<<
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 มกราคม 2551
 

สื่อโสตทัศน์สื่อเสียงและสื่อทางทัศนะ7

การรับรู้และสื่อโสดทัศน์
ด้วยกระบวนการรับสารสนเทศจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว คนเราใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อรับสารและก่อให้เกิดการเรียนรู้ ทรัชเลอร์ได้นำเสนอข้อสรุปที่น่าสนใจซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทสัมผัสของคนเราไว้
มุมมองของทรัชเลอร์ข้างต้นได้รับอิทธิพลมาจากงานเขียนของนักวิชาการหลายท่านการสื่อสารข้อมูลจากผู้สอนไปยังผู้เรียนจึงควรใช้สื่อที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตาและหู ทั้งนี้นอกจากสื่อโสตทัศน์จะมีความสำคัญในการรับรู้ด้านประสาทสัมผัสแล้ว ยังมีความเกี่ยวข้องกับการจำ การรับรู้ ของบุคคลและในการเรียนของผู้เรียนอีกด้วย
ความสำคัญของสื่อโนตทัศน์ในการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอนนั้นผู้สอนย่อมตระหนักดีว่ายิ่งให้ผู้เรียนมีการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสหลายช่องทางจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้เพราะหากมีการให้ข้อมูลเสียงและภาพอย่างเหมาะสมในระหว่างการเรียนการสอนแล้วย่อมทำให้ผู้เรียนมีการรับรู้หลายช่องทางมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เนื่องจากรูปแบบการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนจะแตกต่างกัน การใช้เสียงและภาพในการเสนอเนื้อหาด้วยสื่อโสตทัศน์จะทำให้ง่ายต่อผู้เรียนแต่ละคนในการปรับการรับรัของตนให้เหมาะสมรับรูปแบบการเรียนรู้ของตนเอง
ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีเสียงและภาพเพื่อเลือกใช้สื่อโสตทัศน์ทั้งวัสดุอุปการณ์ในการเรีนการสอนเพื่อให้ได้เนื้อหาอย่างมีความหมายสมบูรณ์ครบถ้วน
จากสื่อพื้อฐานถึงสื่อดิจิทัล
สือเนื่องจากกรวยประสบการณ์ของเดลที่มีการแบ่งสื่อออกเป็ฯ 3 ประเภทใหญ่ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการ โดยใช้สื่อโสตทัศน์เป็นสำคัญ และถึงแม้จะเป็ฯเทคนึควิธีการแต่ในบางวิธีการจะมีการใช้สื่อโสตทัศน์ใช้ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้เห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใดและเทคโนโลยีก้าวหน้าไปเพียงใดก็ตามสื่อโสตทัศน์ยังคงมีความสำคัญอยู่เสมอในการสื่อสารของคนเรา โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหมีให้กับวัสดุอุปกรณ์เหล่านั้น
ในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 การเรียนการสอนมีการใช้เทคโนโลยีเสียงและภาพด้วยวัสดุอถปการณ์สื่อโสตทัศน์ในการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะสื่อธรรดาและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น
แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปเสียงและเครื่องแล่นเทป ฯลฯ สือเหล่านี้นับเป็ฯสื่อแบบดั้งเดิมหรือเรียกว่า สื่อพื้นฐาน และหากเป็นสื่ออิเล็กทรอนกส์จะเป็นสื่อระบบแอนะล็อก ในระยะต่อมาด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้มีการใช้ สื่อดิจิทัล แทนสื่อแอนะล็อกทั้งสัสดุและอุปกรณ์ตัวอย่างเช่นเดืมใช้แผ่นโปร่งใสนำเสนอเนื้อหาขึ้นจอภาพด้วยเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะแต่ปัจจถบันจะเปลี่ยนมาเป็นการใช้โปรแกรา PowerPoint นำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ในระบบดิจิทัลแทน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เทคโนยีดิจิทัลจะเปลี่ยนโฉมหน้าของสื่อโสตทัศน์ในปัจจุบันและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญ แต่จะเถียงไม่ได้เลยว่าสื่อพื้นฐานทั้งหลายที่เคยใช้กันในห้องเรียนจะยังคงมีใช้กันอยู่อย่างแน่นอน เพราะถึงแม้เทคโนโลยีจะก้าวไกล ไปถึงการใช้ความเป็นจริงเสมือน หรอการใช้สภาพแวดล้อมเชิงเสมือน เช่น การทัศนศึกษาเสมือนแต่การเรียนบางอย่างต้องใช้การรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสจากของจริง ของจำลอง และการกระทำจริง การประกอบอาหารเพื่อลิ้มรสเหล่านี้เป็นต้น ดังนั้น ผู้สอนจึงจำเป็นต้องทราบถึงคูณลักษณะและสื่อดิจิทัลให้เหมาะสมกับเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอน
การแบ่งประเภทสื่อพื้นฐาน สื่ออแนะล็อก และสื่อดิจิทัล
เนื่องจากในปัจจุบันมีการใข้สื่อรูปแบบต่างๆในการเรียนการสอน เพื่อให้เห็ฯภาพลักษณ์อย่างชัดเจนโดยแบ่งตามลักษณะของสื่อจากการพิจารณาตัวสื่อทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ การใช้งาน และระบบการทำงานของอุปกรณ์ ได้แก่ สื่อพื้นฐาน สื่อระบบแอนะล็อก และสื่อระบบดิจิทัล
.สื่อพื้นฐาน เป็นสื่อรูปแบบเก่าที่ใช้กันมาแต่เดิม เช่น สิ่งพิมพ์ บัตรคำ โปสเตอร์ของจริง ของจำลอง ฯลฯ สื่อเหล่านี้สามารถผลิตขึ้นใช้เองได้และถ่ายทแดเนื้อหาได้ด้วยตัวเอง
.สื่อระบบแอนะล็อก เป็นสื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุให้เห็นเป็นภาพขนาดใหญ่บนจอภาพ หรือถ่ายทอดเสียงจากวัสดุบันทึก แบ่งออกเป็น เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องแปลง/ถ่ายทอดสัญญาณ
.สื่อระบบดิจิทัล เป็ฯอุปกรณ์อิเล็กทรอนิดส์ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาและแปลงสัญญาณเช่นเดียวกับสื่อระบบแอนะล็อก นอกจากนี้อุปกรณ์ระบบดิจิทัลยังมีข้อดีที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง สื่อระบบดิจิทัลได้แก่ เครื่องแปลง/ถ่ายทอดสัญญาณ สื่อมัลติมีเดีย
เทคโนโลยีและสื่อเสียงในการเรียนการสอน
การสื่อสารอย่างหนึ่งในการเรียนการสอนที่ผู้สอนทุกคนใช้เป็นประจำคือ การบรรยายด้วยเสียงของสอนเองเพื่อให้ผู้เรียนรับรู้เนื้อหาบทเรียน ทั้งนี้เพราะปกติเมื่อมีเสียงใดๆเกิดขึ้นคนเราจะรับเสียงนี้นทำให้อาจเพียงได้ยินเสียงแต่อาจไม่มีการฟัง การฟังจะเกิดขึ้นเมื่อมีกระบวนการของการได้ยินและความเข้าใจใจข้อมูลที่ส่งมา จณะเดียวกันถ้ามีการฟังอย่างตั้งใจจะเป็ฯการให้ความเอาใจใส่พิจารณาข้อมูลนั้นซึ้งจะเป็นสิ่งเร้าให้เกิดการเรียนรู้
ด้วยเหตุนี้ การใช้เสียงในการเรียนการสอนจึงเป็ฯทักษะการสื่อสารสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้สอนต้องมีการฝึกฝนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย สื่อที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในการเรียนการสอนจะมีทั้งสื่อแอนะล็อกและสื่อดิจิทัลดังนี้
