5 วิธีดูแล "ดวงตา"ลูกน้อย
ฉบับนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับดวงตาคู่สวยของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้พร้อมวิธีการดูแลประสาทสัมผัส ส่วนสำคัญ ที่ช่วยให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้จากการมองเห็นมาแนะนำค่ะ

1. สังเกตดวงตาสักนิด

หากมีอะไรผิดปกติหรือสงสัยว่าดวงตาของลูกจะมีปัญหา เช่น ตาดำดูผิดปกติ, ตาลูกเหล่ (เป็นบางครั้งหรือตลอดเวลา), หนังตาข้างใดข้างหนึ่งตกลง เป็นต้น คุณแม่ควรปรึกษา ขอคำแนะนำจากคุณหมอ หรือพาลูกไปพบจักษุแพทย์โดยตรง เพื่อตรวจหาสาเหตุ ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

การเช็กพัฒนาการด้านการมองเห็นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้รู้ว่ากำลังเกิดความผิดปกติกับดวงตาลูก เช่น ถ้า 3 เดือนแรก ลูกยังมองเห็นได้ไม่ดี ไม่หันมองวัตถุ สิ่งของที่แกว่งไปมาได้ ก็ควรตั้งเป็นข้อสงสัย และรีบปรึกษาคุณหมอเช่นกันค่ะ

นอกจากนี้ คุณแม่ควรพึงระวังสังเกตเกี่ยวกับดวงตาลูกน้อย จากอาการต่างๆ ต่อไปนี้ค่ะ

ภาวะท่อน้ำตาตัน

เป็นอาการที่พบได้กับเด็กแรกเกิดลูกน้อยจะน้ำตาไหลทั้งที่ไม่ได้ร้องไห้ การดูแลเบื้องต้นในกรณีไม่ต้องถึงมือหมอ คือการนวดบริเวณหัวตา ตำแหน่งของถุงทางเดินน้ำตา แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรพาไปพบคุณหมอ (ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นเมื่ออายุประมาณ 1 ปีไปแล้ว)

ภาวะติดเชื้อ

อาจมีขี้ตาสีเหลืองหรือสีเหลืองปนสีเขียวหรือหนังตาบวมแดงร่วมด้วย อาการเช่นนี้ แสดงว่ามีเชื้อโรคเข้าตาลูก ทำให้ตาอักเสบเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่มาจากฝุ่นละอองในอากาศ ไม่ควรนิ่งนอนใจ รีบไปพบคุณหมอทันทีค่ะ

ตาแฉะ

มักเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในดวงตา ทำให้ลูกมีขี้ตามาก และอาจเกิดจากการแพ้สารเคมี (สารซิลเวอร์ในเตรต) ที่หยอดตาหลังคลอด ทำให้มีอาการตาแฉะได้ คุณพ่อคุณแม่ ควรทำความสะอาดเช็ดขี้ตาให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ อาการแพ้จะค่อยๆ หายไปเอง

2. ดูแลดวงตาให้ถูกวิธี

วิธีดูแลอย่างง่ายฉบับครอบครัวก็คือการหมั่นดูแลเรื่องทำความสะอาด ทั้งเครื่องนอนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใบหน้า หรือดวงตาลูกอาจสัมผัส เช่น เปลี่ยนผ้ารองนอน หมอนที่ลูกหนุน เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ และถ้าสังเกตว่า ดวงตาลูกมีขี้ตาออกมา ให้ทำความสะอาด โดยใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกอุ่นๆ เช็ดจากหัวตาไปยังหางตา และควรเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่เช็ดอีกข้าง

สำหรับการเลือกใส่ถุงมือ คุณแม่ควรให้มือน้อยๆ ของลูกสัมผัสอากาศบ้าง เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อน อาจเป็นปมปัญหาเรื่องผิวตามมารบกวน ถ้าเลือกวิธีโปร่งโล่งสบาย ก็ควรตัดเล็บมือ ดูแลความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญค่ะ

3. ใช้ยาอย่างถูกวิธี

ดวงตามีเนื้อเยื่อที่บอบบาง ติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น การใช้ยากับเด็กเล็กจึงต้องระมัดระวัง เช่น การใช้ยาหยอดตา ควรล้างมือให้สะอาด ทุกครั้งก่อนหยอดตา ขณะที่หยอดต้องระวังไม่ให้หยดแตะกับตาหรือขนตา และเมื่อเปิดใช้แล้ว ควรเก็บยาไว้ในที่เย็นในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน และไม่ควรใช้ยาหยอดร่วมกับผู้อื่น ที่สำคัญยาหยอดตาต้องมาจากที่คุณหมอสั่งเท่านั้นค่ะ

4. เรื่องต้องห้าม

หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในสถานที่ที่อาจเกิดอุบัติเหตุกับดวงตา เช่น สถานที่ที่มีฝุ่น ควันเยอะๆ ลมแรง หรือแสงแดดจ้ามากๆ รวมถึงไม่ควรแคะ แกะ เกา หรือทำอะไรกับลูกตาของลูก และเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ยาก็ไม่ควรซื้อยามาใช้กับลูกเองโดยเด็ดขาดควรขอคำแนะนำจากคุณหมอหรือจักษุแพทย์โดยตรง เพื่อความปลอดภัยต่อดวงตาลูกน้อย

5. เปิดโลกกว้างทางสายตา

แม้ดวงเป็นเพียงอวัยวะเล็ก ๆ ที่ต้องดูแลให้ความสำคัญแล้ว ดวงตาของลูกน้อยยังสามารถเก็บบันทึกข้อมูล เชื่อมโยงสิ่งต่างๆ รอบตัว ดังนั้น ยิ่งส่งเสริมพัฒนาการด้านการมองเห็น ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของลูกมากเท่าไร ก็เท่ากับเปิดโอกาสใสลูกเรียนรู้ได้ดี มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยค่ะ


ข้อมูลจาก Mother&Care



Create Date : 10 พฤษภาคม 2553
Last Update : 10 พฤษภาคม 2553 20:26:26 น.
Counter : 642 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
พฤษภาคม 2553

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog