space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2567
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
8 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

กระแสวิมุตติ กระทู้สนทนา ติดตาม มหาสติปัฏฐาน 4 บุคคลมุ่งกระแสนิพนาน จิตมีการดำเนิน2แบบ 1.จิตวิมุตติ

กระแสวิมุตติ


กระทู้สนทนา

มหาสติปัฏฐาน 4

บุคคลมุ่งกระแสนิพนาน จิตมีการดำเนิน2แบบ
1.จิตวิมุตติ จิตอยู่เหนือขันธ์ วางขันธ์ จิตกว้างคลุมอารมณ์อยู่ทั้งภายใน ภายนอก
2.จิตอยู่กับขันธ์ รู้เหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น อะไรกระทบ แต่ไม่เกิดเวทนา ตาเห็น เสียงได้ยิน สัญญา ความคิดมีแต่เป็นผู้ดู วิญญานทางอายาตนเกิดแต่ไม่ไปตามวิญญาน
 บุคคลตกกระแสนิพพานจึงต้องเห็น เข้าใจจิตก่อนว่าเป็นอย่างไร ต่างกับความหมายวิญญานอย่างไร
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3237158 

ความคิดเห็นที่ 1ไม่เกิดเวทนา...? ได้หรือ...?
เวทนามันคือนามขันธ์
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 869744
23 ชั่วโมงที่แล้ว
ดู 5 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 21. เป็นเพียงเจโตวิมุตติ  ยังไม่ใช่ปัญญาวิมุตติ

2. เวทนาเกิดเสมอ ไม่ใช่ไม่เกิด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

....
ถ้าจะกล่าวถึงนิพพาน ถึงอริยะบุคคล
ควรตั้งประเด็นไปที่กิเลส
ไม่ใช่สภาวะของจิตที่อาจพบได้ในสมาธิ ซึ่งอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับการละกิเลส

บุคคลตกกระแสนิพพาน ควรเห็นกิเลส เข้าใจกิเลส(สังโยชน์ทั้ง 10)
ตอบกลับ
0
 
0
 

จางซานฟง  
22 ชั่วโมงที่แล้ว
ดู 4 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 3ผู้เริ่มเห็นหรือตก กระแสนิพพาน (โสดาบัน)จึงเป็นผู้ที่เห็นจิตที่แยกจากกาย,แยกจากอารมณ์,ขันธ์ และเห็นว่าจิตไม่ใช่วิญญาน ตามกระทู้
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3237158 
22 ชั่วโมงที่แล้ว
ดู 2 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 4ตอบ3-1 นายคนนี้ซื่อบื้อจริง ดันไปเรื่อยแต่ไม่รู้ว่าทิ้งอะไรไว้ข้างหลัง ไม่เห็นช่องโหว่ตัวเอง
จิตรับรู้อารมณ์ได้ทุกทางอายาตน จิตรับรู้แต่ทางมโน แล้วตาหูจมูกลิ้น กาย หายไปไหน
เห็นคนสัตว์ ไม่ใช่คนสัตว์ เห็นตัวเองไม่ใช่ตัวเอง ได้ยินเสียง เห็นภาพ จิตไม่ไหลไปตามอารมณ์ ตามขันธ์ อย่างนี้แหละที่เขาเรียกแยกจากขันธ์ เข้าใจตรงนี้หรือเปล่า ถ้าไม่เข้าใจก็ไปนับหนึ่งภาวนาใหม่
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3237158 
21 ชั่วโมงที่แล้ว
ดู 20 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 5พอแล้ว เมี้ยว เมี้ยว เมื่อยปาก
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3237158 
19 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 6โอวัลตินถ้าจะคุยกับผม ผ่านเลขาผมก่อนนะ

ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3237158 
19 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 7คุยกับเด็ก คนบ้า คนเมา ยังง่ายกว่า เพราะคน เด็กยังโต หายบ้า หายเมา แต่เจ้าลัทธินี่สิ ยิ่งเจ้าลัทธิที่อิ๊บเอาศัพท์ในศาสนามามโนเป็นลัทธิตูด้วยแล้ว
ตอบกลับ
0
 
0
 

โอวันติ 
18 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 8นานาปัญหา
โดย คณะสหายธรรม

๓๒. วิมุตติ
          ถาม  วิมุตติ คืออะไร?

          ตอบ  พระพุทธศาสนาแสดงวิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
          ๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
          ๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
          ๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
          ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
          ๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน
          ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็นโลกุตตระ ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่าวิมุตติญาณ
          ในอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ว่า
          [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

+++++++++++++++++++++++++++++++++

ต้องการนิพพานต้องรู้ถูก
https://pantip.com/topic/30134196/comment5

สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ
จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ
โส อิมํ วิชฏเยชฏํ



ความว่า นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้

ความหมายของพระนิพพานจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
https://pantip.com/topic/31817916/comment1

https://pantip.com/topic/33679699/comment15

นิพพานมี ๒  ประเภท
                  นิพพาน  เมื่อกล่าวโดยปริยายแห่งเหตุ(การณูปจารปัจจัย)แล้ว มี  ๒  ประเภท  คือ
                 ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน   ได้แก่  นิพพานที่เป็นไปกับขันธ์ ๕    = ทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานํ
                  ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน   ได้แก่  นิพพานที่ไม่มีขันธ์ ๕


