20 เคล็ดลับให้"นม"ลูกอย่างง่ายๆ

การให้นมลูกจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องใกล้ตัวค่ะ แถมแค่รู้เคล็ดนิดเดียวก็สามารถหยิบไปปรับใช้ให้เข้ากับปัญหาของตัวเองได้เลย อย่างนี้ไงคะ

1.รีบคว้าบทเรียนแรกจากโรงพยาบาล ทุกโรงพยาบาลจะมีพยาบาลคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีพื้นฐานในการให้นมลูก อย่าปล่อยให้ช่วงเวลานี้ผ่านไป ควรรีบฉวยคว้าความรู้เกี่ยวกับการให้นมลูกจากโรงพยาบาลให้มากที่สุดก่อนจะกลับบ้าน

2.ลืมเรื่องเวลาไปได้เลย อย่ากังวลจนต้องคอยดูนาฬิกาบ่อย ๆ เพื่อดูว่าให้นมลูกมานานเท่าใด หรือบ่อยเท่าใดแล้ว ลืมเรื่องเวลาไปได้เลยแล้วใช้สัญชาตญาณช่วยในการให้นมลูก เช่น เมื่อลูกน้อยดิ้นหรือร้องไห้เราสามารถให้นมลูกอีกได้ แม้ว่าเพิ่งจะให้ไปหยก ๆ ก็ตาม

3.เคล็ดลับสำคัญคือการผ่อนคลาย ฟังดูง่ายแต่สำหรับคุณแม่มือใหม่ความตื่นเต้น ความกลัวต่าง ๆ อาจจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ยาก ซึ่งแก้ได้โดยใช้ทัศนคติที่ว่า นี่คือสิ่งที่ทั้งคุณแม่และลูกน้อยกำลังเรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรจะต้องกังวล

4.ดื่มน้ำอุ่นก่อนให้นม น้ำอุ่น ๆ จะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เลือดไหลเวียนได้ดีเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้นอีกทางหนึ่ง และถ้าดื่มก่อนให้นมทุกครั้งอาจจะเป็นการสร้างเงื่อนไขให้ร่างกาย ทำให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้นอีกด้วย

5.กินผักใบเขียวให้มากขึ้น ในผักใบเขียวมีแมกนีเซียม ซึ่งมีการวิจัยพบว่าปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมในร่างกายที่พอเพียงมีผลต่อ กลไกน้ำนมพุ่ง ดังนั้นนอกจากกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง จำพวก นม ไข่ ปลา ยอดแค ผักสะเดา แล้วยังควรกินผักใบเขียวเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณแมกนีเซียมในร่างกาย เช่น อาหารเรียกน้ำนมยอดฮิตของคนไทยอย่างแกงเลียงก็เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยผักใบเขียว แม่ให้นมลูกทำกินบ่อย ๆ จึงมีประโยชน์มากเหมือนที่โบราณว่าไว้ค่ะ

6.อาบน้ำอุ่นคลายความเจ็บระบม บางครั้งเต้านมคัดจนเจ็บระบมไปหมด การอาบน้ำอุ่นจะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ช่วยคลายความเจ็บนั้นลงได้

7.ให้คุณพ่อมีส่วนช่วย ช่วงที่มีการฝึกให้นมลูกที่โรงพยาบาล ควรให้คุณพ่อได้เข้าไปมีส่วนฝึกด้วย เพื่อให้คุณพ่อรู้วิธีในการช่วยคุณแม่ให้นมลูก จนกว่าคุณแม่จะสามารถเอาลูกกินนมได้เอง

8.น้ำนมเป็นยา เวลาที่หัวนมแห้ง หรือเป็นแผลเจ็บระบม ยาที่ดีที่สุดก็คือน้ำนมแม่นี่เอง เมื่อคุณแม่ให้นมลูกเสร็จ บีบน้ำนมออกมาเล็กน้อยแล้วทาให้ทั่วหัวนมจะช่วยให้หัวนมชุ่มชื้น ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น

9.อย่าปล่อยให้ลูกหิวมากเวลาหัวนมเป็นแผล เด็กบางคนดูดนมได้แรง และกินนมมากจนหัวนมของคุณแม่เป็นแผล ดังนั้นช่วงไหนที่หัวนมเป็นแผล คุณแม่ไม่ควรจะปล่อยให้ลูกหิวนมมาก ควรจะสังเกตลูก ถ้าลูกน้อยมีสัญญาณว่าเริ่มจะหิวนม ควรป้อนแกทันที ลูกจะได้ไม่ดูดนมแรง แผลของคุณแม่ก็จะไม่เจ็บมากนักและหายเร็วขึ้น

