你还好吗?
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
1 กันยายน 2550

广陵散 บทเพลงที่สาบสูญ








“《广陵散》于今绝矣!”
“นับแต่นี้ก่วงหลิงส่านจะสาบสูญ!
พูดจบคำจีคังก็ยื่นคอให้เพชฌฆาตประหาร สิ้นชีพด้วยความองอาจไม่ยอมลงให้แก่ผู้ใด


ก่วงหลิงส่าน(广陵散) เป็นเพลงโบราณที่มิทราบผู้ใดแต่งขึ้น จีคังชื่นชอบในผลงานชิ้นนี้เป็นอย่างมากถึงกับดีดเพลงนี้ด้วยกู่ฉินก่อนตาย ก่วงหลิงเป็นชื่อสถานที่ปัจจุบันอยู่ในหยางโจว หยางโจวเป็นสถานที่ซึ่งมีอดีตอันชวนให้ผู้คนหวนนึกถึงเมื่อได้ไปเยี่ยมเยือน ส่านเป็นภาษาโบราณหมายถึงบทเพลง กล่าวกันว่าจีคังถูกประหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับบทเพลงกว่างหลิงส่านเนื่องจากเขาไม่ยึดติดในกฎเกณฑ์ในการแต่งเพลงหรืออาจกล่าวได้ว่าละเมิดกฎความเชื่อของคนในสมัยนั้นซึ่งก็คือลัทธิหญู (儒家)

ตามความเชื่อในลัทธิหญูของท่านขงจื่อ(孔子)มีแนวคิดที่เรียกว่าอู่หลุน(五伦)ซึ่งกล่าวถึง 5 ประการคือเจ้านาย ขุนนาง ประชาชน เรื่องราวและสรรพสิ่งที่ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กันจะสลับผิดแผกมิได้ ดนตรีในยุคโบราณก็เช่นกัน จากบันทึกใน “หลี่เยวี่ย เยวี่ยจี้(礼乐•乐记)กล่าวเอาไว้ว่าโน้ตดนตรี 5 ตัวคือ กง(宫) ซัง(商) เจวี๋ย(角) จือ(徵) และหยู(羽)แทน 5 ประการดังนี้ กงหมายถึงเจ้านาย(君) ซังหมายถึงข้าราชการ(臣) เจี่ยวหมายถึงประชาชน(民) จือหมายถึงเรื่องราว(事) และหยูหมายถึงสิ่งของ(物) แต่จีคังแต่งเพลงก่วงหลิงส่านโดยไม่ได้คำนึงถึงกฎเกณฑ์เหล่านี้นับเป็นการละเมิดกฎ จึงทำให้ขุนนางไม่พอใจหาเรื่องสั่งประหารซึ่งแท้จริงแล้วมิใช่สาเหตุหลักแต่ยังมีเหตุอื่นแอบแฝงซึ่งจะกล่าวในส่วนประวัติของจีคังต่อไป



จากบทเพลงก่วงหลิงส่านนี้เอง ทำให้นักดนตรีชาวฮ่องกงอย่างหวงจาน(黄霑)ได้แนวคิดใช้โน้ตโบราณ 5 ตัวนำไปแต่งเพลง “ชังไห่อี้เซิงเซียว”(ยิ้มเย้ยยุทธจักร)เพื่อใช้เป็นเพลงหลักของภาพยนตร์เรื่อง “เซี่ยวอ้าวเจียงหู” หรือง “กระบี่เย้ยยุทธจักร” ที่เราต่างรู้จักกันดีนั่นเอง


*หมายเหตุ*

บทความนี้จะมีส่วนที่ใส่สีน้ำเงินนะคะ มามิยะคิดว่าต้องแยกแยะบทความนี้เนื่องจากมีข้อมูลที่นำมาจากข้อเท็จจริง( fact)กับความเชื่อ หรือการวิเคราะห์ด้วยความเห็นส่วนบุคคล(comment and belief) ข้างบนนั้นเป็นความเห็นของคนที่ชื่อหวังจวินเขาเป็นนักดนตรีศึกษาดนตรีจีนโบราณและเสนอแนวความคิดนี้เอาไว้ค่ะ





จีคัง (223-262) ชื่อตัวว่า ซู่เย่ (叔夜) เป็นคนเฉียวกั๋ว(谯国)ปัจจุบันอยู่ในมณฑลอันฮุย มีชีวิตอยู่ในสมัย 3 ก๊ก รักความสงบ นับถือจวงจื่อ เป็นหนึ่งใน จู๋หลินชีเสียน(竹林七贤) ด้วยนิสัยที่เป็นคนกล้า ยอมหักไม่ยอมงอจึงทำให้เขาเป็นปรปักษ์กับพี่น้องตระกูลซือหม่า มีเรื่องผิดใจกันจนถูกจับไปขังไว้ แม้บัณฑิตในสมัยนั้นรวมตัวกันถึงสามพันคนส่งจดหมายขอละเว้นโทษให้กับจีคังโดยให้เขามาเป็นอาจารย์(三千太学生请以为师)แต่พี่น้องตระกูลซือหม่าก็ไม่ยอม ที่สุดจีคังก็ถูกสังหาร จีคังได้แต่งบทกลอนไว้ประมาณ 50 กว่าบท ในจำนวนนั้นมีบทเพลงที่เขาโปรดปรานคือ “ก่วงหลิงส่าน” ซึ่งเขาเรียกคนมารวมตัวกันและดีดให้ฟังก่อนยื่นคอให้เพชฌฆาตฟันจนม้วยมรณา



ความขัดแย้งระหว่างจีคังกับพี่น้องตระกูลซือหม่ามีเรื่อยมาเนื่องจากนิสัยของจีคังที่ไม่ยอมลงให้กับอำนาจทางการเมืองที่คุกคาม แม้จะมีเพื่อนคนหนึ่งเขียนจดหมายเตือนจีคังว่าอย่าได้เป็นปรปักษ์กับตระกูลซือหม่า ซึ่งแม้แต่ตัวของเพื่อนจีคังเองก็ยอมเข้าเป็นพวกกับตระกูลซือหม่าแล้ว เมื่อจีคังเห็นก็โกรธมาก ตัดสัมพันธ์กับเพื่อนทันที จีคังยังมีความคิดว่าความทุกข์ทรมานทางกายไม่เท่ากับความทุกข์ทรมานทางจิดใจ จึงทำตามที่ใจสั่งโดยไม่คำนึงถึงความทรมานทางกาย นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาไม่ยอมลงแก่ตระกูลซือหม่าจนถูกฆ่าตายในที่สุด


ก่อนเขียนเรื่องนี้ ค่อนข้างลังเลเพราะมีความสับสนอยู่ หลังจากที่ได้อ่านข้อมูล ประกอบกับการสอบถามผู้รู้(อาจารย์) มามิยะจึงได้ข้อสรุปมาเช่นนี้ค่ะ

อ่านสีน้ำเงินให้ระวังด้วยนะคะ เป็นความเห็นค่ะ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง จากการที่มีแหล่งข้อมูลที่ต่างกันอาจทำให้เกิดความสับสนอยู่ ดังนั้นจากข้อมูลที่ต่างกันจึงทำให้เกิดความเห็นที่แตกต่าง ถ้าเป็นไปได้ อาจเสิร์ชหาเพิ่มเติม หากต้องการทราบเพิ่มได้ค่ะ

1.เรื่องของเนี่ยเจิ้งที่ลอบสังหารอ๋องหานที่บันทึกไว้นั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับก่วงหลิงส่านและจีคังเลย เพียงแต่ไปเจอการกล่าวถึงเพลงนี้ในบันทึกเดียวกันเท่านั้น บันทึก "ขื่อหาน" (สังหารหาน) เป็นบันทึกเกี่ยวกับการลอบสังหารต่าง ๆ ที่ตอนหลังนักแต่งเพลงไปได้แรงบันดาลใจมา จึงเอามาแต่งเพลงสำหรับหนังกำลังภายในที่ต้องมีเรื่องจอมยุทธ(บู๊)เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยจึงทำให้สองเรื่องนี้เหมือนมีความเกี่ยวเนื่องกัน

2.บทเพลงก่วงหลิงส่านที่เคยได้ยินว่าไปขุดพบในหลุมฝังศพนั้นก็ไม่เกี่ยวข้องกับก่วงหลิงส่านนี้ เนื่องจากการโปรโมทเรื่อง "กระบี่เย้ยยุทธจักร"

3.บทเพลง "ก่วงหลิงส่าน" (คำว่า "ก่วง" มิใช่ "กว่าง" ขอถอดเสียงตัวเขียนตามหลักการสำนักนายกฯ) นั้น "จีคัง" เป็นผู้แต่ง แต่หลังจากการตายแล้วจะสาบสูญไปหรือไม่ มิได้มีบันทึกไว้ แม้แต่เพลงก่วงหลิงส่านที่เราได้ยินกันก็ไม่แน่ใจว่าเป็นโน้ตเสียงแบบโบราณในสมัยสามก๊กเลยหรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นปริศนาซึ่งต้องรอคอยหลักฐานพิสูจน์กันต่อไป อย่าลืมว่า "ประวัติศาสตร์" เกิดจากการบันทึก แท้จริงแล้ว "ใช่" หรือ "มิใช่" นั้น คนรุ่นหลังก็ยากที่จะพิสูจน์ได้ เราได้แต่ใช้สถานการณ์จำลอง และแนวคิด หลักการตำเนินชีวิตของคนสมัยนั้นมาลองตั้งข้อสมมุติฐานดู ดังนั้น ความเห็น และ แนวคิดจึงออกจะแตกแยกอยู่ สิ่งที่ทำได้คือต้องเชื่อ "บันทึก" ไปก่อนเท่านั้นเอง


ทั้งนี้สามารถอ่านเรื่องเกี่ยวกับจีคังและก่วงหลิงส่านได้เพิ่มเติม ที่เรื่อง "หมอจีนในสมัยโบราณ" ซึ่งคุณชัชและหลิงเอ๋อร์ได้เข้ามาให้ความรู้และความเห็นเพิ่มเติมไว้ในตอนท้าย ๆ เรื่องด้วยค่ะ


ขอขอบคุณทั้งสองท่านมาก ๆ เลยนะคะ


//www.bloggang.com/mainblog.php?id=mamiya&month=29-07-2007&group=1&gblog=26






หมายเหตุ 2 หลังจากเขียนบทความนี้เมื่อคืนแล้ว ในใจก็ยังคิดเรื่องเนี่ยเจิ้งอยู่ จึงขอเอาสิ่งที่ได้อ่านมาลงไว้ที่นี่ด้วย

เกี่ยวกับก่วงหลิงส่านบ้างว่ามิทราบผู้ใดเป็นผู้แต่ง แต่พบเป็นบทเพลงสรรเสริญเนี่ยเจิ้ง และจีคังเองก็ชอบบทเพลงนี้ได้ดีดก่อนตาย

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจีคัง

เนื่องจากการที่มามิยะสอบถามอาจารย์เกี่ยวกับจีคังถึง 2 ครั้ง 2 คราในประเด็นที่ว่าจีคังเป็นผู้แต่งเพลงก่วงหลิงส่านหรือไม่(ซึ่งยังคาใจอยู่มาก) คำตอบคือ"ใช่" และมามิยะก็คิดว่าอาจารย์ศึกษาด้านนี้มาโดยตรงไม่น่าจะให้คำตอบที่ตนเองไม่แน่ใจกับลูกศิษย์ จึงทำให้มามิยะเขียนไปตามที่ทราบมาค่ะ และขณะที่สอบถามเกี่ยวกับจีคังนั้นเอง ได้ทราบมาว่า จีค้งเป็นคนที่นับถือ "เสวียน" (玄)ค่ะ อันว่าเสวีนนี้เป็นลัทธิอย่างไร เพิ่งอ่านเมื่อคืน รู้สึกว่าเมื่อบวกกับนิสัยของจีคัง ทำให้เขาต้องมีจุดจบเช่นนี้ค่ะ ถ้าใครเคยดูเรื่อง "โปเยโปโลเย" ที่เป็นหนังชุดพระเอกเฉินเสี่ยวตง นางเอก ต้าเอส และมีซวนซวนเล่นด้วย ตอนที่ซุนซวนใช้เวทย์มนต์เราจะเห็นตัวอักษรตัวนี้ นั่นล่ะก็คือตัวเสวียนค่ะ

เสวียน (玄) แปลว่าลึกล้ำ ผู้ที่ศึกษาในเรื่องเสวียนนี้เรียกว่า เสวียนเสวียเจีย (玄学家) สิ่งที่พวกเขามักจะถกกันคือคำสอนของจวงจื่อ ( 庄子) เหลาจื่อ (老子)และ โจวอี้( 周易)ของลัทธิหญู (儒家) ลัทธิเสวียนนี้ได้รับความนิยมมากในสมัยเว่ยจิ้นซึ่งมีแต่การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่ จีคังกับหย่วนจี๋(院籍)ก็เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าผู้นับถือลัทธินี้อย่างเข้มข้น พวกเขาเชื่อว่า คนควรอยู่เหนือคำสอน ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ หลุดพ้นพันธนาการต่าง ๆ ทั้งจีคังและหย่วนจี๋เอนเอียงมาทางตระกูลเฉาในขณะที่ได้รับการบีบคั้นจากตระกูลซือหม่า ทำให้มีแรงกดดันมากมาย พวกเขาดื่มสุราปลดปล่อยตัวเองไปตามธรรมชาติ โดยเฉพาะจีคัง เขากล่าวว่า "ลิ่วจิง" (六经) ในลัทธิหญูนับเป็นคัมภีร์ที่สกปรกอย่างยิ่ง ความคิดเกี่ยวกับ "เหริน 仁และอี้ 义" (เมตตาธรรม คุณธรรม)ตามคำสอนที่สุดจะเน่าเหม็น กับปราชญ์ต่าง ๆ ก็วิจารณ์จนไม่มีชิ้นดี ไม่ว่าจะเป็นโจวอู่หวัง(周武王) โจวกง(周公) หรือว่าขงจื่อ(孔子) การกระทำเช่นนี้ในสมัยนั้นนับว่า "แหกคอก" และ "กร่าง" จริง ๆ ประกอบกับโดนใส่ร้ายจึงทำให้ตระกูลซือหม่าประหารเขาในที่สุด




Create Date : 01 กันยายน 2550
Last Update : 3 มกราคม 2551 0:41:05 น. 69 comments
Counter : 4626 Pageviews.  

 
รออ่านค่ะ


โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 1 กันยายน 2550 เวลา:0:42:50 น.  

 


โดย: meaw_1985 วันที่: 1 กันยายน 2550 เวลา:22:33:45 น.  

 
อย่าลืมว่า "ประวัติศาสตร์" เกิดจากการบันทึก แท้จริงแล้ว "ใช่" หรือ "มิใช่" นั้น คนรุ่นหลังก็ยากที่จะพิสูจน์ได้

ติดใจกับประโยคนี้มากๆเลยละ มามิ
น่าจะต้องเพิ่มด้วยว่า "ใช่" หรือ "มิใช่" นั้นก็ขึ้นอยุ่กับมุมมองของผู้บันทึกและผู้ใช้บันทึกด้วยนะคะ

แนวโน้มที่ผู้บันทึกและผู้ใช้จะมีความชอบส่วนตัวเหมือนหรือต่างกันก็มีส่วนด้วยนะ

ขึ้นชื่อว่าคน(ไม่ใช่มนุษย์)นี่นา ชอบทำเรื่องบิดเบือนความเป็นจริงเพื่อสนองความต้องการส่วนลึกของจิตใจมีมากเสียด้วยค่ะ
ถึงยังไงพี่ก็พยายามมองในแง่ดีว่าประวัติศาสตร์ทุกเรื่องเป็นเรื่องที่น่าสนใจและรู้ไว้(บ้าง)ก็เป็นความรู้อีกอย่างหนึ่ง

ช่างมันเถอะนะ ดนตรีคือศิลปะแขนงหนึ่ง ดนตรีทุกประเทภทยังคงมีเอกลักษณ์ของตัวมันเองอยู่ดีค่ะ

ขณะที่เขียนอยู่นี่ก็ได้ยินบทเพลงนี้ดังขึ้นพร้อมๆกันด้วยนะ


เข้ากับบรรยากาศฝนตกตอนเช้าซะจริง (อากาศเย็นดี)
ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องบทเพลงนี้นะคะ


โดย: ฟงเฟยเซียะ IP: 202.183.185.87 วันที่: 3 กันยายน 2550 เวลา:7:36:52 น.  

 
ดนตรีทุกประเทภทยังคงมีเอกลักษณ์ของตัวมันเองอยู่ดีค่ะ

อ้าววว.. เขียนผิดต้องเป็นดนตรีทุกประเภท ทุกชาติ ทุกภาษาในโลกนี้ยังคงเอกลักษณ์ของตัวมันเอง
คิดว่าดนตรีนี่ดีนะ สวยงาม ไพเราะ ให้อารมณ์ แล้วก็...............เยอะแยะไปหมด (ที่เหลือคิดกันเอาเองเถอะนะ)



โดย: ฟงเฟยเซียะ IP: 202.183.185.87 วันที่: 3 กันยายน 2550 เวลา:7:56:05 น.  

 
อ่านแล้วนึกถึงบทเพลงเย้ยยุทธจักร อิ อิ อิ

น้องเล็กว่า ประวัติศาสตร์ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเหตุการณ์
ที่ผ่านมุมมองของผู้เขียน สิ่งที่เชื่อถือได้ ก็คงเป็นเพียงสิ่งที่ยังเหลืออยู่
คือสถานที่ ส่วนเรื่องราว ความเป็นมา ก็แล้วแต่ว่า ใครจะเขียนกันยังงัย

ไม่ว่าจะใช่บทเพลงดั่งเดิมหรือไม่ น้องเล็กคิดว่า
เพลงทุกเพลง มีคุณค่าในตัวเองอยู่แล้ว
ถ้ามันสามารถสร้างความบันเทิงให้ผู้ฟังได้นะคับ


โดย: หงส์น้อยแซ่เล็ก IP: 58.9.157.24 วันที่: 3 กันยายน 2550 เวลา:17:46:29 น.  

