" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
23 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
268. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่




7020. อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์

การก่อตั้งอาณาจักรล้านนา

การก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เกิดขึ้น เมื่อพญามังราย กษัตริย์ผู้ครองเมืองหิรันครเงินยาง ซึ่งถือได้ว่า เป็นปฐมกษัตริย์ของ อาณาจักรล้านนา ได้ทำการ รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ที่กระจายอยู่และไม่ขึ้นแก่กัน และยกทัพไปตีเมืองต่างๆ ที่อยู่ในแคว้นโยนก เพื่อรวบรวม เข้าไว้เป็นอาณาจักรเดียวกัน ในปี พ.ศ.1805 ได้ทรงสร้างเมืองเชียงราย หลังจากนั้นได้ยกทัพไปตีเมืองต่างๆ รวมทั้งแคว้นหริภุญไชย ซึ่งอยู่ในเขตราบลุ่มแม่น้ำปิง ในปี พ.ศ.1812 ยึดเมืองเชียงของได้ ปี พ.ศ.1819 ยกทัพไปตีเมืองพะเยาซึ่งในขณะนั้นพญางำเมืองครอบครองอยู่ แต่ไม่มีการรบเกิดขึ้นและเป็นมิตรไมตรีต่อกัน จึงทำให้แคว้นพะเยาเป็นอิสระ ในปี พ.ศ.1824 สามารถยึดเมืองหริภุญไชยได้ และทรงประทับอยู่ที่เมืองหริภุญไชยเป็นเวลา 2 ปี จึงได้ย้ายมาสร้างเวียงใหม่ขึ้นเป็นที่ประทับ ในปี พ.ศ.1829 ชื่อ เวียงกุมกาม

(คำว่าเวียง ในภาษาลาว คือ เมือง หรือเมืองใหญ่ เมืองหลวงนั่นเอง)






7021. อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์

ในขณะที่พญามังรายกำลังเรืองอำนาจอยู่นั้น ก็เป็นช่วงที่ อาณาจักรสุโขทัยซึ่งปกครองโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กำลังเรืองอำนาจอยู่เหมือนกัน แต่ไม่มีการสู้รบกัน เนื่องจาก พญามังราย พ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานต่อ กัน ในปีพ.ศ.1839 ได้ทรงคิดจะสร้างเมืองแห่งใหม่ขึ้น จึงได้อัญเชิญ พระสหายร่วมน้ำสาบาน มาเลือกทำเล ณ บริเวณ ที่ราบลุ่มเชิงดอยสุเทพ และทรงตั้งชื่อว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

พ่อขุนรามคำแหง ทรงมีพระราชปรารภว่า "เมืองนี้ข้าศึกจะเบียดเบียนทำร้ายมิได้ คนใหนมีเงินพันมาอยู่เมืองนี้จะมีเงินหมื่น ครั้นมีเงินหมื่นมาอยู่จะมีเงินแสน"

ส่วนพญางำเมือง ได้ถวายความเห็นว่า
"เขตเมืองนี้ดีจริง เพราะว่าเนื้อดินมีพรรณรังษี 5 ประการ มีชัย 7 ประการ"






7022. อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์


เมืองนี้มีสิทธินักแล ส่วนกำแพงเมืองที่สร้างขึ้น กว้างด้านละ 800 วา ยาวด้านละ 1000 วา และถือได้ว่า เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาหลังจากสร้างเมืองเชียงใหม่ได้ไม่นาน พญาเบิก ผู้ครองนครเขลางค์ซึ่งเป็นราชบุตรของอดีตผู้ครองแคว้นหริภุญไชย ได้ยกทัพมาเพื่อจะชิงเมืองหริภุญไชยคืน แต่กองทัพเมืองเชียงใหม่รบชนะ และต่อมาสามารถยึดเมืองเขลางค์ ให้ขึ้นตรงต่อเมืองเชียงใหม่ ซึ่งนับเป็นการขยายดินแดนและรวมเอาบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่น้ำวังเข้าไว้เป็น ส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา


ที่มา: //www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/reply_topic.php?id=60735




7023. อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์

อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เป็นอนุสาวรีย์ที่ประดิษฐานพระบรมรูปของพระยามังราย พญาร่วงแห่งสุโขทัย และพญางำเมืองจากพะเยา




7030. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ คือ อาคารด้านหลังอนุเสาวรีย์สามกษัตริย์





7029. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เดิม คือ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่






7019. อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์ และ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่






7038. อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์ และ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่





7017. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

CHIANGMAI CITY ARTS & CULTURAL CENTRE

Regional Development Program Support by Tourism Authority of Thailand And Japan Bank For International Cooperation (JBIC)




7040. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

CHIANGMAI CITY ARTS & CULTURAL CENTRE

Regional Development Program Support by Tourism Authority of Thailand And Japan Bank For International Cooperation (JBIC)





7016. ขอเชิญชมการแสดง แสง-เสียง ขนาดเล็ก

"นพบุรี ศรีนครพิงค์เชียงใหม่"
ณ. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (ข้างอนุเสาวรีย์สามกษัตริย์)

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่

ชมฟรี
วันละ 2 รอบ
เวลา 19.00 น : บรรยายภาษาไทย
เวลา 20.00 น : บรรยายภาษาอังเกฤษ

กำหนดการแสดง

* วันอาทิตย์ ที่ 21 พ.ย 2553 (ผ่านไปแล้ว)
* วันอาทิตย์ ที่ 19 ธ.ค. 2553 (ผ่านไปแล้ว)
วันอาทิตย์ ที่ 16 ม.ค. 25554 (กำหนดนัดหมายไว้ในปฏิทินได้เลยครับ)
วันอาทิตย์ ที่ 20 ก.พ. 2554 (กำหนดนัดหมายไว้ในปฏิทินได้เลยครับ)
วันอาทิตย์ ที่ 20 มี.ค 2554 (กำหนดนัดหมายไว้ในปฏิทินได้เลยครับ)




7039. ประตูทางเข้า หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่





7036. อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์ และ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่





7043. บริเวณ "ข่วง" อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์




7042. อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์

"ทั้งสามกษัตริย์เป็นเพื่อนร่วมสำนักเรียนที่เมืองละโว้"

เป็นความรู้ที่ได้รับมาจาก ท่านรองศาสตราจารย์ ดร.รัตนาพร เศรษฐกุล
ผู้อำนวยการสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยพายัพ จึงขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มาไว้ณ.ที่แห่งนี้ด้วยครับ

(อยากทราบมานานแล้วว่า กษัตริย์ทั้สามท่านนี้รู้จักกันมาได้อย่างไร?)





7018. เข้าไปดูบริเวณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่






7045. บริเวณด้านทิศใต้ของ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่





7046. อาคาร หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่




7047. อาคาร หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่




7048. อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์




7049. อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์





7051. ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาเฮือน

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ แต่เดิมคือศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ประตูนี้เป็นทางขึ้นลงสำหรับเจ้าเมืองเชียงใหม่ในอดีต และ เป็นสถานที่สำหรับต้อนรับแขกแก้ว แขกบ้าน แขกเมือง

ประตูแห่งนี้ ยินดีต้อนรับท่านในฐานะ "แขกแก้ว" ผู้มาเยือน หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ท่านได้มาชนเรื่องราวและตำนานแห่งศิลปวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่




7052. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ มีความยินดีต้อนรับทุกๆท่าน เจ้าๆๆ





7059. พ.ศ. ๒๔๖๗

จากจารึก พ.ศ. ๒๔๖๗ ทำให้เข้าใจได้ว่า อาคาร หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ มีอายุได้ 86 ปี หรือ สร้างมาได้ 86 ปี




7054. อาคารหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ มีอายุได้ 86 ปี แล้ว ?






7055. อาคารหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ มีอายุได้ 86 ปี แล้ว ?




7056. อาคารหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ มีอายุได้ 86 ปี แล้ว ?




7057. อาคารหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ มีอายุได้ 86 ปี แล้ว ?





7058. อาคารหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ มีอายุได้ 86 ปี แล้ว ?





