"พัฒนาการ"ของลูกน้อยในครรภ์
มีรายงานเกี่ยวกับด้านจิตวิทยาว่า ส่วนสูงของคนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเสริมความมั่นใจ ทั้งด้านบุคคลิกภาพในการทำงาน หรือแม้แต่การคบหากับเพศตรงข้าม คนที่สูงกว่าจะได้เปรียบเสมอ และแน่นอนว่าหากมีความพิการในส่วนของลำตัวและแขนขา ก็ย่อมเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในโลกที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน คุณพ่อและคุณแม่จึงมักมีคำถามเสมอว่า ทำอย่างไรลูกจึงจะมีรูปร่างสูงและแข็งแรง

คำตอบคือกรรมพันธุ์ แต่ถึงแม้จะเป็นตัวกำหนดความสูง แต่การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ตั้งแต่ช่วงที่แม่ตั้งครรภ์ต่อเนื่องไปถึงลูกเป็นวัยรุ่น บวกกับการออกกำลังกายที่มีการกระโดด เพื่อกระตุ้นฝ่าเท้าซ้ำๆ เสมอ ก็จะช่วยเร่งการหลั่งของฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตได้ มีตัวอย่างให้เห็นคือคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ ตัวสูงขึ้นมากจนไปเล่นบอลโลกได้ ทั้งที่เคยถูกปรามาสมาในอดีตว่าเป็นชนชาติที่เตี้ย แต่ก็ประสบผลสำเร็จ หลังมีการรณรงค์ให้คุณแม่ชาวญี่ปุ่นดื่มนมวันละหนึ่งลิตร ครึ่งในช่วงตั้งครรภ์ต่อเนื่องมานานนับ 20 ปีค่ะ

ทีนี้ไปดูพัฒนาการแขน ขาและลำตัวที่มีผลกับความสูงที่คุณพ่อคุณแม่กังวลกันค่ะ…

พัฒนาแขนขา

สัปดาห์ที่ 1-12

เริ่มมีปุ่มแขน ขา

สัปดาห์ที่ 8

ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ลูกจะสร้างอวัยวะต่างๆ ครบถ้วนแล้วค่ะ ช่วงนี้ลูกจะมีน้ำหนักเพียงครึ่งออนซ์ ประมาณ 14 กรัม (1 ออนซ์ เท่ากับ 28.35 กรัม ) ตัวยาว 2.5 นิ้ว ส่วนศีรษะใหญ่กว่าลำตัวมาก จะเริ่มเห็นปุ่มแขนและขา ตั้งแต่ 8 สัปดาห์ ส่วนแขนจะพัฒนาไปก่อนขาเสมอค่ะ แม้แต่ช่วงที่คลอดแล้ว ลูกก็จะฝึกใช้แขนและมือได้ก่อนขาเสมอ

สัปดาห์ที่ 9

จะเริ่มเห็นนิ้วมือและส่วนอุ้งมือ

สัปดาห์ที่ 11

นิ้วมือจะเริ่มมีเล็บ

ปลายสัปดาห์ที่ 12

เห็นแขนขา และมือเท้าชัดเจนขึ้น

สัปดาห์ที่ 13-40 : แขน ขา พัฒนาอย่างรวดเร็ว

ในช่วงไตรมาสที่ 2 -3 ของการตั้งครรภ์ แขน ขา และลำตัวจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ศีรษะจะตั้งตรงขึ้น เห็นส่วนลำคอชัดเจน แนวกระดูกสันหลังเริ่มตั้งตรงและยืดออก

สัปดาห์ที่ 13

เริ่มเห็นข้อมือและข้อเท้า ทั้งนิ้วมือและเท้าจะเห็นแยกจากกันได้ชัดเจน

สัปดาห์ที่ 16-18

เริ่มกำหมัดและดูดนิ้วได้ และการทำงานของกล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัวจะถูกกำกับจากสมอง เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ดิ้นหนีแสงและเสียง และจะพัฒนาไปเต็มขั้นที่จะประสานกับการแสดงสีหน้า ร้องไห้ เมื่ออายุครรภ์ 27 สัปดาห์ และจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่อครบกำหนดคลอด

สัปดาห์ที่ 22

หลังสัปดาห์ที่ 22 กล้ามเนื้อแขน ขา และลำตัวจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็วสัปดาห์ต่อสัปดาห์เลยทีเดียวค่ะ คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกเริ่มดิ้น และดิ้นแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอก ไม่ว่าแสงหรือเสียง หรือแม้แต่อารมณ์ทุกข์สุขของคุณแม่ค่ะ