 
ส่วนตัว ชอบเพลงนี้มาก ไม่ว่าจะเล่นด้วยอะไรก็ตาม(เคยได้ยินทั้งแบบกู่ฉิน กู่เจิง)
เพราะเวลาฟังจะรู้สึกเหมือนคนคนหนึ่งที่เพียรพยายามมาชั่วชีวิต แต่ก็สู้ลิขิตฟ้าไม่ได้ เหมือนเป็นความแค้นที่ต้องเก็บไว้ แต่ก็เหมือนจะระเบิดออกมากับเสียงเพลง
อาจดูเว่อร์ไปนิด แต่รู้สึกแบบนี้จริงๆ


โดย: หลิงเอ๋อร์ IP: 125.26.147.51 วันที่: 3 กันยายน 2550 เวลา:22:03:31 น.  

 
อ่านแล้วพยายามจินตนาการถึงตอนที่จีคังยอมตายมากกว่าที่จะเปลี่ยนท่วงทำนอง
(จริงเท็จไม่รู้ แต่ชอบแบบนี้)

ระหว่างที่พิมพ์อยู่ ท่วงทำนองของบทเพลงทำเอาน้ำตาตกใน ทั้งๆที่ไม่ใช่เพลงจังหวะช้าๆ แต่ทำนอง+จังหวะ+เสียงเครื่องดนตรี+เรื่องที่ท่านมามิเขียน บีบหัวใจมาก ยิ่งตอนท้ายๆ หัวใจสลายไปเลย


แต่ก็ยังยอมรับว่า ท่วงทำนองเพลงนี้งดงามราวบทกวี

ว่าแล้วก็ช่วยส่งมาให้หน่อยนะ (ขอเอาดื้อๆเลย)


โดย: ไซมึ้งฮูหยิน (lenefield ) วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:7:22:06 น.  

 
เพลงนี้ตามหามาหกปีแล้ว เคยมีผู้กล้าท่านหนึ่งส่งลิงค์ที่ตะกุยจากทะเลเวบจีนมาให้ แต่ตอนนั้นยังไม่มีไฮสปีดใช้ โหลดไม่สำเร็จ ได้อ่านเรื่องราวอีกครั้ง ยังรู้สึกถึงสเน่ห์อันน่าหลงใหลแห่งบทเพลง


โดย: ริมยมนา วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:11:00:06 น.  

 
ใครเอาก็ทิ้งอีเมล์ไว้จ้า จะได้ส่งทีเดียวค่า


โดย: mamiya วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:22:08:49 น.  

 
พี่มามิคับ ขอนอกเรื่องนิโหน่ยนะคับ
พี่มีเวปฟังเพลงจีนออนไลน์บ้างมั้ยคับ
แนะนำน้องเล็กหน่อยดิคับ
เซ็งเป็ดหาเวปอัพเดทเพลงจีนไม่ได้เลย งิ งิ งิ

ขอบคุณค๊าบบบ


โดย: หงส์น้อยแซ่เล็ก IP: 58.9.163.14 วันที่: 9 กันยายน 2550 เวลา:10:37:36 น.  

 
ขอเพลง ชังไห่อี้เซิงเซียว ได้ป้ะครับ
แล้วก้อ บทเพลงก่วงหลิงส่าน อะครับ
ไม่ทราบว่ามี แบบที่ เล่น ร่วมไปกับ ขลุ่ย ด้วยรึป่าวครับพี่
เมล์ผมครับ berserk278@hotmail.com
ขอบคุณครับ


โดย: แอ๊ค IP: 222.123.125.36 วันที่: 9 กันยายน 2550 เวลา:21:40:52 น.  

 
ท่านลีนคะ พยายามส่งทางเมล์แล้ว มันหนักเกินเลยไม่ยอมไป ลิงค์ให้ก็แล้วกันค่ะ

ก่วงหลิงส่าน ไปดาวน์โหลดกันที่นี่ตามใจชอบนะคะ

//mp3.baidu.com/m?tn=baidump3&ct=134217728&lm=-1&word=%B9%E3%C1%EA%C9%A2

ชังไห่อี้เซิงเซี่ยว ค่ะ ดาวน์กันได้เลย

//mp3.baidu.com/m?f=ms&tn=baidump3&ct=134217728&lf=&rn=&word=%D0%A6%B0%C1%BD%AD%BA%FE&lm=-1

ของหวงจาน หมายเลข 2 สำหรับเสียงค่อนข้างมีอายุหน่อยค่ะ แต่ได้อารมณ์เย้ยยุทธจักรแบบขลังดีเหมือนกัน อินโทรค่อนข้างยาวที่เดียว ภาพที่ได้คือหมู่ชาวยุทธจักรร่วมร่ำสุราดื่มจนสาแก่ใจ
ส่วนหมายเลข 14 ของสวี่กว้านเจี๋ย ร้องเป็นภาษากวางตุ้ง ได้เสียงเย้ยยุทธจักรแบบใส ๆ พร้อมภาพสาวคู่ใจเมื่อได้ฟังเสียงนักร้องสาวคลอไปด้วยแล้วรู้สึกปลอดโปร่งสบายใจไปอีกแบบ



โดย: mamiya วันที่: 11 กันยายน 2550 เวลา:21:39:22 น.  

 
ขอด้วยๆ รบกวนส่งเพลงมาเมลล์ piscesb1@gmail หน่อยนะคะพี่มามียะ

ปล นึกว่าจาได้เจอพี่มามียะทีงานชุมนุมวันเสาร์ที่ผ่านมาซะอีก เฮ้ออออ


โดย: ไผ่น้อย IP: 203.185.131.237 วันที่: 12 กันยายน 2550 เวลา:10:20:45 น.  

 
ขอบคุณครับพี่ mamiya


โดย: แอ๊ค IP: 124.157.141.52 วันที่: 12 กันยายน 2550 เวลา:21:34:50 น.  

 
น้องไผ่คะ ไพล์มันใหญ่ พี่เลยลิงค์ให้ดาวน์โหลดตามข้างบนค่ะ ส่วนวันเสาร์ทุกเสาร์พี่ติดธุระค่ะ บอกไว้ในกระทู้แล้ว คงไม่ทันเห็นใช่ไหมคะ

น้องแอ๊ด น่ารักจริง ๆ กับคำพูดและภาพขอบคุณ น่าเอ็นดูค่ะ พี่ชักชอบหนูแล้วสิ


โดย: mamiya วันที่: 12 กันยายน 2550 เวลา:22:23:05 น.  

 
คีย์ทั้งห้าในทางทฤษฎีดนตรีจีนโบราณนั้น 角 ต้องอ่านว่า เจวี๋ยครับ เป็นชื่อสเกลประเภทหนึ่งเฉพาะในทางดนตรี

ส่วนเพลงกว่างหลิงส่านเวอร์ชั้นสมัยก่อนราชวงศ์ถังอันนี้ครับ
//www.up2box.com/download.php?file=070914f9f6811aa76308b9c2c966066ab8cd73
ศาสตราจารย์หลี่เสียงถิงเป็นผู้บรรเลง ซึ่งเป็นอาจารย์ของอาจารย์ของผมอีกที

ผมขอเรียนเพลงนี้แกไม่ยอมสอน เพราะแกว่าผมยังฝีมือไม่ถึง ฮ่าๆ แล้วเพลงนี้ก็ถือเป็นเพลงหนึ่งในสามที่ยากที่สุดของกู่ฉินด้วย ยากในเทคนิคของมือขวา เพลงยากเทคนิคมือซ้ายผมเรียนจบไปแล้ว


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 14 กันยายน 2550 เวลา:21:50:12 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำอ่านที่ถูกต้องของคำว่า 角 ในเรื่องของดนตรีนะคะ มามิยะเล่นดนตรีไม่เป็นค่ะ แต่ชอบฟัง ต่อไปคงต้องขอคำแนะนำจากคุณชัชเรื่องดนตรีอีกมากค่ะ บอกเหมือนหนังจีนว่า "ขอได้โปรดรับข้าเป็นศิษย์ด้วยเถิด" จะได้ไหมคะ

วันนี้ไปเยาวราชหาบรรเลงกู่ฉิน ไม่เจอเลยค่ะ ถามที่ร้านบอกว่า "หายาก" แต่ตอนนี้อยากฟังจังเลย กู่เจิง เจอ เอ้อหู ก็เจอ ผีผาก็มีแล้ว เหลือแต่กูฉินนั่นแหละค่ะที่ตอนนี้อยากได้มาก ไปดาวน์โหลดตามลิงค์ที่คุณชัชให้มา แต่เป็นอะไรก็ไม่รู้ พอกดดาวน์โหลดก็ถูกเตะออกจากเน็ตเลยล่ะค่ะ พรุ่งนี้จะลองใหม่ค่ะ อยากฟังเสียงกู่ฉินเพลงนี้แบบโบราณ ๆ เหมือนกันค่ะ

อ้อ มามิยะมีกู่ฉินที่ก๊อปมาจากอาจารย์อยู่ชุดหนึ่ง(เกือบลืมแหน่ะ) ตอนนี้ก็ฟังไปพลาง ๆ ก่อนล่ะค่ะ

แล้วเพลงถนัดของคุณชัชคือเพลงอะไรคะ?

ในเพลงกู่ฉินที่ดีดยาก ๆ นอกจากก่วงหลิงส่าน(ต้องบังคับมือตัวเองเหมือนกัน เพราะความจริงอยากพิมพ์ว่า "กว่าง" แต่การถอดคำที่ทางราชการออกมาแบบแผนมาว่าให้เขียนก่วง เฮ้อ...)



โดย: มามิยะ IP: 124.121.243.153 วันที่: 15 กันยายน 2550 เวลา:23:19:42 น.  

 
เพลงที่ผมถนัดที่สุดยังไม่มีครับ เล่นได้ไม่ใช่ว่าจะเล่นได้ดี
กำลังอยู่ในขั้นพัฒนาครับ ฮ่าๆ

เพลงที่ว่ายากที่สุดของมือซ้ายคือเพลง 潇湘水云 ครับ จาก 五知斋等合参 ต้นฉบับของอาจารย์ 吴景略 แต่ของดั้งเดิมนั้นไม่ยากเท่าของอาจารย์ 李祥霆 มาบรรเลงใหม่ เทคนิคขนาดที่ว่าเพลอแว่บเดียว ก็พลาดไปหลายตัวโน๊ตแล้ว

ลองฟ้งต้นฉบับได้ที่นี่ครับ 吴景略
//www2.huain.com/abxxeffgs/moremusic/music/huain/guqin/zhongguo_guqin_8/2/xiaoxiangshuiyun.rm
และฉบับปรับปรุงของ 李祥霆
http:music.941dj.com/playsong/109358.htm

ที่จริงที่เยาวราชก็มีนะครับ ผมรู้สึกว่ามีแค่แผ่นเดียว ในซอยเยาวราชเพลซ ร้านใหญ่ๆหน่อยน่าจะมี ปกเป็นสีน้ำงเนครับ ถ้าจำไม่ผิดมีรูปพระจันทร์กลมๆด้านบน และมีคำว่าก่วงหลิงส่านเขีนยไว้เป็นตัวอักษรสีดำ เลยดูยากหน่อย ที่ปกคำว่ากู่ฉฺนมีรึเปล่าผมไม่แน่ใจ ตอนนั้นผมซื้อมามั่วๆครับ จริงๆแล้วเดอะมอล์บางกะปิก็มี ที่ไหนก็มี แต่ในห้างจะถูกกว่าเยาวราช มันเหมือนเป็นซีดีพวกดนตรีจีนเกรดล่างอ่ะครับ ปกไม่สวยอะไร เลยราคาตก เท่าที่จำได้ที่เดอะมอลล์ขาย สี่สิบห้าสิบ ร้านซีดีไลออนชั้นหนึ่งรึเปล่าไม่แน่ใจ ลองไปดูครับ เยาวราชขายร้อยห้าสิบแหน่

เว็บที่หาฟังเพลงกู่ฉินได้ นี่ครับ
//www.chinakongzi.com/2550/music/zgqy/zgqy5.htm
//www.cglgq.com/cp/index.htm


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 16 กันยายน 2550 เวลา:7:33:14 น.  

 
แก้ไข

ฉบับปรับปรุงของ 李祥霆
//www.9ymp3.cn/song/129400.htm


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 16 กันยายน 2550 เวลา:7:35:53 น.  

 
ขอบคุณค่ะ เพลงให้ดาวน์โหลดเพียบ ส่วนที่คุณชัชบอกมามิยะไม่ได้ไปห้างนานแล้ว ไว้จะหาทางดอดไปเสียหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

อ.หลี่เสียงถิงดังที่สุดในเรื่องกู่ฉินหรือเปล่าคะ หรือว่ามีใครดังกว่านั้นอีกหรือเปล่าคะ? คุณชัชสอนดนตรีอยู่หรือเปล่า?
คำถามเยอะไปไหมคะ?


โดย: mamiya วันที่: 16 กันยายน 2550 เวลา:22:07:21 น.  

 
ในวงการกู่ฉินที่จริงก็มีคนเก่งอีกเยอะครับ แต่ที่เห็นผมงานเด่นๆ ก็คงไม่พ้นศาสตราจารย์หลี่เสียงถิง เพราะแกมีผลงานและเป็นที่ปรึกษาของสมาคนกู่ฉินต่างหลายสิบแห่งทั่วโลก แถมยังแต่งเพลงใหม่อีกมากมาย เพลงที่แต่งใหม่แกอัดเสียงสองรอบครับ รอบแรกเล่นกู่ฉิน รอบสองเป่าเซียวเองเลย ไม่ง้อใคร นอกจากนี้แล้วแกยังเขียนซูฝ่าและวาดภาพได้สวยแบบมืออาชีพเลยครับ ดังนั้นพูดไม่ได้ว่าแกเป็นนักดนตรี ควรเรียกว่าศิลปินที่แท้จริงมากกว่า
ส่วนอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆท่านอื่นๆได้แก่ 吴文光,龚一,曾成伟 เป็นต้นครับ อาจารย์เหล่านี้ล้วนเป็นอาจารย์ดังๆในมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศครับ กู่ฉินของผมก็ซื้อมาจากศาสตราจารย์ 曾成伟 จากมหาลัยดนตรีเสฉวนครับ เพราะแกนอกจากเล่นเป็นแล้ว ยังทำกู่ฉินได้ดีที่สุดในจีนด้วย

ส่วนตัวผมนั้นไม่ได้สอนครับ แต่กำลังเรียนฮ่าๆ
ปีหน้าเดือนสี่เตรียมตัวสอบเข้าคณะดนตรีจีน เอกกู่ฉิน ที่中央音乐学院 ครับ


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 17 กันยายน 2550 เวลา:6:36:09 น.  

 
เพลงเพราะมากเลยค่ะ นึกถึงเดชคัมภีร์เทวดาเลย มิน่าฉู่หยางถึงลงทุนไปขุดหลุมศพเพื่อจะเอาเพลงนี้มา


โดย: แพร (bookofpear ) วันที่: 17 กันยายน 2550 เวลา:19:14:41 น.  

 
中央音乐学院 อยู่ที่เมืองอะไรหรือคะ? ไม่ทราบจริง ๆ นะคะเนี่ย

"เพลงที่แต่งใหม่แกอัดเสียงสองรอบครับ รอบแรกเล่นกู่ฉิน รอบสองเป่าเซียวเองเลย ไม่ง้อใคร นอกจากนี้แล้วแกยังเขียนซูฝ่าและวาดภาพได้สวยแบบมืออาชีพเลยครับ ดังนั้นพูดไม่ได้ว่าแกเป็นนักดนตรี ควรเรียกว่าศิลปินที่แท้จริงมากกว่า"

โหย....เจ๋งจริง ๆ เล่นโซโลคนเดียวทั้งเซียวทั้งฉิน แล้วเอามาบวกกัน นับถือ นับถือ

มามิยะเคยคิดจะซื้อกู่เจิง แต่มันใหญ่ เล่นแล้วคนข้างบ้านคงจะมาด่า อาม่าเล่นไร? แน่เลย แต่ราคาของกู่เจิงกับกู่ฉินต่างกันมากไหมคะ ถ้ามันเล็ก ๆ หน่อยคงจะดี ว่าก็ว่าเถอะค่ะ ป่านฉะนี้แล้วยังไม่ได้ลงเรียนเลย เพราะมันแพงเกิน เอาเงินไปเรียนภาษาจีนได้หลายคอร์สเลย เฮ้อ

คุณชัชสงสัยจะชอบดนตรีนะคะ เนี่ยคิดภาพคุณชัชแต่งชุดบัณฑิตให้แล้วค่า.....


โดย: mamiya วันที่: 17 กันยายน 2550 เวลา:21:53:29 น.  

 
中央音乐学院 อยู่ปักกิ่งครับ เป็นวิทยาลัยดนตรีที่ดังที่สุดในจีน เพราะความดังทำให้ผมกังวลเรื่องการเข้าสอบ วิทยาลัยนี้เข้าสอบยากมาก แต่สำหรับผมที่เป็นชาวต่างชาติคงจะสบายหน่อย แต่ก็อดแอบเครียดไม่ได้ ฮ่า

ส่วนเรื่องราคากู่ฉินนั้น ถ้าเทียบกับกู่เจิงในคุณภาพระดับเดียวกันก็อาจจะตกใจได้ เพราะขนาดที่เล็กกว่า แต่ราคากลับไปไกลกว่า เช่น กู่เจิงระดับมืออาชีพใช้(ไม่สนเรื่องความสวย เน้นเรื่องคุณภาพเสียง) ราคาหมื่นกว่าหยวน แต่ถ้ากู่ฉิน ก็ปาไปแล้วหลายแสนหยวน

แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะกู่ฉินสำหรับคนเริ่มเรียน(เสียงโอเค และยิ่งเล่นเสียงยิ่งดี) ราคาสี่ห้าพันหยวนก็มี ซึ่งราคานี้ผมรู้จักกับอาจารย์ท่านนึง แกสามารถซื้อได้โดยตรง ซึ่งโดยปกติแล้วคุณภาพเสียงระดับนี้ในตลาดขายเจ็ดแปดพันหยวนครับ
ที่ว่ายิ่งเล่นยิ่งเสียงดี หมายความว่า กู่ฉินถ้าเป็นของที่คุณภาพระดับนี้ขึ้นไป ยิ่งเล่นเสียงจะดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่พังง่ายๆ และไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ ถ้าเอาของถูกไป แน่นอนว่าต้องซื้อใหม่แน่นอน เพราะมันมีรายละเอียดในการบรรเลงที่ตัวราคาถูกทำไม่ได้ด้วย แถมพังง่าย

ถ้าคุณมิมิยะสนใจเรียนผมก็ยินดีจัดการหาเรื่องอุปกรณ์ และสื่อการเรียนรู้ที่เรียนด้วยตัวเอง โดยไม่คิดค่าเหนื่อยครับ เพราะอีกอย่าง เมื่อมีคนรู้จักกู่ฉินมากขึ้น ผมก็มีเพื่อนคุยมากขึ้นด้วย ฮ่าๆ

ลองศึกษาข้อมูลคร่าวๆจากเว็บนี้ได้ครับ
//www.tcfb.com/guqin/


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 17 กันยายน 2550 เวลา:22:31:53 น.  

 
ขอให้คุณชัชทำสำเร็จดังใจหวังนะคะ ถ้าคุณชัชเครียดเสียงเพลงที่ดีดมันจะบอกแล้วครูที่ฟังจะรู้ใช่ไหมคะ? จากที่ดูในหนังมักจะเป็นแบบนี้ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วจะอ่านเสียงเพลงแล้วอ่านความใจใจออกได้จริงหรือเปล่านะคะ

ขอบคุณที่จะช่วยนะคะ มามิยะอยากได้อยู่แล้ว แต่กลัวตัวเองเหมือนหัวล้านได้หวี มีของดีแล้วดีดไม่เป็น ศึกษาเองจะได้หรือคะ? เคยคิดหลายต่อหลายครั้งแล้วว่าตอนแก่จะนั่งดีดกู่เจิงหรือกู่ฉิน ถ้าเป็นจริงได้ก็ดีแต่อายุมากแล้วเรียนจะดีหรือคะ?


เรื่องกู่ฉินยังคุยกันได้เรื่อย ๆ ค่ะ ชอบเหมือนกัน และคิดว่าหลาย ๆ คนคงชอบด้วย เช่นพี่ฟง กับหลิงเอ๋อร์ หลิงเอ๋อร์ดีดกู่เจิงเป็นแล้วด้วยสินะ

ดนตรีเป็นสิ่งที่ช่วยคลายเครียดได้ค่ะ เล่นดนตรีจะปรับจิตใจของเด็ก ๆ ให้อ่อนโยน น่าจะดีกว่าเล่นเกมส์สังหาร(ไม่นับเกมส์ฝึกสมองหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ นะคะ) มามิยะเชื่อว่าคนเล่นดนตรีจะมีจิตใจอ่อนโยนค่ะ (แล้วดนตรีร็อคจะเกี่ยวกับการนี้ด้วยหรือเปล่าเนี่ย?)

คุณชัชมีประวัติกู่ฉินไหมคะ พอจะทราบไหมคะว่ากู่ฉินที่เก่าที่สุดมีในพิพิธภัณฑ์ไหมคะ? หรือว่าไปอยู่ไต้หวันหมดแล้ว?

ส่วนลิงค์ที่ให้มาขอบคุณค่ะ มาคุยกันเรื่องดนตรียินดีเสมอค่ะ


โดย: mamiya วันที่: 18 กันยายน 2550 เวลา:21:06:38 น.  

 
อาจารย์แกฟังรู้ครับว่าตื่นเต้น แค่ฟังแค่เนื้อเสียงชั้นหยาบ ยังไม่ต้องพูดเรื่องการสื่อเนื้อหาระดับวิสดอมแกก็รู้แล้ว เพราะแน่นอนว่าฝีมือผมไปไม่ถึงขนาดจิตถึงจิต

มีอยู่ครั้งนึงผมฟังเพลง 流水 แบบผ่านๆนะครับ แล้วอยู่ดีมันก็มีความรู้สึกวูบของกระแสน้ำเข้ามาในตัวอย่างรุนแรงและแผ่วเบาเป็นละอองสลับกันไป รู้สึกเย็นเหมือนตั้งตัวไม่ทัน ซักพักมันก็หายไป อารมณ์แบบนี้คือการเข้าถึงเนื้อหาที่แท้จริงครับ บางครั้งจดจ่อฟังมันจริงๆก็ใช่ว่าจะฟังออก เป็นเนื้อหาระดับจิตวิญญาณ ไม่ใช่เสียงดนตรีป๊อปที่ฟังแล้วเพราะทันทีแต่ว่างเปล่า หลังจากวันนั้นผมก็ยังไม่มีความรู้สึกแบบนั้นขึ้นมาอีก มันอาจจะบังเอิญจริงๆ ซึ่งเรื่องแบบนี้ฝึกกันได้ครับ ฟังมากๆ ก็จะเริ่มเข้าไปลึกเรื่อยๆ จนถึงจุดจุดหนึ่ง เรื่องความนิ่งของจิตก็สำคัญ ฉนั้น นั่งสมาธิซะ

ส่วนกู่ฉินนั้นศึกษาเองได้ครับ แต่ในระดับหนึ่งเท่านั้น เรื่องของอารมณ์เพลงต้องใช้อาจารย์ชี้แนะเท่านั้น เพราะขั้นพื้นฐานทั่วไปมีวีซีดีกับหนังสือขายมากมายครับ เรียนรู้ด้วยตัวเองสบายๆ ถ้าผมกลับไทยไปมีโอกาศก็ได้ไปแนะนำคุณมามิยะได้ ไม่ต้องห่วง

กู่ฉินที่เก่าที่สุดขุดได้จากสุสานของเจิงโหวอี่ 曾侯乙 ครับ ภายในสุสานมีเครื่องดนตรีนับร้อยชิ้น กู่ฉินที่ขุดได้ที่นี่เป็นรุนแรกสุด มีสิบสาย รูปทรงคล้ายหงค์ ครับ
อ่านรายละเอียดได้ที่นี่
//www.cctv.com/program/tsfx/20040510/101846.shtml
//cm.hist.pku.edu.cn/tongshi/z04_2/cankao/yueqi.htm


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 19 กันยายน 2550 เวลา:5:38:33 น.  

 
เด็ดมาก ๆ เลยค่ะ ความรู้สึกแบบนั้น ไว้วันเสาร์ดีก ๆ จะลองฟังหลิวสุ่ยดูบ้าง เอาแบบใจนิ่ง ๆ เลยค่ะ ไร้กังวลแล้วนั่งเย็น ๆ มาฟังดู เปิดก๊อกน้ำให้มันไหลไปด้วยดีไหม เอาแบบไหลช้า ๆ ลงถังแล้วเอาน้ำไปรดต้นไม้ จะได้ไม่สูญเปล่า พอจะได้อารมณ์ไหมคะ นี่พูดจริงนะคะ พยายามสร้างสถานการณ์ "หลิวสุ่ย" ค่ะ สงสัยจะไม่เวิร์ค มันต้องเป็นน้ำจากลำธารไหลระรินสินะ เอาเป็นว่าจินตนาการเอาก็ได้ค่ะ (อาการหนักไปเสียแล้ว)

ขอบคุณมากนะคะ ที่จะชี้แนะให้ อ้อ วันนี้งานยุ่งมาก ใจไม่ค่อยสงบเลยฟังดนตรีไม่ค่อยรู้เรื่องเลย ไม่เก็ตหรือเรียกว่าไม่ได้อารมณ์เลย คงต้องรออีกสักพัก

曾侯乙 ชื่อนี้ไม่คุ้นเลย แบบนี้ดีค่ะ จะได้เปิดโลกไปที่ไม่รู้เสียบ้าง ไว้จะลองคุ้ยชื่อคนนี้ดูนะคะ จะเล่าแลกเปลี่ยนค่ะ ฟังสนุก ๆ นะคะ

อาจารย์ของมามิยะเล่าให้ฟังว่า สุสานที่ยังไม่ได้ขุดคือสุสานของพระนางบูเซ็คเทียน ซึ่งพระนางฉลาดมากเอาภูเขาทั้งลูกเจาเป็นสุสาน ส่วนสุสานของคนอื่น ๆ ถูกโจรเจาะไปหมดแล้วเพราะมีรูปร่างคล้ายซาลาเปา โจรก็มาเจาะตรงที่แต้มจุดของซาลาเปา ของบางอย่างรู้จาก ปวศ.ว่ามีแต่พอทางการไปขุดไม่เจอ เพราะว่าโจรไม่รู้เอาไปขายใคร ตอนนี้ทางการจีนเลยไม่กล้าเปิดสุสานของพระนางเพราะเปิดยากและเป็นเขาทั้งลูก เจาะลำบาก กลัวว่าเจาะออกมาแล้ว ด้วยวิทยาการขณะนี้จะรักษาของโบราณเป็นพัน ๆ ปีไว้ไม่ได้ จึงได้แต่รอให้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้ากว่านี้ เพราะลูกหลานจะได้มีปัญญาเก็บรักษาสมบัติของบรรพบุรุษและเรียกได้ว่าไม่ละอายต่อบรรพบุรุษ มามิยะเองไม่รู้จะมีชีวิตอยู่ทันดูจีนพัฒนาเจาะสุสานพระนางบูเซ้คเทียน จักรพรรดินีผู้ยิ่งใหญ่ได้หรือเปล่า เฮ้อ เศร้าใจ

ฟังสนุก ๆ นะคะ ครูเล่ามาอีกทีค่ะ

ส่วนกู่ฉินนั้น ทำจากไม้อะไรคะ พอพูดถึงเรื่องไม้ก็มีเรื่องเล่าอีก ไว้จะเล่าให้ฟังค่ะ วันนี้ปวดมือ-ตามากค่ะ ขอบคุณสำหรับลิงค์ค่ะ


โดย: มามิยะ IP: 124.121.244.147 วันที่: 19 กันยายน 2550 เวลา:22:05:38 น.  

 
กู่ฉินโดยทั่วไปเป็นไม้ถงครับ ไม้เนื้อแข็ง แต่ไม้ที่ทำกู่ฉินได้ต้องแห้งตามธรรมชาติ ซึ่งใช้เวลาหลายร้อยปี หรือบังเอิญถูกฟ้าผ่าแล้วความชื้นในเนื้อไม้ออกไปหมด กู่ฉินยิ่งใช้ไม่เก่า ราคาก็ยิ่งอพลงขึ้นเรื่อยๆ บวกกับขั้นตอนการทำที่ซับซ้อน ต้องทายางสนเจ็ดชั้น แต่ละชั้นต้องอบที่อุณหภูมิที่เหมาะสมทุกครั้ง ทั้งหมดใช้เวลาราวๆ สามถึงที่เดือนกว่าจะได้กู่ฉินตัวนึง แล้วความสูงที่จุดกึ่งกลางของสายห่างจากแผ่นหน้าควรมีระยะห้า มล. สูงกว่านี้เล่นเทคนิคชั้นสูงไม่ได้ และถ้าต่ำไปมือขวาก็อาจดีดไปโดนหน้ากู่ฉินได้ ไหนจะต้องคำนึงไม่ให้เกิดเสียงทรายด้วย ดังนั้นการทำกู่ฉินไม่ใช่อะไรที่ง่ายๆ เลย


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:12:56:49 น.  

 
ไม้ถงใช่ต้นอู๋ถงหรือเปล่าคะ? กู่ฉินแต่ละตัวจากที่คุณชัชเล่าไม่ใช่ทำง่าย ๆ เลย เรื่องกู่ฉินมามิยะอยากได้ค่ะ แต่ลึก ๆ แล้วก็กลัวเอามันมานอนเล่นจังเลย กลัวไม่ได้ใช้งานน่ะค่ะ เสียงเพราะให้อารมณ์แบบโบราณดีค่ะ คุณชัชอยู่ที่ไหนคะตอนนี้ ปักกิ่งหรืเปล่า? มามิยะเล่าเรื่องคุณชัชให้เขาฟัง เพื่อนอยากให้ลูกเรียนดนตรีกับคุณชัชค่ะ แหะ แหะ......

ส่วนเรื่องฟ้าผ่าต้นไม้เคยดูซีซีทีวี มีต้นไม้อายุ 2500 ปี ถูกฟ้าผ่า เป็นไม้หอม พอโดนฟ้าผ่าต้นไม้ค่อย ๆ แห้ง เจ้าของเขาซื้อมาจากรัฐบาล ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เลยได้แรงบันดาลใจ แกะสลักอรหันต์ 500 องค์ค่ะ ตั้ง 6-7 ปีแล้ว ป่านนี้ยังแกะไม่เสร็จเลย ไม้นี้สูงเท่าตึก 4 ชั้นค่ะ น่าเสียดาย ถ้าไม่ตายเพราะฟ้าผ่าเสียก่อน คงจะเป็นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองจีน(คิดว่าค่ะ แต่อาจมีเก่ากว่าก็ได้) เรื่องนี้แหละค่ะ ที่จะเล่าให้ฟัง ความจริงเรื่องยาวกว่านี้ แต่เล่าย่อ ๆ ค่ะ

คุณชัชเล่าเรื่องกู่ฉินอีกค่ะ ชอบฟังค่ะ


โดย: mamiya วันที่: 22 กันยายน 2550 เวลา:21:32:43 น.  

 
ตอนนี้ผมอยู่ปักกิ่งครับ

ส่วนเรื่องต้นถงไหนผมก็ไม่ค่อยแน่ใจครับ เพราะผมยังไม่ศึกษาลึกๆ

และเรื่องต้นไม่ที่ถูกฟ้าผ่าตายนั้นทำกู่ฉินดีมากครับ เพราะความชื้นออกไปด้วยวิธีธรรมชาติ และแน่นอนว่าฟ้าไม่ได้ผ่าต้นไม่บ่อยๆ หรือผ่าก็ผ่าไม่ตรงต้นที่ทำกู่ฉินได้ดี ไม้แบบนี้จึงหายากครับ

ส่วนเรื่องกู่ฉินคุณมามิยะอยากรู้ส่วนไหนถามมาดีกว่าครับ ให้ผมเล่าคิดไม่ออก


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 22 กันยายน 2550 เวลา:22:22:54 น.  

 
อย่างนั้นขอฟังเรื่องที่มาและส่วนประกอบของกู่ฉินก๋อนเลยได้ไหมคะ?


โดย: mamiya วันที่: 24 กันยายน 2550 เวลา:22:26:24 น.  

 
มไปเจอเอกสารนึง ว่าด้วยเพลง กว่างหลิงส่าน
เค้าว่าจีคังไม่มีทงแต่งเองแน่นอน เพราะหนังสือโน๊ตเพลงที่จีคังบันทึกไว้ว่า เป็นเพลงโบราณ ถ้าเป็นเพลงโบราณแล้วจีคังจะแต่งได้ยังไง แถมบวกกับใช้ทฤษฎีดนตรีจีนวิเคระห์ด้วยแล้วไม่ใช่แน่นอน เพราะเพลงนี้มีนักวิจัยของสมาคมวิจัยศิลปวัฒนธรรมจีน สรุปออกมาแล้วว่า จีคังไม่มีทางแต่งเพลงนี้ชัวๆ เป็นแค่เพลงที่จีคังชอบแล้วเอามาใส่ไว้


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:0:10:43 น.  

 
ประเด็นนี้ตามที่เขียนไว้ข้างบนค่ะ มามิยะเองก็คาใจ และตั้งประเด็นสงสัยไว้ด้วยเช่นกันจึงได้เขียนความไม่แน่นอนตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ด้วย แต่กระนั้นหากคุณชัชมีข้อมูลที่แน่นอน ช่วยกรุณาบอกมาให้ก็นับเป็นความขอบคุณอย่างยิ่งค่ะ เอกสารนั้นจะสามารถส่งให้ดูได้ไหมคะ หรือคุณชัชเขียนมาให้หน่อยค่ะ มามิยะเองก็อยากได้สิ่งที่ถูกต้องมาเขียนเช่นกันค่ะ

ดีค่ะ นับว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน


โดย: มามิยะ IP: 58.8.185.103 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:12:09:55 น.  

 
เอกสารที่ว่าแนบมากับโน๊ตเพลงที่อาจายรฺให้มา เป็นผลงานการวิจัยของ 王世襄 ครับ ซึ่งมีการพูดถึงลักษณะการประพันธ์โดยใช้บรรทัดห้าเส้นของดนตรีสากลมาอธิบาย เพื่อความชัดเจน รวมทั้งพูดถึงลักษณะการแต่งกวีที่ย่อยสบายมาเป็นเพลงนี้เป็นไปตามสมัยใด เป็นภาษาของแคว้นไหน อีกชุดหนึ่งอยู่ในตำรา琴学俑要 ครับ เล่มหน้าปึ๊ก ปัญหาคือผมไม่มีเครื่องสแกน แล้วเนื้อหาพวกนี้ถ้าสแกนคงได้กระดาษหนาซักหนึ่งนิ้วได้ เลยไม่รู้จะทำไงครับ


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:12:47:31 น.  

 
พอดีอัพโหลดไฟลฺให้เพื่อนรเลยเอามาแบ่งที่นี่ครับ
อันนี้เป็นอัลบั้มเดี่ยวของ 赵晓霞 อาจารย์ของผมเอง
//www.up2box.com/download.php?file=07092589131e87cdf1070bef87fbae81bb4984


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:21:18:15 น.  

