<<
กุมภาพันธ์ 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
13 กุมภาพันธ์ 2551
 

โทรศัพท์ สื่อสารไร้สาย[2.2]

4G ระบบการสื่อสารในอนาคต
โลกยุคโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน ได้ถือกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ๆมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีการคิดค้นและพัฒนากันอย่างรวดเร็ว อันนำมาซึ่งระบบเครือข่ายไร้สาย 4G ที่ เกิดขึ้นในอนาคตทำให้มนุษย์เราในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีจึงต้องก้าวตามเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ให้ทันกับยุคสมัย
ระบบเครือข่ายการสื่อสารในปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 2.5-3G ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารได้ทั้งภาพและเสียง ตลอดรวมถึงข้อความต่างๆอาทิข้อความภาพและตัวอักษรได้ในเวลาอันรวดเร็ว ฉะนั้นประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารไร้สายระบบ 2.5-3G นั้นก็คือ ผู้ใช้นอกจากจะติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงหรือการสนทนาแล้ว ยังสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกันด้วยภาพหรือข้อความต่างๆได้อีกด้วย จนกระทั่งได้มีผู้คิดค้นระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G ขึ้นมา เพื่อรองรับการสื่อสารไร้สายในอนาคต ระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สายแห่งอนาคตดังกล่าว ก็มีคุณสมบัติต่างๆคล้ายคลึงกับระบบเครือข่ายการสื่อสาร ไร้สาย 2.5-3G ในยุคปัจจุบัน แต่ก็มีคุณสมบัติพิเศษซึ่งแตกต่างกันนั้นก็คือ ระบบการสร้างภาพ 3 มิติ แต่ระบบการสร้างภาพ 3 มิตินั้นไม่ใช่ระบบ 3 มิติที่ใช้กันในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นการจำลอง ภาพคนหรือวัตถุที่สมจริงราวกับเป็นคนหรือวัตถุนั้นจริงๆเพียงแต่จับต้องไม่ได้เท่านั้น
อย่างไรก็ดี ประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G มาใช้ นอกจากระบบการ สื่อสารดังกล่าวจะรองรับการสื่อสารในรูปแบบต่างๆแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถที่จะนำโปรแกรมสื่อมัลติมีเดียมาปรับใช้กับเครือข่าย 4G ได้ เนื่องจากระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G นั้น มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิทต่อวินาที โดยการนำโปรแกรมสื่อมัลติมีเดียดังกล่าวมาใช้อาทิเช่น การฟังเพลง MP3 ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสาร เป็นต้น นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นด้วยว่า มีหลายสิ่งที่อาจเป็นไปได้ในระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G โดย Ran Yan รองประธานฝ่ายวิจัยระบบไร้สายบริษัท Lucent Technologies กล่าวว่า มีหลายสิ่งที่อาจเป็นไปได้ในระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G ซึ่งสิ่งใหม่ๆที่ เกิดขึ้นอาจรวมถึงการช่วยเสริมประสิทธิภาพของระบบ GPS (Global Positioning System) ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าในปัจจุบันและหากมีการผสมผสานเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ากับระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G ก็จะสามารถค้นหาตำแหน่งที่ตั้งต่างๆได้ทั่วโลกราวกับว่าบุคคลนั้นได้ไปอยู่ในสถานที่เหล่านั้นจริงๆ เช่น หากคุณไม่อยู่บ้าน แต่มีคนมาเคาะประตูบ้านคุณๆก็อาจจะตัดสินใจใช้เทคโนโลยีนี้ฉายภาพคุณเพื่อทักทายกับคนที่มาเคาะประตูนั้นก็ได้
ถึงกระนั้นคุณสมบัติต่างๆของระบบ 4G ก็ดูเหมือนยังห่างไกลจากความเป็นจริงในตลาดเทคโนโลยีในโลกยุคปัจจุบันมากจนดูราวกับว่าเป็นแค่เพียงนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็ยังเชื่อกันว่าจะต้องมีสักวันหนึ่งที่ระบบ 4G นั้นสามารถช่วยให้มีการใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติที่สมบูรณ์แบบและช่วยให้คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้นโดยอาจจะไปโผล่ที่นั่นที่นี่ได้ตามต้องการ





























WiMAX การสื่อสารไร้สายแห่งอนาคต
เร็วกว่า แรงกว่า ไกลกว่า เทคโนโลยีที่คุณพลาดไม่ได้

บรอดแบนด์ไร้สายจะปฏิวัติไลฟ์สไตล์ของเราด้วยการช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อโดยตรงถึงข้อมูลที่คุณต้องการอย่างรวดเร็ว ได้ทุกที่และทุกเวลาที่ต้องการ
บริการข้อมูลทางบรอดแบนด์เช่น อินเทอร์เน็ต โปรโตคอลและมีเดีย คอนเทนต์ที่เต็มไปด้วยภาพและเสียง มีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในการสร้างความหลากหลายของบริการและส่งผลต่อรายรับของผู้ให้บริการเครือข่ายซึ่งต้องการขยายขอบเขตการครอบคลุมของเครือข่ายข้อมูลบรอดแบนด์โดยไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนการก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐานราคาแพง การส่งข้อมูลในลักษณะบรอดแบนด์ความเร็วสูงแบบไร้สายโดยการส่งผ่านข้อมูลนั้นทางเครือข่ายเสียงเพิ่งจะเกิดขึ้นไม่นาน โดยสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ให้บริการต้องหันมาให้บริการในแนวนี้ก็เพราะเสียงเรียกร้องที่
นับวันจะมากขึ้นๆ ของผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการสื่อสารข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียมากๆ ต้องการใช้บริการและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาแม้ขณะเดินทาง
ไวแม็กซ์คืออะไรกันแน่
ไวแม็กซ์ (WiMAX ซึ่งย่อมาจากคำว่า Worldwide Interoperability for Microwave Access) คือ เทคโนโลยีสำหรับบรอดแบนด์ “ไร้สาย” บางคนเรียกไวแม็กซ์ว่าเป็น “ไว-ไฟที่ใส่ยาโด๊ป” ปัจจุบันถ้าคุณต้องการบรอดแบนด์ คุณสามารถเชื่อมต่อกับสายเคเบิ้ลซึ่งเรียกว่าสายแลนด์โดยใช้ T1, DSL หรือโมเด็มเคเบิล ไวแม็กซ์ คือ มาตรฐานที่มีการวิวัฒนาการสำหรับการสร้างเครือข่ายไร้สายแบบหนึ่งจุดเชื่อมต่อไปยังอีกหลายจุด และทำงานได้ในรัศมีเป็นไมล์ๆ ในทำนองเดียวกันกับที่จุดฮอตสปอต
ไว-ไฟทำงานในการสร้างเครือข่ายได้ในระยะหนึ่งร้อยฟุตภายในอาคารหรือบ้าน นอกจากการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ได้ในรัศมีเป็นไมล์ๆ แล้ว ไวแม็กซ์ยังมีแอพพลิเคชั่นที่หลากหลาย ณ จุดฮอตสปอต มีช่องสื่อสารภาคพื้นดินไร้สาย และยังสามารถเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงอย่างที่องค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องการ
ในอีกสองถึงสามปีข้างหน้า เมื่อมีการนำไวแม็กซ์มาใช้เต็มที่ สถานีฐานไวแม็กซ์จะสามารถแผ่ขยายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังบ้านและธุรกิจในรัศมีถึง 50 กิโลเมตร (30 ไมล์) (โดยทั่วไปจะทำการได้ในรัศมี 3-5 กิโลเมตร เนื่องจากสิ่งกีดขวาง) ในที่สุดสถานีฐานเหล่านี้จะแผ่รัศมีการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงครอบคลุมบริเวณปริมณฑลทั้งหมด ทำให้บริเวณดังกล่าวกลายเป็น WMAN และเป็นเครือข่ายการสื่อสารไร้สายอย่างแท้จริง
ความสามารถในการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ไร้สายโดยไม่ต้องวางสายหรือเคเบิลที่พื้น ช่วยลดต้นทุนการให้บริการในลักษณะดังกล่าวได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นไวแม็กซ์จึงอาจช่วยเปลี่ยนสภาพเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลซึ่งไม่มีโอกาสจะมีระบบการสื่อสารแบบสายเคเบิลความเร็วสูง
เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากเช่นที่มักเกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ในประเทศอย่างอินเดีย เม็กซิโก และประเทศจีน ซึ่งในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานของการสื่อสารแบบมีสาย ระบบไวแม็กซ์อาจเป็นคำตอบหนึ่งของการวางระบบสื่อสารความเร็วสูง

ไวแม็กซ์ทำงานได้อย่างไร
ไวแม็กซ์ได้รับการพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้กลายเป็นรากฐานทางเทคนิคที่สำคัญของเครือข่ายข้อมูลเฉพาะที่ พกพาไปได้และไร้สาย ไวแม็กซ์คือการนำมาตรฐานใหม่ที่เป็น IEEE 802.16 มาใช้ มาตรฐานดังกล่าวนี้ใช้ Orthogonal Frequency Division Multiplexing (OFDM) ในการทำให้การบริการข้อมูล
ไร้สายให้มีความสามารถสูงสุด หลักการของเทคโนโลยี OFDM นี้ก็คือการนำคลื่นความถี่วิทยุเล็กๆ (sub-carrier) มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำคลื่นความถี่วิทยุเล็กๆ (ระดับ kHz) มาจัดสรรให้แก่ผู้ใช้ตามข้อกำหนดคลื่นความถี่วิทยุ การที่เราสามารถนำคลื่นความถี่วิทยุที่มีอยู่ทั้งหมดมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเช่นนี้ทำให้เครือข่าย OFDM มีประโยชน์มหาศาล และมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อข้อมูลความเร็วสูงสำหรับผู้ใช้ทั้งที่อยู่ภายในสถานที่และนอกสถานที่ ปัจจุบันเครือข่ายไร้สาย Wireless Wide Area Network หรือ WWAN ที่อิงเทคโนโลยี OFDM ล้วนแต่เป็นมาตรฐานชนิด IEEE 802.16 ทั้งสิ้น
ผู้ให้บริการจะใช้ไวแม็กซ์บนความถี่ทั้งที่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาต เทคโนโลยีนี้ช่วยให้เราสามารถสื่อสารแบบไร้สายได้ในระยะทางไกลๆ ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาทีในทางทฤษฏี (ความเร็วปกติจะช้ากว่านี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้บริการปรับแต่งสถานีฐานสำหรับการใช้เสปคตรัมของคลื่นความถี่วิทยุอย่างไร) แวนไร้สายที่ใช้เทคโนโลยีไวแม็กซ์ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางมากกว่าเครือข่ายไร้สายเฉพาะที่หรือ Wireless Local Area Networks (WLAN) โดยจะสามารถเชื่อมต่อการสื่อสารไร้สายข้ามไปมาระหว่างอาคารต่างๆ แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกันเป็นบริเวณกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เรายังสามารถนำไวแม็กซ์มาใช้กับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้จำนวนมากรวมถึงการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ในระยะไกลเป็นไมล์ๆ แบบฮอตสปอตและ ระบบเซลลูลาร์ และการเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงสำหรับธุรกิจ

มารู้จักมาตรฐาน IEEE 802.16 สำหรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงกันให้มากขึ้น
สถาบัน IEEE ได้ระดมวิศวกรผู้ชำนาญการนับร้อยๆ คนจากวงการสื่อสารมาช่วยกันกำหนดมาตรฐานสำหรับการสื่อสารไร้สายให้เป็นลำดับขั้นต่างๆ ลำดับขั้นการสื่อสารเหล่านี้ได้แก่มาตรฐาน IEEE 802.15 สำหรับเครือข่ายการสื่อสารส่วนบุคคลแบบ Personal Area Network
(PAN) มาตรฐาน 802.11 สำหรับเครือข่ายการสื่อสารเฉพาะที่หรือ Local Area Network (LAN) มาตรฐาน IEEE 802.16 สำหรับเครือข่ายการสื่อสารสาธารณะในเมืองหรือ Metropolitan Area Network และมาตรฐาน IEEE 802.20 สำหรับเครือข่ายการสื่อสารระยะไกลหรือที่เรียกว่า Wide Area Network (WAN) ซึ่งมีการเสนอขึ้นมาใหม่ มาตรฐานแต่ละอย่างก็คือตัวแทนของเทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในกลุ่มต่างๆ ที่แตกต่างกันไป มาตรฐานเหล่านี้ยังทำงานสนับสนุนซึ่งกันและกันด้วย
ตัวอย่างที่ดีคือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเครือข่ายแลนไร้สายสำหรับผู้ใช้ตามบ้านและในภาคธุรกิจ รวมทั้งการผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดของฮอตสปอตตามอาคารพาณิชย์ต่างๆ ซึ่งใช้มาตรฐาน IEEE 802.11 การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเครือข่ายแลนไร้สายเช่นนี้ส่งผลให้เกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อการสื่อสารความเร็วสูงนี้กลับไปยังอินเทอร์เน็ต ซึ่งมาตรฐานที่มีความสามารถทำได้เช่นนี้คือมาตรฐานชนิด 802.16 โดยสามารถทำให้การเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นนอกสถานที่ หรือจากระยะไกลสามารถสื่อสารกลับไปยังผู้ให้บริการได้ สำหรับผู้ให้บริการและผู้ดำเนินการด้านการสื่อสารแล้ว ระบบที่สร้างบนมาตรฐาน 802.16 เป็นเสมือน “ท่อส่งผ่านข้อมูลการสื่อสารท่อที่สาม” ซึ่งใช้งานได้ง่ายและช่วยให้พวกเขาสามารถนำเสนอบริการสื่อสารแบบความเร็วสูงได้ในระยะไกลเป็นไมล์ๆ โดยมีค่าบริการที่ย่อมเยาสำหรับผู้ใช้บริการนับล้าน ๆ รายทั้งที่เป็นผู้ใช้ตามบ้านและองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก

การออกแบบจากพื้นฐานเพื่อเครือข่ายสาธารณะความเร็วสูง
คณะกรรมการของสถาบัน IEEE ได้รับรองมาตรฐาน IEEE 802.16a ที่ครอบคลุมคลื่นความถี่ระหว่าง 2 กิกะเฮิร์ตซ์และ 11 กิกะเฮิร์ตซ์ในเดือนมกราคม 2546 มาตรฐานนี้คือส่วนขยายของมาตรฐาน IEEE 802.16 สำหรับคลื่นความถี่ 10 - 66 กิกะเฮิร์ตซ์ ที่ประกาศในเดือนเมษายน 2545 หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐาน IEEE 802.16a และได้รับการรับรองในเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งก็คือข้อกำหนดจำเพาะที่เรียกกันว่า 802.16 -2004 ในปัจจุบันที่ใช้สำหรับการเข้าถึงบรอดแบนด์แบบอยู่กับที่ ความถี่ย่อยของช่วงความถี่ที่ 11 กิกะเฮิร์ตซ์นี้ทำให้เราสามารถทำงานในลักษณะที่ไม่มีการเดินสายสัญญาณได้ ทำให้มาตรฐาน 802.16 -2004 เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแอพพลิเคชั่นการสื่อสารทางไกลเป็นไมล์ๆ ที่มักจะเจออุปสรรคอย่างเช่นมีต้นไม้หรืออาคารกีดขวางสัญญาณ หรืออาจจะต้องติดตั้งสถานีฐานไว้บนหลังคาบ้านหรืออาคารแทนที่จะเป็นการติดตั้งเสาสัญญาณบนเขา
รูปแบบของระบบที่ใช้มาตรฐาน 802.16 -2004 แบบที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดก็คือการติดตั้งสถานีฐานไว้บนอาคารหรือหอคอยที่สื่อสารแบบหนึ่งจุดสู่หลายจุด โดยสถานีของผู้ใช้บริการอาจจะอยู่ภายในบริษัทหรือบ้าน มาตรฐานแบบ 802.16 -2004 มีรัศมีทำการครอบคลุมได้สูงสุดถึง 30 ไมล์ ซึ่งตามปกติในการใช้งานสภาพจริงก็จะอยู่ที่ประมาณ 4-6 ไมล์ ซึ่งถ้าอยู่ในระยะดังกล่าวนี้ผู้ใช้ก็มั่นใจได้ว่าประสิทธิภาพการสื่อสารจะดีที่สุด นอกจากนี้ มาตรฐานแบบ 802.16 -2004 ยังเป็นเทคโนโลยีช่องสื่อสารภาคพื้นดินแบบไร้สายที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมต่อแลนไร้สาย 802.11 และฮอตสปอตเชิงพาณิชย์เข้ากับอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีไร้สายแบบ 802.16 -2004 ช่วยให้ธุรกิจมีความคล่องตัวในการนำฮอตสปอตรุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐาน 802.11 มาใช้ในพื้นที่ซึ่งอาจจะใช้การเชื่อมต่อแบบมีสายแบบดั้งเดิมไม่ได้หรืออาจจะกินเวลาในการจัดหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ให้บริการทั่วโลกมีวิธีการใหม่ๆ ในการกระตุ้นการเติบโตของส่วนตลาดผู้ใช้บรอดแบนด์ในที่พักอาศัย ด้วยอัตราการใช้ข้อมูลร่วมกันที่ 75 เมกะบิตต่อวินาที ใช้ช่องความถี่ขนาด 20 เมกะเฮิร์ตซ์และ “เซ็กเตอร์” หนึ่งของสถานีฐาน 802.16-2004 (เซ็กเตอร์คือคู่ของคลื่นวิทยุ
ในการรับ/ส่งที่สถานีฐานแต่ละคู่) ทำให้มีแบนด์วิธเพียงพอสำหรับให้บริการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงแก่องค์กรธุรกิจได้ด้วยความสามารถในการเชื่อมต่อระดับ T1 เป็นจำนวนถึงกว่า 60 รายในเวลาเดียวกัน และยังสามารถให้บริการด้วยการเชื่อมต่อด้วยอัตราดีเอสแอลแก่ผู้ใช้ตามบ้านได้นับหลายร้อยหลังอีกด้วย การที่ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการจะดำเนินธุรกิจให้มีกำไรได้นั้น ต้องสามารถที่จะสร้างรูปแบบฐานลูกค้าของตนให้มีการผสมผสานกันทั้งกลุ่มที่เป็นลูกค้าบริษัทต่างๆ ที่ใช้บริการระดับสูงซึ่งสร้างรายได้ให้ตนได้มาก กับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ใช้ตามบ้านซึ่งแม้ยอดใช้บริการต่อรายจะน้อยแต่จะมีจำนวนมากกว่า มาตรฐานแบบ 802.16 -2004 คือคำตอบที่ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการต้องการเพราะสามารถจะนำไปใช้กับรูปแบบบริการที่หลากหลาย ซึ่งรวมทั้งบริการแบบ T1 ที่มีการรับรองเทคโนโลยีและเหมาะกับภาคธุรกิจ และแบบ DSL สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน
มาตรฐานแบบ 802.16 -2004 นี้ยังมีคุณสมบัติในการรักษาความปลอดภัยที่ยอดเยี่ยมและมีคุณภาพของบริการที่เหมาะกับการให้บริการที่ต้องอาศัยการส่งผ่านข้อมูลอย่างรวดเร็วเช่นการสื่อสารข้อมูลในรูปเสียงและวิดีโอ บริการการสื่อสารข้อมูลในรูปของเสียงที่ใช้มาตรฐานแบบ 802.16 -2004 อาจจะเป็นทั้ง Time Division Multiplexed (TDM) voice แบบดั้งเดิมหรือ วอยซ์โอเวอร์ไอพี ( VoIP) ก็ได้
แอพพลิเคชั่นสำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายความเร็วสูง
มาตรฐานแบบ 802.16 -2004 จะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถนำเสนอโซลูชั่นสำหรับตลาดการใช้งานการสื่อสารความเร็วสูงได้อย่างหลากหลาย
1. ช่องสื่อสารภาคพื้นดินแบบเซลลูลาร์ ในสหรัฐอเมริกามีการกำหนดให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายหลักต้องยินยอมให้บริษัทผู้ให้บริการรายย่อยเช่าใช้สายของตนได้โดยถือเป็นการตกลงเพื่อให้การสื่อสารภาคพื้นดินแบบใช้สายมีราคาย่อมเยาสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ผลก็คือมีเสาสัญญาณเซลลูลาร์เพียงร้อยละ 20 ที่ใช้เป็นช่องสื่อสารภาคพื้นดินแบบไร้สายในสหรัฐอเมริกา ส่วนในยุโรปนั้น การที่ผู้ให้บริการชุมสายมักจะไม่ค่อยยอมให้บริษัทรายย่อยที่เป็นคู่แข่งเช่าใช้สายของตน ทำให้ผู้ให้บริการต้องการทางเลือกที่มีต้นทุนไม่สูงนัก ดังนั้นจึงมีการใช้ช่องสื่อสารภาคพื้นดินแบบไร้สายมากถึงร้อยละ 80 ของเสาสัญญาณเซลลูลาร์ ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะมีการยกเลิกข้อบังคับเรื่องการให้เช่าใช้สายที่ออกโดยคณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในอเมริกาก็คงจะเริ่มมองช่องสื่อสารภาคพื้นดินไร้สายว่าเป็นทางเลือกที่คุ้มกว่ามาก การที่เทคโนโลยี 802.16 -2004 มีช่องสัญญาณที่กว้างมากจึงนับเป็นทางเลือกที่ดีอย่างยิ่งสำหรับช่องสื่อสารภาคพื้นดินสำหรับองค์กรธุรกิจอย่างเช่นฮอตสปอตรวมทั้งแอพพลิเคชั่นช่องสื่อสารภาคพื้นดินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
2. บรอดแบนด์ ออนดีมานด์ การเชื่อมต่อแบบไร้สายความเร็วสูงช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้งานฮอตสปอตแบบ 802.11 และระบบแลนไร้สายในบ้านและ/หรือสำนักงานขนาดเล็กมาใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งไม่มีสายเคเบิลหรือดีเอสแอล หรือในพื้นที่ซึ่งบริษัทโทรศัพท์ในท้องถิ่นยังไม่มีแผนจะให้บริการบรอดแบนด์ในเร็ววัน ความสามารถในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจหลายประเภทขนาดที่ว่าหลายๆ บริษัทอาจจะถึงกับยอมย้ายสำนักงานไปอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีบริการให้ได้ สภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือว่าถ้าหากเป็นกรณีที่เป็นอาคารสำนักงานซึ่งยังไม่มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผู้ให้บริการชุมสายท้องถิ่นต้องใช้เวลาถึงสามเดือนหรือกว่านั้นในการจัดหาสาย T1 สำหรับลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจ ยิ่งถ้าเป็นอาคารที่สร้างมานานแล้วในเขตเมืองใหญ่จะมีสายพันกันอยู่เป็นจำนวนมากทำให้การติดตั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้กับผู้เช่าบางรายเป็นเรื่องลำบาก เทคโนโลยีไร้สาย 802.16 -2004 ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถจัดหาบริการที่มีความเร็วเทียบเท่ากันกับโซลูชั่นแบบมีสายได้ในเวลาเพียงไม่กี่วันและช่วยลดต้นทุนได้อย่างมาก เทคโนโลยี 802.16 –2004 ยังช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถเปิดบริการเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบ “ออนดีมานด์” ที่สามารถปรับแต่งได้ทันทีสำหรับการใช้งานชั่วคราว อย่างเช่น งานแสดงสินค้าที่สามารถให้บริการจุดฮอตสปอต 802.11 สำหรับผู้ใช้นับร้อยหรือหลายพันราย ผู้ประกอบการสามารถใช้โซลูชั่น 802.16 -2004 สำหรับช่องสื่อสารภาคพื้นดิน
ของเครือข่ายหลัก เทคโนโลยีไร้สายช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถปรับขยายหรือลดระดับการให้บริการภายในเวลาไม่กี่วินาทีที่ลูกค้าขอร้อง ความสามารถในการเชื่อมต่อ “ออนดีมานด์” ยังเป็นประโยชน์กับธุรกิจ อย่างเช่น สถานที่ก่อสร้าง ที่มีความต้องการความสามารถในการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ที่ขยายออกไปอย่างมาก การเปิดบริการบรอดแบนด์ระยะไกลแบบ “ออนดีมานด์” ให้แก่ลูกค้าองค์กรใหญ่ๆ คือโอกาสใหม่ในการสร้างผลกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำให้แก่ผู้ประกอบการ
3. บรอดแบนด์สำหรับที่อยู่อาศัย: เติมเต็มช่องว่างในส่วนของสายเคเบิลและดีเอสแอล ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ทำให้เทคโนโลยีเคเบิลและดีเอสแอลไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าบรอดแบนด์ได้ ดีเอสแอลแบบดั้งเดิมสามารถครอบคลุมระยะทางได้แค่ราว 18,000 ฟุต (3 ไมล์) จากหน่วยงานสลับสายกลางเท่านั้นดังนั้นสถานที่ที่อยู่ในเมืองและนอกเมืองจำนวนมากจึงอาจจะไม่สามารถใช้การเชื่อมต่อด้วยดีเอสแอลได้ เคเบิลก็มีข้อจำกัดเช่นกัน เครือข่ายเคเบิลที่เก่าแล้วมากมายไม่ได้มีอุปกรณ์สำหรับช่องสัญญาณขากลับและการจะเปลี่ยนเครือข่ายเหล่านี้ให้สามารถสนับสนุนบรอดแบนด์ความเร็วสูงได้ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายมหาศาล
ต้นทุนในการติดตั้งเคเบิลเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายการให้บริการบรอดแบนด์แบบใช้สายในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของผู้ใช้บริการต่ำ ระบบไร้สายที่ไม่ใช่ระบบเปิดรุ่นปัจจุบันมีราคาค่อนข้างแพงหากจะนำมาใช้เพื่อเปิดให้บริการทั่วไปเนื่องจากถ้าไม่มีมาตรฐาน การลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยจะเป็นไปได้น้อยมาก ปัญหาเรื่องต้นทุนนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการเปิดตัวระบบที่ใช้มาตรฐานบน 802.16 นอกจากนี้การที่มีโซลูชั่นของ 802.16 -2004 ที่หลากหลาย
การลดข้อกำหนดด้านสภาพพื้นที่ การที่มีแบนด์วิธสูง และความยืดหยุ่นของสิ่งที่มีอยู่เดิมและต้นทุนต่ำทำให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดของเทคโนโลยีมีสายแบบดั้งเดิมและไร้สายแบบที่มีกรรมสิทธ์

