<<
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
12 มกราคม 2551
 

e-learning ระดับโลก

หัวเรื่อง ข้อคิดก่อนพัฒนา e-learning ระดับโลก
เนื้อเรื่อง ข้อคิดก่อนพัฒนา e-learning ระดับโลก
ท่ามกลางฟองสบู่ของอี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) ที่กำลังฟุ้งกระจายอยู่ทั่วอินเทอร์เน็ต มีศาสตร์และศิลปะที่เป็นเคล็ดลับสู่ความสำเร็จอยู่หลายประการ โมเดลที่แท้จริงของการออกแบบอี-เลิร์นนิ่ง และการนำไปใช้งานนั้น แตกต่างจากโมเดลทางการศึกษาที่ใช้กันตามโรงเรียนอย่างที่เคยเป็นมา คนเราไม่ได้เรียนโดยสับแต่ฟังหรือท่องจำแต่อย่างเดียว การให้การศึกษาหรือการฝึกฝนอบรม ในแนวใหม่เปลี่ยนยุทธศาสตร์หันมาเน้นเรื่องของการจัดประสบการณ์และการเรียนรู้จากการกระทำหรือลงมือปฏิบัติจริง อาศัยข้อคิดบางประการอี-เลิร์นนิ่ง เป็นได้มากกว่าแค่คลิก

นักออกแบบอี-เลิร์นนิ่งมืออาชีพทราบดีว่าการสร้างบทเรียนเพื่อการศึกษา หรือการพัฒนาคอร์สฝึกอบรมที่เร้าใจผู้เรียนใช้ไปได้นาน และเต็มไปด้วยประสิทธิภาพนั้น มีวิธีการที่สลับซับซ้อนนอกเหนือไปจากการแค่แปลตำราหรือคู่มืออบรมให้อยู่ในรูปดิจิทัลหรือ บรรจุข้อความอิเล็กทรอนิกส์ที่มีภาพและเสียงประกอบใส่ลงในเวบแล้วปล่อยกระจายออกไปตามอินเทอร์เน็ต

นักออกแบบอี-เลิร์นนิ่งมืออาชีพใช้เวลาศึกษาองค์ประกอบของการเรียนรู้และการฝึกอบรมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ การรู้จักสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมจำลองทางการเรียนรู้ หรือพิจารณาถึงวิธีการต่างๆ ที่เวบจะเข้ามาเป็นตัวเสริมหรือขัดขวางการฝึกฝน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่นักออกแบบอี-เลิร์นนิ่งมือใหม่มักมองข้ามกัน ทำให้เกิดปัญหาของการนำไปใช้จริงตามมาในภายหลัง

ศาสตราจารย์โรเจอร์ ชแลงค์ แห่ง Carnegie Mellon University สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ได้กล่าวถึงขั้นตอนต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงก่อนลงมือพัฒนา อี-เลิร์นนิ่งระดับมืออาชีพไว้ทั้งหมด 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

ขั้นตอนที่ 1: เริ่มต้นด้วยงานในองค์กรที่อาศัยทักษะซ้ำๆ และถูกอธิบายได้อย่างชัดแจ้ง - ลองนึกถึงตัวอย่างต่อไปนี้ ผู้บริหารของภัตตาคารหนึ่งที่มีสาขามากมายต้องการเริ่มต้นอี-เลิร์นนิ่งจากอะไรที่ง่ายๆ หลังจากพิจารณาตัวงานที่คิดว่าทำกันได้ง่าย ผู้บริหารเสนอขึ้นว่าน่าจะเป็นงานรับรองลูกค้า ด้วยความคิดที่ว่าใครๆ ก็สามารถเป็นพนักงานรับรองลูกค้าได้ แต่การฝึกพนักงานต้อนรับให้มีทักษะอย่างใจคิดนั้น นับเป็นงานที่สลับซับซ้อนยิ่งงานหนึ่ง บางงานที่ดูเหมือนง่ายแต่แท้จริงต้องใช้ทักษะที่ซับซ้อนซึ่งสอนกันยาก พนักงานต้อนรับต้องรู้จักจัดการกับปัญหามนุษย์ เช่น คนเมา ลูกค้าจู้จี้ ลูกค้าที่มีปัญหาสุขภาพ และอื่นๆ แม้ทางทฤษฎีแล้วใครๆ ก็ได้สามารถเป็นพนักงานต้อนรับได้ แต่ในความจริงแล้ว การทำงานนี้ให้ได้ดีนั้นต้องอาศัยทักษะที่มองออกยาก

ในทางตรงกันข้าม งานที่ผู้บริหารคิดว่ายากกว่ามาก นั่นก็คืองานของบาร์เทนเดอร์ แท้จริงในมุมมองของอี-เลิร์นนิ่งแล้ว เป็นงานที่ฝึกได้ง่าย หลายคนรู้สึกว่าการดูแลบาร์นั้นเป็นสิ่งยาก เพราะมีเครื่องดื่มและวิธีการผสมเหล้าที่ต้องจำมากมาย กระนั้นจากมุมมองทางคอมพิวเตอร์ มันเป็นงานง่ายที่จะถูกนำมาสร้างเป็นสถานการณ์จำลอง

