Group Blog
 
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
18 เมษายน 2551
 
All Blogs
 

เรื่องของศีลข้อที่ 1 และทัศนคติของผมต่อเรื่องนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัยฯ

อย่างไรเรียกว่าปาณาติบาต
การฆ่าสัตว์ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ ประการคือ
๑. สัตว์นั้นมีชีวิต
๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. มีจิตคิดจะฆ่า
๔. ทำความเพียรเพื่อฆ่า
๕. สัตว์ตายเพราะความเพียรนั้น
ถ้ากระทำการฆ่าครบองค์ ๕ ประการนี้ ศีลข้อที่ ๑ ก็ขาด

ในส่วนของความเพียรพยายามในการฆ่า มี ๖ อย่างคือ
๑. สังหารด้วยตนเอง
๒. ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าด้วยวาจา (รวมถึงการส่งซิกให้ลูกน้องนำไปฆ่า)
๓. ใช้อาวุธสังหาร
๔. สังหารด้วยหลุมพราง (แล้วก็กับดัก)
๕. สังหารด้วยวิชาคุณ (ไสย)
๖. สังหารด้วยฤทธิ์

ถ้ากระทำปาณาติบาตแล้วจะได้อะไร
การกระทำปาณาติบาต คือการฆ่าสัตว์หรือมนุษย์ ครบองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว จะได้ผล ๒ ขั้น คือ
๑. ผลตอนเกิด คือเกิดในนรก, ดิรัจฉาน, หรือเปรต
๒. ผลหลังเกิดแล้ว ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์อีก จะได้รับผล ๙ ประการ คือ *เป็นคนทุพพลภาพ *เป็นคนรูปไม่งาม *มีกำลังกายอ่อนแอ *เป็นคนเฉื่อยชา *เป็นคนขี้ขลาด *ฆ่าตัวตายหรือถูกผู้อื่นฆ่า *โรคภัยเบียดเบียน *บริวารพินาศ *อายุสั้น
ผลทั้ง ๙ ประการนี้คงไม่ได้กระหน่ำทั้งหมดหรอกน่ะครับ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของกรรมที่ก่อไว้ด้วยว่าเป็นไปในลักษณะใดก็จะส่งผลอย่างงั้น ผล ๙ ประการที่ยกมาจึงเป็นผลครอบคลุมครบทุกด้านของปาณาติบาตนั่นเองครับ

รักษาศีลข้อที่ 1 แล้วได้อะไร
การละเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการฆ่ามนุษย์เสียได้ จะได้รับผล ๒ ขั้นคือ
๑. ผลตอนเกิด คือเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา เรียกว่า กามสุคติภูมิ
๒. ผลหลังเกิดแล้ว ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์อีกจะได้รับผล ๒๓ ประการ คือ *สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ *มีร่างกายสมทรง *สมบูรณ์ด้วยกำลังกาย *มีเท้างาม ประดิษฐ์ฐานลงด้วยดี *เป็นผู้มีผิวพรรณสดใส *มีรูปโฉมงามสะอาด *เป็นผู้อ่อนโยน *เป็นผู้มีความสุข *เป็นผู้แกล้วกล้า *เป็นผู้มีกำลังมาก *มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง *มีบริษัทรักใคร่ไม่แตกแยกจากตน *เป็นคนไม่สดุ้งตกใจกลัวต่อภัยเวร (ต้องไม่เคยแม้แต่จะคิดฆ่าผู้อื่นตามข้อ ๓ ด้วย) *ฆ่าศึกศัตรูทำร้ายไม่ได้ *ไม่ตายด้วยความเพียรฆ่าของผู้อื่น (สองประการนี้อาจเกิดเพราะเคยพยายามฆ่าผู้อื่น แต่ไม่สำเร็จ จึงไม่ครบองค์ประกอบ ๕ เพราะถ้าบริสุทธิ์จริงจะต้องไม่มีผู้ปองร้ายเลย) *มีบริวารหาที่สุดไม่ได้ *มีรูปร่างสวยงาม *มีทรวดทรงสมส่วน *มีความเจ็บไข้น้อย *ไม่มีเรื่องเสียใจ เศร้าโศก *เป็นที่รักของชาวโลก *ไม่พลัดพรากจากสิ่งที่รักและชอบใจ (ทุกคนต้องได้พลัดพรากจากสิ่งที่รักและชอบใจในที่สุด แต่ในที่นี้หมายถึงไม่พลัดพรากก่อนเวลาอันควร) *มีอายุยืน