10.อ่านมาก รู้มาก มั่นใจขึ้น ถ้ารู้ข้อมูลเกี่ยวกับการให้นมก่อนจะต้องให้นมจริง ๆ จะช่วยให้แม่ได้ค้นพบแนวทางการให้นมใหม่ ๆ มาปรับใช้ ทั้งยังทำให้มั่นใจ และไม่กังวลใจมากจนเกินไปด้วย

11.หาเวลามีความสุขและผ่อนคลาย เวลาที่คนเรามีความสุข สมองจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟีนออกมา ซึ่งช่วยลดความเจ็บปวด ดังนั้นถ้าคุณแม่มีปัญหาเต้านมระบบ หัวนมเป็นแผล ควรหาเวลาผ่อนคลายให้มาก ๆ อาจจะฟังเพลงโปรด ปล่อยใจไปกับเสียงเพลง พยายามผ่อนคลายอารมณ์และมีความสุขให้มากที่สุดเพื่อคลายอาการเจ็บปวดที่เกิด ขึ้น

12.ใช้น้ำแข็งช่วย ช่วงแรกที่ลูกหัดดูดนมแล้วงับหัวนมได้ยาก ให้ใช้น้ำแข็งวางประคบหัวนมสักพัก ความเย็นจะทำให้หัวนมชันขึ้น และลูกจะงับหัวนมได้ดีขึ้น

13.ลืมสบู่ไปได้เลย ช่วงให้นมลูก ควรงดใช้สบู่ทำความสะอาดหัวนม ใช้เพียงน้ำเปล่าก็เพียงพอแล้ว เพราะสบู่จะทำลายความชุ่มชื้นและไขมันที่เคลือบหัวนมตามธรรมชาติ ซึ่งไขมันนี้มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอ่อน ๆ ได้

14.ลูกกินนมแล้วหลับไปพร้อมกับงับหัวนมไม่ยอมคาย อย่าดึงหัวนมออกจากปากลูกทันที เพราะจะทำให้หัวนมเป็นแผล ให้ใช้นิ้วก้อยสอดเข้ามุมปาก เผยอให้ปากลูกคลายจากการดูด แล้วจึงค่อย ๆ ดึงหัวนมออก

15.รับอากาศบริสุทธิ์ ระหว่างที่ลูกไม่ได้ดูดนม ควรเปิดหัวนมให้ได้รับอากาศถ่ายเทบ้าง และถ้าเป็นไปได้การให้หัวนมได้รับแดดอ่อนๆ ก็จะทำให้หัวนมมีสุขภาพที่ดีด้วยเช่นกัน

16. คุยกับคนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การแบ่งปันประสบการณ์กับคนที่เคยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือคนที่กำลังให้นมเช่นเดียวกัน จะเป็นการสร้างกำลังใจ ช่วยให้มั่นใจขึ้น และบางครั้งอาจจะได้คำแนะนำที่มีประโยชน์ด้วย

17. น้ำนมไหลซึมเปื้อน คุณแม่บางคนมีน้ำนมไหลซึมเปื้อนอยู่ตลอดเวลา ควรมีผ้ารองซับน้ำนมที่แห้งสะอาดติดตัวไว้ตลอดเวลาไว้คอยเปลี่ยน ซึ่งควรเปลี่ยนบ่อย ๆ ไม่ควรปล่อยให้เปียกชื้นนานๆ เพราะจะทำให้หัวนมระคายเคืองหรือเป็นแผลได้

18.พุ่งความสนใจที่ตัวลูก เวลาให้นมลูกควรงดกิจกรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการดูโทรทัศน์ หรือคุยโทรศัพท์ มุ่งความสนใจอยู่ที่ลูก และคิดเสมอว่าจะทำให้ช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่ดีที่สุดสำหรับทั้งแม่และลูก

19.ประคบร้อนสลับเย็น ถ้าเต้านมคัดมาก ๆ ใช้ผ้าเช็ดตัวแช่น้ำเย็นสลับกับแช่น้ำร้อน ประคบร้อนเย็นสลับกันไปจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้

20.ความอุ่นเรียกน้ำนม ก่อนการให้นมเล็กน้อยควรใช้ผ้าอุ่น ๆ วางบนเต้านม จะใช้เป็นผ้าชุบน้ำอุ่น หรือใช้วิธีอาบน้ำอุ่น ๆ ก็ได้ ความอบอุ่นจะช่วยให้การไหลของน้ำนมดีขึ้น




ข้อมูลจากMomyPedia



Create Date : 14 มกราคม 2553
Last Update : 14 มกราคม 2553 21:07:26 น.
Counter : 754 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
มกราคม 2553

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog