|
 |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
 |
22 กรกฏาคม 2550
|
|
|
|
中国古代印章- ตราประทับจีนโบราณ
คนชอบดูหนังจีนจะเห็นจดหมาย ภาพวาด หรือหนังสือที่ลงตราประทับสวยงาม วันนี้มาดูกันว่าตราประทับนั้นมีความเป็นมาอย่างไร

ตราประทับ(seal)ที่เราใช้กันทุกวันนี้ จีนโบราณใช้เป็นเครื่องแสดงถึงอำนาจทางการทหารสำหรับลงนามแทนลายมือเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนขุนนาง ต่อมากวีและนายทหารต่างก็ใช้เพื่อแสดงถึงตัวตนของตนเองในสังคมเหมือนลายเซ็นต์ในปัจจุบัน
ในประวัติศาสตร์จีน ตราประทับมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่นหลังจากที่อิ๋นเจิ้งรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นขึ้นครองราชย์เป็นจิ๋นซีฮ่องเต้(221 B.C.)แล้ว ได้กำหนดให้เรียกลัญจกรว่า ซี (玺) ในขณะที่ตราประทับของประชาชนทั่วไปเรียกว่า อิ้น (印) มาถึงสมัยฮั่น( 206 B.C. 220 A.D.)เพื่อแยกคำเรียกตราประทับของขุนนางกับประชาชนให้ชัดเจน จึงเรียกตราประทับของแม่ทัพว่า จาง(章) ต่อมาจึงได้เรียกว่า อิ้นจาง(印章)
สมัยราชวงศ์ซ่ง(960 1279 A.D.)ผู้คนต่างใช้ตราประทับกันแพร่หลายขึ้นโดยประทับลงบนรูปภาพและหนังสือ ตราประทับประเภทนี้เรียกว่า ถูจาง (图章 ) ซึ่งนิยมใช้กันมาถึงปัจจุบัน
การประทับตราในยุคแรกเริ่มก็คล้ายกับการลงครั่งผนึกพัสดุในปัจจุบัน สมัยโบราณก่อนค้นพบการประดิษฐ์กระดาษนั้น จะบันทึกลงบนไม้ไผ่ สำหรับเอกสารลับที่ไม่ต้องการให้คนเปิดดูจะใช้เชือกมัดไม้ไผ่ไว้ เจาะเป็นรูสี่ เหลี่ยมแล้วหยอดลูกกลมดินเหนียวลงไปปล่อยให้แห้งแล้วค่อยประทับตราผนึกไว้ วิธีการนี้เรียกว่า เฟิงหนี (封泥)ซึ่งปรากฎอยู่ในสื่อจี้(史记บันทึกประวัติศาสตร์) ต่อมาหลังจากค้นพบการทำผ้าไหมและประดิษฐ์กระดาษ จึงเปลี่ยนมาบันทึกบนวัสดุเหล่านี้แทนไม้ไผ่
การทำตราประทับมี 3 วิธีคือ 1. การแกะสลัก(雕琢) 2. การหลอม (浇铸) และ การปั้น (陶士浇制)สิ่งที่นิยมนำมาทำเป็นตราประทับคือ ทอง เงิน ทองแดง เหล็ก หยก หิน กระดูก ไม้ กระเบื้อง กระจก แก้วผลึก ตราประทับพัฒนาไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าของตัวอักษรซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย
ในสมัยราชวงศ์หยวน(1271 1368 A.D.)จิตกรชื่อดังอย่าง หวังเหมี่ยน (王冕) นิยมประทับตราประจำตัวลงไปบนผลงานของตนซึ่งวิธีนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในเวลาต่อมา
ขนาดของตราประทับจะแตกต่างกันไป เช่นตราประทับในสมัยรัฐสงคราม(475 -221 B.C.) มีขนาดเล็กกว่าเม็ดถั่วเหลือง ในสมัยตงจิ้น(317 420 A.D. )มีขนาดใหญ่จนสามารถสลักบทสวดมนต์ของลัทธิเต๋าได้ถึง 120 ตัวอักษร สมัยหนันเป่ยเฉา(ราชวงศ์เหนือ-ใต้ = 420-581 A.D.) มีตราประทับที่ทำด้วยไม้ขนาดกว้างกว่า 7 เซ็นติเมตรและยาวถึง 42 เซ็นติเมตร เนื่องจากทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกัน ทำให้ตราประทับมีน้ำหนักแตกต่างกันไปด้วยเช่นในรัฐสงครามตราประทับมีน้ำหนักไม่กี่กรัม ในขณะที่ตราประทับทองคำในราชวงศ์ชิง (1636- 1911A.D.)ชิ้นหนึ่งหนักกว่า 40 กิโลกรัม
Create Date : 22 กรกฎาคม 2550 |
Last Update : 22 กรกฎาคม 2550 1:21:39 น. |
|
20 comments
|
Counter : 11328 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: smack วันที่: 22 กรกฎาคม 2550 เวลา:1:36:48 น. |
|
|
|
โดย: ริมยมนา วันที่: 22 กรกฎาคม 2550 เวลา:1:38:10 น. |
|
|
|
โดย: shin chan (alei ) วันที่: 22 กรกฎาคม 2550 เวลา:2:28:24 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 22 กรกฎาคม 2550 เวลา:15:09:30 น. |
|
|
|
โดย: เอ๊กกี่ วันที่: 22 กรกฎาคม 2550 เวลา:16:56:15 น. |
|
|
|
โดย: ฟงเฟยเซียะ IP: 202.183.185.87 วันที่: 24 กรกฎาคม 2550 เวลา:7:30:57 น. |
|
|
|
โดย: น้ำเงี้ยว วันที่: 29 กรกฎาคม 2550 เวลา:18:45:38 น. |
|
|
|
โดย: นัท IP: 124.121.0.149 วันที่: 30 กันยายน 2550 เวลา:14:09:42 น. |
|
|
|
โดย: หญิง IP: 58.8.156.21 วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:12:34:13 น. |
|
|
|
โดย: คุณหนก IP: 58.10.84.117 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:29:39 น. |
|
|
|
โดย: เซี๊ยะ IP: 117.47.38.114 วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:35:06 น. |
|
|
|
โดย: อาซ้อซี IP: 203.144.153.153 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:13:19:56 น. |
|
|
|
โดย: หลวงเอ็ม IP: 202.143.145.2 วันที่: 25 สิงหาคม 2551 เวลา:12:38:03 น. |
|
|
|
โดย: ชชชช IP: 125.27.184.233 วันที่: 15 มีนาคม 2552 เวลา:11:28:08 น. |
|
|
|
โดย: พิเศษ IP: 125.24.122.250 วันที่: 25 สิงหาคม 2552 เวลา:22:39:11 น. |
|
|
|
โดย: sirivinit วันที่: 23 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:40:01 น. |
|
|
|
โดย: นพริชญ์ IP: 223.204.230.208 วันที่: 4 มีนาคม 2557 เวลา:18:58:29 น. |
|
|
|
| |
|
 |
mamiya |
|
 |
|
สงวนลิขสิทธิ์ตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามมิให้นำไปเผยแพร่และอ้างอิง
ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของข้อความ
ในสื่อคอมพิวเตอร์แห่งนี้เพื่อการค้า
โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
ผู้ละเมิดจะถูกดำเนินคดี
ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด
งานเขียนทุกชิ้นในบล็อคนี้ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน กรุณาให้เกียรติผู้เขียนเมื่อนำไปเผยแพร่ต่อควรขออนุญาตก่อน
|
|
|