Home ตั้งเวปนี้เป็นหน้าแรก

PIWAT
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




Online Users
     

Custom Search

วิทยุธรรมะออนไลน์ Free counter and web stats
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
17 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add PIWAT's blog to your web]
Links
 

 

ปริญญาตรี วิชา"เพลงลูกทุ่ง-ลูกกรุง"

      เอ่ยถึงลูกทุ่ง - ลูกกรุง เด็กสมัยใหม่ส่วนใหญ่ก็แทบจะร้องยี้! ด้วยเพราะค่านิยมทางสังคมที่ฝังหัวมาตลอดว่าเป็นของที่พ้นสมัยและเฉิ่มเชย ทำให้เพลงลูกทุ่ง – ลูกกรุง ทั้งหลายกลายเป็นดนตรีเฉพาะกลุ่มและมีผู้สนับสนุนที่โดยมากแล้วจะเป็นวัยผู้ใหญ่ และมีเด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย ทั้งที่ความตั้งใจในการรังสรรค์ผลงาน ลูกทุ่ง – ลูกกรุง เหล่านั้น มีมากไม่แพ้งานศิลปะแขนงอื่น ๆ เลย

      อย่างไรก็ตาม ขณะมีเรื่องที่น่าดีใจเกิดขึ้นคือ ล่าสุด ม.รามคำแหง ได้ตั้ง คณะศิลปกรรมศาสตร์ ขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งเปิดการเรียนการสอนในสาขาดนตรีไทยสมัยนิยมขึ้น โดยแบ่งออกเป็น วิชาเอกดนตรีลูกกรุง และ วิชาเอกดนตรีลูกทุ่ง ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ล่าสุดของการศึกษาไทยเลยก็ว่าได้ เนื่องเพราะแม้จะมีสถาบันการศึกษาอื่นเปิดสอนด้าน ดนตรีลูกทุ่ง บ้าง แต่ก็ไม่เคยแยกออกเป็นวิชาเอกเช่นนี้ ส่วน ดนตรีลูกกรุง นั้นแทบไม่เคยมีปรากฏเลย


ครู สุเทพ วงศ์กำแหง ขณะกำลังร้องเพลง โดยมี อ.ธนิศร์ ศรีกลิ่นดี รับอาสาบรรเลงคีย์บอร์ดคลอตามไปด้วย

ระดมขุนเพลงถ่ายทอดวิชา
      ดร.สมศักดิ์ เกตุแก่นจันทร์ รักษาราชการรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.รามคำแหง อาจารย์หนุ่มไฟแรงผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการดนตรีไทยมากกว่า 20 ปี เปิดเผยถึงที่มาของการเปิด คณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะ สาขาดนตรีลูกทุ่ง และลูกกรุงว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา รามคำแหงได้ดำเนินนโยบายในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสืบสานเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติมาโดยตลอด อาทิ การจัดตั้ง “โขนรามคำแหง” ที่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง การเปิดการเรียนการสอนด้านดนตรีลูกทุ่งและลูกกรุงก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวเช่นเดียวกัน

      ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ทางคณะฯ ได้เปิดสอน 3 สาขา 4 วิชาเอก คือสาขานาฏกรรมไทย , สาขาดนตรีไทย,และ สาขาดนตรีไทยสมัยนิยม ซึ่งแบ่งเป็น 2 วิชาเอก คือ ดนตรีลูกทุ่ง และ ดนตรีลูกกรุง โดยในสาขาสุดท้ายนั้นและแบ่งกลุ่มการศึกษาออกเป็นสามกลุ่มเพื่อตอบสนองความถนัดและความสนใจที่ผู้เรียนสามารถเลือกได้คือ กลุ่มการขับร้อง,กลุ่มการดนตรี และ กลุ่มการประพันธ์

      “ผมเชื่อว่า คณะฯและหลักสูตรทั้งหมดของเรา จะสามารถตอบโจทย์ของคนหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มนักศึกษาผู้ที่พลาดในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐในด้านดนตรี และกลุ่มคนทำงานเพลงลูกทุ่งและลูกกรุงที่อยากเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพ โดยเบื้องต้นการเปิดคณะฯ เป็นครั้งแรกคาดว่าจะมีนักศึกษาให้ความสนใจมาลงเรียนประมาณ 100 คน”ดร.สมศักดิ์กล่าวถึงเป้าหมาย

      แต่ที่พิเศษมากไปกว่านั้น และที่ถือเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ทางการศึกษาก็คือทางสถาบันได้รวบรวมเอาบุคลากรที่ถือเป็น “สุดยอด” ทางด้านดนตรีลูกทุ่งและลูกกรุงใต้ฟ้าเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น สุเทพ วงศ์กำแหง สลา คุณวุฒิ โฉมฉาย อรุณฉาน ธนิศร์ ศรีกลิ่นดี ธีระ ภู่มณี บุญช่วย โสวัตร ฯลฯ มาเป็น อาจารย์พิเศษ ที่พร้อมจะนำประสบการณ์ด้านดนตรีที่สั่งสมมาตลอดชีวิต มาถ่ายทอดให้แก่ศิษย์เพื่อสร้าง “คนดนตรี” รุ่นต่อไปด้วย
อ่านต่อ //www.norsorpor.com/go2.php?...




