" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
025. วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน







8033.วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน




7991. ป้ายชื่อ วัดสะเลียมหวาน เป็น ตั๋วเมือง


วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน

สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 (ลำพูน - ลี้)
บริเวณกิโลเมตรที่ 113 เลี้ยวเข้าทางบ้านโฮ่งหลวงประมาณ 4 กิโลเมตร

วัดนี้เป็นวัดที่สวยงาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2484
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระเจ้าสะเลียมหวาน ซึ่งแกะสลักจากไม้สะเดา เป็นที่เคารพสักการะของผู้คนทั่วไป

(ข้อมูลจาก://www.holidaythai.com/9kimjor/blogs-866.htm)





8036. ป้ายบอกทาง: วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน

วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
:ถ้าเดินทางมาจาก บ้านโฮ่ง ก็เลี้ยวซ้าย เพื่อไปวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน






8035. ป้ายบอกทาง: วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน

วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
:ถ้าเดินทางมาจาก บ้านเหล่ายาว ก็เลี้ยวขวา เพื่อไปวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน




8037. ทางไป (ด้านทิศตะวันตก) วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน





8033. ป้ายชื่อ: วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน





8034. โครงการถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน บ้านกลาง หมู่ที่ 18





8038. ถนน. ทางไป วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน





7991. ป้ายชื่อ วัดสะเลียมหวาน เป็น ตั๋วเมือง



7990. ประตู วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน




7992. ศาลา 4 มุข หรือ วิหารจตุรมุข แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน





7995. ศาลา ๔ มุข หรือ วิหารจตุรมุข แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
:ถวาย-เป็นอนุสรณ์ ในคราวครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ พระพุทธศาสนา




7994. ศาลา ๔ มุข หรือ วิหารจตุรมุข แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
:ถวาย-เป็นอนุสรณ์ ในคราวครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ พระพุทธศาสนา




8003. ศาลา ๔ มุข แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

:ถวาย-เป็นอนุสรณ์ ในคราวครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ พระพุทธศาสนา




7997. คำประกาศ หรือ จารึก ที่ วิหาร 4 มุข มีใจความอ่านได้ว่า

วัดนี้เป็นวัดโบราณเก่าแก่ รกร้างว่างเปล่ามาช้านาน

ทาง คณะสงฆ์ ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอบ้านโฮ่ง และ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันบูรณะ

โดยได้ก่อสร้าง วิหาร 4 มุข 1 หลัง กว้าง 14 ศอก ( 7 เมตร) ยาว 36 ศอก (18 เมตร) สูง 25 ศอก (17.5 เมตร)

วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499

ทำบุญฉลองเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ ถึง 12 ค่ำ เดือน 8 เหนือ

ถวาย-เป็นอนุสรณ์ในคราวครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ

สิ้นค่าก่อสร้าง 115,774.20 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบสี่บาท ยี่สิบสตางค์)

พระครูสังวรญาณ ประธานก่อสร้าง




8004. เข้าใจว่า เป็นเสา ที่ใช้แทน ใบเสมา แห่ง พระวิหาร 4 มุข วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน





8009. พระวิหารจตุรมุข แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
:ถวาย-เป็นอนุสรณ์ ในคราวครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ พระพุทธศาสนา






8020. พระวิหารจตุรมุข แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
:ถวาย-เป็นอนุสรณ์ ในคราวครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ พระพุทธศาสนา




8025. พระพุทธรูป ด้านหลัง (ทิศตะวันตก) พระวิหารจตุรมุข วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน




8024. พระพุทธรูป ด้านหลัง (ทิศตะวันตก) พระวิหารจตุรมุข วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน





8023. พระพุทธรูป ด้านหลัง (ทิศตะวันตก) แห่ง พระวิหารจตุรมุข
วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน




8010. พระพุทธรูป ด้านหลัง (ทิศตะวันตก) แห่ง พระวิหารจตุรมุข
วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน





8011. พระพุทธรูป ด้านหลัง (ทิศตะวันตก) แห่ง พระวิหารจตุรมุข
วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน




8012. พระพุทธรูป ด้านหลัง (ทิศตะวันตก) แห่ง พระวิหารจตุรมุข
วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน




8013. พระพุทธรูป ด้านหลัง (ทิศตะวันตก) แห่ง พระวิหารจตุรมุข
วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน




8014. คำจารึก ผู้สร้างพระพุทธรูป ด้านหลัง (ทิศตะวันตก) แห่ง พระวิหารจตุรมุข วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