 
กำลังโหลดอยู่ค่ะ เพิ่งได้แค่ 9 เปอร์เซ็นต์เอง คงจะใหญ่เหมือนกัน ขอบคุณมากนะคะ เดี๋ยวจะเอาไปใส่เอ็มพีสามเอาไว้ฟังตอนเดินทางด้วยค่ะ

ส่วนเรื่องของจีคัง ที่อยากได้เพราะว่าจะเอาให้ครูดูด้วยค่ะ คุณชัชพอจะเอาหลักฐานแค่ตรงที่จีคังไม่ได้แต่งเพลงก่วงหลิงส่านเองไม่ต้องแสกนทั้งหมดก็ได้ค่ะ เอาแค่เหตุยืนยันว่าจีคังมิได้แต่งเอง เช่นถ่ายรูปตรงย่อหน้าหรือบรรทัดตรงนั้นก็ได้ค่ะ ไม่รีบค่ะ ค่อย ๆ ก็ได้ค่ะ

มามิยะก็มีความสงสัยมากโขอยู่ว่าทำไมจึงได้รับคำตอบเช่นนั้น ความจริงแล้วเท่าที่ทราบคือยังไม่มีใครบอกว่าจีคังแต่งเลย ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าใครแต่งทั้งนั้น นี่เป็นสาเหตุให้มามิยะแรก ๆ เองค่อนข้างกังวลและไม่กล้าเขียนเรื่องนี้ อย่างที่เคยบอกไว้ในเรื่องหมอฯ


แต่เมื่อได้รับคำตอบอันชัดเจนแล้วจึงได้เขียนไปตามที่ทราบและยังได้เขียนหมายเหตุเอาไว้ด้วย ดังนั้นจะเป็นการดีอย่างยิ่งถ้าได้ความชัดเจนที่เป็นหลักฐานอันมั่นคงแน่นอนค่ะ คุณชัชจะลำบากเกินไปหรือเปล่าคะ กับคำขอเช่นนี้ ลองพิจารณาดูนะคะ มามิยะเชื่อว่าคุณชัชเป็นคนที่ไม่เสียดายกับการทำเพื่อแบ่งปันค่ะ อย่างที่คุณชัชมาให้ความรู้อยู่เสมอ ๆ ก็เป็นเครื่องประกันได้เช่นกัน ไม่ได้ยอนะคะ เพียงแต่รู้สึกว่า 知音难找เท่านั้นเองค่ะ

เรื่องของฉินความจริงก็หาอ่านยากอยู่ หนังสือที่คุณชัชว่า คงเป็นหนังสือเรียนของคุณชัชด้วยสินะคะ เมืองไทยหาอ่านไม่ได้ หรือเป็นเพราะมามิยะไม่ได้เจอกับหนังสือเช่นนั้นก็ไม่ทราบได้ ขอให้เป็นเรื่องของโบราณ(จีน) มามิยะก็สนใจไปหมดแหละค่ะ เพราะว่าชอบดูหนังโบราณเอาไว้ประดับความรู้

เอ....ทำไมคุณชัชถึงเลือกเรียนดนตรีโบราณอย่างนี้ล่ะคะ หรือว่าเป็นเพียงวิชาหนึ่งที่ต้องเรียนคะ?

เสียงของฉินเนี่ย มามิยะรู้สึกว่า หากใจไม่สงบ จะรู้สึกรำคาญเป็นอย่างมาก หงุดหงิดและฟังไม่ได้เลย แต่หากใจสงบนิ่งจะอินมาก และเมื่อฟังไป ๆ จะค่อย ๆ เย็นลงค่ะ อาการที่คุณชัชเป็นเหมือนโดนน้ำสาดใส่ คงเป็นประสบการณ์แปลกใหม่และน่าตื่นเต้นมาก ๆ เลยค่ะ ชั่วชีวิตนี้มามิยะคงไม่อาจสัมผัสได้เยี่ยงนั้น แต่หากให้ฟังแล้วชอบไม่ชอบก็ยังคงได้อยู่

จีคังก็เป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่ายอมหักไม่ยอมงอ ไม่เหมือนเพื่อนของเขา หย่วนจี๋ ที่หลีกเลี่ยงได้ดีกว่า ไม่เหมือนจีคังที่ชนโดยไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม ปัจจุบัน คนตรงอย่างนี้คงอยู่ในสังคมอย่างไม่ค่อยมีความสุขนัก แต่คงจะภาคภูมิในตัวเองไม่น้อย



โดย: มามิยะ IP: 124.120.90.97 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:21:46:35 น.  

 
โอ้ โห..............ทั้งโฟล์ดเดอร์เลย เจ๋งมาก ๆ มามิยะชอบแทรก 1 กับ 9 ค่ะ ฟังเต้งดึ๋งดีจัง ตอนที่สายฉินมันโดนดีด ชอบ ชอบ นี่ฟังครั้งแรกชอบสองแทรกนี้ค่ะ มีชื่อไหมคะ? ชื่อเพลงน่ะคะ ฟัง ๆ ไปอาจมีชอบเพลง เอาเพลงที่คุณชัชดีดมาอัพให้ฟังบ้างสิคะ


โดย: มามิยะ IP: 124.120.90.97 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:23:06:04 น.  

 
ผมเป็นเพื่อนของชัช ที่ศึกษาการดีดกู่ฉินด้วยตัวเองอยู่ที่เมืองไทยครับ ชัชส่งบล็อกนี้มาให้อ่าน เห็นว่าคุณมามิยะโต้ตอบกับเขาอย่างยืดยาว
ผมเล่นไม่เก่งเหมือนชัช เพราะเพิ่งหัดได้ไม่เกินครึ่งปี และไม่มีครู แต่ดีใจที่มีคนสนใจกู่ฉินเพิ่มขึ้น ถ้ายังไงขอเอ็มเอสเอ็นไว้คุยกันหน่อยสิครับ ผมมีกู่ฉินที่ใช้เล่นอยู่ตัวเดียวไม่ค่อยดีเท่าไหร่ และมีอีกตัวนึงทรงจ้งหนีสีดำที่ผมรื้อสายทิ้งไว้ยังไม่ได้ขึ้นสาย ผมยินดีให้คุณมามิยะยืมไปฝึก แต่ต้องหาสายขึ้นให้ได้ก่อนครับ


โดย: นัท IP: 124.121.0.228 วันที่: 26 กันยายน 2550 เวลา:21:47:00 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณนัท

โอโห...ฝีกเองหรือคะ? เก่งจังเลย เรื่องอย่างนี้มามิยะไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าไม่ต้องมีครูสอนก็ฝึกได้ด้วย เป็นความเข้าใจใหม่จริง ๆ เคยนั่งดีดขิม อยู่ชั่วโมงเดียวก็แทบเป็นแทบตายแล้ว ท่าจะไม่มีพรสวรรค์เลยสักกะติ๊ด เลยสงสัยตัวเองอยู่เสมอว่าจะไปรอดเหรอ เลยทำให้ไม่กล้าซื้อกู่เจิงหรือฉินมาเล่น ทั้ง ๆ ที่โปรดมากทั้งเจิงทั้งฉิน คืออยากเป็นเหมือนจอมยุทธในหนังน่ะค่ะ ต่อมารู้สึกว่าเสียงของมันทำให้จิตใจสงบ และมองเห็นเรื่องบางเรื่องเบาลงได้อย่างไม่น่าเชื่อ

มามิยะไม่เล่นเอ็มเอสเอ็นค่ะ ไม่เคยคิดเล่นเลยจริง ๆ เลยไม่มี เห็นน้องเล่นเหมือนกัน เนื่องจากมามิยะชอบฟังเพลงไปอ่านหนังสือไป การใช้เวลากับเอ็มเอสเอ็นจึงกระทำไม่ได้ค่ะ และกลัวตัวเองจะติดด้วย เขียนบล็อคยังติดเลยค่ะ มีอะไรก็มาเล่าให้บล็อคฟังอยู่นี่ล่ะค่ะ

ต้องขอขอบคุณคุณนัทมากจริง ๆ ในความกรุณาที่จะให้ยืมกู่ฉินมาฝึก แต่ว่าสายขึ้น เอาสายอะไรขึ้นคะ (ไม่ทราบจริง ๆ ค่ะ) เอ็นหรือเปล่า หรือสายอื่นใด แล้วไปหาได้ที่ไหนคะ เคยไปจ้อง ๆ วน ๆ เวียน ๆ แถว ๆ เยาวราช เห็นแต่ร้านขายยาไม่เห็นมีร้านเครื่องดนตรีเลย เ

มามิยะเคยฝันไว้ว่าอยากไปเดี่ยวเจิ้งในงานแต่งงานเพื่อน แต่ก็ได้แต่ฝันไป ใครจะให้อาซิ่มมานั่งดีดฉิน เขาฟังร็อคกันแล้ว แร็ป ร็อค ป๊อบ แจ๊ส โบราณอย่างนี้น้อยรายที่จะยอมให้ไปแสดง หรืออยากฟังนะคะ ว่าไหมคะ? (หรือมีแต่เราไม่เจอหว่า)

ขอบคุณมากค่ะ คุยกันไปก่อนได้นะคะ ตราบใดที่ยังไม่เกินโควต้าที่บล็อคจะยอมให้เขียน

คุณนัทคะ การฝึกด้วยตัวเองต้องทำอย่างไรบ้างคะ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าดีดถูกดีดผิด เอ แล้วในเมืองไทย มีสมาคมดนตรีจีนไหม เหมือนไม่เคยได้ยินนะคะ เคยว่าจะไปเรียนกะอาจารย์หลี่หยาง แต่แพงเกินความสามารถจะไปเรียนได้เลยต้องเลิกล้มเสียกลางคัน

วันนี้คุณชัชหายไปเสียแล้ว


โดย: mamiya วันที่: 26 กันยายน 2550 เวลา:22:58:21 น.  

 
ฝึกเองได้แน่นอนครับ แต่ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งตัวผมเองก็ได้ประสบความสำเร็จในขึ้นต้นมาแล้ว

หลังจากที่ผมดูภาพยนตร์เรื่องฮีโร่ ของจาวอี้โหม่วจบ ผมก็รบเร้าให้คุณพ่อซื้อกู่ฉินให้ และหลังจากได้กู่ฉินมา ผมก็ศึกษาเองทั้งหมด โดยอาศัยเว็บไซด์ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน ผมศึกษาเองปเ็นเวลาเกือบสามปี หลังจากนั้นก็เอาเพลงกู่ฉินที่เรียนเองไปสอบติดที่วิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผมเรียนที่นั่นเป็นเวลาสามเดือนกว่าๆ แต่เนื่องจากทางวิทยาลัยหาอาจารย์สอนกู่ฉินให้ไม่ได้ และผมก็คิดจะลาออกไปเรียนเอกจีน เพราะรู้สึกว่ามันไม่ตรงกับสิ่งที่ผมอยากเรียนจริงๆ ผมจึงไปปรึกษา ดร. กนกพร พุ่มทอง หัวหน้าภาควิชาภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งอาจารย์แนะนำว่าให้ลองขอทุนรัฐบาลจีนดู และนอกจากนี้ผมยังได้สื่อการเรียนบางส่วนจาก ศร.ดร. จินตนา ธันวานิวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาภาษาจีนที่จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ซีดีกับหนังสือมาบ้าง เพราะแกเคยเรียนกับศาสตราจารย์ 吴文光 ที่ปักกิ่งมาก่อน และผมก็ได้ทำตามคำแนะนำของ อ. กนพร โดยการส่งเพลงตัวอย่าง และนอกจากนี้ยังมีเอกสารรับรองจาก ท่านคณะบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหิดลด้วย คิดว่าไม่ถึงว่าจะได้ทุนรัฐบาลจีนจริงๆ ซึ่งตอนนี้ผมเรียนอยู่ที่ 北京语言大学 ปีกว่าๆแล้ว เพื่อนเตรียมภาษา เข้าไปเรียนต่อที่ 中央音乐学院 และในระหว่างที่รอสอบเข้าไปต่อที่ 中央音乐学院 ผมก็ได้เรียนกู่ฉินกับอาจารย์ 赵晓霞 ไปด้วยเพื่อนเป็นการเตรียมความพร้อม และผลจากการเรียนเอง ทำให้เมื่อได้เรียนตัวต่อตัวกับอาจารย์แค่สี่ห้าเดือนก็เล่นเพลงระดับสูง ซึ่งนักดนตรีกู่ฉินถือว่าเป็นเพลงที่ยากที่สุดได้แล้วสองเพลง และแน่นอนว่าเรียนเองก็ต้อง
มีข้อพกพร่องมากมาย ซึ่งตอนเรียนใหม่ๆ ผมก็โดนอาจารย์赵晓霞 ตำหนิพอสมควร แต่แกก็ยังชมว่าผมเรียนเร็วมาก เพราะคนทั่วไปจะเรียนเพลงที่ผมเล่นได้นั้น ต้องใช้เวลาหลายปี(หมายถึงเรียนโดยมีอาจารย์ ไม่ใช่เรียนเอง)

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการเรียนด้วยตัวเองจากประสบการณ์ตรงของผมครับ ซึ่งต้องอาศัยทั้งใจรัก และความพยายาม บวกกับโอกาศ(อันนี้ไม่ใช่ว่าทุกคนมีอยู่แล้ว แต่บางคนสร้างโอกาศเองได้ ฉนั้นถ้าทำตามหลักนี้แล้ว ผมคิดว่า ใครก็สามารถประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าในด้านไหนๆ)

ผมพูดได้เต็มปากเลยว่า ใครไม่รักไม่ชอบกู่ฉินจริงไม่มีทางเรียนได้ดี
เพราะคนจีนเองที่เล่นดนตรีจีน บางคนยังไม่กล้าเล่นกู่ฉิน

ส่วนเรื่องสื่อการเรียนตอนนี้ที่ผมส่งไปให้พี่นัท ดีกว่าที่ผมเรียนเองในตอนนั้นมาก มากจริงๆ เป็นของศาสตราจารย์ 李祥霆 ซึ่งแกเป็นคนแนะนำให้ผมด้วยตัวเอง ผมลองดูๆแล้วรุ็สึกว่า ดีกว่าสื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ท่านอื่นจริงๆ ซึ่งความผิดพลาดก็อาจจะน้อยลงเมื่อเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผมยังบอกพี่นัทเลยว่า ถ้าผมกลับไปเดี๋ยวไปตรวจมือให้ ดีดถูกมั้ย ตอนนี้ให้พี่แกเรียนด้วยตัวเองไปก่อน ส่วนผมมีอะไรใหม่ก็มักจะไปเล่าให้แกฟังอยู่เสมอ

ผมเองยังเคยคิดเลยว่าถ้ากลับไปก็อยากจะตั้งสมาคมกู่ฉินแห่งประเทศไทย(ท่าทางจะเป็นแห่งแรกของประเทศด้วย) ถ้าคุณมามิยะสนใจก็ยินดีต้อนรับครับ

อ้อนี่ชื่อเพลงครับ
01 流水
02 关山月
03 酒狂
04 阳关三叠
05 梅花三弄
06 渔樵问答
07 矣乃
08 秋风词
09 广陵散
ปล. เพลง广陵散 เป็นเวอร์ชั่นตัดทอนจากของ 李祥霆 อีกที


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 27 กันยายน 2550 เวลา:10:45:56 น.  

 
ตามคำเรียกร้อง เพลงที่ผมเล่นเอง
เรียนได้ไม่ถึงสองเดือน
梅花三弄
แป่กบ้างเล็กน้อย

//www.up2box.com/download.php?file=070927bec2ec9ab299997a0e916433f80b4134


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 27 กันยายน 2550 เวลา:20:15:41 น.  