 

Create Date : 17 พฤษภาคม 2550
8 comments
Last Update : 4 มิถุนายน 2550 15:18:54 น.
Counter : 940 Pageviews.

 

อนุรักษ์เพลงไทยนะคับ

 

โดย: frank3119 17 พฤษภาคม 2550 0:33:28 น.  

 

สมัยก่อนโน้น ก็พยายามให้อนุรักษ์เพลงไทยเดิม
อย่าง ดาวดวงเดือน ที่ขึ้นต้นว่า
โอละหนอ ดวงเดือนเอย...อิอิ
แต่อย่างว่าอ่ะครับ เพลงมันอืดอาดยืดยาดเกิ้น หุหุ
ขนาดทำนองก็ว่าไพเราะแล้วนะครับ ยังไปไม่รอด

 

โดย: smack 17 พฤษภาคม 2550 0:59:19 น.  

 

น่าดีใจจริงๆ ค่ะที่ ม.รามคำแหงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ไม่งั้นคนก็ไปเห่อเพลงฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี กันหมดแล้ว ...แย่ๆๆๆ

 

โดย: the Vicky 17 พฤษภาคม 2550 5:28:39 น.  

 

ขอบคุณมาก ๆ เลยนะคะสำหรับข้อมูล เดี๋ยววันนี้ไปจัดรายการ "อมตะลูกกรุง" จะขออนุญาตนำเรื่องนี้ไปเล่าให้คุณผู้ฟังฟังสักหน่อยนะคะ

น่าเสียดายนะคะที่อัจฉิรยะบุคคลด้านการแต่งเพลงอย่าง อ.สง่า อารัมภีร์ (ผู้แต่งเพลงน้ำตาแสงใต้, เรือนแพ ฯลฯ) และครูเพลงที่เก่ง ๆ อีกหลายต่อหลายท่านไม่ได้อยู่ถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ๆ อย่างเร็ว ๆ นี้ คุณป้าโจ๊ว เพ็ญศรี พุ่มชูศรีท่านก็เพิ่งจะเสียชีวิตไป ไม่เช่นนั้นเราจะมีทั้งครูเพลงและนักร้องคุณภาพอีกมากมายที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์ตรงให้กับผู้สนใจได้รับทราบค่ะ

เพลงลูกทุ่ง หรือเพลงลูกกรุง จัดได้ว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งจริง ๆ ค่ะ ดีใจที่มีคนเห็นคุณค่าและจะดีใจกว่านั้นถ้ามีเด็กรุ่นใหม่ ๆ มาให้ความสนใจกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ (พูดเหมือนตัวเองแก๊ ..แก่..ซะงั้น ฮ่าๆ)

 

โดย: เจ้าจอมหยู 17 พฤษภาคม 2550 13:06:30 น.  

 

ดีจังเลยค่ะ...เดี๊ยวนี้เพลงลูกกรุงเต็มรูปแบบไม่ค่อยมีให้ฟังแล้ว....

สวัสดีค่ะ เป็นอย่างไรบ้างช่วงนี้

 

โดย: ม่วงคราม (the violetblue home ) 17 พฤษภาคม 2550 18:31:04 น.  

 

ดีด้วยคับ

 

โดย: Kurt Narris 17 พฤษภาคม 2550 19:26:18 น.  

 

อยากเรียนอ่ะฝึกเสียงด้วะ แต่พ่อแม่คงกลัวไม่ได้งาน - -*

 

โดย: มิ้นท์ IP: 124.120.169.69 29 มีนาคม 2551 8:06:49 น.  

 

อยากเรียนก็ไปสมัครสิ เรีนนดีมีทุนจัดให้
นอกจากนี้ คณะฯยังคงยึดมั่นในการเรียนการสอนที่มีคุณภาพจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิหลายสาขา ได้แก่ สาขาวิชานาฏกรรมไทย (นาฏศิลป์ไทย) ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมศิลปากร สาขาวิชาดนตรีไทย อาทิ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง อาจารย์บุญช่วย โสวัตร และอาจารย์ธีระ ภู่มณี สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม:วิชาเอกดนตรีลูกกรุง อาทิ
อาจารย์สุเทพ วงศ์กำแหง อาจารย์โฉมฉาย อรุณฉาน และอาจารย์ทิพวรรณ ปิ่นภิบาล และวิชาเอกดนตรีลูกทุ่ง อาทิ ครูชินกร ไกรลาศ อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี และอาจารย์สลา คุณวุฒิ เป็นต้น



สำหรับคุณสมบัติของผู้สมัคร สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (ม.6) หรือชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า (ม.3) ไม่จำกัดอายุ และมีคุณสมบัติอื่นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด รวมทั้ง ควรมีพื้นฐานทางศิลปะดนตรีตามสาขาที่จะเข้าศึกษา ส่วนผู้มีทักษะความรู้ในสาขาที่สมัครเรียน สามารถเทียบโอนความรู้ได้



ผู้สนใจสามารถซื้อใบสมัครและสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ - 13 มิถุนายน 2551 ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ร. อาคารสุโขทัย ชั้น 15 ห้อง 1510 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.02-310-8296-8 โทรสาร.02-310-8297 หรือที่ //www.faa.ru.ac.th
ข่าว จาก มหาวิทยาลัยรามกำแหง วันที่ 17 เมษา 2551

 

โดย: pukky IP: 58.9.29.224 17 พฤษภาคม 2551 18:41:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.