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สภาพของนิพพาน
https://abhidhamonline.org/aphi/p6/084.htm
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3402001  
16 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 9ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เปรียบเหมือนสุนัขถูกผูกด้วยเครื่องผูกสุนัขแล้ว ซึ่งเขาผูกไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง  :
ถ้ามันจะเดินก็เดินเบียดหลักหรือวนเสา นั้นเอง,  ถ้ามันจะยืนก็ยืนเบียดหลักหรือวนเสา นั้นเอง,  ถ้ามันจะนั่งก็นั่งเบียดหลักหรือวนเสา นั้นเอง,  ถ้ามันจะนอนก็นอนเบียดหลักหรือวนเสาอยู่นั้นเอง,  อุปมานี้  ฉันใด ;  🦮
.....
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา.  
...ตามเห็นเวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ โดยความเป็นอัตตา  
...ตามเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
...ตามเห็นวิญญาณในอัตตาหรือตามเห็นอัตตาในวิญญาณ.

เขาจะแล่นวนเวียน   รูป  เวทนา  สัญญา   สังขาร  วิญญาณ  อยู่.  

เมื่อเขาแล่นวนเวียน   รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  อยู่  ก็จะไม่พ้นจากรูป จากเวทนา  จากสัญญา  จากสังขาร   จากวิญญาณ  
จะไม่พ้นจาก  ชาติ ชรา  มรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  อุปายาส.  
เราตถาคตกล่าวว่า เขาจะไม่พ้นไปจากทุกข์.

ข้อนี้ก็ฉันนั้น ถ้าบุถุชนนั้นเดินอยู่ก็เดินอยู่ใกล้ ๆ  ปัญจุปาทานักขันธ์นี้เอง,  
ถ้าบุถุชนนั้นยืนอยู่ก็ยืนอยู่ใกล้ ๆ  ปัญจุปาทานขันธ์นี้เอง,  
ถ้าบุถุชนนั้นนั่งอยู่ก็นั่งอยู่ใกล้ ๆ  ปัญจุปาทานักขันธ์นี้เอง,  
ถ้าบุถุชนนั้นนอนอยู่  ก็นอนอยู่ใกล้ ๆ  ปัญจุปาทานักขันธ์นี้เอง.
.....

ป.ล. อวิชชา คือถูกล่ามไว้กับเสาหรือหลัก..
ตัณหา คือ เครื่องผูกหรือเชือก 🪢
วัฏสงสาร หรือกิเลสวัฏฏะ คือ วนเวียนเสาหรือหลัก..
สุนัข ก็คือ อุปาทานขันธ์ 5 🐶.
เดิน... ยืน ... นั่ง ... นอน ... คือ สภาพของจิต(เป็นต้น).

วิมุติ(จิต)คือ หลุดพ้นไปจากเครื่องผูก(เป็นต้น)  และเสาหรือหลักแล้ว(ด้วยปัญญา...).

อินทรีย์ 5(ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล่นไปในรูป  เสียง  กลิ่น   รส โผฏฐัพพะ) แล่นไปสู่ใจ(มโนธาตุ)+มโนวิญญาณ(ธรรมารมณ์), ใจแล่นไปสู่สติ(ระลึกชอบในสติปัฏฐาน 4), สติแล่นไปสู่วิมุตติ,
ก็วิมุตติแล แล่นไปสู่นิพพาน แล.


ดูด่อนภิกาทั้งกลาย เพราะฉะนั้น  ในเรื่องนี้  บุคคลควรพิจารณาดูจิตของตนอยู่เสมอไป ว่า  “จิตนี้  เศร้าหมองแล้ว ด้วยราคะ โทสะ และโมหะ  ตลอดกาลนาน”  ดังนี้เถิด.

หมายเหตุ:จิตในที่นี้ เป็นธรรมชาติอันประภัสสร หรือภวังคจิต๑เป็นสภาพก่อนรับรู้อารมณ์ ยังไม่ขึ้นสู่วิธี.....

@๑ ภวังคจิต นี้ คือมโน ที่เป็นอายตนะที่ ๖ หรือมโนทวาร อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน ยังไม่ขึ้นสู่วิถีรับรู้อารมณ์ (เป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ)
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7769583
12 ชั่วโมงที่แล้ว
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 10...เอาอีกแล้วนะ หมาน้อย  ไม่ยอมสร่างซาซะที...อะไรกันนักกันหนา...??
ตอบกลับ
0
 
0
 

ผีเสื้อพเนจร 
12 ชั่วโมงที่แล้ว
 
ความคิดเห็นที่ 11บุคคลมุ่งกระแสนิพนาน    นิพนาน นี่ คืออะไรครับ


Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2567 7:38:20 น. 0 comments
Counter : 24 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7881572
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7881572's blog to your web]
space
space
space
space
space