เหตุผลที่เราจะไม่ฆ่าสัตว์เดรัชฉานนั้น ง่ายๆคือ ชีวิตเขาๆก็รัก เป็นเหตุผลง่ายๆ หยาบๆ แม้ชีวิตมันอาจจะดูไร้ค่า แต่ก็ไม่ควรฆ่าอยู่ดีครับ
สำหรับเหตุผลที่จะไม่ฆ่ามนุษย์หละ ถ้าตัดเรื่องกฏหมายออกไป เหตุผลก็อาจจะง่ายๆเหมือนกันคือ ชีวิตเขาๆก็รัก ที่พูดมาอย่างงี้ ยังมีเหตุผลที่ยากกว่านั้นอีกหรือ สำหรับมนุษย์ มีครับ เพราะมนุษย์บางคนไม่รักชีวิต คิดฆ่าตัวตาย ซึ่งเดรัชฉานทำอย่างงี้ไม่ได้ แต่ถ้าเขามาใช้ให้เราฆ่าตัวเขาหละ? นี่เป็นจริยธรรมประการหนึ่งที่ก่อนนั้นเองผมก็สงสัยมานาน คือถ้าใช้ให้ผมฆ่าผมไม่ทำแน่นอน แต่สงสัยอยู่ว่า ผู้ที่ทำนั้นบาปหรือไม่ ก็ในเมื่อเขาไม่รักชีวิตเขา และเขาก็ยังใช้เราให้ช่วยฆ่าเขาอีก ไม่ได้ฆ่าเพราะการรักชีวิตซักหน่อย เราซึ่งเป็นชาวพุทธ ผมจะขอยกบางเหตุการณ์สมัยพุทธกาลมาเล่าให้ฟัง เมื่อครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงหลีกไปอยู่ในที่เร้นเป็นเวลาสองเดือน ผู้ที่เข้าไปหาได้มีเพียงผู้ที่ส่งอาหารเท่านั้น (ผมไม่ทราบว่าพระพุทธองค์มีเหตุผลอะไรในการหลีกไปอยู่ในที่เร้นนั้น แต่เชื่อว่า เพราะพระองค์ไม่ค่อยอยากมายุ่งกับเรื่องกรรม ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปนี้) ปรากฏว่ามีภิกษุกลุ่มหนึ่งบำเพ็ญภาวไปในทางผิด คือพิจารณาความไม่งดงามของกายตามหลักของพระองค์แล้ว เกิดความเบื่อหน่าย แต่ไม่ได้ผลเพียงเพื่อแค่คลายกำหนัด แต่ดันรังเกียจตัวเอง เบื่อชีวิต กระทั้งคิดฆ่าตัวตาย จึงใช้ให้ภิกษุอื่นฆ่าตัวเองตาย โดยให้บาตรและจีวรเป็นของจ้าง ภิกษุอื่นนั้นจึงฆ่าภิกษุเหล่านั้นด้วยดาป เล่ากันว่าเมื่อภิกษุนี้นำดาปไปล้างเลือดที่แม่น้ำยังถามตัวเองอยู่เลยว่า ที่ตนฆ่าภิกษุเหล่านั้นไปนี่มันถูกไหมหนอ ระหว่างนั้นมีเทวดานิสัยไม่ดีเหาะผ่านมาบอกว่า ท่านทำถูกแล้ว ภิกษุเหล่านั้นสมควรตายแล้ว เสียอีก ครั้นครบกำหนดพระพุทธองค์ทรงออกมาจากที่เร้นนั้น ไม่ทรงแลเห็นภิกษุทั้งหลาย จึงทรงตรัสถามจนได้ความดังที่เกิดขึ้นแล้ว ทรงตรัสเรียกประชุมสงฆ์ และทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุฆ่ามนุษย์ เป็นอาบัติปราชิก (คือสึกจากความเป็นภิกษุ) แต่ธรรมเนียมของต้นบัญญัติคือ ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ(คนแรกที่ทำ) ไม่ต้องอาบัติในสิ่งที่ทำ (แต่ไม่ได้หมายความว่าจะพ้นจากกรรมที่ทำ) ชีวิตในที่นี้หมายถึง ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ เช่น ใช้ให้สตรีไปทำแท้งค์ ก็เป็นปราชิก เป็นต้น พระพุทธองค์ทรงตรัสเรื่องนี้ว่า เป็นวิบากกรรมเพราะภิกษุที่ตายเหล่านั้นชาติก่อนเป็นนายพรานล่าสัตว์ (ซึ่งในระหว่างนั้นหากไม่ทรงหลีกไปในที่เร้น ก็ต้องทรงได้ห้ามการฆ่าอยู่ดี และต้องได้ทรงสอนภิกษุเหล่านั้นเรื่องจุดมุ่งหมายของการพิจารณาความไม่งามของกายนั้น ว่าพิจารณาเพื่ออะไร จะได้ไม่คิดฆ่าตัวตาย แต่ถ้าทรงห้ามการฆ่าได้ในครั้งนี้ ภิกษุเหล่านี้ก็ต้องโดนกรรมของตัวเองสนองในครั้งต่อไปอยู่ดี ผมเชื่อว่าเพราะเหตุนี้จึงทรงหลีกไปอยู่ในที่เร้นครับ)
เรื่องราวนี้สอนเราได้ว่า ฆ่าเขาแม้เขาจะยินยอมขอให้เราฆ่า ก็ผิดครับ ในการก่ออกุศลกรรม มีพื้นฐาน ๓ ประการคือ โลภ โกรธ หลง การฆ่าคนอื่น อาจจะจัดอยู่ใน โลภ และ โกรธ ผมเชื่อว่าคนที่ฆ่าตัวตาย จัดอยู่ใน “หลง” ครับ เพราะชั่งน้ำหนักผิด เห็นว่าปัญหาหนักยิ่งกว่าชีวิตตัวเอง “ตายเพราะปัญหา ดีกว่าฆ่าตัวตายเพราะปัญหา” และมาดูกันว่า ปัญหานั้นมันทำให้ถึงตายหรือไม่ ถ้าไม่ชิงฆ่าตัวตายไปเสียก่อน อนึ่งความ หลง นั้น ความหมายอาจจะหมายถึงความ โง่ ไม่เพียงแต่เรื่องปัญหาชีวิต แต่อาจรวมถึงฆ่าตัวเพราะหลงในความเชื่อผิดๆ ลัทธิผิดๆ หรือเพราะเชื่อในความงดงามหลังความตาย จริงอยู่ หลังตายอาจจะมีสวรรค์อันงดงาม แต่การฆ่าตัวตายเพื่อให้ได้มานั้น ไม่ถูกต้องแน่นอน ซึ่งในอนุบัญญัติเรื่องการฆ่ามนุษย์นั้น ยังทรงห้ามภิกษุบางกลุ่มที่แอบรักภรรยาชาวบ้าน เมื่อฝ่ายสามีป่วยได้เข้าไปหาแล้วพรรณาความงดงามหลังความตาย จนเจ้าตัวเชื่อและตรอมใจตายไปจริงๆ ไม่ว่าผู้นั้นจะได้ไปพบความงดงามหลังความตายนั้นหรือไม่ก็ตาม หากภิกษุใดทำเช่นนี้ แล้วเขาตรอมใจตายจริงๆ พระพุทธองค์ก็ให้อยู่ในฐานปราชิกครับ
ส่วนว่าฆ่าตัวตายนั้น บาปมากหรือไม่ ผมว่าบาป แต่คงจะไม่บาปมากไปกว่าการฆ่าคนอื่นที่เขาไม่ยินยอมให้ฆ่าหลอกครับ