 
ประวัติการรู้จักกู่ฉินของผมนั้นทีหลังชัชอีกครับ แต่ผมเป็นคนที่หลงใหลในเสียงกู่ฉินมากเหมือนกัน มันบังเอิญว่าผมได้ซีดีมาจากเพื่อนที่จีน ซึ่งในตอนนั้นผมกำลังเริ่มๆ จะสนใจกู่เจิง แต่ไปๆ มาๆ ก่อนที่ผมจะเรียนกู่เจิงได้สำเร็จ ผมก็มาติดกับเสียงกู่ฉินจากซีดีแผ่นนั้นและปลื้มเอามากๆ ถึงอารมณ์อันขลังและขรึมในตัวเสียงมัน ครั้นผมเห็นวิธีการเล่น ผมก็ยิ่งรู้สึกอยากจะเล่นมันขึ้นมา เพราะมันช่างดูเท่ สง่า มีพลัง ทรงภูมิ ต่างกับกู่เจิงที่ผมรู้สึกว่ามันอ่อนพริ้วแพรวพราวไป ไม่เหมาะกับผู้ชายอย่างผม ผมก็เลิกสนใจกู่เจิงแต่นั้น
ช่วงแรกๆ ผมคลั่งมากกับการหาภาพกู่ฉินตามเว็บต่างๆ มาดู ถึงขนาดเปิดดูภาพฉินทั้งวันทั้งคืน และพยายามจะหาซื้อมาให้ได้สักตัว แต่หาหนทางไม่ได้สักที
จนในที่สุดผมไปได้กู่ฉินมาจากเยาวราชหนึ่งตัว ตอนนี้อย่าไปถามซื้อเลยครับ ไม่มีขาย ฉินที่ผมได้มาคุณภาพไม่ดีนัก แค่พอทนได้ และผมก็ดีดไม่เป็น ผมไม่รู้จะทำยังไงได้แต่เอามาดีดมั่วๆ เรื่อยเปื่อย พยายามจะให้เป็นเพลง นับว่าเริ่มต้นสะเปะสะปะมาก
นั่นเป็นเวลาประมาณเกือบสองปีแล้วนับตั้งแต่ผมได้ฉินตัวนั้นมา แล้วผมก็ได้รู้จักกับชัช ซึ่งผมเป็นหนี้บุญคุณเขามากทีเดียว
ตอนแรกผมไปหาชัชแล้วก็ได้ฉินผู่เพลง "ง่ายๆ" มาสองเพลง คือเฟิ่งฉิวฮว๋าง และ กวานซานเยวี่ย ที่ต้องใส่ "ง่ายๆ" เพราะมันสั้นเลยคิดว่าง่าย แต่ความจริงเพลงกวานซานเยวี่ยนั้นไม่ง่าย แต่ยาก ผมเพียรพยายามแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะไม่มีคนแนะนำ แต่ผมก็ไม่เคยอยากจะทิ้งมัน เอามาเล่นซ้ำไปซ้ำมาทั้งๆ ที่เล่นไม่เคยถูกวิธี แต่เพราะผมใจรักอยากจะทำให้ได้ จนกระทั่งดีขึ้นๆ เป็นลำดับ ผมคุยกับชัชและรับข้อมูลจากเขาอีกมากหลาย เช่นฉินผู่หาโหลดได้ที่ไหน ตั้งแต่ผมหาฉินผู่ได้ผมก็เล่นได้เป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้น ตอนนี้พอจะดีดเพลงง่ายๆ ได้บ้าง ถึงแม้จะดีดได้ไม่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์
ผมอยู่ที่นี่ได้ฟังกิตติศัพท์มาจากชัชว่ากู่ฉินนั้นเรียนยากเหลือหลาย แต่ผมก็รู้สึกว่าชัชเก่งมากเพราะแต่ละเพลงที่ผมฟังชัชเล่นมา เขาเล่นได้ถูกต้องตามจังหวะและทำนองดี ถึงแม้จะยังขาดอารมณ์ในขั้นละเอียด แต่ก็ต้องนับได้ว่าดีดเป็นแล้ว ต่างกับผมที่ยังดีดไม่จัดจ้านพอ นิ้วก็ยังไม่ค่อยมีพลัง การเคลื่อนไหวมือซ้ายก็ไม่ลื่น เพราะผมเป็นคนไม่มีพรสวรรค์ในการเรียนดนตรี อีกประการหนึ่งนับแต่ผมได้ฝึกเป็นเรื่องเป็นราว มันก็สักไม่กี่เดือนดี
ผมอยากพูดคุยกับคุณมามิยะส่วนตัว เพราะตกลงกับชัชไว้แล้วว่าจะเปิดสมาคมกู่ฉินด้วยกัน ผมคิดว่าคุณมามิยะน่าจะสนใจร่วม ผมเองก็ฝากความหวังไว้กับชัชเสมือนเขาเป็นตัวแทนประเทศที่ไปเรียนกู่ฉินมาเผยแพร่ เพราะนักเรียนนอกไทยที่มีโอกาสไปเรียนกู่ฉิน มักไม่มีปณิธานจริงจังอย่างชัช จะเรียนชิวๆ มากกว่า
สำหรับคำถามของคุณมามิยะ สายกู่ฉินมีสองอย่างคือสายไหมกับสายโลหะ สายไหมเป็นแบบโบราณ ส่วนสายโลหะเป็นสายแบบเครื่องดนตรีสายปัจจุบัน สายไหมราคาแพงและรักษายาก ไม่เหมาะกับกู่ฉินราคาถูก เหมือนเอาดอกกุหลาบงามๆ ไปประดับแจกันโทรมๆ สายโลหะคือสายที่ใช้ทั่วไป ราคาถูกกว่า ดีดเสียงดีเหมือนกันแต่อาจไม่นุ่มเท่าสายไหม หาง่ายกว่า รักษาก็ง่ายไม่ต้องกลัวเปื่อยขาด เล่นตอนแรกอาจจะแข็งแต่เล่นไปๆ ก็นุ่ม คุณมามิยะอยากทราบความแตกต่างของเสียงสายไหมและโลหะ ให้ลองหาฟังดู สายโลหะของอาจารย์หลี่เสียงถิงคงเคยฟังแล้ว สายไหมอยากให้คุณไปลองฟังที่ //www.silkqin.com คนเล่นเป็นฝรั่งแต่มีฝีมือไม่เลว และมีเพลงแปลกๆ ที่หาฟังยาก เช่น ปว๋อหยาเตี้ยวศื่อชี
ที่บอกว่านั่งดีดขิมอยู่ชั่วโมงเดียวก็แทบเป็นแทบตาย นี่คุณมามิยะหมายถึงกู่ฉินหรือครับ คำว่า "ขิม" ก็คือกู่ฉินนั่นเอง เลยอยากรู้เหมือนกันว่าเคยดีดแล้วจริงหรือ ถ้าอย่างนั้นรู้สึกว่ายากหรือง่ายครับ
ผมคิดว่าเสน่ห์ของการบรรเลงกู่ฉินอยู่ที่ความหลากหลายของเสียง สนุกที่เทคนิคการใช้มือด้วย ทำให้ไม่น่าเบื่อ เพราะมือเคลื่อนตลอดเวลา แต่นั่นแหละครับ ยิ่งเพลงยากๆ ละเอียดๆ กว่าจะให้ได้ดังใจก็เลือดตาแทบกระเด็นเทียวคุณเอ๋ย
การเรียนด้วยตัวเองต้องทำอย่างไรบ้าง ผมไม่ทราบหรอกครับเพราะที่ผมเรียนด้วยตัวเองนั้นผมอับจนหนทางจริงๆ ไม่มีคอนเน็คชั่นเลย แต่อาศัยลูกดันทุรัง ชัชเองเขามีโอกาส ผมนั้นไม่มีทั้งทุนทั้งเวลา แค่จะหาฉินดีๆ สักตัวเงินก็ไม่พอซื้อ (แต่ตอนนี้กำลังสนใจฉินดีที่ราคาไม่แพง ซึ่งชัชก็กำลังดูให้อยู่) ผมเสนอให้คุณมามิยะติดต่อกับผมกับชัชเรื่อยๆ ถ้าสนใจจริง ผมจะฝากอีเมลไว้ให้ขอให้คุณส่งมา yepivimsu@yahoo.com มีอะไรถามกันได้ อยากได้ยินเสียงผมก็โทรมาได้ (ผมจะฝากเบอร์ไว้ให้คุณทีหลังทางอีเมล) อยากดูกู่ฉินก็นัดเจอกันได้ ผมได้แต่เอาฉินไปให้ดูแต่เรื่องจะดีดให้ฟังนั้นผมออกตัวก่อนนะครับว่าเล่นอ่อนมาก ผมดีใจที่มีโอกาสได้รู้จักกับคนที่สนใจฉินอีกคนเพราะคนอื่นๆ ที่ไม่เคยซาบซึ้งกับมันได้แต่ฟังผ่านๆ หวังว่าคุณมามิยะจะไมทิ้งความสนใจข้อนี้ เราจะได้ศึกษาหาความรู้ไปด้วยกัน และแลกเปลี่ยนกัน
สุดท้าย อาจารย์หลี่หยาง จะแนะนำคุณมามิยะได้เฉพาะกู่เจิงนะครับ ในเรื่องกู่ฉินแกไม่มีความรู้พอ ผมจะเสนออะไรให้คุณมามิยะอีกอย่าง ถ้าคุณจะกรุณาแนบที่อยู่มาทางอีเมลได้ ผมจะก๊อปปี้เพลงชุดซึ่งเป็นเพลงกู่ฉินล้วนๆ รวมแปดแผ่นไปให้ ซึ่งชุดแปดแผ่นนี้ผมใช้ยึดถือเป็นต้นฉบับในการลองฝึกดีดตามมาตลอด มีอาจารย์กู่ฉินร่วมดีดหลายคนและแต่ละคนก็ตายไปแล้วทั้งนั้น จึงนับว่าเป็นเพลงชุดที่ทรงคุณค่า ถ้าคุณมามิยะได้ฟังให้ซึมในทำนอง ก็จะจำเพลงต่างๆ ได้ว่าเพลงนี้ทำนองอย่างนี้ชื่ออะไร และผมจะถ่ายเอกสารแผ่นอธิบายประวัติของเพลงอย่างสั้นที่แนบไว้ในกล่องให้ด้วย เพื่อคุณจะได้อ่านๆ ดู และทั้งหมดนี้ ฟรี ครับ ยินดีทำให้โดยไม่คิดเบี้ยออกค่าอะไรเลย ขอแค่มีเพื่อนร่วมความสนใจเท่านั้น


โดย: นัท IP: 124.121.2.76 วันที่: 27 กันยายน 2550 เวลา:20:29:55 น.  

 
โอ.....พระเจ้าช่วย.....ค่อนข้างตกใจนิดหน่อยว่าสองท่านจะสนใจกู่ฉินในระดับนี้ มามิยะสนใจแต่ไม่มีเวลาทุ่มเทอย่างสองท่านเลย รู้สึกละอายใจยิ่งนัก คุณชัชพูดถูกค่ะ

"ใครก็สามารถประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าในด้านไหนๆ"

ในความเห็นของมามิยะคิดว่าคุณชัชน่าจะมีทั้งพรสวรรค์ พรแสวง และเงื่อนไขที่ได้ทำสิ่งที่อยากทำด้วยค่ะ เรื่องนี้ขอยกให้ คำว่า "缘" เขาไปเลยค่ะ คงเป็นเพราะ "หยวน" ที่ทำให้มามิยะได้ฟังความเห็นและเรื่องราวของคุณนัทกับคุณชัชนะคะ 大开眼界จริง ๆ เลยค่ะ นับถือ นับถือ

ไม่นึกไม่ฝันอ่านแล้ว สะกิดใจจริง ๆ จริงด้วย ถูกต้องแล้ว คุณนัทเหมือนดีดเส้นหนึ่งในสมองมามิยะ จริงด้วยสิ ฉินมีความเป็นชาย เอ่อ พูดใหม่ เหมาะกับผู้ชายด้วย ถูกต้องจริง ๆ เห็นด้วย มากที่สุด ทั้ง ๆ ที่ความคิดนี้ไม่เคยสะกิดถึงสมองมาก่อนเลยด้วยซ้ำ


บอกตามตรงว่าแรก ๆ มามิยะชอบกู่เจิง แต่ฟังไปนาน ๆ สะสมมาก ๆ เพลงซ้ำมากหลาย ต่อก็หันไปสะสมเพลงฝรั่งที่ใช้เจิงดีดด้วย ฟังแล้วก็หวาน ๆ ดี ชอบน่ะชอบอยู่ วันหนึ่งก็คิดไปว่ารู้สึกว่ามันใหญ่ไป ถ้าเล็ก ๆ จะดีกว่า ตอนนั้นยังไม่ค่อยรู้จักกับกู่ฉิน รู้แต่ว่ามีตัวเล็ก ๆ เคยเห็น นึกว่า น้อง ๆ เจิง แต่พอมาฟังฉินจากเพลง "หลิวสุ่ย"ที่ดีดด้วยกู่ฉิน (ซึ่งมารู้ตอนหลังว่าไม่ใช่เจิง) ก๊อปครูมาค่ะ มีทั้งพวก "คุนจวี้" ด้วย อะไร ๆ ที่มันเป็นศิลปะจีนโบราณ มามิยะก็ชอบมาก

"คุนจวี้" ฟังยาก แสบหูชะมัด แต่มันขลังดีจังเลยค่ะ ยังเคยคิดว่า ตอนเปิดฟังใครผ่านหน้าบ้านต้องบอกว่ามีอาม่าเปิดฟังแน่เลยค่ะ

ในบรรดาไฟล์ทีก๊อปมา มีกู่ฉินด้วย เลยเอามาใส่บล็อคฟัง ๆ ไป โดนมากเลยค่ะ ยิ่งเรื่องของกว่งหลิงส่านที่คาใจมานานก็ได้มาแลกเปลี่ยนกันในนี้ ดีใจจริง ๆ ค่ะที่มีคนชอบด้านนี้ อ้อ เรื่องตั้งสมาคม สมัครแน่นอนค่ะ สมาชิกเบอร์ 001 หรือเปล่าคะ? ^.^

มามิยะอ่อนจริง ๆ ด้านดนตรี ได้แต่ฟังเท่านั้นค่ะ แล้วชอบหรือไม่ชอบพอจะบอกความรู้สึกได้ น่าแปลก เพลงที่คณชัชอัพให้ดาวน์นั้น มามิยะเห็นชื่อแล้วสุดท้ายทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ชื่อเห็นแต่เป็นแทรก ตอนฟังนั่งทำการบ้านไป ฟังไป อ้าว มาตก แทรก 1 "หลิวสุ่ย" แทรก 9 "ก่วงหลิงส่าน" นั่นปะไร..................ซ้ำของเดิมอีกแล้ว ทำไม๊ ชอบอะไรก็ไปชอบอยู่อย่างนั้นหนอ?

"ปว๋อหยาเตี้ยวศื่อชี" อยากฟังค่ะ น่าจะเป็นคนที่คุณชัชเคยเล่า(ถ้าจำไม่ผิดนะคะ)ว่าตัดเพลงเป็นสองท่อน "เกาซัน" กับ"หลิวสุ่ย" ใช่ไหมคะ?


เห็นลิงค์ที่คุณนัทให้มาแล้วค่ะ โหย มากมายน่าอ่านทั้งนั้น แต่เดี๋ยวการบ้านไม่เสร็จต้องไปศึกษาเรื่อง "武侠史" ก่อน นี่กำลังทำการบ้านอยู่ค่ะ อาจจะอ่านช้าหน่อยอย่าเพิ่งว่ากันนะคะ


คุณนัทใจดีจริง ๆ เลยค่ะ มามิยะรู้สึกเกรงใจจัง แรก ๆ มามิยะชอบเรียนภาษาจีน พอจบคอร์สต่าง ๆ แล้วก็ไม่มีอะไรเรียนเลยจะไปเรียนกู่เจิง แต่เห็นราคาแล้ว คิดว่าปัญญาอย่างตัวเองเนี่ยคงจะไม่รอดแน่นอน อาจารย์อาจเบื่อ เซ็งสุด ๆ กับการสอนคนไม่มีเซ้นท์ทางการเล่นดนตรีอย่างมามิยะ และสุดท้ายเราจะต้องเสียตังค์มากมายแต่คว้าความว่างเปล่า ตอนนั้นมามิยะคิดเช่นนี้เลยไม่ได้ลงค่ะ

ที่เคยบอกว่าเล่นขิม เป็นขิมไทยค่ะ แบบที่อังสุมาลินดีด ในเรื่องคู่กรรมน่ะค่ะ คือว่าอยากลอง ว่าจะได้อารมณ์แบบไหน แต่สงสัยจะไม่มี "หยวน" กับขิมไทยค่ะ เล่นแล้วทรมานมาก นี่ไงคะ เลยสงสัยตัวเองอยู่ว่า จะก้ำกึ่งระหว่างคนเล่น หรือคนฟังกันแน่ เรื่องฟังนี่น่ะ ชอบสุด ๆ ตอนนี้ฟังก่วงหลิงส่านตอนทำงาน คนข้าง ๆ ทำหน้าเซ้งมาก เลยไม่กล้าเปิดอีกแล้ว กลัวคนข้าง ๆ เบื่อตายค่ะ ฮ่า ฮ่า แต่ก่อนเปิดคีทาโร่ ก็โดนหน้าประหลาดหันมาด้วยสายตาที่เหมือนมองร็อคเนสในทะเลสาป ต่อมาหันมาเปิดบาธก็โดนสายตาพิฆาต พอเปิดเพลงจีน ก็ไม่มีใครนิยมยินดีด้วยเอาเสียเลย เริ่มเป็นตัวประหลาดนิด ๆ

พวกเขาฟัง เพลง โพร์-มด ขื่อเพลง"เด็กมีปัญหา" และอะไรทำนองนั้น แล้วหันมาถามมามิยะว่ารู้จักไหม? อ้าวแล้วใครกันล่ะเนี่ย? นมโพร์สโมสต์หรือเปล่า? ฮ่า ฮ่า ปล่อยไก่....ขีนเราถามไปบ้างว่า "รู้จักจีคังไหมล่ะ?" คงโดนสายตาพิฆาตแน่นอน ฮ่า ฮ่า เล่าให้ฟังเล่น ๆ ขำขำค่ะ

คุณชัช คุณนัท คะ มามิยะว่าจะลองชวน "หลิงเอ๋อร์" ไปคุยด้วยค่ะ หลิงเอ๋อร์ก็ชอบดีดเจิง แล้วเห็นว่าดีดเก่งด้วย เราจะมีเพื่อนเพิ่มขึ้นเพื่อวิจารณ์กู่ฉินอีก 1 คนค่ะ หลิงเอ๋อร์เป็นสาวน้อยแสนน่ารักจากบอร์ดกำลังภายในค่ะ เคยมาคุยกันในเรื่องหมอฯที่ตบท้ายด้วยฉินแล้วไงคะ คุณชัชน่าจะพอจำได้

ตอนนี้มามิยะมีเพื่อนกลุ่มที่ชอบกำลังภายใน ชอบวรรณกรรมยุคใหม่ ก่อนนอนก็มานินทาหลู่ซิ่น จูจื้อชิง เฉียนจงซูกัน แหม....มันส์อย่างบอกใคร แถมยังได้ความรู้มากมายจากเพื่อน ๆ ที่ชอบเรื่องเดี่ยวกัน


ตอนนี้ได้กลุ่มคุยเรื่อง"ฉิน" ที่ชอบอีกแล้ว


บอกได้คำเดียวว่า "ดีใจ" และ "ยินดีที่รู้จักค่ะ"










โดย: mamiya วันที่: 27 กันยายน 2550 เวลา:23:36:37 น.  