7063. แบบจำลองเมืองเชียงใหม่ (บริเวณภายในคูเมืองทั้งสี่ด้าน)

จากข้อมูลเขียนไว้ว่า

"กำแพงเมืองที่สร้างขึ้น กว้างด้านละ 800 วา ยาวด้านละ 1000 วา"

แต่ จขบ.ไม่ทราบด้านกว้าง ด้านยาว คือ ด้านทิศไหน ท่านผู้ใดทราบขอความกรุณาบอกเป็นวิทยาทานด้วยครับ




7025. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

คัดลอกมจากคำนำ รายงานประจำปี 2553 หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่


หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เป็นองค์กรภายใต้สังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ เปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2545 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 8 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ เพื่อเป็นสถานที่ที่คนเชียงใหม่ นักท่องเที่ยว และคนจากท้องถิ่นอื่นได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของเมืองเชียงใหม่

การดำเนินงานของหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ในปี 2553 มีการพัฒนางานจากเดิมเน้นงานบริการข้อมูล นิทรรศการถาวรและการเผยแพร่งานสาธิตภูมิปัญญา โดยเน้นงานเครือข่าย การสนับสนุนและร่วมงานกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การรักษาสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ ยังได้ขยายขอบเขตงานสู่การรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์

การดำเนินงานในระยะต่อไป มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่จะต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงนิทรรศการ การซ่อมบำรุงสถานที่ การร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆในการทำกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์ และ การพัฒนาบุคลากร เพื่อให้หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่มีประสิทธิภาพในการให้บริการเรียนรู้และสนับสนุนต่อการพัฒนาเมืองมากยิ่งขึ้น

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่มุ่งหวังว่างานทั้งหมดที่ได้ดำนินการนี้จะส่งผลต่อการเผยแพร่ประวัติศาสตร์และดำรงรักษาเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ให้คงอยู่อย่างเข้มแข็งท่ามกลางการพัฒนาเมืองต่อไป

สุวารี วงค์กองแก้ว
หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาเมือง





7075. คุณสุวารี วงค์กองแก้ว หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาเมือง


เป้าหมาย

ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ในปี พ.ศ.2553 หอศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินการ ดังนี้

1.เป็นสถานที่สำหรับให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมประเพณี เอกลักษณ์สิ่งดีงามของเชียงใหม่แก่คนทุกคน

2. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต (Living Museum)

3. เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการบริหาร ด้านการบริหารสถานที่ งานนิทรรศการ และ บุคคลากร

4. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่




7069. ทัศนศึกษาชมสถาปัตยกรรมล้านนา






7070. ทัศนศึกษาชมสถานประกอบการ





7071. ทัศนศึกษาชมแหล่งบ้านเก่า





7072. นิทรรศการ "มาลาทิพย์ แถลงถ้อง ลายคำ"





7074. นิทรรศการ "รักษ์ ... ปิ๊ดตะลิว"





7077. กิจกรรม "ศิลปะ - การแสดง - ล้านนา - 2553"





7080. ทัศนศึกษา ชมแหล่งบ้านเก่า





7037. อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์ และ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่


กิจกรรมหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2553ที่ผ่านมา

1. กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2553

2. กิจกรรม "ศิลปะ-การแสดง-ล้านนา-2553"

3. กิจกรรมการแสดงคอนเสิร์ต "บทเพลงความทรงจำ: ดนตรีแห่งสามเหลี่ยมทองคำ"

4. กิจกรรมสาธิตงานหัตถกรรมศิลป์กลุ่มชาติพันธุ์

5. กิจกรรมทำบุญหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ ประจำปี 2553

6. กิจกรรมงานอาหารและหัตถศิลป์ชนเผ่า

7. กิจกรรมเสวนาหัวข้อ "เพลงและดนตรีชาติพันธุ์ : ทรัพย์สินทางอารมณ์ของผู้คนบนภูเขา"

8. กิจกรรมเสวนาหัวข้อ "สองมือของชาติพันธ์์ สร้างสรรค์หัตถศิลป์"

9. กิจกรรมเสวนาหัวข้อ "ประวัติศาสตร์แห่งการดำรงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์" และ "ทิศทางของอนาคตแห่งการสืบสานห่งโซ่ทางวัฒนธรรม"

10. กิจกรรม "ประเพณีฟ้อนบวงสรวงบรรพกษัตริย์อารักษ์หลวงนครเชียงใหม่ ประจำปี 2553"

