เทศกาลแห่เทียนพรรษา "เมืองอุบลฯ"
พูดถึงเทศกาลเข้าพรรษา แทบทุกคนต้องนึกถึงจังหวัดอุบลราชธานี ที่รถขบวนแห่เทียนแต่ละขบวนล้วนสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ สร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็นทุกคน ซึ่งเทศกาลแห่เทียนพรรษานี้ ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอุบลฯ เลยทีเดียว

"เทียน" เป็นหนึ่งในปัจจัยไทยทานที่พุทธศาสนิกชนนิยมนำมาถวายพระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษา เนื่องจากมีพุทธบัญญัติให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ ไม่จาริกไปยังสถานที่ต่างๆ ในช่วงฤดูฝน คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์จึงจำเป็นต้องใช้เทียนในการทำวัตร และอ่านตำราศึกษาหาความรู้ทางพระธรรม แต่ทุกวันนี้แม้ว่าแทบทุกวัดจะมีไฟฟ้าใช้กันหมดแล้วแต่การถวายเทียนก็ยังเป็นประเพณีที่อยู่คู่ชาวพุทธสืบมา


สำหรับการทำต้นเทียนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ต้นเทียนชนิดมัดรวมติดตาย ต้นเทียนแบบแกะสลัก และต้นเทียนแบบติดพิมพ์ ซึ่ง 2 ประเภทหลังคือเทียนที่ชาวจังหวัดอุบลฯ จัดขบวนแห่และประกวดต้นเทียนกัน

ในการทำเทียนแบบแกะสลักที่วัดศรีประดู่ ชาติชาย ศรีนอ เครือข่ายภาคประชาสังคม จังหวัดอุบลราชธานี อธิบายว่า เริ่มจากการขึ้นโครงด้วยปูนก่อน จากนั้นจะนำเทียนไปต้มจนเหลวมาใส่พิมพ์สี่เหลี่ยม แล้วนำไปแปะบนโครง ใช้หัวแร้งเชื่อมเชื่อมรอยต่อระหว่างแผ่น จากนั้นจึงแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ และแปะแผ่นเทียนเพิ่มในส่วนที่ต้องการให้หนาขึ้นตามที่ช่างกำหนดไว้ มักประดิษฐ์เป็นเรื่องราวพุทธประวัติหรือชาดก เพื่อโน้มน้าวจิตใจของพุทธศาสนิกชนให้เกิดความเลื่อมใส รู้สึกอิ่มใจเมื่อได้พบเห็น ส่วนความสวยงามขนาดไหน ตำแหน่งที่หนึ่งเป็นเครื่องการันตีได้


"ก่อนหน้านี้ เรียกได้ว่าวัดนี้ผูกขาดรางวัลการประกวดเลย ทางกรรมการจึงตั้งกติกาว่าถ้าวัดไหนได้รางวัลในปีนี้ ปีถัดไปจะต้องหยุดทำขบวนแห่เทียนเพื่อให้ได้รางวัลกระจายกัน" ชาติชายอธิบาย

มาดูเทียนแบบติดพิมพ์กันบ้าง สังฆะรักษ์จันดี สุจันโท เลขาฯ เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง เล่าว่า วิธีการเหมือนกับแบบแกะสลักที่ต้องใช้ปูนปลาสเตอร์ทำเป็นรูปก่อน ทาเทียนไว้บางๆ จากนั้นจึงนำขี้ผึ้งที่ได้มาจากรังผึ้งมาตีลายลงไป ตัดตามรอยที่พิมพ์และนำมาติดที่โครงทีละชิ้นจนครบถ้วน จากขี้ผึ้งชิ้นเล็กๆ นับหมื่นชิ้นก็จะกลายเป็นขบวนเทียนที่ยิ่งใหญ่ โดยมักจะประดิษฐ์เป็นเรื่องราวพุทธประวัติหรือชาดกเช่นเดียวกับแบบแกะสลัก


ที่อื่นอาจจะเป็นรูปสมัยปัจจุบัน เช่นล้อนักการเมือง แต่ที่อุบลเราจะเน้นเป็นพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า เช่น ตอนที่ท่านออกบวช ตรัสรู้ ปรินิพพาน หรือเป็นชาดกตอนที่เด่นๆ เช่น พระเตมีย์ตอนที่ยกเทียน พระเนมิราชตอนที่นั่งรถม้า พระภูริทัติตอนที่เป็นนาค พระเวสสันดรกับพระนางมัทรีและกัญหาชาลี มีรูปเด็กด้วยเด็กๆ เขาจะชอบดู” สังฆะรักษ์จันดีกล่าว


ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์เทียนแบบใด ก็ล้วนต้องอาศัยความร่วมมือของผู้คนในชุมชนจำนวนมาก ใช้เวลาในการดำเนินการไม่น้อยกว่า 2 เดือน ใช้ทุนเป็นหลักแสน เทียนที่งดงามวิจิตรแต่ละต้นล้วนสะท้อนถึงภูมิปัญญาศรัทธาของชาวพุทธที่น่าชื่นชมศึกษา นอกจากนี้ การแห่เทียนพรรษาก็เป็นประเพณีที่สำคัญของเมืองอุบลฯ ที่แสดงคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้ลูกหลานได้รู้จักต่อไปอีกนานแสนนาน



เห็นในข่าวมีสวยๆเยอะเลยอะ เก่งจัง

ข้อมูลจาก //www.kapook.com




Create Date : 09 สิงหาคม 2552
Last Update : 9 สิงหาคม 2552 23:45:24 น.
Counter : 755 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
สิงหาคม 2552

 
 
 
 
 
 
1
2
3
7
8
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
24
25
26
28
29
30
 
 
All Blog