พิพิธภัณฑ์บ้านจักรยานเก่า
สำหรับนักสะสมของเก่าแล้วล่ะก็ แทบจะไม่มีใคร ไม่รู้จัก “บ้านจักรยาน” โดยเฉพาะจักรยานเก่า รูปแบบแปลกๆ ซึ่งมีให้ชมกว่า 400 คัน โดย อ. ทวีไทย บริบูรณ์ บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ใน ซ. สวนผัก 6 เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ




จักรยานเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากเสด็จประพาสหลายประเทศในยุโรป ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาจักรยานนับสิบล้านคันได้ถูกนำมาจำหน่ายในประเทศไทย และได้กลายเป็นของเก่าอันมีค่าที่นักสะสมอย่าง อ. ทวีไทย บริบูรณ์ สะสมไว้กว่า 400 คัน


แรกเริ่มนั้นอาจารย์สะสม นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาพก นาฬิกาแขวน และนาฬิกาตั้งโต๊ะ โดยมีจำนวน 2 พันกว่าเรือน แต่ปัจจุบันไม่มีให้ชม เพราะคนที่มาเยี่ยมชมกว้านซื้อไปจนหมด

การมาเที่ยวที่บ้านจักยาน คุณจะได้ชมมากกว่าจักรยาน เพราะอาจารย์มีของสะสมมากมาย อาทิ หนังสือ เอกสาร รูปรุ่นแรก ๆ พัดลมแขวน พัดลมตั้งโต๊ะ แสตมป์ ขวดน้ำอัดลม ขวดเหล้า ตู้ไทย รถยนต์โบราณ ยาหม่อง เครื่องโกนหนวด ฯลฯ ซึ่งแต่ละชิ้นล้วนทรงคุณค่า เพราะเป็นสิ่งที่หาชมได้ยาก และผ่านกาลเวลามายาวนาน






อาจารย์เป็นคนชอบต้นไม้ ภายในบริเวณบ้านจึงร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ เพราะมีต้นไม้ตลอดทาง และด้านในสุดของบ้านยังมีมุมของต้นไม้โดยเฉพาะ


นอกจากของสะสมนานาชนิดที่หาชมได้ยากดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเครื่องปั้นดินเผาหน้าตาแปลก ๆ ซึ่งเป็นผลงานของอาจารย์ทั้งหมด เช่น เครื่องปั้นดินเผารูปหมู เครื่องปั้นดินเผารูปหมา เป็นต้น


ไม่เพียงเท่านั้น อาจารย์ได้นำไม้เท้า มาเพิ่มค่าของชิ้นงาน โดยทำบริเวณหัวไม้ให้มีลวดลายต่าง ๆ กัน แล้วก็ยังมีการนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นที่ใส่ต้นไม้ เป็นต้น


ของทุกชิ้นที่จัดแสดงในบ้านหลังนี้ อาจารย์ขายหมด ใครต้องการซื้อ ก็ขาย ถามว่าอาจารย์ไม่เสียดายเหรอ อาจารย์บอกว่า “จะไปเสียดายทำไม ของเหล่านี้ ถ้ามันไม่จากเราไป สักวันเราก็ต้องจากมันไปอยู่ดี”

แนวคิดในการสะสมของเหล่านี้ อาจารย์บอกว่า “เก็บเพราะอยากเก็บ อยากมี อยากทำ พออยากมี ก็อยากมีมาก พอให้รู้ให้ครบให้มากที่สุด เหมือนคนอยากมีเงิน มีที่ดินมาก ๆ มีอะไรเต็มที่อย่างที่คนมีเขามีกัน”

จักรยานอยู่ในใจอาจารย์มา 40 ปี เริ่มวางแผนเก็บจริง ๆ จัง ๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2539 – 2540 และในปี พ.ศ. 2542 ได้ไปออกงาน 100 ปีจักรยานที่โรงแรมเพ็นนินซูล่า โดยนำจักรยานไปแสดงจำนวน 100 คัน จึงทำให้บ้านจักรยานเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้น แต่คนทั่วไปจะรู้จักอาจารย์จากเครื่องปั้นดินเผา เพราะผลงานของอาจารย์เป็นงานที่มีเอกลักษณ์ในตัวมันเอง ซึ่งอาจารย์เป็นคนออกแบบเองทั้งหมด