ฆ่าคนในเกมส์ไม่ผิด เพราะสัตว์นั้นไม่มีชีวิต ไม่ต่างอะไรกับการเล่นละครหุ่นเชิดมาฆ่ากัน
ฆ่าคนในฝันไม่ผิด เพราะยังไงก็ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตอยู่ดี แต่ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนจิตใต้สำนึกลึกๆของตัวเอง แต่ยังไงก็ไม่ใช่ความจริงอยู่ดี ไม่สามารถหลอกกรรมได้ เหมือนกับที่ไม่สามารถหลอกตัวเองได้


กลุ่มคนบางคนในโลกนี้เห็นว่าการกินเนื้อสัตว์นั้น เป็นการเบียดเบียนชีวิต ใช่หรือไม่
ก็สัตว์นั้นตายแล้ว จะหาความเบียดเบียนได้อย่างไร?
เนื้อสัตว์ก็เป็นแค่ธาตุชนิดหนึ่งเท่านั้น ธาตุอะไรหนะหรือ เอาเป็นว่า ไม่ได้ต่างไปจากผลไม้แล้วกัน ถ้าได้มันมาอย่างผิดศีลธรรม มันก็ผิดศีลธรรมนับแต่ได้มันมา จะขโมยมาหรือฆ่ามา หรือทั้งขโมยทั้งฆ่า บาปก็สำเร็จเมื่อทำกรรมนั้นสิ้นลงไปแล้ว การจะนำมาใส่ปากรับประทานเอง หรือให้คนอื่นเอากินฟรี หรือให้เขาเพราะขายให้ หรือเอาไปทิ้งเสีย ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงกรรมที่ทำแล้วนั้นให้ดีขึ้นไปได้

การรับประทาน เป็นการใช้ให้เขาฆ่าหรือไม่?
ถ้ากลุ่มคนบางคนในโลกเห็นเช่นนั้น ก็ไม่เพียงแต่การรับประทานเนื้อสัตว์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการนำหนังสัตว์มาทำชุดสวมใส่ นำหนังสัตว์มารองนั่ง นำมาทำเข็มขัด ทำกระเป๋า แม้กระทั่งนำเส้นไหมมาทำเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มผู้ไม่ทานเนื้อสัตว์สามารถเว้นจากการนำผลผลิตจากสัตว์มาใช้ประโยชน์ดังกล่าวนี้ได้หรือไม่ และยังมีอะไรอีกมากมายที่ผู้เขียนยังคิดไม่ออก? อ่อ รวมถึงการรับประทานผลไม้ที่มาจากต้นที่รับธาตุอาหารมาจากซากสัตว์ที่ตายแล้วด้วย สามารถเว้นจากการทานผลไม้ดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะถ้าอ้างว่ามันแปลธาตุไปแล้ว กินได้ จะต่างอะไรกับการนำเนื้อสัตว์นั้นมาทำให้สุกหละ
แน่นอนว่า การใช้ให้เขาฆ่าแล้วถ้าเขาฆ่าจริงๆนั้น ก็บาปแน่นอน แต่ “การรับประทานเพื่อให้เขาฆ่านั้น” ไม่ใช่เหตุผลที่เกี่ยวข้องกันเลย คือเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะสัตว์ที่เรากินเราไม่ได้สั่งฆ่า ส่วนที่เขาฆ่าเป็นสัตว์ในอนาคต เป็นคนละชีวิตกัน ซึ่งสัตว์นั้นเราจะกินหรือไม่ก็อีกเรื่องนึง ส่วนเขาเพียงเพ่งเล็งเห็นว่า มีคนชอบรับประทานอย่างงี้ หากเราฆ่าอีก เราย่อมขายได้เงินเป็นแน่ นี่เป็นเหตุผลของการทำบาปธรรมดา เพราะบุคคลย่อมทำบาปผิดศีลธรรม เพราะผลประโยชน์กันทั้งนั้น นอกนั้นก็ยังมีทำบาปเพราะโกรธ ทำบาปเพราะคะนอง เป็นต้น แต่ในส่วนตัวผู้รับประทานเนื้อสัตว์เอง หากเอ่ยว่า เนื้อนี้อร่อย ท่านฆ่ามาให้อีกสิ แล้วถ้าเขาฆ่าจริงๆ นี่หละ ผู้รับประทานถึงจะบาปไปด้วย แต่หากพูดเพียงว่า ท่านยังมีเนื้ออีกไหม(เนื้อที่ตายแล้ว) ก็ไม่บาปอะไร