 
ขอเพิ่มเติมนิดนึงนะครับ
ที่กู่ฉินในสายตาของคนทั่วไปจะเหมาะกับผู้ชายมากกว่านั่นเป็นเรื่องของค่านิยมในสมัยโบราณครับ เพราะสังเกตุได้ว่าปราชญ์ในสมัยโบราณมีแต่ผู้ชาย เพราะผู้หญิงเรียนหนังสือไม่ได้(ยกเว้นผู้ดีมีสกุล) พอเรียนไม่ได้ ทีนี้ไม่ต้องพูดเรื่องเล่นกู่ฉินเลย เพราะกู่ฉินไม่ใช่แค่เสียง ผมเคยพูดไว้แล้ว ต้องเข้าใจและเข้าถึงโดยอาศับความรู้และประสบการณ์ แล้วอีกอย่างกู่ฉินถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูงซึ่งคนธรรมดจะคิดว่าระหว่างตัวเองกับกู่ฉินมันมีช่องว่างที่กว้างมาก ดังนั้นเราจึงสามารถเห็นได้ว่าชื่อนักดนตรีกู่ฉินในสมัยโบราณเป็นผู้ชายซะมาก แต่ปัจจุบันนี้กลับกันครับ คนรุ่นใหม่ที่เล่นกู่ฉิน เป็นผู้หญิงมากกว่า แบบหญิงเจ็ดส่วน ชายสามส่วนทีเดียว เวลาเปลี่ยนไปค่านิยมก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด แต่ที่ยังคงอยู่ก็คือ กู่ฉฺนในสายตาของชาวจีน คือเครื่องดนตรีที่มีความลึกลับ และสูงส่ง


โดย: ชัช IP: 58.194.237.163 วันที่: 28 กันยายน 2550 เวลา:6:45:14 น.  

 
จริงนะครับที่เวลาเปลี่ยน ค่านิยมเปลี่ยน ผมยืนยันคำของชัชว่านักเล่นกู่ฉินตอนนี้ผู้หญิงมีมากกว่า (ทั้งๆ ที่กู่ฉินมีความเป็นชายในตัวมาก ต่างกับเจิงซึ่งมีความเป็นหญิงมาก) ปรากฏการณ์ที่ผู้หญิงมากกว่าในตอนนี้เพิ่งเกิดในไม่กี่ปี สังเกตว่ารุ่นแค่ไม่กี่สิบปีก่อน คนนิยมเล่นฉินก็ยังเป็นผู้ชายส่วนใหญ่ ซึ่งคนรุ่นนั้นล้วนเป็นผู้เฒ่าเคราขาว ที่ตายไปเร็วๆ นี้ก็มี เช่นสวีควางฮว๋า อู๋จ้าวจี (รายหลังนี่เครายาวเฟื้อยเลย ตายไปก่อนประมาณสิบกว่าปี รายแรกตายปีที่แล้วเอง)
ความจริงผมก็ไม่ถึงกับบอกว่าฉินเป็นของผู้ชายหรอกครับ ผมแค่รู้สึกว่าเจิงไม่เหมาะกับผู้ชาย "อย่างผม" เท่านั้นเอง แต่อาจจะเหมาะกับผู้ชายสำอางอย่างพวกดาราก็ได้ (ผมเป็นคนขาดความสำอางอย่างแรง) และปัจจุบันนี้แม้ว่าผู้หญิงที่เล่นฉินจะมีมากกว่า แต่นักเล่นฉินที่ได้รับการยกย่องว่าทรงภูมิที่สุดในวงการก็ยังคงเป็นผู้ชายอยู่นั่นเอง นี่ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงเล่นสู้ผู้ชายไม่ได้นะครับ แต่คงเกิดจากค่านิยมสังคมชายเป็นใหญ่ของจีนมากกว่า
อาจารย์ฉินบางท่านที่เป็นผู้หญิง อย่างอวี๋ชิงซิน บางทีก็เห็นยังอดใส่ลีลามืออ่อนช้อยอย่างฟ้อนไม่ได้ ลองเทียบท่าการเล่นฉินของอวี๋ชิงซินกับหลี่เสียงถิง จะเห็นว่าหลี่เสียงถิงเปลี่ยนระดับมือขวาน้อยมาก ส่วนมากนิ่งอยู่ที่เดิม (นี่แหละความเท่ในสายตาผม) ส่วนอวี๋ชิงซินจะมีการพักมือขวาคล้ายๆ เวลาดีดกู่เจิง อันนี้ก็ว่าไปตามสไตล์ของแต่ละคน แต่จื๋อฝ่าในเวลาดีดนั้นเหมือนกัน
ตอนนี้หากคุณมามิยะจะลองเล่นกู่ฉิน ก็ได้นะครับ และไม่ต้องสนใจคนรอบข้าง ผมนั้นเป็นคนประเภทที่สามารถแต่งฉางซานถือกู่ฉินออกไปเรียนภาษาจีนเช้าวันเสาร์ได้ โดยที่ใครจะมองว่าไอ้นี่พิลึกคนก็ช่าง เขาจะฟังโฟร์มดก็ช่างเขาปะไร เขารู้จักโฟร์มด เรารู้จัก กงอี หลี่เสียงถิง กว่านผิงหู อู๋จิ่งเลวี่ย อวี๋ชิงซิน หลี่ชุน จ้าวเสี่ยวสยา(อาจารย์คนสวยของชัช)ความสนใจของใครก็ของใคร
ผมสนใจซูฝ่าด้วย ถึงแม้จะความสามารถผมจะอยู่ในระดับต้นก็ตาม แต่อาจเป็นเพราะยังศึกษามาไม่มาก ซูฝ่าเป็นศิลปะที่ต้องฝึกฝนยาวนานและเข้าถึงเช่นเดียวกับกู่ฉินเหมือนกัน ฝีมือซูฝ่าของผมยังไม่ดีนัก แต่ผมก็ศึกษาทั้งอิ้งปี่หร่วนปี่ และศึกษาซูถี่ทั้งจ้วนลี่ไข่สิงเฉ่า โดยเฉพาะไข่ก็ศึกษาทั้งโอวเอี๋ยนหลิ่วจ้าว นี่เป็นความโรคจิตส่วนตัวของผมนะครับ (ในสายตาของพวกวัยรุ่นปัจจุบัน แต่พวกอาจารย์แก่ๆ จะไม่มองว่าโรคจิต แต่มองว่า "ลี่ไฮ่" ตัวผมเองไม่แคร์ทั้งสองอย่าง ผมชอบของผมนี่นา)
หวังว่าจะได้รับอีเมลส่วนตัวจากคุณมามิยะบ้างนะครับ จะได้รู้จักกันมากขึ้น ทั้งผมทั้งชัชยินดีที่ได้คุณเป็นเพื่อน แต่ชัชเขาอยู่ปักกิ่ง ถ้ามีอะไรจะวาน ผมอยู่ใกล้กว่า ถ้าสุดความสามารถผมจะช่วย ผมถึงบอกชัช ผมเองยังรบกวนเขาบ่อยๆ เลยเรื่องซื้อหนังสือและถามข้อมูล โดยเฉพาะคราวก่อนซื้อสายฉินจากชัชมาหนึ่งชุด ต้องบอกว่าชัชเป็นคนน่ารักจริงๆ


โดย: นัท IP: 124.121.2.18 วันที่: 28 กันยายน 2550 เวลา:9:26:07 น.  

 
อ้อ ลืมพูด ที่ผมเข้าใจว่าคุณพูดถึงดีดขิมนั้นคือดีดฉิน เพราะเครื่องดนตรีชนิดนี้ในสมัยโบราณเรียกฉินอย่างเดียว ไม่นึกว่าจะพูดถึงขิมไทยเพราะขิมไทยใช้ตีไม่ใช่ดีด แฮ่ๆ
ความจริงขิมในภาษาไทยความหมายแคบกว่าภาษาจีนมาก คือหมายถึงหยางฉินอย่างเดียว ภาษาจีนหมายถึงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเกือบหมดซึ่งความจริงก็เป็นความหมายกว้างขึ้นกว่าแต่ก่อนอีกที เพราะแต่ก่อนก็หมายถึงกู่ฉินตัวเดียว พอมีฉินอะไรต่อมิอะไรเพิ่มขึ้นมาภายหลัง ฉินเดิมจึงต้องเพิ่ม "กู่" เข้าไป
ที่เพิ่มเติมนี่ความจริงคงเป็นความรู้ที่คุณมามิยะก็รู้ดีอยู่แล้วนะครับ เพราะเรียนภาษาจีนมา
ตำนานของปว๋อหยาเตี้ยวศื่อชี ก็เกิดจากปว๋อหยารำพันจุงศื่อชี (ผมอยากจะถ่ายเสียงของผมอย่างนี้ แต่ถ้าตามหลักเขากำหนดให้เขียนว่า จงจื่อชี) ที่ตายไป แต่นี้จะไม่มี "จืออิน" คนรู้เสียง อีกแล้ว ก็เลยตัดสายฉินทิ้ง จับฉินฟาดหักสะบั้น แล้วไม่เล่นฉินอีก ศื่อชีก็คือ "จืออิน" ที่เข้าถึงดนตรีของปว๋อหยาได้เพียงคนเดียว ไม่มีเขา ปว๋อหยารู้สึกไม่อยากดีดให้ใครฟังอีก อันนี้ไม่น่าจะเป็นนิยายแบบ "วาย" ในสมัยนี้นะครับแต่ใครชอบวายคิดว่าได้อ่านตำนานเรื่องนี้แล้วอาจเอาไปเขียนเป็นวายก็ได้
ในเรื่อง "ซื่อซวอซินอวี่" ซึ่งมักกล่าวถึงพฤติกรรมของคนในราชวงศ์จิ้น ก็มีบันทึกถึงพี่น้องตระกูลหวังซึ่งเป็นทายาทของหวังซีจือ ผมจำชื่อไม่ได้ถนัดว่าหวังอะไรจือบ้างเพราะพี่น้องตระกูลนี้จะลงท้ายด้วยจือ สมัยนั้นหวังเหวยจือหวังเซี่ยนจือป่วยพร้อมกัน (ผมจำไม่ได้ว่าสองคนนี้หรือเปล่า ถ้าผิดแก้ให้ด้วยนะครับ เล่าสั่วๆ ไปก่อน) หวังเซี่ยนจือตาย หวังเหวยจือไปคารวะศพน้องทั้งๆ ยังป่วย พอถึงหน้าศพไม่ได้แสดงอาการโศกเศร้า เอาฉินของหวังเซี่ยนจือมาดีด แต่ว่าดีดไปๆ ปรากฏว่าเสียงไม่กลมกลืนกัน หวังเหวยจือร้องไห้ออกมาอย่างสุดกลั้น รำพันว่า "โธ่เอ๋ย น้อง เจ้าเอาฉินไปด้วย"
เรื่องนี้แสดงถึงความผูกพันของคนกับฉิน เมื่อคนไปสู่ปรโลก ฉินก็เดี้ยงตาม คือดีดไม่ไพเราะอย่างเคย เรื่องนี้จะมีมูลความจริงหรือไม่ไม่ทราบได้ แต่เวลานี้หมิงฉินที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ยังมีบางตัวเสียงดีเช่นถังฉินราคาหลายล้านที่หลี่เสียงถิงครอบครองอยู่ ชะรอยว่าคนโบราณเหล่านั้น คงไม่ใช่ทุกคนกระมังที่ "เอาฉินไปด้วย" นับว่ายังมีน้ำใจทิ้งฉินดีๆ เป็นมรดกให้ลูกหลาน


โดย: นัท IP: 124.121.2.18 วันที่: 28 กันยายน 2550 เวลา:10:10:29 น.  

 
ขณะดาวน์โหลดเพลงที่คุณชัชส่งมาอยู่ก็มาคุยกันไปก่อนนะคะ

ความจริงผมก็ไม่ถึงกับบอกว่าฉินเป็นของผู้ชายหรอกครับ

ครงนี้เข้าใจค่ะ อ้อ คำพูดของคุณนัททำให้มามิยะคิดไปได้ว่า เออ หนอ เสียงของเจิงออกหวาน ๆ จะเป็นผู้หญิงมากกว่า ฉินน่ะผู้ชายก็เล่นได้ จริง ๆ แล้วก็เล่นได้ทั้งคู่ค่ะ เหมือนกับการทำอาหาร ความจริงก็น่าจะเหมาะกับผู้หญิง และด้วยธรรมชาติของผู้หญิงก็น่าจะทำได้ดี แต่ไหงกุ๊ก หรือเชฟตามโรงแรมใหญ่ ๆ มักกลายเป็นผู้ชายไปได้หนอ

ผมนั้นเป็นคนประเภทที่สามารถแต่งฉางซานถือกู่ฉินออกไปเรียนภาษาจีนเช้าวันเสาร์ได้ โดยที่ใครจะมองว่าไอ้นี่พิลึกคนก็ช่าง

ตรงนี้เด็ดจริง ๆ ค่ะ คุณนัท เจ๋งมาก บางทีกลัวคนข้าง ๆ ว่าแสดงออกมากไม่ได้ ค่ะกลัวคนข้าง ๆ เขาจะรำคาญเอา เรื่องอย่างนี้ต้องคนชอบเหมือนกันคุยกันไงคะ 5 555 55

กงอี หลี่เสียงถิง กว่านผิงหู อู๋จิ่งเลวี่ย อวี๋ชิงซิน หลี่ชุน จ้าวเสี่ยวสยา

ที่ว่ามานี้ น่าจะรู้จักแบบเบื้องต้นตามที่คุณชัชแนะนำให้ฟังก็น่าจะมี "อ.หลี่เสียงถิง" คนเดียว ณ ขณะนี้ค่ะ

ซูฝ่ามามิยะก็สนใจ แต่ไม่ค่อยเท่าไหร่ เพราะสำนึกตัวว่าลายมือห่วยแตกน่าจะไปไม่ถึงไหน แต่มีเพื่อนที่เรียนจีนด้วยกัน เขาซื้อหมึกซึมมาให้แจกทั้งห้องเลย เพราะอยากให้เพื่อน ๆ ได้ฝึกเขียน หลายคนที่สนใจซูฝ่าค่ะ สงสัยเราจะอยู่ต้องในสังคมเดียวกันซะแล้วนะคะเนี่ย

อีเมล์ของมามิยะ นี่ค่ะ marron0811@yahoo.com


ตอนนี้อาจตอบช้าไปบ้างเพราะต้องเร่งทำงานและการบ้านด้วยค่ะ หัวจะแตกอยู่แล้ว ฮือ..... ฮือ.......เวลามีไม่พอแบ่งลย

อ้อ ลืมพูด ที่ผมเข้าใจว่าคุณพูดถึงดีดขิมนั้นคือดีดฉิน เพราะเครื่องดนตรีชนิดนี้ในสมัยโบราณเรียกฉินอย่างเดียว ไม่นึกว่าจะพูดถึงขิมไทยเพราะขิมไทยใช้ตีไม่ใช่ดีด แฮ่ๆ


ใช่แล้วค่ะ แหะ แหะ.....ตีขิม(ไทย)ค่า......


อันนี้ไม่น่าจะเป็นนิยายแบบ "วาย" ในสมัยนี้นะครับแต่ใครชอบวายคิดว่าได้อ่านตำนานเรื่องนี้แล้วอาจเอาไปเขียนเป็นวายก็ได้

นั่นน่ะซีคะ เดี๋ยวนี้ไม่รู้เป็นอะไรกันไป ผู้ชายคบกันก็แปลความหมายไปโน่นแล้ว คนรู้ใจแบบสหายในนวนิยายกำลังภายในหรือว่าหนังก็เลยถูกแปลความหมายไปในแนวนั้นเหมือนกัน อย่างเช่นเรื่อง " สี่ยอดมือปราบตอน กระบี่สะท้านฟ้า" (นี่สุ่ยหาน) ตอนดูไม่เห็นจะรู้สึกอะไร แต่กลับมีคนมาวิจารณ์เป็นวายไปได้โน่น สองคนยลตามช่อง


ผมจำชื่อไม่ได้ถนัดว่าหวังอะไรจือบ้างเพราะพี่น้องตระกูลนี้จะลงท้ายด้วยจือ

ถ้าจำไม่ผิด ตอนเรียนเกี่ยวกับเรื่อง"ซื่อซัวซินอวี่"ครูเคยบอกว่าเป็นความนิยมการตั้งชื่อในสมัยนั้นน่ะค่ะ เดี๋ยวต้องไปลองฟังเทปดูอีกที


ยังมีบางตัวเสียงดีเช่นถังฉินราคาหลายล้านที่หลี่เสียงถิงครอบครองอยู่


โหย จารย์ แกเล่นฉินราคาเป็นล้านเลยเหรอคะ? กี่ล้าน ล้านต้น ล้านกลางหรือล้านปลายคะ? เป็นฉินโบราณของคนโบราณหรือเปล่าคะ แล้วการเรียนดนตรีเนี่ยต้องไหว้ครูด้วยหรือเปล่า การเรียนเองเลยทำให้มามิยะไม่แน่ใจในจุดนี้ด้วยแหละค่ะ เอ....หรือเราจะคิดมากไปหนอ..........


คุณชัชคะ เพิ่งดาวน์ได้ 48เปอร์เซ็นเองเมื่อเขียนมาถึงบรรทัดนี้ ไว้ฟังแล้วจะมาบอกความรู้สึกนะคะ

ส่วนคุณนัทคะ ขอขอบพระคุณในความกรุณาที่จะให้ยืมฉินนะคะ แต่ปัญหาของมามิยะคือยังไม่มีเวลาเจียดไปเล่นเลยค่ะ หลังจากพิจารณาตัวเองแล้ว หากเอามาคงเอามานอนเล่น เพราะอย่างหนังสือที่เอามากองไว้ยังอ่านไม่หมดเลย การบ้านที่มีมากมายก่ายกอง และงานประจำที่แย่งเวลาไปหมดเลย จึงทำให้มามิยะต้องขอขอบพระคุณไว้ก่อน ไว้โอกาสหน้า ถ้ามามิยะหาเวลาได้แล้วจะขอแจ้งไปอีกครั้งภายหลัง ไม่ทราบว่าจะได้หรือเปล่าคะ นี่เป็นสาเหตุที่เคยบอกว่าอยากเล่นตอนแก่ไงคะ จะได้มีเวลามาก ๆ (กลัวช้าไปเหมือนกันค่ะ)

สำหรับซีดีที่คุณนัทกรุณาจะอัดให้ เดี๋ยวเราคุยกันทางเมล์นะคะ

ตอนนี้ต้องไปพิมพ์การบ้านก่อนล่ะค่ะ เดทไลน์วันที่ 4 นี้แหละค่ะ เพิ่งเริ่มเขียนเอง ฮือ ฮือ ชีวิต!




