<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
2 เมษายน 2551

邓丽君

เติ้งลี่จวิน-ราชินีเพลงจีนในดวงใจตลอดกาล
ผมมั่นใจว่าท่านผู้อ่านที่กำลังอ่านคอลัมน์นี้อยู่คงไม่มีใครไม่รู้จักเติ้งลี่จวิน邓丽君 อย่างน้อยก็คงรู้จักเพลงของเขาไม่เพลงใดก็เพลงหนึ่ง ซึ่งมีทั้งที่ร้องโดยเจ้าตัวเอง จากนักร้องท่านอื่นหรือแม้กระทั่งนักร้องไทยอย่างคุณดาวใจ ไพจิตร ที่ครั้งหนึ่งเคยนำเอาทำนองมาใส่เนื้อร้องไทย สำหรับตัวผู้เขียนเอง เนื่องจากใช้ชีวิตในแวดวงของคนจีนตั้งแต่เด็ก เลยบอกได้ว่ารู้จักตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ รวมทั้งร้องเพลงซึ่งเป็นเพลงโปรดอยู่หลายเพลง และที่ทำให้รู้จักเติ้งลี่จวินมากขึ้นก็มาจากภาพยนตร์ที่สร้างในฮ่องกงปี 1970 เรื่อง “เกอหมีเสียวเจ่” 歌迷小姐 หรือสาวน้อยผู้ลุ่มหลงเสียงเพลง สำหรับชื่อภาษาไทยผู้เขียนแปลเอง ไม่ใช่ชื่อเรื่องของภาพยนตร์ซึ่งต้องสารภาพตามตรงว่า สมัยนั้นไม่เคยสนใจเลยไม่ว่าชื่อภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ภาพยนตร์เรื่องเกอหมีเสียวเจ่เป็นการนำเอาชีวิตของเติ้งลี่จวินสมัยก่อนเข้าสู่วงการ และความมุมานะอย่างหนักเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเป็นนักร้องให้ได้ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สองที่เธอแสดง สำหรับเรื่องแรกเธอแสดงมื่ออายุ 16 เรื่อง เซ่เซ่โจ่งจิงหลี่ 谢谢总经理 หรือขอบคุณท่านผู้จัดการใหญ่
บทความนี้เขียนขึ้นมา เพื่อรำลึกถึงการจากไปของเติ้งลี่จวินครบรอบ 10 ปี (เธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1995) โดยจะขอกล่าวถึงเติ้งลี่จวินในช่วงต่าง ๆ ของชีวิตตั้งแต่ปฐมวัยและบางแง่มุมเมื่อเธอยังมีชีวิตอยู่ในตอนที่หนึ่ง และจะต่อด้วยตอนที่สองเกี่ยวกับนักร้องตัวแทน หรือเสียงเหมือนเติ้งลี่จวิน
เธอเป็นบุตรสาวคนเดียว และเป็นลูกคนที่สี่ของคุณพ่อเติ้งเฉี่วน邓枢 ผู้ซึ่งเกิดในมลฑลเหอเป่ย河北 และเป็นทหารฝ่ายกั๊วหมิงต่าง 国民党 (ก๊กมิ่งตั๋ง)ของเจียงไคเชค เมื่อฝ่ายกั๋วหมิงต่างพ่าย แพ้แก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ คุณพ่อเติ้งก็อพยพพร้อมกับพลพรรคของเจียงไคเชคไปเกาะไต้หวัน และหนูน้อยเติ้งลี่จวินถือกำหนดที่ไต้หวัน เมื่อ วันที่ 29เดือนมกราคม 1953 หนูเติ้งวัยแบเบาะเนื่องจากคุณพ่อเติ้งเป็นทหาร จึงต้องย้ายราชการไปตามที่ต่าง ๆ ตามแต่จะได้รับมอบหมายและชีวิตในวัยเด็กของหนูเติ้งก็ไม่ได้สุขสบายเนื่องจากฐานะทางครอบครัวจัดว่าค่อนข้างยากจน เศรษฐกิจไต้-หวันในสมัยนั้นยังไม่มั่งคั่งดังปัจจุบัน การกินอยู่จึงต้องเพิ่งพาองค์กรกุศลบางส่วน