เทอมเดียวก็เกินพอกับ Lab กริ๊ง!!!! (และเด็กวิศวฯ โยธา มช.)
เทอมเดียวก็เกินพอกับ Lab กริ๊ง!!!! (และเด็กวิศวฯ โยธา มช.) ว่าด้วยเรื่องของ การสอบ Lab กริ๊ง ได้ยินครั้งแรกตอนปี 1 เพราะเมทคณะเกษตร 2 คนมันคุยกันเรื่องสอบ Lab ของซักวิชานึง(จำไม่ได้ละ) ไอ้เราก็งง ว่า ไอ้สอบ Lab กริ๊งมันเป็นยังไง เพื่อนเมทมันก็เล่าให้ฟังว่าเป็นการสอบแบบที่จำนวนข้อสอบเท่ากับจำนวนคน แต่ละคนจะเริ่มทำข้อสอบคนละข้อ ให้เวลาจำกัดในแต่ละข้อพอได้ยินเสียงกริ๊งก็ต้องเดินไปทำข้อต่อไป วนไปจนว่าจะครบทุกข้อ ทุกคนทำเสร็จพร้อมกันหมด เราก็คิดในใจ เออ...โชคดีไป เราคงไม่ได้เรียนวิชาที่ต้องสอบ Lab กริ๊งแบบนี้หรอก ที่ไหนได้ พอขึ้นปี 2 มาเท่านั้นล่ะจ้า เทอมแรกมาเลยค่ะ Geology for Engineers เป็นวิชาของภาคธรณี คณะวิทยาศาสตร์ พวกที่ไปเรียนก็พวกวิดวะโยธาด้วยกันนี่แหละ ไปเรียนที่ภาคธรณีโน่นเลยค่ะ เรียนรู้เรื่องแร่ เรื่องหินกันไป หลังจากเรียนรู้ไปแล้วก็ต้องมาทดสอบกันว่าคุณมีความสามารถในการแยกแร่แยกหินได้ดีแค่ไหน จ๊ะ!! มาแล้วค่ะ การสอบ Lab กริ๊ง ก่อนสอบเราก็ต้องมีการเตรียมตัวทั้งอ่านทั้งท่องจำ ณ ตอนนั้นด้วยความที่รู้จักรุ่นพี่ที่เรียนธรณีหลายคน(พวกนักกีฬารักบี้ของคณะวิดยาในยุคนั้น เรียนธรณีค่อนทีม) เราก็รู้สึกมีความหวัง หวังจะให้พี่ๆช่วยติวและบอกเคล็ดลับการจำแร่และหินแต่ละชนิด เราก็ไปถามไปปรึกษารุ่นพี่กลุ่มนั้นค่ะ แต่ๆๆๆ ผลที่ได้กลับมาคือ พี่ๆเค้าบอกว่า มันก็ไม่มีอะไรหรอก ดูบ่อยๆอ่านบ่อยๆ เด๋วก็จำได้เอง ห๊ะ!! แค่นี้อ่ะนะ พอถึงวันสอบ อาจารย์จัดกลุ่มให้เข้าสอบทีละ 20 คน(ถ้าจำไม่ผิด) เข้าห้องสอบไปก็เจอ ชิ้นตัวอย่างแร่และหินวางอยู่บนโต๊ะ วางห่างๆกัน 20 ชิ้น อาจารย์ก็ให้เข้าไปยืนตามตำแหน่งที่มีแร่วางอยู่ แล้วอาจารย์ก็ให้สัญญาณเริ่มทำข้อสอบ คือให้พิจารณาแร่และหินบนโต๊ะนั้นแล้วตอบว่าเป็นแร่หรือหินชนิดใด อาจารย์ให้เวลาทำข้อละประมาณ 1 นาที ในขณะที่กำลังพิจารณาอยู่ก็ต้องรีบตัดสินใจว่าจะตอบอะไรและเขียนคำตอบลงไป จะมัวลังเลทั้งๆที่มันก็น่าลังเลแบบว่า อันนี้มันมีสีเหมือนแร่นั้นกับแร่นั้น ความแข็งก็ใกล้เคียงกัน ริ้วลายก็เหมือนแร่อันนั้น เอ๊ะ!! หรือจะเป็นแร่อันนั้นวะ แล้วสรุปมันคือแร่อะไร ถ้าคิดไม่ออกก็ตัดใจเดาไปค่ะ เพราะพอสัญญาณกริ๊งดังขึ้นก็ต้องเดินไปข้อถัดไปจะมัวมาอาลัยอาวรณ์ข้อเดิมไม่ได้ เพราะข้อต่อไปก็ไม่ต่างกับข้อก่อนหน้า พอทำไปซักพัก ก็จะเกิดความรู้สึกว่า ทำไมข้อนี้มันคล้ายข้อนั้นวะ แล้วอาจารย์บอกว่า แต่ละข้อมันเป็นแร่คนละชนิดกัน ความบันเทิงก็บังเกิดขึ้นมาในหัวเบาๆ สรุปอันไหนคือแร่ไหนกันแน่วะ กว่าจะครบ 20 นาที 20 ข้อ บอกเลยว่ามึนค่ะ มึนมากกกก ออกห้องสอบมาแบบงงๆ ห้ามใครมาถามว่าข้อนั้นแร่ไรวะ ข้อนั้นแร่นี้รึเปล่าวะ แยกย้ายค่ะ แยกย้ายไปทางใครทางมัน ใครอย่ามาคุยกับกรูนะ กรูยังไม่พร้อมคุยกับใคร ไปตั้งสติก่อนไปเรียนวิชาอื่นต่อ คิดในใจ พอกันทีชีวิตนี้หวังว่าเราจะไม่เจอกันอีกนะ สอบ Lab กริ๊ง ถึงรู้จักรุ่นพี่ธรณี ก็ไม่ช่วยอะไร เรายังต้องถือคติ “อัตตาหิ อัตตโนนาโถ” ที่แปลเป็นไทยว่า “รักย่อมเข้าใจในรัก” เอ๊ย!! “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ที่เราต้องพึ่งตนเองจริงๆ เพื่อนข้างๆก็ช่วยไม่ได้เหมือนกัน เพราะสภาพมันก็ไม่ต่างจากเราเท่าไหร่ 5555+ 
Create Date : 04 สิงหาคม 2563 |
Last Update : 4 สิงหาคม 2563 10:21:22 น. |
|
0 comments
|
Counter : 495 Pageviews. |
 |
|