space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2567
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
8 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

"สมาธิ" ดับกิเลสแล้วสมาธิจึงเกิด หรือทำให้เกิดสมาธิก่อนแล้วเอาไปดับกิเลส กระทู้คำถาม ติดตาม ศาสนาพุท

"สมาธิ" ดับกิเลสแล้วสมาธิจึงเกิด หรือทำให้เกิดสมาธิก่อนแล้วเอาไปดับกิเลส


กระทู้คำถาม

ศาสนาพุทธศาสนาปฏิบัติธรรมพระไตรปิฎกพระธรรม

สวัสดีครับ

         ศึกษาตามคำสอน ทำความเข้าใจพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้
ท่านสมาชิกมีความเข้าใจว่าอย่างไร  "ดับกิเลสได้แล้วจึงเกิดสมาธิ  หรือทำให้
เกิดสมาธิก่อนแล้วจึงเอาไปดับกิเลส"  

              ขอบคุณครับ
0
 
0
 

จุ๊ด.จุ๊ด 

ความคิดเห็นที่ 1ศีล สมาธิ ปัญญา

เมื่อมีศีล จะเป็นหนทางทำให้เกิดสมาธิ สมาธิจะนำไปสู่ปัญญา ปัญญาจะทำให้รู้แจ้งเห็นจริงในกิเลส
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 4070728 
8 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 2ตามที่กล่าวกัน  สมาธิ นั้นข่มกิเลสด้วยให้จิตเป็นหนึ่ง การดับกิเลสเป็นหน้าที่ของ ปัญญา  ตามพระอรรถกถาที่ว่า

สติ      มีหน้าที่กั่นกระแสกิเลส
สมาธิ   มีหน้าที่ระงับกิเลสให้หยุดนิ่งมีจิตเป็นหนึ่ง
ปัญญา มีหน้าที่ตัด/ดับ กระแสกิเลส
ตอบกลับ
0
 
0
 

P_vicha  
8 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 3เมื่อศึกษาได้หลักแล้ว ก็ใช้หลักนั้นตัดสินได้ไม่ยาก เช่น โสดาปัตติมรรคเป็นต้นเกิดขึ้นขณะใด ขณะจิตขณะเดียวนั้น ย่อมเป็นขณะจิตตั้งมั่น เป็นขณะละกิเลสอันเป็นเหตุให้อริยผลของตนเกิดในขณะจิตถัดมา เป็นพระอริยเจ้าผู้พ้นจากกิเลส เป็นขณะประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 ในองค์ 8 เหล่านั้น องค์ใดจัดเป็นศีล องค์ใดจัดเป็นสมาธิ องค์ใดจัดเป็นปัญญา ส่วนขณะโลกียมรรคที่ดำเนินมาก่อนหน้าอย่างยาวนานนั้น ยังไม่ชื่อขณะละหรือดับกิเลส อันจะให้สำเร็จอริยผลเป็นขณะถัดมา ใช้หลักนี้เข้าไปจับ จะได้บทสรุปที่แน่นอน ไม่ต้องโวหารมากครับ
ตอบกลับ
0
 
0
 

โอวันติ 
6 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 4...สมาธิ จะดับกิเลสระดับกลาง(ระดับปริยุฏฐาน) ได้ชั่วคราว ตราบเท่าที่ยังมีกำลังข่มได้อยู่ เหมือนหินทับหญ้า
...ปริยุฏฐานกิเลส หรือ กิเลสระดับกลาง ได้แก่ อุปกิเลส ๑๖ และ นิวรณ์ ๕
...ถ้าพูดตามสภาวะความเป็นจริง เมื่อฝึกๆๆไป จนจิตมีกำลังของกุศลมากพอ จิตก็จะรวมลงเป็นสมาธิ ในขณะนั้น อุปกิเลส ๑๖ และ นิวรณ์ ๕ ก็จะดับหายไป
...ลองเทียบดู  ถ้าพลุระเบิดบนท้องฟ้าในคืนเดือนมืด ...ปรากฏการณ์ต่างๆต่อไปนี้ อะไรจะเกิดก่อน ? คือ แสงสว่าง , เสียง , ควัน , ความร้อน , ความมืดที่หายไป ...ทำนองเดียวกัน ฉันใดก็ฉันนั้น
ตอบกลับ
0
 
0
 

ผีเสื้อพเนจร 
5 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 5เป็นคำถามที่ดี

ไม่มีปุถุชนคนใดในโลกนี้ที่สามารถละกิเลสได้ อย่างมากก็แค่ข่มมันไว้ ฝืนมันไว้ และพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอนให้ใครทำแบบนั้น

พระพุทธเจ้าสอนให้เรา "ละอกุศล" และทำสิ่งที่เป็นกุศลมากๆ (กุศลกรรมบถ 10 ประการ)

เวลาที่กิเลสเกิดขึ้น เหมือนน้ำที่เอามารดต้นไม้ (ต้นปัญญา) แต่เรากลับเลือกที่จะเทน้ำนั้นทิ้ง แล้วแบบนี้ ต้นไม้จะโตได้อย่างไร?

คงได้ยินครูบาอาจารย์ย้ำอยู่เสมอว่า กิเลสเกิดขึ้น ให้ "รู้" ไม่มีครูบาอาจารย์ท่านใดสอนว่าให้ละ เพียงแต่ตอนที่รู้มันก็จะดับของมันไปเอง

เพื่อความเข้าใจ ผมขอยกตัวอย่าง เช่น เรากำลังขับรถอยู่ดีๆ มีคนขับมาปาดหน้าเรา หรือขับมาเบียดเราเพื่อแทรก ตอนนั้น ความโกรธเกิดขึ้นเต็มร้อย

สิ่งแรกที่เราควรละคืออะไร? คือ "การด่า" เป็นหนึ่งในอกุศลกรรมบถที่เราต้องละ แต่ความโกรธเราไม่ต้องไปละมัน แต่ให้ดูมัน ดูความโกรธที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ไม่ต้องพยายามทำให้มันดับหรือทำให้หายโกรธ และไม่ต้องไปสนใจคนที่ขับมาปาดเรา (ไม่ส่งจิตออกนอก อยู่ที่ตัวเราเท่านั้น)

ถ้าความโกรธมันไม่หาย อาจจะช่วยมันหน่อยก็ได้ว่า "เมิงอยากโกรธก็โกรธไป" แต่นั่นต้องเป็นมือใหม่มากๆ เพราะตอนที่เรารู้ว่าโกรธ ถ้าไม่คิดหรือไม่ปรุงแต่งเดี๋ยวมันก็ดับ

แต่มันจะดับหรือไม่ดับก็ไม่ต้องไปสนใจ เรื่องของมัน ดูมันเฉยๆ

สังเกตว่า การที่เราอยากให้ความโกรธดับ มันคือสมุทัย พระพุทธเจ้าให้เรา "ละสมุทัย" ซึ่งก็คือ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย (เพราะทั้งความอยากและความไม่อยาก ล้วนเป็นสมุทัยทั้งสิ้น)

บางคนอาจจะถามว่า แล้วพวกอกุศลทั้งหลายที่เราละมัน เช่น เราอยากด่าแต่ไม่ให้ด่า มันต่างกันยังไง?

ถ้าเราละอกุศลมากๆ ทำสิ่งที่เป็นกุศลมากๆ สิ่งที่เป็นอกุศลมันจะค่อยๆ ลดลงไปเอง เช่น ต่อไปเวลาที่คนขับรถมาปาดหน้าเรา หรือเบียดเรา เราก็อาจจะรู้สึกเฉยๆ หรือชะลอรถให้เขาแทรก ทั้งสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ก็จะเจริญมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งการหมั่นละอกุศลและทำสิ่งที่เป็นกุศล ก็คือ สัมมาวายามะ นั่นเอง เป็นประตูไปสู่การเจริญสัมมาสติ เพราะการเจริญสติ ต้องใช้จิตที่เป็นกุศลเท่านั้น

ส่วนคำถามที่ถามเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ ผมคิดว่าคงไม่ต้องตอบ เพราะมันไม่เกี่ยวกับการเจริญปัญญา
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 3344432 
1 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 6
ต้องถาม คนเคย เหาะๆ อยู่ แล้ว ร่วงตุ๊บ ฮับ

เป็นฤาษี เหาะได้ จะเริ่ม ฝึกสมาธิ(พุทธ) จะต้องเริ่มยังไง

ใครเป็น ยักษ์จำไร ก็จะบอกว่า ไปทำกะลาถะเพิ่ม โอ้ละพ่อ

สัลเลขา ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า ต้อง ฉั๊บ ฉั๊บ ฉั๊บ !!!

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ 1 ชั่วโมงที่แล้ว
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7720522
1 ชั่วโมงที่แล้ว
ดู 1 ความเห็นย่อย
ความคิดเห็นที่ 7
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7918243
1 ชั่วโมงที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 8มันจะมีอยู่คำนึง
"ฉันทะ"
ตอบกลับ
0
 
0
 

ปัญญาประดิษฐ์ 
38 นาทีที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 9190 บำเพ็ญสมาธิทำไม?

ปัญหา การบำเพ็ญสมาธินั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะทำลายกิเลส แล้วบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์เท่านั้นหรือ?

