Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
25 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
ความหมายของวิชาวิทยาศาสตร์




ความหมายของวิชา วิทยาศาสตร์

วิทยา ศาสตร์(science) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนมีระเบียบแบบแผน


ความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์ จะมี 2 ส่วน

1. วิทยาศาสตร์หมายถึงความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามจากสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น

สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร

สิ่งต่างๆ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร

สิ่งต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันจะเป็นอย่างไรในอนาคต

มนุษย์ใช้ประโยชน์จาก สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้อย่างไรการการพยายามหาคำตอบจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ นำไปสู่ข้อสรุปเป็นข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด ทฤษฎี หลักการ และกฎต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสต


2. วิทยาศาสตร์ หมายถึง

กระบวนการค้นหาความ รู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีขั้นตอนและสามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์

องค์ประกอบของการศึกษาทางวิทยา ศาสตร์

1. กระบวนการ (process) หมายถึง การกระทำคนซึ่งอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การกำหนดปัญหา และการตรวจสอบสมมุติฐาน

2. ความรู้ (knowledge) ได้แก้ผลจากการกระทำของคน ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูล ข้อเท็จจริง ทฤษฎี และกฎ




กระบวนการหาความ รู้ของนักวิทยาศาสตร์

กระบวนการหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

1. "ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method)" หมายถึงวิธีการทำงานอย่างมีระบบ ซึ่งเริ่มจาก

1 การสังเกต(ทำให้เกิดความสงสัยและเป็นปัญหาเกิดขึ้น)

2 กำหนดปัญหาให้ชัดเจน

3 ตั้งสมมุติฐาน เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีเหตุผล

4. ออกแบบการทดลองและทำการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

5 สรุปผลการทดลองหลังจากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของผลการทดลองที่ได้อย่าง มีเหตุผล

จะเห็นว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์มี 5 ขั้นตอนนะจ้ะ

สังเกต-- ระบุปัญหา---ตั้งสมมุติฐาน---ทดลอง--สรุปผล--


2. "ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์"

เป็นส่วน ที่สอง หมายถึงความชำนาญและประสบการณ์ในการใช้ความคิดเพื่อแก้ปัญหา ทักษะที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและสรุปเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ประกอบ ด้วยทักษะพื้นฐานที่สำคัญดังนี้

ทักษะการสังเกต

ทักษะทักษะ การวัด

ทักษะทักษะการคำนวณ

ทักษะทักษะการจำแนกและจัดหมวด หมู่

ทักษะทักษะการหาความสัมพันธ์

ทักษะทักษะการลงความเห็น จากข้อมูล

ทักษะทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล

ทักษะ ทักษะการทำนาย

นี่ล่ะคือคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ที่จะเป็นนักวิทยา ศาสตร์ล่ะ ที่กล่าวมานั้นเป็นทักษะที่ใช้ให้การคิดเพื่อแก้ปัญหาสรุปผล แต่ในขั้นการออกแบบการทดลอง เพื่อทำการตรวจสอบสมมุติฐานยังต้องอาศัยทักษะกระบวนการขั้นผสม..ที่ซับซ้อน ขึ้นอีก(เล็กน้อย) ได้แก่

ทักษะการตั้งสมมุติฐาน(ต้องตั้งเก่งด้วย)

ทักษะ การกำหนดและควบคุมตัวแปร (เพื่อให้ผลทดลองออกมาน่าเชื่อถือ)

ทักษะ การกำหนดเชิงปฏิบัติการ (คือการกำหนดขั้นตอนวิธีการทดลอง)

ทักษะการ ทดลอง (ใช้อุปกรณ์เป็นเปล่า..แถวนั้น)

ทักษะการตีความหมายข้อมูลและ ลงข้อสรุป(ต้องดูผลการทดลองแล้วแปลความหมายเป็นด้วย ไม่ใช่เอาไปไบ้หวย อิอิ)





3. ส่วนที่ 3 (สุดท้าย)

ของกระบวนการหาความ รู้ทางวิทยาศาสตร์คือ "เจตคติทาง วิทยาศาสตร์" หมายถึงคุณลักษณะของบุคคลที่มีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมของตนออกมา ซึ่งจะมีผลต่อความสำเร็จของงานทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมากเลย พูดง่ายๆ คือนิสัยส่วนตัวของคนนั่นล่ะ

ซึ่งลักษณะที่สำคัญได้แก่

การ เป็นคนช่างสังเกต(สำคัญมากข้อนี้หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ในการพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างละเอียด แต่ต้องระวังความปลอดภัยด้วยนะ)

เป็นคนช่างสงสัย

เป็น คนมีเหตุผล

เป็นคนมีความพยายามและอดทน (ลองไปอ่านประวัตินักวิทยาศาสตร์ดูในห้องความรู้จะเห็นว่าพวกเขาต้องพยายาม กันมากกว่าจะค้นพบ) เป็นคนที่มีความพยายามและริเริ่ม เป็นคนทำงานอย่างมีระเบียบระบบเป็นขั้นตอนตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์


ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์: กิตติยาดอทคอม
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต

ผู้ มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com


Create Date : 25 มีนาคม 2553
Last Update : 25 มีนาคม 2553 13:32:13 น. 0 comments
Counter : 166 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

somkitjar
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add somkitjar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.