ทางครอบครัวเติ้งเองก็เช่นกัน การนับถือศาสนาคริสต์ก็เป็นหนทางหนึ่ง ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของคริสต์ศาสนาซึ่งกำลังต้องการเผยแพร่ในไต้หวัน แต่หลังจากที่เติ้งลี่จวินเป็นนักร้องสุดฮ็อต และใช้ชีวิตในต่างประเทศ เธอถึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธตามความเชื่อดั้งเดิมแทนชื่อจริงของเติ้งลี่จวินคือ เติ้งลี่หยุน 邓丽筠 หรือไผ่งาม แต่เนื่องจากเพิ่อน ๆ ชอบเรียกลี่จวินมากกว่า ลี่หยุน เมื่อเข้าสู่วงการแล้วเลยตัดสินใจใช้ชื่อว่าลี่จวินซึ่งแปลว่าคนสวย หรือสาวสวย ซึงก็คงเหมาะกับความเป็นผู้หญิงของเธอมากกว่า หนูเติ้งฉายแววความสามารถด้านการร้องเพลง และแสดง ตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว ในยุคหวางเหมยเดี้ยว 黄梅调 กำลังฮ๊อตฮิตอันเนื่องจากภาพยนตร์เรื่องเหลียงซานป๋อหยวี่จู้ยิงถาย 梁山伯与祝英台 (The ButterflyLovers) ของผู้กำกับฮ่องกงหลี่ฮั่นเสียง 李汉祥 ทำให้ชาวไต้หวันคลั่งไคล้กันทั้งเกาะ และมีการจัดประกวดการร้องหวางเหมยเดี้ยวโดยสถานีโทรทัศน์ จงหัว หนูเติ้งได้รับชนะเลิศจากการประกวดในครั้งนี้ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 10 ขวบ หลังจากนั้นมีการประกวดและชนะเลิศในรายการต่าง ๆ และที่สำคัญคือ ในปี 1966 หรืออายุ 13 ขวบ ได้รับชนะเลิศม้าทองคำจากการประกวดร้องเพลงในเพลงไฉ่หงหลิง ในปีถัด-มาก็ได้ออกแผ่นเสียงแผ่นแรกในชีวิต และเป็นการก้าวเข้าสู่อาชีพนักร้องอย่างเต็มตัว การก้าวเข้าสู่นักร้องอาชีพของเติ้งลี่จวินนั้น เธอมีแฟนเพลงกระจายอยู่ทั่วโลกที่มีคนจีนอาศัยอยู่ ไม่เว้นแม้กระทั่งญี่ปุ่นสำหรับการไปสร้างชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่นนั้น คงต้องเข้าใจพื้นฐานของชาวไต้หวันอย่างหนึ่ง เนื่องจากเกาะไต้หวันเคยถูกยึดครองโดยญี่ปุ่นสมัยสงครามโลก ชาวไต้หวันจึงมีวิถีชีวิตหลาย ๆ อย่างกระเดียดไปทางญี่ปุ่น อย่างวัฒนธรรมการดื่มชาเขียวก็มาจากญี่ปุ่น และได้นำเข้าบ้านเราโดยบริษัทไต้หวันหลายปีก่อน ๆ ที่จ้าวตลาดอย่างโออิชิจะเกิดเสียอีก (จริงจริง คุณตันแห่งโออิชิเองสัญชาติเดิมก็เป็นชาวไต้หวัน) แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากรสชาดไม่ถูกปากคนไทย ชาวไต้หวันจำนวนไม่น้อย เมื่อจะโกอินเตอร์จะมองไปทางตะวันออก(ญี่ปุ่น)ก่อน ซึ่งตรงข้ามกับคนไทยจะมองไปตะวันตก(ฝรั่ง)เสียมากกว่า ปี 1973 ได้เซ็นสัญญากับโพลิดอร์ ประเทศญี่ปุ่นแต่ยังไม่ได้ขึ้นถึงจุดสูงสุดในญี่ปุ่น แต่กลับมาถึงจุดสูงสุดเมื่อหลังจากที่ได้ไปตระเวนแสดงในอเมริกาและแคนนาดาในปี 1984 โดยยอดขายแผ่นเสียงของเติ้งลี่จวิน สามารถทำลายสติถิยอดขายสูงสุดของญี่ปุ่น และได้รับรางวัลสารพัดยอดเยี่ยม ทั้งแผ่นเสียงยอดขายยอดเยี่ยม เพลงยอดนิยมสูงสุด นักร้องยอดเยี่ยม เป็นต้น ในปี 1985 เพลง ”อ้ายหริน” 爱人 หรือ “ที่รัก-Lover” ได้รับความนิยมสูงสุด 14 สัปดาห์