สำหรับผมแล้ว หากต้องได้ซื้อเนื้อสัตว์ ก็คงซื้อที่ตายแล้วเป็นธรรมดา แต่หากสัตว์นั้นยังไม่ตาย แม้ว่าสัตว์นั้นจะอยู่ในคอกหรือในอ่างที่เขาเลี้ยงมาเพื่อจะฆ่าอยู่แล้ว ผมก็จะไม่สั่งฆ่าเด็จขาด คือ ไม่มีก็ไม่กินครับ การสั่งฆ่าสัตว์ที่เขาเลี้ยงมาเพื่อจะฆ่าอยู่แล้ว ยังคงเป็นบาปอยู่ จะอ้างว่าหากเราไม่สั่งฆ่า เดี๋ยวต่อไปมันก็ต้องถูกคนอื่นสั่งฆ่าอยู่ดีนั้นไม่ได้ และถ้าคุณมีความสามารถพอในการห้ามคนถัดไปไม่ให้สั่งฆ่าก็จะเป็นบุญอีก แต่คุณสามารถห้ามคนถัดๆไปได้หรือไม่ แล้วก็ห้ามคนถัดๆๆไปได้หรือไม่ แล้วก็ห้ามคนถัดๆๆๆๆๆ ไปได้หรือไม่………?
อ่อ แล้วถ้าไปซื้อเนื้อแล้วเขาบอกว่า หมดพอดี รอเดี๋ยวน่ะจะไปฆ่าเพิ่มก่อน ถ้าคุณหลุดปากไปว่า OK หละก็ คุณมีส่วนแห่งความไม่บริสุทธินั้นแล้วหละ แต่ถ้าคุณเฉย กรรมเหมือนจะเป็นกลางๆ คือไม่ดีไม่ชั่วในตัวเอง เพราะเจตนาแต่แรกเราต้องการเนื้อที่ตายแล้ว ไม่ใช่เนื้อที่จะฆ่าเมื่อมาสั่งซื้อ แต่ทางที่ดีควรจะปฏิเสธแล้วเดินไปจากที่นั่นเสีย การปฏิเสธคือการเมตตาเว้นจากชีวิตสัตว์ที่จะถูกฆ่านั้น เชื่อว่าจะเป็นบุญเพราะเมตตาครับ แต่หากเขาพูดจบปุ๊บฆ่าปั๊บอย่างชำนาญ ก็เมตตาไม่ทันเสียแล้วครับ และการปฏิเสธที่จะไม่กินก็ไม่ช่วยให้มันฟื้นขึ้นมาได้

