Group Blog
 
 
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
6 มิถุนายน 2558
 
All Blogs
 
เทียวใกล้กรุง....ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์...นครปฐม

เทียวใกล้กรุง....ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์...นครปฐม

ทริปนี้เป็นทริปล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์เป็นทริปที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ชมความงดงามของสองฝั่งคลองดูวถีชีวิตชาวบ้าน 

ห่างจากตัวเมืองหลวงไม่มากแต่บรรยากาศต่างกันลิบ ที่นี่เงียบสงบ น่าอยู่มากๆ



ถ้าจะเดินทางมาท่องเที่ยวที่นี่นะครับต้องมาที่วัดสุวรรณารามก่อนจอดรถแล้วไป

บ้านผู้ใหญ่บ้านครับ ที่นี่จะมีคิวพาลงเรือเที่ยวครับ



ยายที่มาช่วยโทรติดต่อชื่อยายหอมครับพูดเก่งมากอายุ80แล้ว 

แต่ยังแข็งแรงมาบริการแขกที่มาล่องเรือชมคลองตามคนขับเรือเที่ยวตามคิว 


คลองมหาสวัสดิ์ตั้งแต่ปี 2554ที่น้ำท่วมใหญ่ผุ้คนต่างมาเที่ยวที่นี่ลดลงอาจ

เป็นเพราะว่าหลายๆที่ปิดการบริการให้นักท่องเที่ยวเข้าชม




ลงเรือกันได้แล้วน่ะลุงเขาจะพาไปเที่ยวแล้ว



บรรยากาศริมคลองยังคงเป็นธรรมชาติที่สวยงาม



ที่แรกที่ลุงพาไปชมคือนาบัวเป็นเอกลักษณณ์ของชาวบ้านริมคลองมหาสวัสดิ์ที่ทำนาบัวกัน



ถึงนาบัวแล้วจ้า



นักท่องเที่ยวที่มาชมนาบัวอย่าคาดหวังว่าจะเห็นดอกบัวบานสวยงามนะครับ



ขอบอกว่าเป็นนาบัวที่เห็นแต่ใบบัวกะดอกบัวที่ตูมๆเท่านั้นแหล่ะ



เพราะว่าเขาจะเอาดอกตูมๆไปขายจ้า



ตลาดที่ขายก็จะเป็นปากคลองตลาดจึงต้องเก็บดอกตูมๆไปขาย



แต่นาบัวที่นี่เขียวขจีสวยงามน่ามาท่องเที่ยว อากาศที่นี่ก็ดีมากๆ



ตอนนี้ก็สายแล้วมาชมวิธีการเก็บบัวกันนะครับ



เกษตรกรก็จะเลือกเก็บดอกบัวตูมที่แก่ได้ที่ครับโดยลุยโคลนเก็บบัว



จึงเป็นเอกลักษณ์ของการเก็บบัวที่นาบัวแห่งนี้คือใช้คนเก็บดอกบัวตูมไปขายที่ปากคองตลาด



ภาพบัวตูมที่ไกล้จะเก็บแล้วไปขายเพื่อที่จะนำไป บูชาพระต่อไป



ปัจจุบันนาบัวมีไม่เยอะมากแล้วครับเพราะว่าบางที่ถูกถมที่กลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรไปซะแล้ว



นาบัวที่ยังคงมีอยู่ที่นี่แล้วและยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการเกษตรอีกด้วย



หลังจากขั้นตอนเก็บแล้วขั้นตอนต่อมาคือขั้นตอนการห่อบัว



นำบัวที่ได้นำมารวมกันแล้วห่อด้วยใบบัว



การห่อบัวแบบนี้ทำให้บัวสดอยู่เสมอและไม่ให้ดอกบัวช้ำอีกด้วย



ไปกันต่อนะครับลุงพาเราไปเที่ยวต่อขับเรือผ่านมาเรื่อยๆผ่านริมคลองชาวบ้านก็ปลูกบัวกันตรงริมคลอง