เด็กน้อยเติ้งลี่จวิน สำหรับประเทศในแถมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เติ้งี่จวินก็ตระเวนแสดงตามประเทศต่าง ๆทั้งงานกุศลและร้องตามไนต์คลับภัตตาคารต่าง ๆ อย่างในเมืองไทยก็เคยร้องประจำที่ภัตตาคารกิเลน นอกนั้นก็เคยแสดงในประเทศอย่างเวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น ที่น่าสนใจคือ การไปตามคำเชิญของมาดามลีกวนยิวในปี 1969 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดของภรรยาลีกวนยิว อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของสิงคโปร์เพื่อไปแสดงร้องเพลงเพื่อการกุศล ถือว่าเป็นการออกสู่นอกประเทศครั้งแรกในขณะที่อายุได้เพียง 14 ขวบ หลังจากนั้นเมื่อเป็นนักร้องยอดนิยมแล้ว ก็ไป ๆ มาอยู่ในกลุ่มประเทศเอเชียอาคเนย์ทั้งหลาย จนแฟนเพลงติดชนิดที่ไปไหนมาไหนของเติ้งลี่จวินถูกห้อมล้อมด้วยแฟนเพลง จนไม่เหลือความเป็นส่วนตัว ถึงขนาดต้องแต่งตัวอำพรางตัวเองเมื่อต้องการออกเที่ยวเป็นการส่วนตัวในระหว่างที่วนเวียนอยู่ในกลุ่มประเทศเอเชียอาคเนย์นั้น เติ้งลี่จวินเกือบจะลง-เติ้งลี่จวินแสดงที่ภัตคารแกแลกซี่ปี 1987
หลักปักฐานกับหนุ่มสิงคโปร์นามฮ๋วงเหลียนเจิ้น เจ้าของลี่ฟงเรคคอร์ท ผู้ที่ถึงกับลงทุนซื้อโรง-แรมเมย์ฟลาเวอร์ ในกัวลาลัมเปอร์ ให้เป็นที่ร้องเพลงประจำของเติ้งลี่จวิน ซี่งเติ้งลี่จวินจะร้องที่นี่ทุกคืนตอน 4 ทุ่ม และจะร้องเพลงหลัก ๆ อยู่สี่เพลง คือ“อ้ายหนี่อีว่านเหนียน” 爱你一 万年(รักเธอหนึ่งหมื่นปี) “ฉีง
หรินจ้ายเจี้ยน” 情人再见(ลาก่อนที่รัก) “จี่สือจ้ายหุยเถา”几时再回头(เมื่อไหร่กลับมาอีก) และเพลงภาษาอังกฤษ“Love Story”การแสดงที่สิงคโปร์ในปี 1969 ซึ่งเป็นครั้งแรกในชีวิตเมื่ออายุ 14 ปีถึงแม้เติ้งลี่จวินจะสามารถตรึงใจ แฟนเพลงชาวจีน และญี่ปุ่นทั่วทั้งเอเชีย แต่มีอีกประเทศซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของคุณพ่อเติ้ง แต่เติ้งลี่จวินกลับไม่เคยแม้แต่จะเหยียบ จีนแผ่นดินใหญ่เลย ถึงแม้จะมีบ้านหลังที่สองอยู่ในฮ่องกงก็ตาม ไม่ใช่ว่าชาวจีนแผ่นดินใหญ่จะไม่ชอบฟังเพลงของเติ้งลี่จวิน ตรงกันข้ามกลับเป็นประเทศที่มีแฟนเพลงมากที่สุดและคลั่งไคล้มากที่สุด แต่เหตุที่เติ้งลี่จวินไม่ไปเยี่ยมแฟนเพลงที่จีนแผ่นดินใหญ่ มาจากเหตุผลทางการเมืองล้วน ๆ เนื่องจากคุณพ่อเป็นทหารระดับนายพันของเจียงไค
