รู้ทัน! "แก๊งค์โขมยรถ"

ยังคงระบาดทั่วทุกหัวระแหง สำหรับแก๊งขโมยรถไม่ว่ารถเก๋ง กระบะ มอเตอร์ไซค์ ฯลฯ ต่างโดนขโมยกันถ้วนหน้า แม้มีระบบรักษาความปลอดภัยล้ำสมัยเพียงไร หัวขโมยตัวแสบก็สามารถลักรถไปได้อย่างสบาย ยิ่งสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในปัจจุบันนี้ทำให้บรรดา "แก๊งหัวขโมย" ระบาดหนักและมีวิวัฒนาการล้ำสมัยขึ้นทุกวัน

เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกขโมยรถโดยเหล่ามิจฉาชีพ รักชาติ แสงวงศ์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงสถานการณ์ขโมยรถว่า ส่วนใหญ่เน้นขโมยรถกระบะมากกว่าประเภทอื่น เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นตลาดมืดในการขายของกลุ่มมิจฉาชีพ มีความต้องการสูงมากกว่ารถประเภทอื่น ขณะเดียวกันก็มีการสั่งรถตามออร์เดอร์ที่ตลาดมืดต้องการ และยังมีการขโมยเพื่อชำแหละชิ้นส่วนขาย หรือนำรถไปขายตามเต็นท์รถมือสอง

การถูกขโมยรถส่วนใหญ่เป็นความประมาทของเจ้าของ เพราะหลายครั้ง เจ้าของรถเข้าไปใช้บริการทำความสะอาดรถ หรือเข้าไปเติมน้ำมัน มักให้กุญแจรถไว้กับพนักงานโดยไม่สนใจดูแล เพราะถ้าพนักงานคนดังกล่าวเป็นมิจฉาชีพ ก็สามารถก๊อบปี้กุญแจรถได้ทันที และเจ้าของรถไม่ควรให้ผู้อื่นมาลองขับรถของตน เนื่องจากเมื่อเจ้าของขึ้นไปปลดล็อกบนรถ คนร้ายจะสังเกตการณ์การปลดล็อกระบบป้องกันภายในทั้งหมด ทำให้สามารถจดจำได้ว่า ตรงไหนมีระบบป้องกันบ้าง ซึ่งในการโจรกรรมนั้นคนร้ายจะเตรียมเครื่องมือมาพร้อม

อย่างไรก็ดี ในการโจรกรรม คนร้ายส่วนใหญ่มักก๊อบปี้ลายกุญแจรถหรือทำลายแม่กุญแจรถ ในรถที่ไม่มีระบบป้องกันภายนอก ขณะเดียวกันหากฝาปิดถังน้ำมันรถหายให้สังหรณ์ใจไว้ว่า ถูกก๊อบปี้ลูกกุญแจรถ เนื่องจากฝาปิดถังน้ำมัน จะใช้กุญแจเดียวกับกุญแจสตาร์ตรถ เมื่อมิจฉาชีพได้ฝาปิดถังน้ำมันไป ก็สามารถก๊อบปี้กุญแจรถได้ ดังนั้นเจ้าของรถ ต้องสำรวจกุญแจบริเวณตัวถังรถก่อนทุกครั้งที่ขึ้นรถ เพราะอาจมีร่องรอยขูดขีดให้สังเกตเห็นการก๊อบปี้กุญแจของคนร้าย ส่วนกรณีฝาถังน้ำมันหายต้องรีบเปลี่ยนกุญแจรถทั้งคันทันที การสูญหายปัจจัยหลักสำคัญคือ คนใกล้ตัวกลายเป็นมิจฉาชีพเสียเอง ซึ่งผู้ใช้รถต้องระวังอย่างมากในสภาวะปัจจุบัน

สำหรับรถรุ่นใหม่ ที่มีระบบป้องกันการล็อกรถด้วยรีโมตที่พอกดปุ๊บไฟจะกะพริบ เสี่ยงที่จะถูกขโมยง่าย กรณีที่ไม่ติดตั้งสัญญาณร้องกันขโมย เพราะขโมยอาจช็อตสายไฟที่เป็นต้นขั้วรับสัญญาณล็อกจากรีโมต ทำให้ระบบปลดล็อก ทั้งคัน ขโมยจึงสามารถเปิดประตูรถเข้าไปได้ง่าย บางรายทำการก๊อบปี้สัญญาณความถี่จากรีโมต เช่น เหยื่อขับรถไปจอดในห้างสรรพสินค้าที่มีรถด้านข้างจอดอยู่ คนร้ายจะแอบในรถด้านข้าง รอเวลาเจ้าของรถกดสัญญาณล็อกจากรีโมต แล้วใช้เครื่องมือก๊อบปี้สัญญาณจากรีโมตของเจ้าของ พอคนร้ายเห็นว่าปลอดคน จะใช้เครื่องมือปล่อยสัญญาณความถี่ที่ก๊อบปี้ได้เพื่อปลดล็อกรถ ดังนั้นการติดตั้งระบบล็อกแบบรีโมตที่ดี ต้องดูอุปกรณ์ที่มีการป้อนรหัสเอฟเอ็ม ซึ่งเจ้าของต้องซื้อเพิ่มมาติดตั้งเอง