ล่องเรือมาชมการทำข้าวตังจากข้าวกล้อง



มีการสาธิตการทำข้าวตังพร้อมกับให้ชิมได้ไม่อั้นครับ



ข้าวตังคือทำจากข้าวที่ตากแห้งแล้วมามาทำให้เป็นแผ่นก่อนเตรียมทอด



ภาพเม็ดข้าวที่นำมาแสดงก่อนนำมาทำข้าวตัง



ชิมเสร็จแล้วก็มาชมสินค้าที่กลุ่มแม่บ้านที่นี่เขารวมตัวกันทำเป็นกลุ่มต้องสนับสนุนสินค้าซะหน่อยครับ



ข้าวตังที่อร่อยกรอบหอมข้าวจากข้าวหอมมะลิ เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สำคัญของคลองมหาสวัสดิ์2068


จากนั้นไปกันต่อครับไปดูการผลิตน้ำฟักข้าวกันขับไปอีกนิดชมวิวไปเรื่อยๆ



ถึงแล้วครับบ้านที่ทำน้ำฟักข้าว



ต้นฟักข้าวและลูกฟักข้าวที่ยังไม่สุกเต็มที่ครับ



ลูกฟักข้าวที่แก่เต็มที่จะมีสีแดงสามารถนำไปทำน้ำฟักข้าวได้เลย



น้ำฟักข้าวครับมีให้ชิมด้วยรดชาดอร่อยใช้ได้ ที่สำคัญเป็นอาหารต้านมะเร็งได้ด้วย



รอบๆบ้านยังปลูกพืชสมุนไพรมากมายเช่นอัญชัน



ด้านข้างเป็นแปลงปลูกต้นฟักข้าวครับ



จากนั้นเราไปต่ออีกจุดหนึ่งนะครับผ่านคลองตอนนี้ลมพัดมาเย็นสบายมากๆ



อยากมีบานติดคลองแบบนี้จัง คงจะเย็นมากๆแต่ลำบากก็ตรงที่น้ำท่วมนี่แหล่ะ



จากนั้นมาชมแปลงกล้วยไม้ต่อครับ



ที่นี่เป็นร้านขายผักด้วยนะครับมีผักมากมายหลายอย่างไว้ขาย



แปลงกล้วยไม้ที่คลองมหาสวัสดิ์เริ่มซบเซาหลังจากน้ำท่วมใหญ่ปี2554




ส่งผลให้กล้วยไม่ตายและไม่ค่อยออกดอกเท่าที่ควรเจ้าของไร่หลายรายต้องหยุดทำไป



ตอนนี้เรามาชมความงามของกล้วยไม้กันนะครับ



ช่วงนี้ไม่ค่อยออกดอกมากเท่าที่ควรแต่ก็มีดอกบ้างไม่มากเท่าไหร่



ดอกส่วนใหญ่เป็นดอกกล้วยไม้สีขาวนิยมปลูกกันมากเนื่องจากตลาดต้องการมากและราคา

ไม่แพงมากเมื่อนำไปขายตามท้องตลาด



มีบางแปลงที่เจ้าของสวนเปิดบริการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเข้า