โดย: Mamiya IP: 124.120.75.133 วันที่: 30 กันยายน 2550 เวลา:17:17:07 น.  

 
ไม่ทราบว่าคุณมามิยะเรียนภาษาจีนที่ไหนอยู่ครับ เก่งมากทีเดียว
ถังฉินของหลี่เสียงถิง เป็นฉินโบราณ ทรงฝูซีสีแดง ว่ากันว่าสมัยราชวงศ์ถัง มีชื่อด้วยครับ ชื่อว่า 九霄环佩
ถ้ายังไม่แน่ใจลายมือว่าจะเขียนพู่กันได้ดีไหม ก็หัดอิ้งปี่ไปก่อนก็ได้ครับ เพราะง่ายกว่า พอเขียนอิ้งปี่สวยค่อยเขียนพู่กันก็ได้
ต่อไปผมจะพยายามหาลิงค์ศิลปินกู่ฉินอื่นๆ นอกจากหลี่เสียงถิงมาให้ดูนะครับ ส่วนมากในเว็บถู่โต้วทั้งนั้นแหละเว็บนี้มีเยอะดี


//www.tudou.com/programs/view/mjdOaPH0xMk/
โหลวหลานซ่าน เพลงแปลกๆ ที่สำเนียงออกสไตล์เปอร์เซีย บรรเลงโดย กงอี

//www.tudou.com/programs/view/KTA6i2nRMxg/
ชิวเฟิงฉือ เพลงสั้น บรรเลงโดย อู๋เหวินกวาง เพลงชุดนี้ชัชมีดีวีดีด้วย ผมกำลังอยากยืมอยู่ กู่ฉินที่อู๋เหวินกวางใช้เป็นทรงตี้จง

//www.tudou.com/programs/view/hHmJNiqkzZg/
ผิงซาลว่อเยี่ยน โดยอู๋จ้าวจี

//www.tudou.com/programs/view/aWy__67q50M/
หลิวสุ่ย ฝานน่า หวงเหมย เล่นคู่กัน เสื้อแดงฝานน่า เสื้อน้ำเงินหวงเหมย

//www.tudou.com/programs/view/dPCr9-8VJ8k/
เซียวเซียงสุ่ยอวิ๋น โดย อูน่า

//www.tudou.com/programs/view/x324Uvkn9kM/
อู๋ถีเซียงเจี้ยนหนาน โดย หลี่ชุน ร้องไปด้วยนะครับ

เห็นไหมละครับว่ารุ่นใหม่ๆ มีแต่ผู้หญิง อาจารย์ผู้ชายแก่หัวขาวหัวล้านหนวดหงอกกันหมดแล้ว







โดย: นัท IP: 124.121.0.149 วันที่: 30 กันยายน 2550 เวลา:18:56:27 น.  

 
ถือเสียว่าเป็นการขอบคุณที่ชี้จุดบกพร่องของเสียงอ่านของผมในเรื่องกานเจี้ยงมว่อเย๋ (ซึ่งผมไปอ่านตามหนังสือจีนเล่มอื่นขณะที่คุณมามิยะอ่านตามฉือไห่ จึงควรนับเป็นเสียงมาตรฐานกว่า) ผมจะอธิบายเรื่องกู่ฉินที่คุณมามิยะจำเป็นต้องรู้เพื่อเป็นการเริ่มต้น เดี๋ยวจะว่าไม่สำนึกบุญคุณ ฮ่าๆๆ
กู่ฉินนั้นมีความยาว 1.20 เมตรโดยประมาณ กว้างประมาณ 20 เซ็นต์ สามารถทำขึ้นจากไม้หลายชนิด ที่นิยมใช้มี อู๋ถง ซาน ซา เป็นต้น ซึ่งไม้เหล่านี้มักจะมีน้ำหนักเบา ตัวกู่ฉินจึงไม่ค่อยหนักเหมือนกู่เจิง แบกไปแบกมาสบายเลย
เสียงของกู่ฉินมีสามลักษณะใหญ่ๆ คือ
ส่านอิน (散音)คือเสียงดีดสายเปล่า มือขวาวางไว้เฉยๆ ไม่แตะอะไร เสียงจะต่ำ หลวม และกังวาน
ฟ่านอิน (泛音)คือเสียงแตะสาย ใช้นิ้วมือซ้ายแตะไว้บนสายเบาๆ ไม่กด ขณะที่ขวาดีด เสียงจะเป็นเสียงสั้นๆ ตอดๆ และใส
อั้นอิน (按音)คือเสียงที่เกิดจากการกดสาย ใช้มือซ้ายกดที่ฮุยต่างๆ ขณะที่มือขวาดีด และในที่นี้รวมถึงเสียงที่เกิดจากการเลื่อนมือขึ้นลงด้วย
แบ่งตามประเภทของการกดและปล่อยสาย ก็ได้แค่นี้ครับ ถ้าแบ่งละเอียด ก็สามารถพูดถึงเสียงที่เกิดจากการยกนิ้วโป้งหรือนิ้วนางขวา ที่เรียกว่าไต้ฉี่จัวฉี่ แต่เสียงเหล่านี้จัดอย่างหยาบๆ ก็นับรวมในพวกอั้นอินหมด เพราะใช้การกดสายลงไป
ก่อนอื่นเวลาคุณมามิยะฟังเสียงเพลงกู่ฉิน ให้แยกให้ออกว่าโน้ตตัวที่ตัวเองได้ยินนั้นเป็นเสียงประเภทไหน หรือบางทีอาจมีสองเสียงพร้อมกันก็ได้ เช่นสายหนึ่งดีดส่านสายหนึ่งอั้น ก็ควรทราบด้วย

การขึ้นสายกู่ฉินนั้น เมื่อก่อนไม่มีมาตรฐานขนาดตอนนี้ แค่ให้ทั้งเจ็ดสายมีความสัมพันธ์กันตามระดับเสียงในตัวมันเองพอแล้ว แต่ตอนนี้มีกำหนดมาตรฐานโดยใช้ทฤษฎีสากลเข้าช่วย
แต่ก่อนนี้ เจิ้งเตี้ยว คือคีย์ปกติที่ใช้เล่นมากเพลงที่สุด จะขึ้นโดยกำหนดเสียง จื่อ อวี่ กง ซาง เจวี๋ย จื่อ อวี่ จากบนลงล่างตามลำดับ เป็นเลขแบบตอนนี้ก็ 5ฺ6ฺ12356
ตอนนี้เทียบกับคีย์สากลก็ CDFGAcd
ขึ้นอย่างนี้เรียกว่า 以三弦为宫 ซึ่งในเตี้ยวเดียวกันนี้เอง ยังมีการยืนเอาเตี้ยวที่เรียกว่า "หวงจง" มาใช้ โดยไม่เปลี่ยนเตี้ยว แต่ 以一弦为宫 เลยเท่ากับเลข 1ฺ2ฺ4ฺ5ฺ6ฺ12
(หวงจงปกติ ต้องปรับสายสามลดครึ่งเสียง เป็น CDEGAcd จึงเรียกคีย์ C เพราะเสียง กง ตรงกับซี)
เอาเป็นว่าตั้งฉินไว้ที่เจิ้งเตี้ยวก่อน ส่วนเตี้ยวอื่นๆ ก็จะเจอภายหลัง กู่ฉินมีเตี้ยวมากมาย บางเพลงมีเตี้ยวเฉพาะ คือ ก่วงหลิงส่าน ใช้สายหนึ่งกับสองเป็นเสียงระดับเดียวกัน นับว่าเป็นเพลงที่แปลกมากในโลกกู่ฉิน เพราะไม่มีเพลงร่วมเตี้ยวอยู่เลย

เวลาดีดกู่ฉิน เสียงสูงต่ำจะเกิดขึ้นโดยการกดบริเวณฮุย วึ่งหมายถึงจุดที่เรียงอยู่ขอบด้านบนของตัวฉิน วิธีการดีดให้ใช้มือขวาดีดสาย มือซ้ายกด ในเทคนิคระดับเหนือๆ ขึ้นไป มีเทคนิคที่มือซ้ายเป็นตัวทำเสียงอยู่เยอะ แต่ถ้าจะฝึกตอนแรก ก็ฝึกใช้มือซ้ายกดสายธรรมดาก่อน
แน่นอนตามธรรมชาติอยู่แล้ว ฮุยที่อยู่ต่ำ ให้เสียงต่ำ ฮุยที่อยู่สูงให้เสียงสูง ในเวลาดีด การเลื่อนมือซ้ายลงไปทางท้ายฉิน จึงให้หางเสียงต่ำลง เลื่อนขึ้นมาทางหัวจึงให้เสียงสูงขึ้น

การดีดด้วยมือขวาแบบพื้นฐาน มีสองท่าเริ่มต้น คือโกวและเทียว
โกว คือใช้นิ้วนางดีดเข้า เทียวคือนิ้วชี้ดีดออก จื๋อฝ่าทั้งคู่จะใช้สลับกันขึ้นอยู่กับทิศทางการดีดว่าไล่สายขึ้นหรือไล่สายลง นอกจากนั้นยังมีสายที่ต้องโกวตลอดคือ สายหนึ่ง สายที่ส่วนมากจะใช้เทียวก็คือสายเจ็ดเพราะอยู่ต่ำสุด จะไม่ค่อยมีเทียวสายหนึ่ง โกวสายเจ็ด เพราะมันผิดธรรมชาติ
วิธีการใช้นิ้วกลางดีดเข้า ก็เอานิ้วกลางนั้นดีดผ่านสายเข้ามาหาตัว (ไม่เหนี่ยวหรือรั้งหรือสะกิด) และพักเอาไว้ที่สายต่อไปเช่นดีดสายหนึ่ง นิ้วกลางจะจบบนสายสอง แต่ทั้งนี้พูดถึงวิธีการดีดแบบปรกติที่สุดเท่านั้นครับ ไม่ได้พูดถึงการดีดเร็วๆ หรือการดีดขั้นสูง ที่ไม่แน่ว่านิ้วกลางจะพักสายต่อไปเสมอ
การใช้นิ้วชี้ดีดออก ก่อนอื่นงอนิ้วชี้เข้าหาตัวก่อนให้นิ้วโป้งแตะข้างนิ้วชี้ แล้วใช้นิ้วโป้งเป็นตัวช่วยส่งนิ้วชี้ออกไป ใช้เพียงนิ้วอย่างเดียว ไม่ต้องกระดกข้อมือ ในการดีดเทียวขั้นพื้นฐาน ควรมีนิ้วค้ำสายหน้าห่างออกไปอีกสองสาย ตรงนี้ก็จะคล้ายกับวิธีดีดกู่เจิงที่เรียกว่าดีดแบบจาจวงนั่นเอง เรื่องนิ้วค้ำสายนี่ ถ้าดีดไปถึงขั้นสูงๆ อาจจะไม่ต้องมีก็ได้ แต่ควรจะมีไว้ดีกว่า
เทคนิคมีเยอะครับแต่พูดแค่สองท่าเท่านี้ก่อน

ผมกำลังพยายามเก็บเงินซื้อฉินตัวใหม่จากที่ชัชติดต่อให้ ดังนั้นถ้าเก็บเงินซื้อได้ เท่ากับว่าคุณมามิยะสามารถใช้ฉินตัวที่ผมใช้ปัจจุบันนี่ไปฝึกก็ได้ ไม่ต้องเอาอีกตัวไปขึ้นสายใหม่ให้ยุ่งยาก ซึ่งยุ่งยากจริงๆ เพราะต้องสั่งมาจากจีน หาในไทยไม่ได้ ผมไม่ทราบว่าคุณมามิยะจะรอไหวหรือเปล่ากว่าผมจะซื้อตัวใหม่ได้ เพราะผมเบี้ยน้อยหอยน้อย ต้องผสมผเสอยู่นานพอควร
ผมไม่ทราบว่าคุณมามิยะแก่ขนาดไหนแล้วครับ ถึงบอกว่าอยากเล่นตอนแก่ คิดว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วเพราะเพื่อนมีลูกแล้ว แถมลูกเพื่อนก็โตแล้วด้วย ผมกับชัชยังเด็กอยู่ครับ ผม 23 ชัชจำไม่ได้แล้วอายุเท่าไหร่ น่าจะราวๆ 20

แถม วิธีการใช้กู่ฉินเป็นอาวุธ
นี่ผมไม่ได้พูดถึงเสียงเพลงที่ฟังแล้วไฟธาตุแตกนะครับ ผมหมายถึงการใช้ตัวกู่ฉินเป็นอาวุธจริงๆ ซึ่งนำมาใช้ได้ในสถานการณ์คับขัน
หากพลิกท้องดู ภายใต้ท้องของกู่ฉินจะมีช่องเสียงใหญ่ ช่องเสียงเล็ก ซึ่งในภาษากู่ฉินนั้นเรียก 龙池 และ 凤沼 ในบริเวณช่องเสียงใหญ่นั้นเองอยู่กลางตัวฉิน เวลาใช้เป็นอาวุธให้สอดมือลงไปในช่องเสียง จะจับฉินยกขึ้นได้ด้วยมือเดียว จากนั้นก็ใช้เหวี่ยงหรือฟาดใส่ศัตรูได้ตามถนัด กู่ฉินจะมีเหลี่ยมที่สามารถใช้ทำอันตรายคู่ต่อสู้ได้คือบริเวณแง่ด้านบน กับแง่ด้านล่าง รวมแปดแง่ด้วยกัน และสามารถใช้ด้านหน้าของฉินฟาดใส่ตรงๆ ได้เหมือนกัน แต่ควรใช้ส่วนท้ายฟาดใส่ จะถนัดกว่า
นอกจากนี้ ส่วนหน้าตัดด้านท้ายของฉินบริเวณที่เรียกเหงือกมังกร จะหนามาก และมีน้ำหนักดี สามารถใช้กระทุ้งเข้าใส่หน้าหรือทิ่มยอดอกได้ตรงๆ ถ้ากระทุ้งเข้าหน้าแรงๆ ก็หมดสติได้ง่ายๆ
การที่เราสามารถใช้มือเดียวสอดเข้าไปในหลงฉือทำให้สามารถใช้ฉินคู่เป็นอาวุธได้ในเวลาเดียวกัน ขอให้มีฉินสองตัวอยู่ใกล้มือก็พอ
ที่กล่าวมานี้ ถ้าไม่คับขันจำเป็น ไม่ควรทำเด็ดขาด ที่บอกเอาไว้เพื่อถ้าถึงเวลาคับขันจะได้มีสติรู้ว่าควรจับตรงไหนจึงจะใช้เป็นอาวุธได้ง่าย







โดย: นัท IP: 124.121.0.149 วันที่: 30 กันยายน 2550 เวลา:20:44:53 น.  

 
ไม้ต่างๆ ในการใช้กู่ฉินเป็นอาวุธ
- บัง ใช้ด้านหน้าฉินขึ้นรับอาวุธในลักษณะเหมือนกับเขน ซึ่งเป็นเครื่องกันอาวุธทรงยาวเหมือนกัน ถ้าอาวุธเป็นไม้ไม่เป็นไร ถ้าเป็นของมีคมอาจทำให้สายฉินขาด แต่ดีกว่าเจ็บตัว
อนึ่งสายฉินที่ขาดแล้ว ถ้าคู่ต่อสู้เพลี่ยงพล้ำถึงล้ม ก็ขึ้นคร่อมแล้วใช้สายฉินที่ขาดนั้นกดเข้าใส่ลูกกระเดือก อาจถึงแก่ชีวิตได้ง่ายๆ
- ปัด ใช้กู่ฉินปัดอาวุธให้เฉออกไป ซึ่งกู่ฉินทำได้เพราะหนักและแข็งแรงพอ จากนั้นก็อาศัยช่องว่างที่อาวุธเฉออกไป สวนกลับด้วยการโจมตีลักษณะต่างๆ
- ฟาด ใช้ด้านแบนของกู่ฉินเหวี่ยงเข้าใส่จุดสำคัญ โดยอาศัยการจับช่องเสียงประคองไว้ แล้วเหวี่ยงฉินด้านหน้าส่วนท้ายเข้าใส่ด้วยกำลัง หากถูกส่วนสำคัญ เช่น ขมับ ก็อาจหมดสติได้
- ทิ่ม ใช้ส่วนท้าย กล่าวคือเหงือกมังกร ทิ่มออกไปตรงๆ ใส่หน้า หรือ ยอดอก ทำให้หน้าแตกหรือซี่โครงหัก
- สับ ใช้สันของกู่ฉินเหวี่ยงเข้าใส่จุดสำคัญ เช่นคอต่อ ทำให้กระดูกหลุดจากกันได้
- โขก ใช้ส่วนหัวของกู่ฉินด้านหลัง ซึ่งจะมีแง่ยื่นออกมาสองแง่ โดยยกขึ้นสูงแล้วโขกลงตรงๆ แง่ดังกล่าวอาจจะเจาะทะลุเข้าไปในกะโหลก ถึงตาย
- งัด ต้องจับสองมือแล้วงัดขึ้น โดยมือที่ถนัดจับสอดเข้าไปในช่องเสียงใหญ่ ส่วนมือที่เหลือสอดช่องเสียงเล็ก แล้วตีงัดขึ้นจากด้านล่างให้ส่วนหัวกู่ฉินไปกระแทกเป้าหมาย ถ้าโดนปลายคางก็ถึงน็อก ถ้าใช้วิธีงัดเข้าไปในหว่างขาก็อาจถึงหมดสติ ใช้กับพวกบ้ากามได้ผลชะงัดนัก
- เหวี่ยงใส่ โดยใช้เท้าฉินเป็นที่จับ จะทำให้สามารถควงฉินเป็นวงสวิงได้ง่าย มีความรุนแรงมากกว่าการจับช่องเสียงแล้วฟาดธรรมดา เพราะเป็นการเหวี่ยงอย่างอิสระ

สำหรับเรื่องนี้ผมไม่ได้เขียนเอาฮานะครับ เพราะถ้าดูจากทรงของฉินแล้ว มีจุดที่จับถนัด และจุดที่ทำร้ายคนได้ อยู่หลายจุด สามารถใช้เป็นอาวุธได้ทั้งรับและรุก ทั้งนี้อาศัยความชำนาญในการฝึกฝน และการหาจังหวะเข้าทำด้วย ทั้งนี้อาวุธที่คล้ายฉินที่สุด เห็นจะได้แก่ เขน ถึงเป็นทั้งเครื่องป้องกันอาวุธ และใช้ตีไปในตัว
ปัญหาก็คือสถานการณ์ที่จะต้องใช้ฉินเป็นอาวุธมักไม่ค่อยเกิด ผมเข้าใจว่าคุณมามิยะถึงจะมีฉิน แต่คงไม่พกฉินเข้าไปในที่เปลี่ยว เพียงแต่ถ้าทำจริงๆ แล้วมีคนมาล็อกคอจากด้านหลัง มันจะติดฉินที่สะพายอยู่ด้านหลัง เราแค่ย่อตัวลงแล้วยืดตัวขึ้น ส่วนหัวของฉินจะกระแทกเข้าที่คางไอ้บ้ากามผู้นั้น ถึงหมดสติได้ ตกลงว่าฉินถ้าสะพายหลังไว้ ก็ไม่ใช่จะไร้ประโยชน์ในทางป้องกันตัวเสียทีเดียวนะครับ


โดย: นัท IP: 124.121.0.149 วันที่: 30 กันยายน 2550 เวลา:21:40:57 น.  