มาตรฐาน IEEE 802.16 ทำให้เกิดโซลูชั่นต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของลูกค้าในภาคต่างๆ
4. พื้นที่ที่ไม่ได้รับบริการ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตไร้สายบนพื้นฐาน IEEE 802.16 ยังคงเป็นตัวเลือกที่นิยมสำหรับพื้นที่ชนบทที่ไม่มีบริการเข้าไปถึง รวมทั้งพื้นที่ห่างไกลที่มีความหนาแน่นของประชากรต่ำ เราจะพบว่าในเขตพื้นที่เหล่านี้การให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในท้องถิ่นมักเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานสาธารณะและรัฐบาล ตัวเลขสถิติของสหรัฐอเมริกาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้แสดงให้เห็นว่ามีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายกว่า 2500 รายที่นำคลื่นสัญญาณส่วนที่ยังว่างอยู่มาใช้ประโยชน์ในการให้บริการแก่ตลาดกว่า 6000 แห่ง
(ที่มา: ไอเอสพี-มาร์เก็ต 2002) ในส่วนประเทศอื่นๆ นั้น พบว่าการเปิดบริการส่วนใหญ่จะเป็นการนำคลื่นสัญญาณส่วนที่ได้รับใบอนุญาตมาใช้และผู้ให้บริการก็มักจะเป็นผู้ให้บริการชุมสายท้องถิ่นที่ต้องการให้บริการด้านเสียงนอกเหนือไปจากข้อมูลความเร็วสูง การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะบริเวณนี้อาจจะไม่มีโครงสร้างพื้นฐานแบบมีสายหรือมีแต่บริการนั้นไม่มีคุณภาพเพียงพอที่จะให้บริการการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เรามักใช้คำว่า “Wireless Local Loop” เมื่อพูดถึงแอพพลิเคชั่นดังกล่าว เนื่องจากใช้แทนสายโทรศัพท์ทองแดงแบบดั้งเดิมในวงท้องถิ่น
5. บริการไร้สายที่เชื่อมต่อได้ดีที่สุด เมื่อฮอตสปอต IEEE 802.11 มีจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้ใช้ก็จะหันมาใช้การเชื่อมต่อแบบไร้สายกันมากขึ้น แม้กระทั่งเมื่อพวกเขาอยู่นอกบริเวณครอบคลุมของฮอตสปอตที่ใกล้ที่สุด ส่วนขยาย IEEE 802.16e สู่ 802.16-2004 นำประสิทธิภาพในการย้ายที่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายได้แม้กระทั่งในยามที่ออกจากบ้านหรือสำนักงาน หรือไปยังเมืองอื่นที่มีผู้ให้บริการอินเตอร์ไร้สาย