"รูปแบบการขโมยด้วยการทำลายกระจกหลังเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง การป้องกันที่ช่วยถ่วงเวลาให้ขโมยทำงานยากคือ ระบบป้องกันภายในรถ ซึ่งการเลือกซื้อระบบป้องกันภายใน ไม่ควรใช้อุปกรณ์ที่เป็นของแถมเพราะมีความบอบบาง และระบบป้องกันภายในไม่ควรใช้ยี่ห้อเดียวกัน เพราะคนร้ายจะง่ายต่อการขโมย"



การป้องกันภายในรถควรใช้อุปกรณ์ที่เป็นเหล็กกล้าอย่างหนาล็อกเกียร์, พวงมาลัย, เบรก ให้แน่น เพราะคนร้ายส่วนใหญ่ จะทำการเลื่อยอุปกรณ์เหล่านี้ออกเพื่อโจรกรรมรถ ถ้าคล้องไว้แน่นก็ทำให้ขโมยทำงานยาก ไม่สามารถขยับอุปกรณ์ป้องกันได้ตามที่ต้องการ แต่ถ้าให้แน่นอน ต้องล็อกล้อโดยยึดแผงล็อกไว้กับพื้นปูน จะทำให้โจรใช้เวลานานในการขโมย ขณะเดียวกันเจ้าของที่ซื้อรถ ต้องรู้ว่าจุดไหนเป็นตัวจ่ายไฟและน้ำมันในการทำงานของรถ เพราะสองระบบนี้เป็นหัวใจของการขโมยรถ หากกรณีที่เจ้าของมีความหวาดระแวง อาจจ้างช่างที่มีความน่าไว้วางใจในการแปลงระบบ เพื่อซ่อนต้นขั้วของระบบไว้ในที่ใหม่ของตัวถังรถ พร้อมกับทำตัวเปิด-ปิดระบบไว้ป้องกันการขโมย แต่ง่ายสุดโดยไม่ต้องลงทุน เจ้าของต้องถอดขั้วแบตเตอรี่ออกทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน หรือยกหม้อแบตเตอรี่เข้าไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัยหลังใช้งาน เพราะการป้องกันแบบง่าย ๆ บางครั้งขโมยก็คาดไม่ถึง

ขณะที่การจอดรถยังเป็นอีกปัจจัยที่เจ้าของพึงระวัง จึงไม่ควรจอดรถไว้หลังรถบัสหรือรถเมล์ที่มีขนาดใหญ่ ทำให้หัวขโมยมีที่กำบังในการลักรถ ควรจอดรถไม่ให้ไกลตาคน และที่สำคัญเมื่อออกรถใหม่ไม่ควรจอดรถในลักษณะโชว์ เพราะคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ เมื่อซื้อรถมาชอบจอดโชว์ พอขโมยเห็นวันแรกอาจไม่ขโมย แต่วันต่อ ๆ ไปจะค่อย ๆ สะกดรอยตามจนหาโอกาสขโมยได้ ถ้าไม่มีพื้นที่ปลอดภัยในการจอด ควรซื้อผ้าคลุมรถที่มีราคาถูกเพื่อตบตาขโมย ส่วนคนที่มีพื้นที่บ้านในการจอดรถควรหันหน้ารถเข้าบ้าน เพราะถ้าถูกขโมยเจ้าของบ้านจะได้รู้ตัว เพราะเกียร์ถอยหลังมีอยู่เกียร์เดียว แต่ถ้าหันหน้ารถออกคนร้ายสามารถเร่งความเร็วได้หลายเกียร์

เพื่อป้องกันรถหาย เจ้าของควรติดสติกเกอร์สัญลักษณ์ไว้บนรถอย่างชัดเจน และนำตะไบทำสัญลักษณ์ไว้บนตัวถังภายในและบนเครื่องยนต์ พร้อมกับถ่ายรูปเก็บไว้บนมือถือ เมื่อถูกลักรถ ก็จะสามารถส่งภาพที่ถ่ายไว้ไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันที

"บางกรณีคนร้ายทำการขโมยแบบซึ่ง ๆ หน้า ด้วยการใช้กลอุบายหลอกล่อให้เจ้าของลงมาจากรถ ขณะเครื่องยนต์สตาร์ตอยู่ โดยหัวขโมยจะแอบขึ้นไปบนรถขณะเจ้าของลงมาจากรถ เหยื่อส่วนใหญ่มักเป็นผู้หญิง ซึ่งหากประสบเหตุดังกล่าว ต้องพยายามขับรถออกจากสถานที่เปลี่ยวตรงนั้นให้ได้ก่อน แล้วเมื่อถึงที่ชุมชนค่อยลงมาดูรถ การซื้อรถมือสองเอง ควรเปลี่ยนกุญแจในรถใหม่ทั้งคัน เพราะเราไม่รู้ว่าเจ้าของคนเดิมมีกุญแจสำรองไว้หรือเปล่า เพราะหากเจ้าของเก่าเป็นมิจฉาชีพอาจกลับมาขโมยรถ"