.สื่อแอนะล็อก แทปคาสเซ็ตต์ วิทยุ และเครื่องเสียง
.สื่อดิจิทัล แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี เสียงบนอินเทอร์เน็ต และวิทยุอินเทอร์เน็ต
สื่อเสียงระบบแอนะล็อก
สื่อเสียงระบบแอนะล็อกในลักษณะวัสดุและอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันในปัจจถุบันมี 3 ประเภทได้แก่ เทปคาสเซ็ตต์ วิทยุ และเครื่องเสียง
เทปคาสเซ็ตต์
เทปคาสเซ็ตต์หรือเทปตลับ เป็นสื่อเสียงที่ใช้กันมานานแล้วเพราะเป็ฯสื่อที่ใช้งาน
ง่าย ประหยัด และค่อนข้องทนทาน
รูปแบบเทปคาสเซ็ตต์ที่นิยมใช้กันมากอย่างหนึ่งจะอยู่ในลักษณะ หนังสือเสียง โดยบันทึกเรื่องราวที่อ่านจากหนังสือหรือเรื่องเล่าบันทึกลงเทป เพื่อให้ผู้ฟังและเรียนรู้จากเรื่องนั้นๆด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังามามรถนำเทปคาสเซ็ตต์มาช้ร่วมกับสื่ออื่นโดยจัดเป็นชุดสื่อประสสม เพื่อให้ผู้เรียนนำมาเรียนด้วยตนเองได้โดยสะดวก
วิทยุ
เสียงจากวิทยุเป็นสื่อดั้งเดิมอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในการเรียนการสอน หากเป็ฯการศึกษาทางไกลจะเป็นการส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนที่บ้านเพื่อศึกษาเพิ่มเติมประกอบกับสื่ออื่น
เครื่องเสียง
เครื่องเสียงเป็ฯอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางหรือตัวผ่านในการถ่ายทอดเสียงจากคนเราหรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆให้มีเสียงดังเพิ่มมากขึ้นเพื่อสามารถได้ยินได้ในระยะไกล
การทำงานของเครื่องเสียงจะมีการรับ การขยาย และการส่งออกเสียงซึ่งเป็นระบบการเพิ่มกำลังความดังของเสียงเพื่อให้ผู้ฟังจำนวนมากได้ยินอย่างชัดเจนทั่วถึง เครื่องเสียงปัจจุบันอาจใช้แบบแยกส่วนการทำงานหรือรวมเป็ฯชุดเครื่องเสียง ได้แก่
.ภาคสัญญาณเข้า เป็ฯภาคที่เปลี่ยนคลื่นเสียงธรรมชาติให้เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง แล้วส่งต่อไปยังภาคขยายสัญญาณ อุปกรณ์ในภาคสัญญาณเข้าได้แก่ ไมโครโฟน วิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี
.ภาคขยายสัญญาณ ทำหน้าที่รับคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงจากภาคสัญญาณเข้ามาขยายให้มีกำลังแรงมากขึ้นหรือสูงขึ้นโยไม่ผิดเฟี้ยนจากแหล่งกำเนิดเสียงอุปกรณ์ในภาคขยายสัญญาณได้แก่ เครื่องขยายเสียงประเภทต่างๆ
.ภาคสัญญาณออก ทำหน้าที่รับคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงที่ได้รับการขยายแล้วจากภาคขยายสัญญาณ แล้วเปลี่ยนเป็นคลื่นเสียงธรรมชาติโดยมีคุณลักษณะเหมือนต้นกำเหิดเสียงทุกประการ อุปกรณ์ในภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลำโพงชนิดต่างๆ
สื่อเสียงระบบดิจิทัล
สื่อเสียงระบบดิจิทัลที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนทั้งวัสดุและอุปกรณ์ได้แก่ แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี เสียงจากอินเตอร์เน็ต และวิทยุอินเตอร์เน็ต

แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี
แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดีเป็นสื่อแสง ที่บันทึกข้อมูลได้ทุกประเภท ปกติแล้วซีดีแผ่นหนึ่งจะบันทึกเสียงตามรูปแบบไฟล์มาตราฐานนาน 74 นาที 33 วินาที่เสียงที่ได้จะมีความคมชัดมากกว่าเสียงระบบแอนาล็อก การใช้แผ่นซีดี/ดีวีดีสามารถค้นหาเพื่อเล่นเสียงตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเสียเวลากรอเทปเหมือนการเล่นเทป

เสียงบนอินเตอร์เน็ต
เสียงระบบดิจิทัลนอกจากบึนทึกลงแผ่นซีดี/ดีวีดีแล้ว ยังส่งผ่านไปบนอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร โดยการดาวน์โหลดคลิปเสียงและบันทึกลงฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นซีดีเพื่อใช้ประกอบเนื้อหาบนเรียน และสามารถบันทึกเสียงผู้สอนในลักษณะการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบรรยายเนื้อหาประกอบบนเรียนบนเว็บไซต์ได้ รวมถึงการให้ผู้เรียนดาวโหลดไฟล์เสียงการสอนและแนบไฟล์เสียงไปกับอีเมล์ส่งไปยังผู้เรียนได้เพื่อเปิดฟังในเวลาที่ต้องการ

วิทยุอินเทอร์เน็ต
เสียงระบบดิจิทัลเมื่อนำมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยี steeaming จะทำให้การดาวน์โหลดและฟังเสียงบนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีนี้จึงทำให้มีการจัดตั้งสถานีวิทยุบนอินเทอร์เน็ตและใช้งานในลักษณะวิทยุอินเตอร์เน็ต เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทุกประเภททั้งรายการสดและที่บันทึกไว้แล้ว ผู้ฟังวิทยุบนอินเทอร์เน็ตต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ เช่น Window Media Player และ Realone Player ที่ดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เน็ต


เทคโนโลยีและสื่อทางทัศนะในการเรียนการสอน
คือสิ่งที่ตามองเห็น ที่เรียกโดยรวมว่า ภาพ เป็นสื่อที่สำคัญในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มสัสันให้กับเนื้อหาบทเรียนมากกว่าการฟังคำบรรยายอย่างเดียว

การรู้ทางทัศนะและการเรียนรู้
การที่คนเราจะมีการสื่อสารทางทัศนะได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องมีความรู้ในเรื่องการรู้ทางทัศนะ ( visual literact ) ก่อนเพื่อสามารถพัฒนากระบวนการสื่อสารรวมถึงความรู้ทางเทคโนโลยีในเรื่องสื่อทางทัศนะได้ เนื่องจากการรู้ทางทัศนะเป็นความเชี่ยวชาญและความชำนาญ ที่ทำให้คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เห็นได้ด้วยจักษุสัมผัส และใช้สิ่งที่มองเห็นนั้นในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นได้

สื่อทางทัศนะขั้นพื้นฐาน
เอดการ์ เดล ได้จำแนกสื่อประเภทต่างๆโดยอาศัยประสบการณ์เรียนรู้ เรียกว่ากรวยประสบการณ์ มี 8 ประเภท ได้แก่
1. ข้อความที่ขีดเขียนหรือคำพูด
2. แผนภมู แผนสถิติ
3. รูปถ่าย แถบเสียง รายการวิทยุ
4. การชมภาพยนตร์การศึกษา
5. การชมรายการโทรทัศน์
6. การชมนิทรรศการ
7. การออกไปทัศนศึกษานอกสถานศึกษา
8. การปฎิบัติให้ผู้เรียนสังเกต





สื่อทัศนะระบบแอนะล็อก
สื่อทางทัศนะระบบแอนะล็อกเป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทเสนอภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวในลักษณะเครื่องฉายและเครื่องแปลงสัญญาณ ได้แก่ แผ่นโปร่งใสและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ฟิลม์สไลด์และเครื่องฉายสไลด์ แถบวีดีทัศน์และเครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องวิชวลไลเซอร์ โทรทัศน์วงจรเปิดและโทรทัศน์วงจรปิด กล้องถ่ายภาพ กล้องวีดิทัศน์

สื่อทางทัศนะระบบดิจิทัล
คือเทคโนโลยีไร้สาย-สื่อดิจิทัล ซึ่งสื่อไร้สายและเทคโนโลยบีของสื่อนี้ได้เริ่มต้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ไม่น่าเชื่อว่า ไม่ประสบความสเร็จเท่าที่ควรในประเทศไทย คือ การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ และ การใช้อิรเทอร์เน็ตผ่าน PDAS



Create Date : 10 มกราคม 2551
Last Update : 10 มกราคม 2551 1:17:50 น. 0 comments
Counter : 4017 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Naysor
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




[Add Naysor's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com