 
ว้า ...เขียนไปครั้งหนึ่งแล้ว ไปแตะโดนอะไรก็ไม่รู้ หายหมดเลย เขียนครั้งสองจะเหมือนอารมณ์แรกหรือเปล่าเนี่ย?


ต้องขอบคุณสำหรับการใช้ฉินเป็นอาวุธค่ะ ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าทำได้จริง ๆ ชอบ มาก ๆ เลยค่ะ


แต่ไม่ค่อยเก็ตเรื่องดนตรีสักเท่าไหร่ค่ะ ช่วยอธิบายเรื่องโน๊ตหน่อยได้ไหมคะ ทั้งสองท่าน เอาแบบที่เข้าใจง่าย ๆ หน่อยค่ะ เพราะว่ามามิยะเป็น "หนิว" ก็ตัวที่ 对牛弹琴นั่นแหละค่ะ


แล้วก็รูปร่างของฉินด้วยเห็นพูดถึงข้างบนน่ะค่ะ

เห็นฉินของคุณชัชแล้ว ตามคลิปที่แตกมา แต่มันไม่มีเสียงน่ะค่ะ เลยไม่รู้ว่าฟังแล้วจะเป็นอย่างไร ฉินตัวที่คุณชัชใช้มันสวยดีจังเลย เห็นแล้วชอบจับใจ แต่ก็ยังถามตัวเองอยู่ว่าชอบดู ชอบฟัง หรือชอบเล่นกันแน่? ซึ่งยังไม่แน่ใจตัวเองอยู่เหมือนกันค่ะ



โดย: mamiya วันที่: 8 ตุลาคม 2550 เวลา:0:05:30 น.  

 
เรื่องการอ่านโน๊ตกู่ฉินนี่อธิบายในนี้ไม่สะดวกเลยครับ
เพราะโน๊ตกู่ฉินเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ แล้วมาประกอบกัน เช่น ในโน๊ตหนึ่งตัว สามารถอธิบายได้ว่า นิ้วโป้งดีดออกสายที่เจ็ด และนิ้วโป้งมือซ้ายเลื่อนมาที่ฮุยที่เจ็ด พร้อมกับนิ้วกลางดีดเข้าสายหนึ่งสายเปล่า (เสียงที่ได้จะได้เสียงคู่แปดสองเสียง โดยเสียงที่สูงกว่าเกิดโดยการ滑จนไปถึงตำแหน่งเสียงที่ถูกต้อง) หมายความว่าโน๊ตกู่ฉินต่างกับโน๊ตดนตรีทั่วไปคือ โน๊ตกู่ฉินบอกการปฏิบัติ และโน๊ตดนตรีทั่วไปบอกเสียงที่ได้
ลองดูวิธีการอ่านโน๊ตได้ที่นี่ครับ
//www.tcfb.com/guqin/notation1.html

ส่วนกู่ฉินที่ผมเล่นนั้นได้มาจากศาสตราจารย์ 曾成伟 จาก 四川音乐学院 ครับ แกทำกู่ฉินดีที่สุดในจีน มีรุ่นเดียวราคาเดียว ของผมเป็นรุ่นที่มืออาชีพใช้ราคาเลยแพงหน่อยครับ
แต่ถ้าคุณมามิยะอยากได้ติดต่อผมได้โดยตรงเลยครับ
ตอนนี้ผมรู้แหล่งซื้อกู่ฉินราคาถูก แตคุณภาพเกินราคามาก
ตอนนี้ราคาต่ำสุด สามพันเก้าร้อยหยวนครับ (แต่ไม่รู้ว่าต่อไปจะขึ้นมั้ย เพราะโอลิมปิกมาปักกิ่ง อะไรก็แพงไปหมดแล้วตอนนี้ ทรมานนนนน) ผมยินดีไปซื้อให้โดยไม่คิดว่าแรงค่ารถถเลยครับ


โดย: ชัช IP: 222.28.81.160 วันที่: 8 ตุลาคม 2550 เวลา:16:24:25 น.  

 
ไปเยี่ยมเราหน่อยนะครับที่ //tgqc.ipbfree.com/index.php?act=idx
เพิ่งตั้งเมื่อวานเพื่อเตรียมเปิดสมาคมกู่ฉิน ผมกับชัชจะผลัดกันเอาเรื่องน่าสนใจมาลง ถึงคุณมามิยะไม่ชอบเล่นบอร์ด แต่บอร์ดนี้รับรองสะอาดเพราะกันที่ไว้ให้เกรียนอยู่ข้างล่างโดยเฉพาะ คุณมามิยะก็สามารถอ่านข้อมูลต่างๆ ได้สบาย ถ้ายังไงก็แวะเวียนกันไปบ้างและช่วยสมัครสมาชิกเพื่อเพิ่มจำนวนหน่อยค้าบ


โดย: นัท IP: 124.121.0.111 วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:11:02:09 น.  

 
ได้เลยค่ะ เดี๋ยวคืนนี้กลับบ้านแล้วจะเข้าไปสมัครค่ะ อ้อ คุณชัชคะมีเรื่องให้ช่วยนิดหนึ่งค่ะ ขออีเมล์ด้วยค่ะ


โดย: มามิยะ IP: 58.8.187.65 วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:12:14:46 น.  

 
tq.canchuan@hotmail.com
มีไรให้ช่วยบอกได้เลยครับ


โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:20:15:47 น.  

 
ตามไปแล้วนะคะ โหยมีเรื่องให้อ่านเยอะเลย ส่วนบล็อคของคนชัชมามิยะแอดเป็นเพื่อนของบล็อคนี้แล้วคะ ยินดีจริง ๆ ค่ะ ที่มีสมาคมใหม่อีกกลุ่มแล้ว

อ้อ พี่ฟง น้องหวงหลิง ท่านลีน ท่านฉั่วจะตามไปด้วยกันหรือไม่คะท่าน?


โดย: mamiya วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:23:17:11 น.  

 
//tgqc.ipbfree.com/index.php?act=idx


ไปมาแล้วค่ะ ทำนานแค่ไหนคะ? ประมาณอาทิตย์หนึ่งได้ไหมคะ? โหย เริ่มมีข้อมูลหนาตาแล้ว อ่านหมดแล้วค่ะ แต่ขอบอกตามตรงค่ะ ว่าไม่ค่อยเข้าใจค่ะ รู้สึกว่าไม่เก็ตยังไงก็ไม่รู้ สงสัยต้องคนดีดเป็นจะเก็ตใช่ไหมคะ หรืออย่างน้อยรู้จักดนตรีพื้นฐานก็จะง่ายต่อความเข้าใจ

เมื่อกี้ "หนิว มามิยะ" เข้าไปแล้ว มึนติ๊บเลยค่ะ โน๊ตไรเป็นโน๊ตไรไม่ค่อยรู้เรื่องเลย แต่ยังจะไปอ่านเรื่อย ๆ ค่ะ สมัครสมาชิกไปแล้วด้วยค่ะ คนแรกหรือเปล่าคะ เปิดสมาคมเลย


ดูภาพแล้วชอบทรงพีลี่ค่ะ สายฟ้าฟาด กับ ทรงลั่วเสีย น่ารักดีเป็นหยัก ๆ ๆ ๆ มากมาย

กู่ฉินก็หน้าตาดีนะคะ หนังจีนชอบมีบ่อย ๆ แต่กู่ฉินขลังกว่าค่ะ ดูโบราณดีค่ะ ยิ่งโบราณ ๆ ตัวที่มีหนังสือจีนเยอะ ๆ เห็นแล้วชอบจังเลย

กูฉินมีวิญญาณของฉินไหมคะ? หมายความว่า เรารักมันดีดมันบ่อย ๆ มันก็จะใช้ได้ดีมาก แต่ถ้าไม่ค่อยได้ใช้ มันจะเศร้าไหมคะ ดีดแล้วไม่ค่อยลื่นมีเท่าไหร่ เป็นแบบนี้หรือเปล่าคะ?(เอ....หรือจะดูหนังมากไป)


เมื่อคืนฟังก่วงหลิงส่านจนหลับไปเลยค่ะ






โดย: mamiya วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:23:34:48 น.  

 
กู่ฉินก็หน้าตาดีนะคะ ความจริงจะบอกว่า กูเจิงค่ะ พิมพ์ผิด ขออภัย


โดย: mamiya วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:23:37:13 น.  

 
กู่ฉินไม่มีวิญญาณหรอกครับ มันก็แค่ไม้ท่อนหนึง เพียงเราเราเท่านั้นเป็นผู้ใส่วิญญาณให้มัน เหมือนหุ่นกระบอกตัวหนึ่ง ทำให้มันแสดงความรู้สึกออกมา โดยที่เราต้องเข้าใจมัน เข้าถึงมันจริงๆ มันถึงจะแสดงความเป็นตัวเราออกมาได้
ส่วนที่ว่าดีดไม่ลื่นแปลว่าไม่ล้างมือครับ ฮ่าๆ มือเหนียว


โดย: ชัช IP: 222.28.81.160 วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:23:43:11 น.  

 
ฮ่า ฮ่า อาจจะจริง

จำได้ว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งเห็นหมอดูไพ่ยิบซี ดูคนหนึ่งก็ล้างมือทีหนึ่ง เลยถามไปว่า

"ทำไมหมอต้องล้างมือทุกครั้งที่เปลี่ยนคนคะ?

หมอตอบว่า "ไม่มีอะไร มือมันเหนียวเลยล้าง"


แป่ว อะสิเรา นึกว่ามีเคล็ดลับพิเศษ


โดย: มามิยะ IP: 58.8.180.147 วันที่: 11 ตุลาคม 2550 เวลา:19:10:21 น.  

 
ไปช่วยกันตั้งคำถามในบอร์ดหน่อยครับ ถ้าไม่เข้าใจก็ถามได้ครับจะได้อธิบายเพิ่มเติม
ตอนนี้คนตั้งหัวข้อมีผมกะชัชสองคนเอง อนาถนัก


โดย: นัท IP: 124.121.10.51 วันที่: 12 ตุลาคม 2550 เวลา:11:34:45 น.  

 
รบกวนขอ mp3 บทเพลงเย้ยยุทธจักร ฉบับหวงจัน ด้วยนะคะ คือตามหาบทเพลงนี้มานานมากแล้ว ช่วยส่งมาที่ athennavalley@yahoo.com ขอบคุณ คุณmamiya ล่วงหน้าค่ะ


โดย: athenna IP: 203.113.61.201 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2550 เวลา:13:19:17 น.  

 
มีคนจิ๊กของคูรมามิยะไปโดยไม่บอกครับ
//keangdesign.multiply.com/music/item/27



โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 30 พฤศจิกายน 2550 เวลา:0:04:15 น.  

 
อ้าว...แล้วกัน เพิ่งเห็นข้อความนี้ค่ะ

ขอบคุณที่มาบอกนะคะ คุณชัช น่าเสียดายที่เขาเอาข้อเขียนก่อนที่พวกเราจะวิเคราะห์กันเสร็จและมามิยะได้เปลี่ยนข้อความข้างบนแล้ว ดังนั้นผู้ที่นำไปโดยมิได้ให้เครดิต และยังเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องก็รับผิดชอบไปเองก็แล้วกัน

อนึ่งตอนที่เขียนเรื่องจีคังแต่งเพลงก่วงหลิงส่านหรือไม่นั้น อาจารย์ของมามิยะที่เอกกู่ซือ(กลอนโบราณ) ท่านบอกว่าใช่ ในตอนแรก มามิยะเลยเขียนไปเช่นนั้น แต่เมื่อคุณชัชที่เอกดนดรีบอกว่าไม่ใช่แน่นอน และจากการอ่านเพิ่มเติมในหนังสือไทยอีกหลายเล่ม ซึ่งมีจำนวนของข้อมูลที่บอกว่าก่วงหลิงส่านไม่ทราบว่าผู้ใดแต่งมีมากกว่า จึงทำให้เกิดข้อสรุปดังที่แก้ไขในเวลาต่อมานั่นเอง

ขอแจ้งว่าบทความในบล็อคนี้เกิดจากการศึกษามาเอง อาจมีข้อผิดพลาด ดังนั้นหากพบว่าผิดพลาด มามิยะก็จะแก้ไข หรือหากทราบแต่แรกก็แจ้งให้ทราบก่อนว่าอ้างอิงได้หรือไม่ได้ ทั้งนี้แม้แต่ตำราเองก็ยังมีหลายตำรา อย่าว่าแต่ข้อมูลทั้งหลาย หากอ่านโดยไม่ใช้วิจารณญาณจักเป็นอันตรายยิ่งนัก โลกแห่งไซเบอร์ ไม่ว่าอะไรก็ควรระวัง โดยเฉพาะข้อมูล น่าเสียดาย น่าเสียดายเหลือเกินที่คนอ่านผาด ๆ มีมากกว่าคนที่อ่านจริงจัง

ขอบคุณสหายอย่างคุณชัชอีกครั้งนะคะ แม้แต่ข้อเขียนเก่า ๆ ในบล็อคอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้เสมอ

ขอบคุณทุกท่านค่ะ


โดย: มามิยะ IP: 61.7.136.4 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:33:53 น.  

 
เสริ์ชเรื่องขิมอยู่ เปิดแว่บผ่าน ไม่นึกว่าจะได้เรียนรู้อะไรมหาศาลขนาดนี้

ขอชื่นชมกับวงสนทนาเล็กๆแต่ยิ่งใหญ่ด้วยใจจริงครับ
ในฐานะคนที่เคยฟังเสียงน้องชัชดีดกู่ฉินมาก่อนที่จะตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิตของตน


โดย: หน่อง IP: 61.91.162.229 วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:2:26:21 น.  

 
อ.หน่อง ชวนเข้ามาอ่าน

เหลือเชื่อ
จงเชื่อมั่น ลุยต่อไป


โดย: เอ้ IP: 58.8.167.115 วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:23:47:26 น.  

 
กำลังหาข้อมูลของฉินอยู่ค่ะ..ก้อเลยมาเลยได้แวะเข้ามาอ่านค่ะ...สุดยอดมากค่ะได้ความรู้เยอะดี...แล้วจะแวะมาทักทายอีกน่ะค่ะ....


โดย: ดาว IP: 58.136.131.116 วันที่: 20 เมษายน 2551 เวลา:11:21:41 น.  

 
ผมอยากได้เพลงบรรเลงกู่เจิงอ่ะคับโดยเฉพาะ เพลงเดชคัมภีร์เทวดา อะครับ ถ้ามีเพลงอื่นก็จะดีครับใครีบ้าง ส่งให้ผมหน่อยรบกวนหน่อยนะครับ อยากได้จริงๆๆส่งมาที่ nop-p-ake@hotmail.com นะคับ


โดย: โก้ IP: 118.173.248.219 วันที่: 30 เมษายน 2552 เวลา:18:03:59 น.  

 
เคย favorites เพลง เดชคัมภีร์เทวดา บรรเลงด้วยกูเจิ้ง
ปีใหม่มาหายหมด หาอย่างไรก็ไม่เจอ เศร้าจริงๆ
ใครมีรบกวนส่งให้ด้วยครับ
jak_424@hotmail.com ขอบคุณครับ


โดย: โจ IP: 124.120.23.188 วันที่: 7 มิถุนายน 2553 เวลา:22:20:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

mamiya
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




สงวนลิขสิทธิ์ตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้นำไปเผยแพร่และอ้างอิง ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของข้อความ ในสื่อคอมพิวเตอร์แห่งนี้เพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ละเมิดจะถูกดำเนินคดี ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด งานเขียนทุกชิ้นในบล็อคนี้ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน กรุณาให้เกียรติผู้เขียนเมื่อนำไปเผยแพร่ต่อควรขออนุญาตก่อน
[Add mamiya's blog to your web]