เชคแห่งกั๊วหมิงด่าง ผู้ที่เคยสู้รบกับพรรคคอมมิวนิสต์ร้อยทั้งร้อยจะไม่ยอมเผาผีกับจีนแผ่นดินใหญ่ และมักจะบอกต่อไปยังลูกหลานไม่ให้คบค้าด้วย แฟนเพลงชาวจีนทุกคนอยากให้เติ้งลี่จวินไปหา ในยุคนั้นเป็นยุคของเติ้งเสี่ยวผิง 邓小平 ชาวจีนถึงกับพูดล้อกันว่า กลางวันฟังนโยบายของหล่าวเติ้ง 老邓(เติ้งใหญ่หรือเติ้งเสี่ยวผิง) แต่กลางคืนฟังเพลงของเสี่ยวเติ้ง 小邓 (เติ้งน้อยหรือเติ้งลี่จวิน) ในแต่ละปี บรรดาแฟนนานุแฟนจะมีการจัดประกวดร้องเพลงเลียนแบบเติ้งลี่จวิน และก็เป็นเวทีที่กำเนิดนักร้องเสียงเติ้งลี่จวินมากมาย กิจกรรมนี้ยังจัดกันอย่างต่อเนื่องจนทุกวันนี้ หลังจากที่เติ้งลี่จวินเสียชีวิตไปแล้วแฟนเพลงชาวจีนได้สร้างรูปปั้นของเติ้งลี่จวินไว้ในสวนชิงผู่ฟุเซ่าในเมืองซ่างห่างหรือเซี่ยงไฮ้เสมือนเป็นอนุสาวรีย์ลำลึกถึงนักร้องผู้ยิ่งใหญ่ ในขณะที่แฟนเพลงจีนแผ่นดินใหญ่คลั่งไคล้เติ้งลี่จวินนั้นใช่ว่าทางการรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะไม่คิดอะไร บางครั้งก็ออกมาโจมตีว่าเป็นนักร้องที่ทำลายวัฒนธรรมจีน ส่งเสริมให้เพ้อฝันแต่เรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ เป็นต้น หรือนัก ๆ เข้า ถึงขั้นกล่าวหาว่าเป็นนักร้อง-สปายของกั๊วหมิงด่าง ในช่วงปลายชีวิตของเติ้งลี่จวิน เนื่องจากเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจ จึงใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยพักอยู่กับสหายร่วมรบของคุณพ่อในกองพล 93 เนื่องจากการพักอยู่บนดอยอากาศเย็นสบายซึ่งเหมาะกับ การพักรักษาระบบทางเดินหายใจ และก็จบชีวิต เป็นข่าวร้ายที่ช็อคแฟนเพลงทั่วโลกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1995 เวลา17.30 น. รวมอายุที่สร้างความสุขให้กับแฟนเพลงแค่ 42 ปีเท่านั้น
ถึงแม้ตัวของเติ้งลี่จวินจะจากไปร่วม 10ปีแล้ว แต่ผลงานของเธอยังตราตรึงอยู่ในหัวใจของแฟนเพลงทุกคนอย่างไม่เสื่อมคลาย และคงจะไม่มีวันที่จะถูกลืมเลือนตราบเท่าที่ทุกวันนี้ยังมีเติ้งลี่จวินรายใหม่ๆเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
ในสมัยสงครามเย็น ฝ่ายปฏิวัติกล่าวถึงการถูกเข่นฆ่าของฝ่ายตนโดยทางการว่า“ตายหนึ่งเกิดแสน”สำหรับในวงการเพลงการตายหนึ่งเกิดแสน เป็นเรื่องที่กล่าวได้ว่าไม่เกินจริงนัก สำหรับในโลกตะวันตกการจากไปของราชาเพลงร็อคแอนด์โรล์นามเอลวิส เพรสลีย์ ทำให้เกิดเอลวิสมากมายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเอลวิสูตร เอลวิส รามาซิงค์ เอลวิส เฉิน หรือ เอลวิส โมฮาหมัด เป็นต้น สำหรับในโลกตะวันออก การจากไปของเติ้งลี่จวิน ถึงจะไม่มีนักร้องนามเติ้งลี่หนึ่ง เติ้งลี่-สองก็ตาม แต่ก็ก่อเกิดนักร้องเสียงเหมือนเติ้งลี่จวินจำนวนนับไม่ถ้วน และก็เกิดขึ้นทุกวันไม่ขาดสายจนทุกวันนี้ เนื่องจากในจีนแผ่นดินใหญ่จะมีการจัดประกวดร้องเพลงเติ้งลี่จวินทุกปีเนื่องในโอกาสรำลึกการจากไปของเติ้งลี่จวิน