อาจารย์พูดเสมอว่า “ที่นี่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ เป็นเพียงบ้านที่มีจักรยาน และอะไหล่ส่วนหน้า อะไรที่มีมากไม่ใช่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ไปได้ง่าย ๆ เพราะคำว่าพิพิธภัณฑ์ ควร – มี – เก็บ – ให้ กับผู้ที่เข้ามารับประโยชน์อย่างมีกระบวนการ และแบบวิธีทางวิชาการที่ครบถ้วนถูกต้อง”

การมาเที่ยวที่นี่นอกจากจะได้ชมสิ่งของที่หายากแล้ว หากไม่รีบร้อนไปที่ไหนต่อ ลองนั่งคุยกับเจ้าของผลงานสะสมงานทั้งหลายที่กล่าวมา คุณอาจได้ข้อคิดอะไรดี ๆ กลับไปด้วย

อ. ทวีไทย บริบูรณ์
- เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2489 อ. พนัสนิคม จ. ชลบุรี
- จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยศิลปากร
- รับราชการตำแหน่งอาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- จัดตั้งบริษัท ไทยเทอราเซรามิค ผลิตงานเครื่องปั้นดินเผา (โดยการศึกษาด้วยตนเอง) ปี พ.ศ. 2515-2536 จำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ

ผลงานที่สำคัญ
- กระเบื้องเคลือบองค์พระปฐมเจดีย์ จ. นครปฐม ปี พ.ศ. 2522
- กระเบื้องภาพผนัง ธนาคารกรุงเทพ สำหนักงานใหญ่ สาขาลอนดอน สิงคโปร์ โตเกียว กระเบื้องปูผนัง ธนาคารกรุงเทพ ต่างจังหวัด 29 สาขา
- กระเบื้องภาพผนัง ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
- กระเบื้องภาพผนัง ธนาคารสหธนาคาร ธนาคารสหมาลยัน
- ซ่อมแซมยักษ์วัดพระแก้ว 11 ตน ด้วยกระเบื้องประดับทั้งหมด
- ซ่อมแซมปราสาทพระเทพบิดร และพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
- ทำกระเบื้องหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติ จ. นนทบุรี
- ทำกระเบื้องหน้าศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ
- งานกระเบื้องรอบองค์พระพุทธมณฑล จ. นครปฐม
- เจดีย์วัดโพธิ์องค์ใหญ่ 5 องค์ และองค์เล็ก 1 องค์
- ผลิตงานเครื่องปั้นที่เป็นลักษณะปูนปั้นส่งออกต่างประเทศรวมทั้งงาน Dolomitl เป็นโรงงานแห่งแรกในเมืองไทย 2529-2536

งานด้านการศึกษา – สังคม
- ก่อตั้งศูนย์เครื่องปั้นดินเผา ศิลปาชีพ บ้านกุดนาขาม จ. สกลนคร
- ก่อตั้งศูนย์เครื่องปั้นดินเผา ศิลปาชีพ สวนผึ้ง จ. ราชบุรี
- วิทยากรคณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พัฒนาฟื้นฟูโรงงานเครื่องปั้นดินเผา ศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์ อ. พิปูน จ. นครศรีธรรมราช
- ก่อตั้งโรงงานเครื่องปั้นดินเผา ดอยตุง จ. เชียงราย

ข้อมูลทั่วไป
- เปิดทุกวันเวลา 09.00-17.00 น.
- ไม่เสียค่าเข้าชม
- ติดต่อ โทร. 0-2424-4705
การเดินทาง
รถประจำทางสาย 19, 40, 57, 123, 124, 146, 149, ปอ. 79
แหล่งข้อมูล
กองการท่องเที่ยว (กรุงเทพมหานคร)
ขอขอบคุณ
อ. ทวีไทย บริบูรณ์




ข้อมูลจากwww.nairobroo.com



Create Date : 21 มกราคม 2553
Last Update : 21 มกราคม 2553 23:54:22 น.
Counter : 1110 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
มกราคม 2553

 
 
 
 
 
1
2
5
6
7
9
12
13
15
17
20
22
23
24
25
27
28
29
30
 
 
All Blog