11. กิจกรรม "การรณรงค์เพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่"

12. กิจกรรม "ชีวีสุขสันต์ ด้วยพลังคนเมืองเชียงใหม่"


นอกจากนี้แล้ว หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ยังได้ให้การสนับสนุนหน่วยงานและองค์กรอื่นๆในการใช้พื้นที่เพื่อการจัดกิจกรรมต่างๆดังนี้

1. คอนเสิร์ต " My Favorite things, my favorite songs and my beloved friend" ของวง Montfort Sting Orchestra ประจำปี 2552

2. กิจกรรม "ปฏิบัติการเชียงใหม่เอี่ยม"

3. การแสดงแสง-เสียงขนาดเล็ก Mini Light and Sound "นพบุรี ศรีนครพิงค์เชียงใหม่"

4. กิจกรรม "เมืองเชียงใหม่ เขียว สวย หอม"

5. การจัดอบรมศิลปะเด็ก "การพัฒนาเด็กด้วยศิลปะ"

6. การอบรมให้ความรู้พนักงานครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่

7. กิจกรรมการถ่ายทอดสดรายการ "เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และไทยเข้มแข็งในภาคเหนือตอนบน"

8. กิจรรมเที่ยวเหนือสุขใจ ไร้มลพิษ

9. การจัดการประชุม "กองบรรณาธิการร่วม"

10. กิจกรรมการสำรวจ "นกปิ๊ดตะลิว" เชียงใหม่

11. การเสวนาเชิงวิชาการในหัวข้อ "ผ้ายันต์สิหิงค์หลวง: พิจิตรแห่งศรัทธา ล้านนานิรมิต"

สำหรับท่านที่ไม่ได้เข้ามาชม คงได้แต่บอกว่า "เสียดายจัง" แต่ก็ได้หวังว่ากิจกรรมในครั้งต่อๆไป ในปี พ.ศ 2554 ท่านจะได้มาร่วมชนนะครับ





7014. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่




7012. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่






7013. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่




7015. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

แผนงานสำคัญในปี พ.ศ. 2554

1. เตรียมรูปแบบและแผนงานการพัฒนาพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเดิมเป็นสวนสาธารณะ

2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการสืบสานและเผยแพร่ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ของเชียงใหม่

3. รณรงค์เพื่อความร่วมมือในการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่




7064. วันพฤหัสบดี ที่ 23 เดือนธันวาคม พ.ศ.2553





7065. วันพฤหัสบดี ที่ 23 เดือนธันวาคม พ.ศ.2553




7066. วันพฤหัสบดี ที่ 23 เดือนธันวาคม พ.ศ.2553




7067. วันพฤหัสบดี ที่ 23 เดือนธันวาคม พ.ศ.2553




7068. วันพฤหัสบดี ที่ 23 เดือนธันวาคม พ.ศ.2553




7073. วันพฤหัสบดี ที่ 23 เดือนธันวาคม พ.ศ.2553




7076. วันพฤหัสบดี ที่ 23 เดือนธันวาคม พ.ศ.2553





7078. วันพฤหัสบดี ที่ 23 เดือนธันวาคม พ.ศ.2553




7081. แผนงานสำคัญในปี พ.ศ. 2554

1. เตรียมรูปแบบและแผนงานการพัฒนาพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเดิมเป็นสวนสาธารณะ

2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการสืบสานและเผยแพร่ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ของเชียงใหม่

3. รณรงค์เพื่อความร่วมมือในการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่





7082. ถังดับเพลิง : Fire Extinguisher

ผู้บริจาค : เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่




7083. หม้อน้ำ : น้ำใจ





7053. มาแอ่ว มาเที่ยว มาเยือน เมืองเชียงใหม่
มา "หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่" โตย นะเจ๊า

-----------------------------------------------------------------------------







อัญมณีแห่งล้านนาไทย
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง


Create Date : 23 ธันวาคม 2553
Last Update : 23 ธันวาคม 2553 21:39:41 น. 1 comments
Counter : 3955 Pageviews.

 
แม้คุณพ่อจะทำงานที่นี่

เราเคยขึ้นตึกนี้ ครั้งเดียวเองมั้ง


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 ธันวาคม 2553 เวลา:20:01:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.