มาตรฐาน IEEE 802.16 สนับสนุนการเชื่อมต่อของจุดไร้สายแบบ non line-of-sight ไปยังจุดต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนแอพพลิเคชั่นช่องสื่อสารภาคพื้นดินที่เป็น line-of-sight
จำนวนข้อมูล ความสามารถในการปรับขยาย คุณภาพของบริการและการรักษาความปลอดภัย
จำนวนข้อมูล IEEE 802.16 ทำให้เราสามารถส่งข้อมูลจำนวนมากออกไปได้ในระยะไกลด้วยประสิทธิภาพของแถบคลื่นสัญญาณในระดับสูง รวมทั้งยังทนกับการสะท้อนของสัญญาณได้ด้วยทั้งนี้ก็เพราะมีการใช้โมดูเลชั่นที่แข็งแกร่ง โมดูเลชั่นที่ปรับได้ทำให้สถานีฐานสามารถแลกเปลี่ยนจำนวนข้อมูลในเขตสัญญาณ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสถานีฐานไม่สามารถสร้างการเชื่อมต่อที่แข็งแกร่งได้กับผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลที่ใช้โมดูเลชั่นการจัดระบบสูงสุดซึ่งก็คือ 64 QAM (Quadrature Amplitude Modulation) ผลก็คือการจัดระบบโมดูเลชั่นจะลดลงเหลือ 16 QAM หรือ QPSK (Quadrature Phase Shift Keying) ซึ่งจะลดจำนวนข้อมูลและเพิ่มเครือข่ายครอบคลุมที่มีประสิทธิภาพ