ส่วนคนที่พอมีเงินติดตั้งสัญญาณเตือนแบบเสียงเตือน เมื่อมีคนมาสัมผัสรถ ไม่ควรตั้งเสียงให้เหมือนกับแตรรถ เพราะหากคนไม่สังเกต จะนึกว่ามีคนกดแตรรถเล่นมากกว่าเป็นสัญญาณกันขโมย ที่สำคัญไม่ควรทิ้งของมีค่าไว้ในรถ เพราะเมื่อคนร้ายส่องผ่านกระจกเข้าไปในรถ พอเห็นของมีค่าก็จะทำการทุบกระจก ซึ่งเมื่อทุบแล้วถ้าปลอดคนและไม่มีระบบป้องกัน คนร้ายก็จะเข้าไปภายในรถเพื่อไขกุญแจ

ขณะที่การป้องกันการโจรกรรมรถมอเตอร์ไซค์ ส่วนใหญ่คนร้ายจะยกขึ้นรถกระบะทันที จึงควรหาที่ล็อกล้อยึดไว้กับพื้นซีเมนต์ หรือหากุญแจและหูช้างมาคล้องไว้บริเวณรูของดิสก์เบรก ซึ่งทุกครั้งควรล็อกอย่างแน่นหนา ไม่ควรให้ขยับเคลื่อนได้ เพราะคนร้ายสามารถเลื่อนไปมาได้ขณะเลื่อยกุญแจ

"เดี๋ยวนี้ระบบการขโมยรถพัฒนาเท่าทันเทคโนโลยีหมด ต่อให้มีความก้าวล้ำในการป้องกันมากแค่ไหน ผู้ใช้รถจึงต้องมีจิตสำนึกในการหาที่จอด และการประเมินสถานการณ์ด้วยตนเองก่อนในเบื้องต้น แต่ถ้ารถหายควรแจ้ง จส.100 หรือโทรศัพท์ไปยังหมายเลขพิเศษ 1192 และสถานีวิทยุที่ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งเจ้าของควรส่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนรถที่ถ่ายไว้บนมือถือไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อสกัดกั้น ก่อนนำไปขายยังชายแดนและชำแหละเครื่องยนต์" รักชาติ กล่าวสรุป

จากการรวบรวมสถิติของศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปร. ตร.) พบว่า เขตในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีรถหายมากที่สุดคือ บางกะปิ ดินแดง จตุจักร วังทองหลาง คลองเตย มีนบุรี ประเวศ บางแค ธนบุรี บางขุนเทียน ตามลำดับ ด้านสถานที่เกิดเหตุรถยนต์หายมากที่สุดตามลำดับคือ ถนนและซอย, สถานที่สาธารณะ, ที่พักอาศัย, ห้างสรรพสินค้า, สถานประกอบการธุรกิจ, สถานที่ราชการ ขณะที่เวลาในการขโมยรถยนต์มากที่สุดตามลำดับคือ 16.00 - 20.00 น., 20.00 - 24.00 น., 00.01 - 04.00 น., 04.00 - 08.00 น., 08.00 - 12.00 น. และ 12.00 - 16.00 น.

ด้านสถานที่ซึ่งมีการขโมยรถจักรยานยนต์มาก ที่สุดตามลำดับคือ ถนนและซอย, สถานที่สาธารณะ, ที่พักอาศัย, สถานที่ประกอบธุรกิจ, สถานที่ราชการ ส่วนช่วงเวลาขโมยมากที่สุดตามลำดับคือ 00.01 - 04.00 น., 20.00 - 24.00 น., 16.00 - 20.00 น., 04.00 -08.00 น., 08.00 - 12.00 น. และ 12.00 - 16.00 น.

ดูเหมือนนับวัน เทคโนโลยีป้องกันการขโมยรถทันสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พ้นเงื้อมมือเหล่ามิจฉาชีพ คนร้ายที่จับได้หลายครั้งเป็นเพียงลูกน้องปลายแถว คงไม่ต้องให้ประชาชนตั้งคำถามว่า...ถึงเวลาหรือยังที่ต้องกวาดล้างผู้บงการ ใหญ่ ?



ข้อมูลจาก //www.kapook.com



Create Date : 27 มกราคม 2553
Last Update : 27 มกราคม 2553 23:46:32 น.
Counter : 679 Pageviews.

3 comments
  
โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:10:24:06 น.
  
โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 12 สิงหาคม 2554 เวลา:12:22:05 น.
  
โดย: SassymOn วันที่: 29 พฤศจิกายน 2554 เวลา:4:00:33 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
มกราคม 2553

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
21
22
25
26
29
30
31
 
 
All Blog