พูดถึงแฟนเพลงมหาศาลของเติ้งลี่จวินในจีนแผ่นดินใหญ่ ทั้งๆที่เจ้าตัวไม่เคยเหยียบแผ่นดินจีนแม้แต่ครั้งเดียวในชีวิตทั้งนี้เนื่องด้วยเหตุผลทางการเมืองล้วน ๆดังที่ได้เกริ่นไว้ในตอนก่อนว่า ยิ่งลูก-หลานของทหารกั๊วหมิงด่างแล้วจะถูกสั่งสอนไม่ให้คบหาคอมมิวนิสต์โดยเด็ดขาด อย่างนักธุรกิจชั้นนำในบ้านเราอย่างน้อยสองท่านก็มีคุณพ่อเป็นทหารของเจียงไค-เชค อย่างคุณวิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าของนิ-คมอุตสาหกรรมอมตะ และคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการโดยทั้งสองท่านเคยไปร่ำเรียนในไต้หวัน และเคยถูกวาดภาพของคอมมิวนิสต์เสมือนเป็นยักษ์มาร แต่หลังจากที่ประสบวามสำเร็จในธุรกิจ แล้ว เมื่อได้ไปสัมผัสประเทศจีนแล้ว ทุกอย่างที่เคยรับรู้ต้องปรับเปลี่ยนใหม่หมด ฉะนั้นจึงไม่แปลก ที่เติ้งลี่จวินจะไม่ยอมเหยียบแผ่นดินจีนยิ่งเป็นคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อม ที่ข่าวสารถูกบีดเบือนด้วยแล้ว อย่างเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1940 กรณีการเข่นฆ่ากันระหว่างคนไต้หวันด้วนกันเอง คือคนไต้หวันที่อาศัยอยู่ก่อนกันคนไต้หวันที่อพยพจากประเทศจีนในช่วงแพ้ สงคราม ชาวไต้หวันที่อาศัยอยู่ก่อนไม่พอใจที่พวกอพยพมาทีหลังแย่งที่ทำกินเพราะจำนวนคน ที่อพยพมามีมากถึง 15% ของจำนวนประชากรแผ่นเสียง “ไฉ่หงหลิง” ซึ่งเป็นแผ่นแรกในชีวิตบนเกาะไต้หวัน จึงเกิดการฆ่าพวกกั๊วหมิงด่างหรือพวกอพยพ และเกิดการต่อสู้กันถึงสิบวันทำให้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ภายหลังเหตุการณ์สิ้นสุด กั๊วหมิงด่างก็โยนบาปครั้งนี้ไปให้พวกคอมมิวนิสต์ (นี่เป็นสูตรสำเร็จของประเทศที่โปรอเมริกันทั้งหลาย เนื่องจากพวกซีไอเอเสี้ยมสอนไว้) และความจริงเพิ่งจะถูกเปิดโปงภายหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปห้าสิบกว่าปี จริง ๆ ทั้ง สองกลุ่มที่เข่นฆ่ากันต่างก็ไม่ได้เป็นชาวไต้หวันที่แท้จริง ชาวไต้หวันที่แท้จริงคือพวกชาวเขาอย่างอารีซานซึ่งไม่ใช่ชาวฮั่น เพียงแต่กลุ่มที่อยู่ก่อนเป็นชาวฮั่นที่อพยพไปก่อนเมื่อประมาณ400 ปีก่อน และพวกกั๊วหมิงด่างก็เป็นชาวฮั่นที่อพยพไปทีหลัง