ไปชมนั้นต้องระมัดระวังในเรื่องการหยิบจับดอกกล้วยไม้เป็นพิเศษ



ชมสวนกล้วยไม้แล้วขึ้นเรือไปกันต่อครับ



ช่วงคลองช่วงนี้ผักตบชวาเยอะไปหน่อยเก็บเต็มคลองเชียว



ระหว่างล่องเรือชมบ้านริมคลองไปเรื่อยๆ



และชมชีวิตความเป็นอยู่ของชีวิตของผู้คนที่คลองแห่งนี้



และที่เที่ยวจุดสุดท้ายคือที่นาข้าวและสวนผลไม้ 

ซึ่งที่นี่อยู่ตรงกันข้ามกับวัดสุวรรณารามเลยเดินข้ามสะพานไปก็ถึงวัดแล้ว



ต้องเดินผ่านบ้านหลังนี้ไปถึงจะเป็นบ้านที่พาชมนาข้าวและสวนผลม็โดยรถอีแต๊ก

ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการท่องเที่ยวที่นี่



ถึงบ้านที่นำชมนาและสวนโดยรถอีแต๊กนั่งพักก่อนมีการเสริ์ฟขนมไทยด้วย



กล้วยสามารถกินได้ตลอดเวลาก็ได้สดๆจากสวนเลยทีเดียว



ชมสวนแล้วจะซื้อกลับบ้านก็ได้สดจากสวนเหมือนกัน



ตอนนี้คิวเราแล้วรถอีแต๊กก็มีคิวนะครับแช้ะๆกับรถอีแต๊กซะหน่อย เอกลักษณ์ของการท่องเที่ยวที่นี่



พี่คนขับรถอีแต้กขับจนชานาญมากๆวันไหนที่พี่คนขับไม่สบายหรือหยุดก็จะงดบริการเที่ยวชมสวนนะครับ



ทางเข้าไปที่นาและชมสวนผลไม้




นาข้าวครับสุดลูกหูลูกตาช่วงที่ไปพึ่งไถหว่านไป



แต่แปลงข้างๆข้าวเริ่มโตแล้วเขียวขจีสวยสดงดงาม



ดูแล้วสดชื่นจริงๆทำให้นึกถึงบรรยากาศนาข้าวที่ปายจัง



ดูแปลงนาแล้วมาชมสวนผลไม้ต่อนะครับ



ผลไม้มีหลายอย่าง เช่นมะม่วงส้มโอและอื่นๆอีกมากมายปลูกแบบผสมผสาน



พี่เขาเล่าให้ฟังว่าตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่ปี2554 นั้นผลไม้ตายหมดต้องปลูกใหม่ทั้งหมด 

ต้องฟื้นฟูก็ต้องใช้เวลานานหลายปี



ดูเรือกสวนไร่นาเสร็จแล้วก็กลับแล้วจ้าพี่เขาขับรถอีแต้กได้เซียนสุดยอด



อย่าลืมซื้อสินค้าแปรรูปเป็นของฝากด้วยน่ะครับของที่ทำจากเกษตรกรพวกสินค้าโอทอป 

กล้วยฉาบอร่อยมากครับมีหลายรส



ทางเข้าบ้านครับที่พาไปชมสวนและนา


ต้นไม้หลายต้นปลูกไว้เพื่อความร่มรื่นและเป็นอาหารของคนด้วยนี่แหล่ะวิถีพอเพียงของจริง



ร่มรื่นมากๆครับที่นี่มีผักผลไม้ทุกอย่าง โดยไม่ต้องซื้อเลยเป็นเกษตรสวนผสมอย่างแท้จริง



การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมก็น่าเที่ยวครับได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของเกษตรยุคใหมี่เน้นเรื่องเกษตรชีวภาพมากขึ้น




ชมภาคต่อนะครับ




Create Date : 06 มิถุนายน 2558
Last Update : 6 มิถุนายน 2558 1:01:27 น. 4 comments
Counter : 4321 Pageviews.

 
ภาคต่อ ครับ

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=paipaiphuart&month=06-2015&date=06&group=1&gblog=35


โดย: wiss (paipaiphuart ) วันที่: 6 มิถุนายน 2558 เวลา:5:52:53 น.  

 
สวยงามมากค่ะ ชอบวิถีแบบนี้มากๆค่ะ


โดย: auau_py วันที่: 6 มิถุนายน 2558 เวลา:7:29:37 น.  

 
ไปเที่ยวใกล้กรุงกันน่ะครับคุณ auau_py


โดย: paipaiphuart วันที่: 6 มิถุนายน 2558 เวลา:8:19:52 น.  

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 7 มิถุนายน 2558 เวลา:0:59:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

paipaiphuart
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add paipaiphuart's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.