อนึ่ง หมูหันย่างตัวใหญ่ที่วางอยู่บนโต๊ะอาหาร เห็นแล้วน่าสงสารเพราะถูกฆ่ามา กินไม่ลง แต่หากเจ้าของหมูมาบอกว่า หมูนี้ถูกฟ้าผ่าตายเมื่อคืนนี้หละ ความรู้สึกที่เรามีต่อหมูหันเมื่อกี้จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เราไม่รู้ว่าเจ้าของหมูพูดจริงหรือไม่ แต่มันจะยังคงดูน่าสงสารอยู่หรือไม่ เพราะถูกภัยธรรมชาติฆ่ามา จะเห็นว่า ความรู้สึกน่าสงสารนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการกินเพื่อสนับสนุนการฆ่า แต่สงสารเพราะมันถูกฆ่า ไม่ว่าจะโดยฟ้าพิโรจน์ โดยถูกมนุษย์ฆ่า หรือถูกฆ่าเพราะความเกิดแก่เจ็บตายบนโลกนี้ ล้วนน่าสงสารทั้งนั้น เราก็มาพิจารณากันต่ออีกว่า ความน่าสงสารนี้เป็นเหตุให้กินมันไม่ลงได้หรือไม่ ซึ่งส่วนนี้เราทุกท่านคงได้คำตอบในใจกันดีอยู่แล้ว
คำพูดเชิงดูถูกของผู้ไม่กินเนื้อที่ว่า “รู้ว่าเขาถูกฆ่ามายังกินเขาลงอีก” จึงหมายถึงการถูกฆ่าทุกประการ ไม่ว่ามนุษย์ฆ่าโดยตั้งใจ โดยไม่ตั้งใจ(ขับรถชน) ตายเองด้วยเหตุอื่น ซึ่งไม่ใช่โดยเจตจำนงค์ของเราเลยซักนิด เราจึงบริสุทธิ์ด้วยประการฉนี้ ไม่ว่าจะซื้อมากินหรือเขาให้เรากินฟรีก็ตาม


เป็นความจริงหรือไม่ ที่กลุ่มผู้ไม่กินเนื้อสัตว์ ไม่กินแม้แต่นมจากสัตว์?
เราจะเริ่มเห็นแล้วว่า จะเริ่มหาแก่นสารอะไรในกลุ่มผู้ที่ไม่กินเนื้อไม่ได้ลงไปทุกที เพราะสัตว์นั้นไม่ได้ถูกทำลายชีวิตในการที่จะได้นมมันมา และสุดท้ายอาจจะลามไปหาแม้กระทั่งนมของบุพการี หากเด็กคนใดรับประทานนมแม่นั้น จะเป็นบาปงั้นหรือ?


คำตอบสุดท้ายของกลุ่มผู้ไม่กินเนื้อสัตว์ อาจเป็นเรื่องของสุขภาพ?
ถ้าเช่นนั้น แม้ในทางพุทธศาสนาก็เห็นด้วย แต่ก็ไม่ใช่เนื้อทุกชนิด หากมีคำถามว่า มนุษย์เป็นสัตว์กินเนื้อหรือไม่ ผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่จะชี้ชัดได้นักว่าใช่หรือไม่ แต่มีหลักปรัชญาบางอย่างที่อยากจะชี้ให้เห็นคือ “ของบางอย่างนำมาใช้งานไม่ถูกประเภท ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรมาก” เช่น คิดอยากจะข้ามคลองสายนี้ เห็นต้นไม้ใหญ่ล้มพาดข้ามคลองไป เห็นว่าไม่ใช่สะพานจึงไม่ข้ามนั้น เป็นความเห็นชอบหรือไม่? ท่านคงจะได้คำตอบในใจดี.. นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆของตัวอย่างอีกมากมายในโลกซึ่งเชื่อว่าท่านคงจะพิจารณาเห็นได้ครับ เนื้อสัตว์อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมในการกินที่สุด แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่ที่สุดดุจยาพิษที่จะต้องปฏิเสธแบบหัวชนฝา แม้พืชบางอย่างอาจจะเป็นยาพิษได้ยิ่งกว่าเนื้อสัตว์เสียอีก เช่นเห็ดบางชนิด ก็เป็นเรื่องที่บัณฑิตต้องพิจารณาในการนำมากินต่อไป
สำหรับเนื้อต้องห้ามในทางพุทธศาสนานั้น พระพุทธองค์ได้ห้ามเพียงภิกษุไม่ให้ฉันเท่านั้น ไม่ได้ห้ามถึงอุบาสกอุบาสิกา แต่เราจะพิจารณาไม่กินตามนั้นก็ย่อมได้ มีดังนี้



เนื้อต้องห้ามมีเพียง ๑๐ ชนิดเท่านั้นครับ ไม่ใช่ห้ามทุกชนิดอย่างที่พุทธศาสนาในจีนนำไปบิดเบือนแต่อย่างใด
(๑)เนื้อมนุษย์ (๒)เนื้อช้าง (๓)เนื้อม้า (๔)เนื้อสุนัขบ้าน (๕)เนื้องู (๖)เนื้อราชสีห์หรือสิงโต (๗)เนื้อเสือโคร่ง (๘)เนื้อเสือดาว (๙)เนื้อหมี (๑๐)เนื้อสุนัขป่า




 

Create Date : 18 เมษายน 2551
8 comments
Last Update : 18 เมษายน 2551 16:55:26 น.
Counter : 1510 Pageviews.