หรือว่ามีจุดมุ่งหมายอย่างอื่นด้วย ?


พุทธดำรัสตอบ

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนามีอยู่ ๔ ประการ คือ สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญแล้วเพิ่มพูนแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑....

ย่อมเป็นไปเพื่อให้เกิดจากเป็นแจ้งด้วยญาณ ๑....

ย่อมเป็นไปเพื่อ (ความสมบูรณ์แห่ง) สติสัมปชัญญะ ๑....

ย่อมเป็นไปเพื่อความหมดสิ้นแห่งอาสวะ ๑.....”

สมาธิสูตร จ. อํ. (๔๑)
ตบ. ๒๑ : ๕๗ ตท. ๒๑ : ๕๒
ตอ. G.S. II : ๕๑-๕๓


____________________

191 สมาธิเพื่ออยู่เป็นสุข

ปัญหา การบำเพ็ญสมาธิภาวนาเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันคืออย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (มีจิต) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วบรรลุฌานที่หนึ่ง อันประกอบด้วยความตรึก ความครอง ความอิ่มเอิบใจ และความสุขที่เกิดแต่ความสงบดำรงในฌานนั้น


“แล้วบรรลุถึงฌานที่สอง ซึ่งจิตมีความเป็นหนึ่งแน่วแน่ ผ่องใสอยู่ภายใน ไม่มีความตรึกความตรอง เพราะความตรึกความตรองระงับไป มีแต่ความอิ่มเอิบใจ และความสุขที่เกิดแต่สมาธิ ดำรงอยู่ในฌานนั้น


“ต่อจากนั้นก็มีใจสงบนิ่ง เพราความอิ่มเอิบใจระงับไว้ มีความตื่นตัว ความรู้ตัว เสวยสุขด้วยนามกาย แล้วบรรลุฌานที่สาม ที่พระอริยสรรเสริญรู้ได้ฌานนี้ ย่อมมีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขเป็นประจำ


“ต่อจากนั้นก็บรรลุฌานที่สี่ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ และดับโสมนัสโทมนัสเดิมได้ มีแต่อุเบกขาและสติอันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในฌานนั้น

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน”

สมาธิสูตร จ. อํ.

______________________

192 สมาธิเพื่อให้เกิดฌาน

ปัญหา จะบำเพ็ญสมาธิแบบไหน อย่างไร จึงจะเป็นเหตุให้เกิดการเห็นแจ้งด้วยฌาน ?

พุทธดำรัสตอบ

“..... ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาให้เกิดความเข้าใจหมายรู้ว่ามีแสงสว่างภายในใจ (อาโลกสัญญาพยายามสร้างความจำหมายว่าเป็นกลางวัน (ทิวาสัญญา) ให้เกิดขึ้นในใจ คิดว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงบระงับปราศจากเครื่องผูกมัด อบรมจิตให้มีความสว่างไสวอยู่....

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้...ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดการเห็นแจ้งด้วยญาน.....”

สมาธิสูตร จ. อํ.

__________________

193 สมาธิเพื่อสติสัมปชัญญะ

ปัญหา จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาแบบไหน อย่างไร จึงจะเป็นเหตุให้สติสัมปชัญญะเจริญไพบูลย์ ?

พุทธดำรัสตอบ

“..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้แจ้งเวทนาที่กำลงเกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่กำลังดับไป

รู้แจ้งสัญญาที่กำลังเกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่กำลังดับไป

รู้แจ้งวิตกที่กำลังเกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่กำลังดับไป

“..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้ ที่บุคคลเจริญพัฒนาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ”

สมาธิสูตร จ. อํ.

______________

194 สมาธิเพื่อดับอาสวะ

ปัญหา จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาแบบไหน อย่างไร จึงจะทำให้อาสวะดับได้ ?

พุทธดำรัสตอบ

“..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าอยู่เป็นประจำว่า

รูปเป็นดังนี้
ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้

“เวทนา....
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา.... ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้

“สัญญา....
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา.... ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้

“สังขาร....
ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร.... ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้

“วิญญาณ....
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ.... ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้

“..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้..... ย่อมเป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ....”

สมาธิสูตร จ. อํ.
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 7326608
27 นาทีที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 10สมาธิไม่ได้ดับกิเลส ไม่ใช่หน้าที่ของสมาธิ
เกิดสมาธิแล้วจึงไปดับกิเลส ความหมายคือ ตั้งใจ/ตั้งมั่น/พยายามที่จะดับกิเลส
ตอบกลับ
0
 
0
 

สมาชิกหมายเลข 1163497 
25 นาทีที่แล้ว


Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2567 7:34:29 น. 0 comments
Counter : 29 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7881572
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7881572's blog to your web]
space
space
space
space
space