สัปดาห์ที่ 23

ศีรษะและลำตัวจะเริ่มได้สัดส่วนที่สมดุลตั้งแต่สัปดาห์นี้

สัปดาห์ที่ 27

ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป คุณแม่สามารถสื่อสารกับลูกได้แล้ว เพราะลูกจะเริ่มดิ้น แล้วคุณแม่ควรหมั่นสังเกตการดิ้นของลูกได้ เพราะหากลูกดิ้นน้อยผิดสังเกต ก็อาจจะมีความผิดปกติของระบบประสาท แขนขา หรือมีอุบัติเหตุทางสายสะดือ เช่น พันคอลูก เป็นต้น ซึ่งหากลูกไม่ดิ้นตามเวลาที่เคยดิ้น หรือดิ้นน้อยลงผิดสังเกต ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะจะมีวิธีที่ตรวจสอบว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร หรืออาจจะเป็นเพราะลูกมีวงจรการนอนที่นานขึ้น จึงทำให้เหมือนลูกดิ้นน้อยลงได้ค่ะ

สัปดาห์ที่ 30-39

ศีรษะ และลำตัวจะได้สัดส่วนเท่ากับเด็กแรกเกิด และเป็นช่วงที่มือจะพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่ เริ่มมีเล็บที่นิ้วมือชัดเจน และจะงอกมาถึงปลายนิ้วเมื่อสัปดาห์ที่ 34 ส่วนเล็บเท้าจะงอกมาถึงปลายนิ้วเท้าในช่วงสัปดาห์ที่ 39 ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลดูอายุครรภ์ของลูกได้ เมื่อถึงเวลาคลอดค่ะ

พัฒนาการผิวหนัง

แล้วเมื่อแขนและขาค่อย ๆ ยาวขึ้น สิ่งที่เกี่ยวข้องกันคือผิวหนังค่ะ เพราะต้องยืดขยายพร้อมรับการพัฒนาแขน ขา และลำตัว

สัปดาห์ที่ 20 ขึ้นไป

ผิวจะ ยังใสเห็นเส้นเลือดและดูแดง จากนั้นจะเริ่มมีไขมันบุใต้ชั้นของผิวเพิ่มขึ้นเรื่อ ยๆ และมีต่อมไขมันขับสารที่ดูคล้ายเนยขาวเรียกว่า vernix caseosa ปกคลุมผิวทั่วร่างกาย เพื่อปกป้องไม่ให้ผิวเปื่อยจากการแช่อยู่ในน้ำคร่ำเป็นเวลานาน ๆ

ช่วงสัปดาห์ที่ 33 ขึ้นไป

ผิวจะมีรอยย่นเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของผิว ที่เกิดจากการขยายขนาดของลำตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 33 สัปดาห์เป็นต้นไป ซึ่งกว่าครึ่งของน้ำหนักแรกคลอดจะเกิดขึ้นในช่วง 33-38 สัปดาห์

สัปดาห์ที่ 38

สุดท้ายในช่วงสัปดาห์ที่ 38 ขนอ่อน (lanugo hair) และไขที่เคลือบบนตัวลูก (vernix caseosa ) จะเริ่มหมดไป เพราะชั้นไขมันที่อยู่ชั้นใต้ผิวหนังของลูกจะมีความสมบูรณ์เต็มที่ และช่วยให้เด็กสามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายได้เมื่อคลอดออกมาค่ะ ดังนั้นเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจึงต้องอยู่ในตู้ปรับอุณภูมิ เพราะชั้นไขมันใต้ผิวหนังยังไม่สมบูรณ์นั่นเองค่ะ

สุดท้าย คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ คือประเภทโปรตีนเพิ่มขึ้น ประกอบกับรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ เท่านี้ก็จะช่วยให้ความหวังที่จะเห็นลูกมีรูปร่างสูง และแข็งแรงเมื่อเติบโต ขึ้นสมดังความตั้งใจแล้วค่ะ

น่ารู้สำหรับคุณแม่:

แคลเซียมจะไปช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ทำให้มีโครงสร้างของลำตัวที่สูงและแข็งแรง แขนและขายาวเต็มโครงสร้าง เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อว่าฮอร์โมนจากรกที่เพิ่มขึ้นในขณะตั้งครรภ์ จะช่วยให้มีการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เพิ่มขึ้นกว่าปกติ ดังนั้นการบริโภคแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม ต่อวัน เท่ากับคนปกติทั่วไป ก็เพียงพอแล้วสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์




ข้อมูลจากModernMom



Create Date : 16 กันยายน 2553
Last Update : 16 กันยายน 2553 21:03:30 น.
Counter : 699 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
กันยายน 2553

 
 
 
2
4
8
11
12
13
15
17
18
20
21
22
23
25
26
28
 
 
All Blog