นายสวัสดิ์ นางทองคำ นายสัมพันธ์ คหินทพงศ์
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2504




8026. พระวิหารจตุรมุข วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน





8008. พระเจดีย์ แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน




8015. พระเจดีย์ แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน




8016. พระเจดีย์ แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน





8019. พระเจดีย์ แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน




8022. พระเจดีย์ แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน


สภาพแวดล้อม และ ทัศนียภาพของวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ณ.วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2552 เป็นอย่างไรบ้างเอ่ย





7983. อาคารผู้สูงอายุ บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
:อยู่บริเวณด้านหน้า ประตูทางเข้า วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน




7985. ป้าย โครงการก่อสร้างของเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง




7986.ห้องน้ำหลังอาคารผู้สูงอายุ บ้านกลาง ม.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง




7993. กุฏิพระภิกษุ ด้านทิศตะวันตกของพระเจดีย์ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน





7998. สุนัขที่แสนดี คอยเห่าเตือน เวลามีคนแปลกหน้ามาเข้ามาในวัด




7999. อ่านชื่อ อาคารไม่ออก
:จะเข้าไปอ่านใกล้ๆ เกรงว่าสุนัขจะเข้าใจผิดว่าบุกรุกเข้าไป




8000. เข้าใจว่าเป็น ศาลาบำเพ็ญบุญ แห่ง วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน





8001. เสนาสนะ ภายใน วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน

เสนาสนะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสนาสนะ หมายถึง ที่อยู่อาศัยของภิกษุสงฆ์ เช่น กุฏิ วิหาร ศาลา รวมถึงที่นอนและที่นั่งและเครื่องใช้ เกี่ยวกับสถานที่หรือสิ่งที่ใช้ในการพำนัก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง ตั่ง หมอน หรือแม้แต่โคนต้นไม้

อนึ่ง คำว่า "เสนาสนะ" มาจากศัพท์บาลี ว่า "เสนาสน" สร้างจากศัพท์ "เสน" (ที่นอน) และ "อาสน" (ที่นั่ง)

เนื้อความจาก "วิภังคปกรณ์" กล่าวว่า "[614] เสนาสนะ ได้แก่ เสนาสนะคือเตียงบ้าง เสนาสนะ คือตั่งบ้าง เสนาสนะคือที่นอนบ้าง เสนาสนะคือหมอนบ้าง เสนาสนะคือวิหารบ้าง เสนาสนะคือเพิงบ้าง เสนาสนะคือปราสาทบ้าง เสนาสนะคือป้อมบ้าง เสนาสนะคือโรงบ้าง เสนาสนะคือที่เร้นลับบ้าง เสนาสนะคือถ้ำบ้าง เสนาสนะ คือโคนไม้บ้าง เสนาสนะคือพุ่มไม้ไผ่บ้าง หรือภิกษุยับยั้งอยู่ในที่ใด ที่นั้นทั้งหมด ชื่อว่า เสนาสนะ"





8002. บริเวณ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน มีความสะอาดมาก แสดงถึงการดูแลอย่างดี





8005.




8007. เสนาสนะ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน




8017. เข้าใจว่ามีการใช้ลานวัดส่วนหนึ่งเป็น สนามตะกร้อ หรือ กีฬาอะไรสักอย่างหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน วัด และ ชุมชน





8018. บริเวณภายในวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน สะอาด ร่มรื่น




8029. บริเวณหน้าวัด ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ





8030. มุมกำแพงวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ




8031. ลำเหมือง ด้านทิศตะวันตกของวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
แสดงให้เห็นว่ามีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์





8032.


ตำนานพระเจ้าไม้สะเลียม




ภาพและบทความจาก
://www.lannacorner.net/lanna2008/article/article.php?type=A&ID=441

ตำนานพระเจ้าไม้สะเลียม
บทคัดย่อ : พระเจ้าไม้สะเลียมหวานที่พบในล้านนามีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ คือ ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่ด้านทิศใต้ของพระสถูปในวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้างเมื่อก่อนปี พ.ศ.2472 ส่วนองค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุขวัดพระเจ้า
พระเจ้าไม้สะเลียมหวานที่พบในล้านนามีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ คือ ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่ด้านทิศใต้ของพระสถูปในวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้างเมื่อก่อนปี พ.ศ.2472 ส่วนองค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุขวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2500 เช่นเดียวกับองค์ที่ 3 ซึ่งประดิษฐานอยู่ในศาลาปฏิบัติธรรมวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน

ชื่อของพระเจ้าไม้สะเลียมหวานเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวล้านนา โดยเฉพาะระหว่างชาวอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่กับชาวอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เพราะเคยเกิดกรณีพิพาทในการเรียกร้องความเป็นกรรมสิทธิ์ในพระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้สะเลียมหวาน ถึง 4 ครั้งในช่วงเวลากว่า 30 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ.2472 - 2505

ว่ากันว่าพระเจ้าไม้สะเลียมหวานเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากไม้สะเดาหวาน (คนเมืองล้านนาเรียกไม้ชนิดนี้ว่า "ต้นสะเลียม") เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรประทับบนฐานไม้สี่เหลี่ยม มีห่วงเหล็กสองห่วงซ้ายขวาสำหรับยกองค์พระ พระเจ้าไม้องค์นี้มีพุทธลักษณะงดงามได้สัดส่วน

ปัจจุบันพระเจ้าไม้สะเลียมหวานที่พบในล้านนามีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ คือ ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประดิษฐานอยู่ด้านทิศใต้ของพระสถูปในวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สร้างเมื่อก่อนปี พ.ศ.2472 ส่วนองค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุขวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2500 เช่นเดียวกับองค์ที่ 3 ซึ่งประดิษฐานอยู่ในศาลาปฏิบัติธรรมวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน

ความน่าสนใจของพระเจ้าไม้สะเลียมหวานอยู่ที่องค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง พระพุทธรูปไม้องค์นี้นั้นแต่เดิมเป็นสมบัติของวัดพระแท่นสะเลียมหวาน ปัจจุบันคือวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน สมัยก่อนวัดแห่งนี้เคยเป็นวัดที่มีความเจริญร่งเรืองมีชาวบ้านศรัทธาเป็นจำนวนมาก ต่อมาวัดแห่งนี้ได้ร้างไป ชาวบ้านจึงนำเอาวัตถุโบราณของมีค่าต่างๆ ของวัดนี้ไปฝากที่วัดแห่งอื่นๆ ได้แก่ พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดหน้าตักกว้าง 32 นิ้ว ฝากไว้ที่วัดสันเจดีย์ อำเภอบ้านโฮ่ง และอีกองค์หนึ่งซึ่งมีขนาดเดียวกันนำไปฝากไว้ที่วัดบ้านล้อง ส่วนพระเจ้าไม้สะเลียมหวานนำไปฝากไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง โดยทุกๆ ปีเมื่อถึงวันงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุ ชาวบ้านโฮ่งก็ได้มีการนำดอกไม้ธูปเทียน ตลอดจนจัดสำรับกับข้าวเพื่อมาถวายพระพุทธรูปไม้องค์นี้ จนถือเป็นประเพณีที่ต้องกระทำทุกปี ด้วยเป็นที่ทราบกันว่าพระพุทธรูปไม้สะเลียมที่ประดิษฐานในวิหารหลวงวัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นของชาวบ้านโฮ่ง

กระทั่งเกิดกรณีการเรียกร้องความเป็นกรรมสิทธิ์ระหว่างชาวบ้าน 2 อำเภอ โดยการเรียกร้องครั้งแรกนั้นมีขุนโห้ง หาญผจญพร้อมกับครูบามหาวงศ์ นำชาวบ้านโฮ่งกลุ่มหนึ่งเดินไปเข้าพบกับเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ขณะนั้นเพื่อขออนุญาตให้นำพระเจ้าไม้สะเลียมหวานกลับคืนสู่วัดเดิม กระทั่งเจ้าแก้วนวรัฐได้พิจารณาให้เป็นการตัดสินใจของคณะศรัทธาวัดพระธาตุศรีจอมทองเอง และยังมีการเรียกร้องความเป็นกรรมสิทธิ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่อมาอีก 2 - 3 ครั้ง กระทั่งครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2505 ท่านพระครูสังวรญาณได้พยายามทวงคืนพระเจ้าไม้สะเลียมหวานอีกครั้ง มีคณะกรรมการระดับอำเภอเข้าร่วมด้วยการทำหนังสือขออัญเชิญพระเจ้าไม้สะเลียมหวานกลับคืนสู่อำเภอบ้านโฮ่ง ซึ่งการเรียกร้องในครั้งนั้นทางเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ได้โอนการตัดสินใจให้กับคณะศรัทธาวัดพระธาตุศรีจอมทอง ผลก็คือ เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาไม่ยินยอม

