง

13 มกราคม 1799 จันทรุปราคาบางส่วน

19 พฤษภาคม 1801 จันทรุปราคา(น่าจะ)เต็มดวง แต่ก็ใกล้สว่างแล้ว แสงท้องฟ้าเลยกลบไปมาก

13 พฤศจิกายน 1801 มีจันทรุปราคาเต็มดวงให้เห็นอีก ยังไม่ทันข้ามปีเลย

8 พฤษภาคม 1802 จันทรุปราคาบางส่วนขณะพระจันทร์กำลังขึ้นตอนพรบค่ำ สมัยนี้เห็นบ่อยจริงๆ ห่างมาแค่หกเดือนเอง

2 พฤศจิกายน 1802 จันทรุปราคาบางส่วนอีกแล้ว

12 เมษายน 1803 สุริยุปราคาบางส่วน นานๆทีจะโผล่มาให้เห็นซักทีนะครับ นั่นเพราะจันทรุปราคามีให้เห็นได้บ่อยครั้งกว่าสุริยุปราคา เพราะจันทรุปราคาเวลาเกิดแต่ละทีนี่ จะเห็นกันได้ครึ่งโลกที่เป็นซีกกลางคืนเลยหละครับ

10 กันยายน 1804 จันทรุปราคาบางส่วน

26 กันยายน 1804 สุริยุปราคาบางส่วนยามเช้า ตอนพระอาทิตย์ขึ้น

8 มีนาคม 1805 จันทรุปราคาเต็มดวงหลังเที่ยงคืน

25 กุมภาพันธ์ 1806 จันทรุปราคาบางส่วน

21 สิงหาคม 1806 จันทรุปราคาบางส่วน

3 มกราคม 1808 จันทรุปราคาบางส่วน

19 มกราคม 1808 สุริยุปราคาบางส่วน หลังจันทรุปราคาแค่ 16 วัน

14 ธันวาคม 1809 จันทรุปราคาบางส่วน

25 พฤษภาคม 1810 สุริยุปราคาบางส่วนตอนเย็น ผมได้นำภาพทั้งขณะกินลึกที่สุด และขณะตกสัมผัสพื้นมาให้ชมนะครับ

28 เมษายน 1811 จันทรุปราคาบางส่วนขณะพระจันทร์กำลังขึ้นตอนพรบค่ำ มันกินไปนิดดด นึงทางมุมซ้ายบน แต่เพื่อสปิริตก็ต้องเอามาลงครับ -*-

22 ตุลาคม 1811 มันกินไปนิดดดดดนึงเหมือนกัน ทางขวา

6 พฤศจิกายน 1811 สุริยุปราคาบางส่วน เกิดหลังจันทรุปราคามาเพียง 15 วัน

11 ตุลาคม 1812 จันทรุปราคาเต็มดวง

8 เมษายน 1813 จันทรุปราคาบางส่วน

1 ตุลาคม 1813 จันทรุปราคา บางส่วนหรือเต็มดวงเนียะ?

6 กันยายน 1814 สุริยุปราคาบางส่วนตอนเช้า ยามพระอาทิตย์ขึ้น

15 กุมภาพันธ์ 1815 จันทรุปราคาบางส่วน

11 สิงหาคม 1815 จันทรุปราคาบางส่วน

3 กุมภาพันธ์ 1816 จันทรุปราคาเต็มดวง

24 มกราคม 1817 จันทรุปราคาบางส่วน

20 กรกฎาคม 1817 จันทรุปราคาบางส่วน

26 พฤษภาคม 1818 ไม่ใช่สุริยุปราคาหรือจันทรุปราคานะครับ แต่เป็นดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครับสมัยสุโขทัยครับ ^ ^ เกิดขึ้นตอนพระอาทิตย์ขึ้น อาจจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าครับ ดวงอาทิตย์เป็นไฝ 555
คลิ๊กที่รูป เพื่อชมรูปขนาดจริง

25 มิถุนายน 1818 เพียงหนึ่งเดือนต่อมา ดวงจันทร์ก็มาบังดวงอาทิตย์ต่อครับ แต่บังไม่หมด

5 ธันวาคม 1818 จันทรุปราคาบางส่วน

19 พฤษภาคม 1820 จันทรุปราคาเต็มดวง

28 ตุลาคม 1820 สุริยุปราคาบางส่วน
 และนี่ก็เป็นสุริยุปราคาครั้งสุดท้าย ในแผ่นดินของพระองค์ครับ
30 มีนาคม 1822 จันทรุปราคาบางส่วน

22 กันยายน 1822 จันทรุปราคาบางส่วน
 และนี่ก็เป็นจันทรุปราคาครั้งสุดท้ายในแผ่นดินของพระองค์ครับ
เอาหละครับ จบแล้ว Blog หน้า อยากดูในสมัยไหนดีครับ หลักๆก็มีสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ครับ
Create Date : 13 กรกฎาคม 2553 |
Last Update : 13 กรกฎาคม 2553 20:01:03 น. |
|
3 comments
|
Counter : 3030 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: สมภพ IP: 125.26.91.229 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2554 เวลา:0:27:03 น. |
|
|
|
โดย: สมภพ IP: 118.173.242.48 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2554 เวลา:15:18:09 น. |
|
|
|
โดย: สมภพ IP: 118.173.242.48 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2554 เวลา:15:39:07 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
นครราชสีมา Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]

|
รูปภาพทั้งหมดในนี้ สามารถนำไปใช้ได้ฟรีนะครับ แต่ไม่ควรลบสัญลักษณ์แสดงความเป็นเจ้าของในรูปออกไป รูปใดไม่มีสัญลักษณ์ อยากให้ช่วยอ้างอิง จาก sompop.bloggang.com ด้วยครับ
|
|
|
|
|
|
|
|