ความสามารถในการปรับขยายขนาด เทคโนโลยี 802.16 สนับสนุนแบนด์วิธช่องสํญญาณ
ที่ยืดหยุ่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการวางแผนเซลอย่างง่ายดายทั้งในส่วนของแถบคลื่นสัญญาณที่มีใบอนุญาตและที่ได้รับการยกเว้นใบอนุญาตทั่วโลก เช่น ถ้าผู้ประกอบการต้องใช้แถบคลื่นสัญญาณที่ 20 เมกะเฮิร์ตซ์ ก็จะสามารถแบ่งออกคลื่นสัญญาณนั้นออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนละ 10 เมกะเฮิร์ตซ์ หรือ 4 ส่วน คือ ส่วนละ 5 เมกะเฮิร์ตซ์ ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มจำนวน
ผู้ใช้ได้ในขณะที่ยังคงสามารถให้บริการเครือข่ายได้อย่างครอบคลุมและส่งข้อมูลออกไปได้มาก ทั้งนี้ก็โดยการเน้นไปที่ส่วนที่ที่แคบลงกว่าเดิม หากจะปรับขยายการครอบคลุมพื้นที่ให้มากกว่าเดิม ผู้ประกอบการก้สามารถใช้แถบคลื่นสัญญาณเดิมในสองส่วนหรือกว่านั้นโดยสร้างการแยกเสาสัญญาณสถานีฐานอย่างเหมาะสม

สถานีฐานไวแม็กซ์จะส่งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปให้กับบ้านและสำนักงานได้ในรัศมี
ถึง 50 กิโลเมตร (30 ไมล์)
พื้นที่ครอบคลุมสัญญาณ นอกจากจะสนับสนุนโมดูเลชั่นที่แข็งแกร่งและทรงพลังแล้ว มาตรฐาน IEEE 802.16 ยังสนับสนุนเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณ ซึ่งรวมถึงเทคนิคการเชื่อมโยงวงจร และ “เสาสัญญาณอัจฉริยะ” เมื่อเทคโนโลยีคลื่นสัญญาณวิทยุมีการพัฒนามากขึ้นและต้นทุนลดต่ำลง ประสิทธิภาพในการเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณและจำนวนข้อมูลที่ส่งออกมาโดยการใช้เสาสัญญาณจำนวนมากเพื่อสร้าง “การส่ง” และ/หรือ “การรับข้อมูลที่มีความหลากหลาย” จะช่วยขยายพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณออกไปได้อย่างมากในเขตพื้นที่ที่ขาดโครงสร้างพื้นฐาน
คุณภาพของบริการ ความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลประเภทเสียงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศที่เทคโนโลยียังค่อนข้างล้าหลัง ดังนั้นมาตรฐาน IEEE 802.16 -2004 จึงมีคุณสมบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของการบริการด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถให้บริการต่างๆ ทั้งเสียงและวีดีโอที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วสูงในการส่งข้อมูล คุณลักษณะพิเศษที่มีหรือต้องการให้มีสำหรับ 802.16 Media Access Controller (MAC) ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถให้บริการที่ดีเยี่ยมแก่ภาคธุรกิจไปพร้อมๆ กัน เช่น บริการระดับ T1 บริการสำหรับบ้านพักอาศัยที่มีจำนวนมากซึ่งคล้ายคลึงกันกับบริการแบบมีสายเคเบิล โดยทั้งหมดนี้สามารถทำได้ภายในจุดสถานีฐานเดียวกัน
การรักษาความปลอดภัย คุณสมบัติในการรักษาข้อมูลส่วนตัวและการเข้ารหัสรวมอยู่ในมาตรฐาน 802.16 เพื่อสนับสนุนการส่งข้อมูลที่ปลอดภัยและให้การตรวจสอบเพื่อยืนยันสิ่งที่ส่งและการเข้ารหัสข้อมูล

ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการได้รับจากไวแม็กซ์
ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์ที่ดีจากไวแม็กซ์หลายประการ คือสามารถลดความเสี่ยงในการนำระบบการสื่อสารแบบไร้สายความเร็วสูงมาใช้หากเลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและสามารถทำงานร่วมกันได้ การนำไวแม็กซ์มาใช้ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนต่อหน่วยลดลงเนื่องจากมาตรฐานช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน ผู้ประกอบการไม่ต้องติดอยู่กับผู้ค้ารายใดรายหนึ่งเนื่องจากสถานีฐานสามารถทำงานร่วมกันได้กับสถานีของผู้ใช้จากผู้ผลิตรายต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ประกอบการยังสามารถได้รับประโยชน์จากอุปกรณ์ที่มีต้นทุนต่ำลงและมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตอุปกรณ์สามารถสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์บนแพล็ตฟอร์มมาตรฐานปกติได้อย่างรวดเร็ว
อินเทลร่วมการเปิดตัวไวแม็กซ์
อินเทลมองว่าการนำไวแม็กซ์มาใช้จะเกิดขึ้นเป็นสามระยะ ระยะแรก คือ เทคโนโลยีไวแม็กซ์ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.16 -2004 ที่จะให้การเชื่อมต่อไร้สายแบบเฉพาะที่ผ่านเสาสัญญาณกลางแจ้งซึ่งจะเกิดขึ้นในครึ่งแรกของปี 2548 ความสามารถไร้สายเฉพาะที่กลางแจ้งสามารถใช้ได้กับองค์กรที่มีข้อมูลจำนวนมาก (บริการระดับ T1/E1) ฮอตสปอตและช่องสื่อสารภาคพื้นดินเครือข่ายเซลลูลาร์และบริการสำหรับที่อยู่อาศัยในตลาดระดับบน
อินเทล คอร์ปอเรชั่นในฐานะผู้นำของเทคโนโลยีไวแม็กซ์ ได้เผยโฉมดีไซน์ของไวแม็กซ์แบบ “system-on-a-chip” ที่มีชื่อรหัสว่า Rosedale ให้ได้ชมกันเป็นครั้งแรกเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเหมาะสำหรับอุปกรณ์ซึ่งสนับสนุนมาตรฐาน IEEE 802.16 -2004 อุปกรณ์นี้จะมีการติดตั้งที่บ้านหรือธุรกิจเพื่อส่งหรือรับสัญญาณบรอดแบนด์ไร้สายทำให้อินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อได้
ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 จะสามารถติดตั้งไวแม็กซ์ภายในอาคารได้โดยมีเสาอากาศเล็กๆ คล้ายกับจุดเชื่อมต่อแลนไร้สายที่ใช้มาตรฐาน 802.11 ในปัจจุบัน แบบจำลองไวแม็กซ์ที่ใช้ในอาคารแสดงให้เห็นว่าไวแม็กซ์สามารถใช้ได้กับบรอดแบนด์ในที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคที่ครอบคลุมพื้นที่ในระยะไกล เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ “ผู้ใช้สามารถติดตั้งได้เอง” ลดต้นทุนการติดตั้งสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคม
ในปี 2549 เทคโนโลยีที่ใช้มาตรฐาน IEE 802.16e จะมีการติดตั้งเข้าไปในคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพไร้สายเพื่อสนับสนุนความเคลื่อนไหวระหว่างบริเวณที่ให้บริการไวแม็กซ์ สามารถใช้ได้กับแอพพลิเคชั่นและบริการแบบพกพาและแบบที่มีประสิทธิภาพไร้สาย ในอนาคตอาจมีการใส่ประสิทธิภาพของไวแม็กซ์ลงไปในโทรศัพท์มือถือ
การเชื่อมต่อดีเอสแอลความเร็วสูงและการเข้าถึงด้วยบรอดแบนด์แบบมีสายสามารถใช้ได้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์เพียงส่วนน้อยทั่วโลก ไวแม็กซ์จะทำให้สามารถสร้างการเชื่อมต่อไร้สายความเร็วสูงที่คุ้มราคาในบ้านและธุรกิจทั้งในเขตเมืองและชนบทได้ อินเทลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาไวแม็กซ์เพื่อให้ผู้ใช้



WiMAX คลื่นลูกใหม่ของโลกการสื่อสารไร้สายแห่งอนาคต
ระบบเทคโนโลยี WiMAX ทำงานอย่างไร

......ไวแม็กซ์ (WiMAX) บนเทคโนโลยีแบบไร้สายมาตรฐานใหม่ IEEE 802.16 มีความสามรถในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยใช้หลักการของเทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ของวิทยุขนาดเล็ก (Sub-Carrier) มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยการนำคลื่นความถี่วิทยุขนาดเล็กในระดับ KHz มาจัดสรรให้แก่ผู้ใช้ตามข้อกำหนดของคลื่นความถี่วิทยุจนเกิดเป็นเครือข่ายแบบไร้สายที่มีขนาดใหญ่ และรองรับการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงในทุกสถานที่ อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าความเร็วสำหรับ ไวแม็กซ์ (WiMAX) นั้นมีอัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณที่ให้ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ระยพไกลมากถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร นอกจากนี้สถานีฐาน (Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในการรับส่งระหว่างความเร็วและระยะทางได้อีกด้วย
ในส่วนของพื้นที่บริการ ก็สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวางโดยใช้เทคนิคของการแปลงสัญญาณที่มีความคล่องตัวสูงสำหรับการใช้งานบนมาตรฐาน IEEE 802.16a บนระบบเครือข่ายที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน (Mesh Topology) และเทคนิคการใช้งานกับเสาอากาศ แบบอัจฉริยะ (Smart Antenna) ที่ช่วยประหยัดต้นทุน และมีความน่าเชื่อถือสูงด้วยมีระบบจัดการลำดับความสำคัญของงานบริการ (Qos – Quality of Service) ที่รองรับ การทำงานของบริการสัญาณภาพและเสียง ซึ่งระบบเสียงบนเทคโนโลยี WiMAX นั้นจะอยู่ในรูปของบริการ Time Division Muliplexed (TDM) หรือบริการในรูปแบบ Voice over IP (VoIP) ก็ได้ โดยโอเปอร์เรเตอร์สามารถกำหนดระดับ
ความสำคัญของการใช้งานให้เหมาะสมกับรูปแบบของลัษณะงาน
ส่วนเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยนั้น WiMAX มีคุณสมบัติของระบบรักษาความปลอดภัยสูงด้วยระบบรักษารหัสลับของข้อมูลและการเข้ารหัสในการเข้าถึงข้อมูลอย่างเป็นระบบ พร้อมระบบตรวจสอบสิทธิในการใช้งาน



Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2551 8:11:22 น. 0 comments
Counter : 462 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Naysor
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




[Add Naysor's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com