เมื่อเวลาผ่านไป ชาวบ้านโฮ่งจึงได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปไม้สะเลียมหวานองค์ใหม่ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมใจและต่างก็เชื่อว่าพระเจ้าไม้สะเลียมหวานองค์ใหม่นี้ก็มีความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกับองค์เดิมทุกประการ กระทั่งนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมาก็ไม่มีการเรียกร้องกรรมสิทธิ์อีก เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าไม้สะเลียมหวานจึงกลายเป็นเรื่องเล่าสำหรับคนรุ่นหลังไป

ตำนานการสร้างพระเจ้าไม้สะเลียมหวานยังมีความเชื่อเกิดขึ้น 2 เรื่องด้วยกันคือ เรื่องแรกเป็นตำนานพระเจ้าไม้สะเลียมหวานของชาวบ้านโฮ่ง ซึ่งเป็นตำนานลายลักษณ์อักษรที่เขียนขึ้นจากตำนานมุขปาฐะ โดยพระมหาศิลป์ สิกขาสโภ ตามคำบอกเล่าของพระครูสังวรญาณ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2500 กล่าวว่า

"เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อเสด็จมาถึงตำบลหนึ่งซึ่งมีต้นสะเลียม (ต้นสะเดา) ขึ้นอยู่หนาแน่น พระพุทธองค์เมื่อทรงบิณฑบาตแล้วก็แวะพักเสวยภัตตาหารใต้ต้นสะเลียมใหญ่ต้นหนึ่ง เมื่อพระองค์เสร็จจากภัตตกิจแล้วพระองค์จึงทรงเข้าสมาธิ จนกระทั่งเวลาบ่ายเกิดความอัศจรรย์เมื่อเงาของไม้สะเลียมยังคงอยู่กับที่เพื่อถวายให้ร่มเงาแด่พระพุทธเจ้า พระอานนท์จึงเกิดความสงสัยจึงทูลถามพระพุทธองค์ จึงทรงทรงมีดำริว่า ต่อไปเบื้องหน้าจะมีบุคคลผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนานำไม้สะเลียมต้นนี้ไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูปไว้บูชา กระทั่งกาลต่อมาได้มีผู้คนนำต้นไม้สะเลียมดังกล่าวมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปไว้สักการะบูชาประจำหมู่บ้าน ตั้งแต่นั้นมาดินแดนบ้านโฮ่งก็เกิดความอุดมสมบูรณ์ ฝนตกต้องตามฤดูกาล"

ตำนานนี้จึงถือเป็นต้นแบบของตำนานพระเจ้าไม้สะเลียมหวานที่กล่าวถึงกันโดยทั่วไป ขณะเดียวกันก็มีตำนานพระเจ้าไม้สะเลียมหวานที่ประดิษฐานในวิหารหลวงวัดพระธาตุศรีจอมทอง กล่าวว่า "สมัยหนึ่งพระพุทธองค์ได้มาโปรดพวกลัวะในถิ่นนี้ พวกลัวะจึงได้จัดอาสนะให้พระพุทธเจ้าประทับนั่งภายใต้ต้นสะเลียม จากนั้นพระพุทธองค์จึงทำนายไว้ว่าต่อไปคนจะตัดต้นสะเลียมไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูปมีนามว่า พระเจ้าไม้สะเลียมหวาน"

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการอ้างกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของพระเจ้าไม้สะเลียมหวาน รวมถึงการสร้างพระพุทธรูปไม้สะเลียมหวานองค์ใหม่เกิดขึ้นกี่องค์ แต่ชื่อของพระเจ้าไม้สะเลียมหวานยังคงเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่อยู่คู่กับแผ่นดินล้านนาในฐานะของศูนย์จิตใจชาวบ้านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าไม่นับว่าพระองค์นี้เป็นของใคร....

เอกสารประกอบ
วิลักษณ์ ศรีป่าซาง "กรณีพิพนาทพระเจ้าไม้สะเลียมหวาน" ศิลปวัฒนธรรม สิงหาคม, 2539

จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ที่มา:www.chiangmainews.co.th













Moonfleet ได้มาเยือน วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน
บ้านกลาง หมู่ที่.18 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

วันจันทร์ ที่ 7 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2552




313 บ้านโฮ่ง : ไนท์มาร์เก็ต หรือ ถนน.คนเดิน แห่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน


Create Date : 10 ธันวาคม 2552
Last Update : 11 ธันวาคม 2552 9:49:32 น. 1 comments
Counter : 5968 Pageviews.

 
อยากได้พระพุทธรูปกลับมาประดิษฐานที่วัดเหมือนเดิม


โดย: ศิษย์วัดสะเลียม IP: 110.77.193.215 วันที่: 15 มีนาคม 2555 เวลา:16:45:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.