Group Blog
 
<<
มีนาคม 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
30 มีนาคม 2549
 
All Blogs
 

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 : อำนาจของนายกรัฐมนตรี

[สารบัญ] [อ่านเรื่องอื่น]



ตัดตอนมาจาก

มติชนรายวัน
วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10246



"สถานการณ์ฉุกเฉิน"ที่น่าสะพรึงกลัว

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


click อ่านฉบับเต็มได้ครับ


พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 16 กรกฎาคม 2548)

"สถานการณ์ฉุกเฉิน" หมายความว่า "สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง"

มาตรา 5 บอกว่า เมื่อปรากฏว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น (ที่มีความหมายกว้างดังข้างต้น) และนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรใช้กำลังเจ้าหน้าที่ปกครอง ตำรวจ ทหาร เข้าแก้ไขปราบปรามให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักร หรือในบางเขตบางท้องที่ได้ตามความจำเป็น

ในกรณีที่ไม่อาจขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีได้ทันท่วงที นายกรัฐมนตรีอาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปก่อนแล้วดำเนินการให้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในสามวัน หากมิได้ขอภายในกำหนดหรือคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง

ช่วงเวลาของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วแต่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ไม่เกินสามเดือน หากจำเป็นให้ขยายเวลาคราวละไม่เกินสามเดือน โดยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วย

อย่างไรก็ดี ให้มีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินคณะหนึ่ง (มาตรา 6) ประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ มีรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงมหาดไทย ยุติธรรม กลาโหม และปลัดกระทรวงอื่นๆ ตลอดจนผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และข้าราชการอื่นๆ อีกเป็นกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่ติดตามและตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินข้างต้น หรือสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง ((มาตรา 11) อันได้แก่ก่อการร้าย มีการใช้กำลังประทุษร้ายชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือมีเหตุเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล) และเสนอแนะการใช้มาตราที่เหมาะสม

การมีคณะกรรมการชุดนี้ไม่กระทบกระเทือนการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 5 ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือพูดง่ายๆ ว่ายังไงๆ นายกรัฐมนตรีก็มีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเองได้อยู่ดี

เมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

(1) ห้ามบุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด

(2) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ

(3) ห้ามการเสนอข่าวจำหน่ายหรือแพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ ในเขตพื้นที่ประกาศหรือทั่วราชอาณาจักร

(4) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

(5) ห้ามการใช้อาคารหรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ

(6) ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนด

สำหรับสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง (มาตรา 11) นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยนอกจากมีอำนาจดังกล่าวข้างต้นแล้ ยังมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย

(1) ให้เจ้าหน้าที่จับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำ

(2) ให้เจ้าหน้าที่เรียกบุคคลมารายงานตัว หรือให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบเอกสาร

(3) ให้เจ้าหนี้ยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค

(4) ให้เจ้าหน้าที่ตรวจ ค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวางตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่

(5) ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข หรือสิ่งสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนสั่งระงับ หรือยับยั้งการติดต่อหรือสื่อสาร

(6) ประกาศห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน

(7) ประกาศห้ามบุคคลออกนอกประเทศ

(8) ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง ฯลฯ




เมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว นายกรัฐมนตรีมีอำนาจไม่ต่างไปจากหัวหน้าคณะปฏิวัติในอดีต ถ้ามองในแง่ดีก็เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เป็นอันตรายต่อประเทศและประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้ามองในแง่ลบแล้ว ถ้ามีการลุแก่อำนาจเพื่อทำลายผู้ที่มีความเห็นแตกต่างแล้ว ก็จะเป็นอันตรายต่อชาติอย่างยิ่ง

ในโลกที่เต็มไปด้วยกฎ ไม่ว่ากฎแห่งกรรม หรือกฎแห่งแรงสะท้อน ถ้าหากไม่มีเงื่อนไขเพียงพอต่อการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว แรงสะท้อนกลับสู่ตัวนายกรัฐมนตรีก็จะรุนแรงอย่างทัดเทียมกันกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจนอาจทำลายตัวผู้ประกาศได้อย่างทันควันเช่นกัน





[สารบัญ] [อ่านเรื่องอื่น]
[หน้าแรก Blog]




 

Create Date : 30 มีนาคม 2549
1 comments
Last Update : 27 สิงหาคม 2549 19:35:26 น.
Counter : 2098 Pageviews.

 

เห็นด้วย และ เชื่อในกฏของแรงสะท้อน ของทุกอย่างเป็นลูกโซ่เชื่อมต่อถึงกัน entropy เรียนไม่เคยรู้เรื่องเลย แต่ชอบ

 

โดย: Birth IP: 202.28.181.9 30 มีนาคม 2549 21:55:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Plin, :-p
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]









Instagram






บันทึก ท่องเที่ยว เวียดนาม


e-mail : rethinker@hotmail.com


Friends' blogs
[Add Plin, :-p's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.