 

สุขสันต์วันเกิดค่ะ

 

โดย: aseptic 19 เมษายน 2551 19:31:08 น.  

 

อมิตตาพุทธ ขอให้คุณพี่สมภพ เจ้าเก่า มีความสุขมากๆๆ สุขภาพแข็งแรงนะครับ

 

โดย: joblovenuk 19 เมษายน 2551 19:46:20 น.  

 

 

โดย: เพราะฉันห่างไกล 19 เมษายน 2551 20:06:25 น.  

 


ป้าเชิญนางฟ้า..มาอวยพรวันเกิดค่ะ
ขอให้พบแต่สิ่งดีๆ คนที่ดีมีจิตใจดี
และเหตุการณ์ดีๆรวมทั้ง...
ความรักที่ดีที่สุดในชีวิตนะคะ
หวังว่าคงจะไม่ช้าไปนะคะ
*********
*****


 

โดย: ป้าหู้เองจ่ะ (fifty-four ) 19 เมษายน 2551 20:06:31 น.  

 

ขอให้มีโชค
ขอให้โรคหาย
ขอให้ทุกข์คลาย
ไม่เดียวดายตลอดไป

+++สุขสันต์วันเกิดค่ะ+++


 

โดย: โสดในซอย 19 เมษายน 2551 22:04:01 น.  

 


>

 

โดย: ป้าตุ้ย (amornsri ) 19 เมษายน 2551 23:50:37 น.  

 

โอ้ววววว ขอบคุณมากๆครับ
19 เมษายน ปีนี้ ตรงกับวันเสาร์เหมือนกับ 19 เมษายน เมื่อ 28 ปีที่แล้วเลยน่ะครับ


เสียดายไม่ได้เปิดบล็อคพิเศษสำหรับวันเกิดตัวเองโดยเฉพาะสำหรับรับคำอวยพรครับ

 

โดย: สมภพ เจ้าเก่า 20 เมษายน 2551 9:53:06 น.  

 

ขอบคุณพี่สมภพมากที่นำบทความดีๆ มาให้อ่านครับผ๊ม

 

โดย: 76 (KuMp ) 8 มกราคม 2552 3:20:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมภพ เจ้าเก่า
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]




รูปภาพทั้งหมดในนี้ สามารถนำไปใช้ได้ฟรีนะครับ แต่ไม่ควรลบสัญลักษณ์แสดงความเป็นเจ้าของในรูปออกไป รูปใดไม่มีสัญลักษณ์ อยากให้ช่วยอ้างอิง จาก sompop.bloggang.com ด้วยครับ
Blog ล่าสุด
* สัมภาษณ์เทวดาในพระแก้วมรกต 18 มิ.ย. 60
* การสำรวจหินลอยได้ที่เขาคิชฌกูฏ 3 มี.ค. 60
* บทสัมภาษณ์เจ้าพ่อหลักเมือง กทม. 16 ธ.ค. 59
เรื่องเล่าบอกต่อ
* บั้งไฟพญานาค ถ่ายจากโดรนมุมสูง
* เชิญโหลด 7 ภาพยนต์เฉลิมพระเกียรติ
* เช็คอันดับ Blog ของคุณกับ truehits
Blog แนะนำ
* บทสัมภาษณ์เจ้าพ่อหลักเมืองกรุงเทพฯ 19 ก.ย. 57
* ยานพาหนะที่แล่นตามและทวนน้ำได้โดยไม่ใช้พลังงานอื่น
* ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ปี 2012
New Comments
Friends' blogs
[Add สมภพ เจ้าเก่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.