การจำลองสถานการณ์จริงสำหรับบาร์เทนเดอร์ค่อนข้างสร้างง่ายและเสียค่าใช้จ่ายไม่มาก ทั้งนี้ เพราะการเรียนรู้วิธีผสมเครื่องดื่มชนิดหนึ่งจะใช้ทักษะเดียวกับการเรียนรู้วิธีผสมเครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่ง ประเด็นหลักก็คือ ถ้าเราคิดจะสร้างอี-เลิร์นนิ่ง ในรูปสถานการณ์จำลองแล้ว ให้คำนึงถึงงานใดๆ ที่ต้องใช้ทักษะซ้ำๆ และมีขั้นตอนที่บ่งไว้ชัดเจน

ขั้นตอนที่ 2 : พิจารณาถึงประเด็นการฝึกอบรมที่ต้องทำเร่งด่วน - กว่าองค์กรจะทุ่มความพยายามให้กับอี-เลิร์นนิ่ง ก็เป็นตอนที่เจ็บที่สุด มีบ่อยครั้งที่ต้อง รอให้ถึงขั้นวิกฤติเสียก่อนจึงจะนึกถึงอี-เลิร์นนิ่ง สัญชาตญาณของการบริหารงานฝ่ายบุคคลบอกได้ว่าเมื่อไร จะพึ่งแต่การฝึกอบรมแบบปกติไม่ได้อีกแล้ว

ขั้นตอนที่ 3 : หาตัวผู้เชี่ยวชาญที่เก่งที่สุดในองค์กร - ถ้าเราขาดผู้ชำนาญการในเรื่องใด เราจะขาดองค์ความรู้ที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น จะมีใคร ที่จะมาคอยบอกถึงกลเม็ดของงานนั้น เราจะได้เบื้องหลังแห่งความสำเร็จจากไหน มีอะไรบ้างที่เป็นข้อยกเว้นจากกฎต่างๆ ได้ ใครจะเป็นต้นแบบของพฤติกรรมให้ อย่าลืมนึกถึงเรื่องนี้ จะต้องค้นหาบุคคลนี้ออกมา ให้ได้ก่อนลงมือพยายามฝึกบางสิ่งบางอย่างให้กับทั้งองค์กรโดยไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าจะต้องทำอย่างไร

ขั้นตอนที่ 4 : รวบรวมเรื่องราว - เรื่องราวจิปาถะทั้งหลายเป็นขุมทองแห่งความรู้ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ มีหลายเกร็ดความรู้ของการทำงานที่ติดอยู่ในหัวของพนักงาน ไม่มีการบอกกล่าวถ่ายทอดออกมา แม้บางเรื่องจะเป็นประโยชน์ต่อพนักงานคนอื่นๆ ที่รับผิดชอบงานแบบเดียวกัน ปกติแล้วเกร็ดความรู้เหล่านี้ไม่ได้ถูกรวบรวมไว้ในการฝึกอบรมอย่างที่ทำกันอยู่ตามปกติ การที่จะได้ยินได้ฟังเรื่องประเภทนี้ เราจำเป็นต้องยอมเสียเวลาเข้าไปร่วมวงดื่มกับลูกจ้างเก๋างาน หรือเข้าไปนั่งในโรงอาหารแล้วคอยเงี่ยหูฟัง

ผู้ออกแบบ อี-เลิร์นนิ่ง ต้องมีความฉลาดที่จะดึงเรื่องเช่นนี้ออกจากปากคนและศึกษาวิธีการต่างๆ ที่จะนำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาใช้ในการพัฒนาอี-เลิร์นนิ่ง รวมถึงการสร้าง "ความทรงจำขององค์กร" ซึ่งถือเป็นคลังสะสมเกร็ดความรู้ที่เข้าถึงได้ง่ายด้วยระบบคอมพิวเตอร์

เป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าการพัฒนาอี-เลิร์นนิ่ง เป็นสิ่งที่ทำง่ายและมีค่าใช้จ่ายต่ำ แต่เมื่อได้ศึกษาขั้นตอนต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ผู้ต้องการเป็นนักออกแบบมือระดับโลกคงรู้แล้วว่า มีอะไรอีกมากมายที่ต้องตระหนักคิดไว้ อย่างน้อยข้อคิดที่ได้จากขั้นตอนทั้ง 4 คงทำให้เรารู้รสของกระบวนการพัฒนา อี-เลิร์นนิ่งไม่มากก็น้อย







Create Date : 12 มกราคม 2551
Last Update : 12 มกราคม 2551 18:36:29 น. 0 comments
Counter : 800 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Naysor
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




[Add Naysor's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com