ซึ่งต่างก็ไม่ใช่ชาวไต้หวันเหมือนกับพวกคนผิวขาวไม่ใช่ชาวอเมริกันที่แท้จริงหากแต่เป็นชาวอินเดียนแดงกลับมาในเรื่องของนักร้องเสียงเหมือนเติ้งลี่จวินซึ่งมีมากมายจริง ๆ แต่จะขอกล่าวถึงสามสี่คนที่น่าจะเป็นที่รู้จักบ้างในบ้านเรา จริง ๆ ลูกจีนในบ้านเราก็มีที่ร้องเพลงเติ้งลี่จวิน แล้วไปได้ดิบได้ดีในจีนแผ่นดินใหญ่เพียงแต่จำชื่อไม่ได้เสียแล้วสำหรับคนที่จะนำมากล่าวต่อไปนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นนักร้อง จากจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้น เติ้งลี่จวินขณะเที่ยวชมตลาดน้ำ ภาพถ่ายภาพสุดท้ายก่อนจากไป
หวางเฟย 王菲 หรือ Faye Wong ผู้ไม่ยอมอยู่หลังเงาเติ้งลี่จวิน สำหรับนักร้องนามหวางเฟยคนนี้มีประวัติที่น่าสนใจมาก เธอโด่งดังและเกิดในวงการด้วยนามเดิม หวางจิ้งเหวิน 王靖雯 หรือ Shirley ด้วยการร้องเพลงของเติ้งลี่จวินจนได้รับฉายา”เติ้งลี่จวินน้อย” จนเธอมีทุกอย่างทั้งชื่อเสียงเงินทองและบ้านอันหรูหรา แต่เธอกลับหาได้มีความสุขไม่ด้วยภาพลักษณ์ที่บริษัทแผ่นเสียง พยายามปั้นให้เธอนั้น เธอรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นเครื่องจักรทำเงินเท่านั้น หาได้มีตัวตนของตัวเองไม่ เธอจึงตัดสินใจไปอเมริกาเพื่อเรียนรู้ดนตรีพร้อม ๆ กับค้นหาตัวตน ของตนที่แท้จริง หลังจากใช้ชีวิตในนิว-ยอร์คหนึ่งปีเต็มก็บินกลับฮ่องกง และได้
นำเอาแนวดนตรีแบบ R & B และร้อง-เพลงในแนวที่แปลกออกไปจากเดิม โดยอัลบั้มชุดถาวห่าวจื้อจี่ 讨好自己(เอาใจตัวเอง) เป็นผลงานเพลงที่แสดงถึงความเป็นตัวของตัวเองเด่นชัดที่สุด จากนั้นในปี 1995 เธอสลัดคราบเดิมของหวางจิ้งเหวินหรือ Shirley ซึ่งมีฉายาเติ้งลี่จวินน้อยทิ้งไปอย่างสิ้นเชิง และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นหวางเฟย หรือ Faye Wong โดยไม่สนใจกับชื่อเสียงเดิม ๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางแล้ว ยิ่งภายหลังแต่งงานกับโต้วเหวย นักดนตรีร็อกจากจีนแผ่นดินใหญ่แล้ว ผลงานที่ออกมาเปลี่ยนแนวไปจนแทบจะไม่เชื่อว่าเป็นคนคนเดียวกันสำหรับผลงานเก่า ๆ ในแนวเติ้งลี่จวิน ปัจจุบันนี้ยังคงมีการรีพริ้นต์ออกมาจำหน่ายซึ่งยังมีแฟนเพลงจำนวนมากที่ยังถามหาอยู่ แผ่นบนเป็นแผ่นรีพรินต์รวมผลงานเก่าสมัยยังร้องเพลงเติ้งลี่จวินส่วนแผ่นล่างเป็นแผ่น “ถาวห่าวจื้อจี่”ที่รีแบรนด์ (Rebrand) ตัวเอง ฮว๋องหงยิง(Huang Hong Ying) กับบทเพลงเติ้งลี่จวินในลีลาเฉพาะตัวนักร้องสาวเสียงใส ๆ ของค่าย Hugo Record คนนี้ถึงจะร้องเพลงของเติ้งลี่จวินแต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง เพลงที่เธอร้องจะแบคอัพด้วยเครื่องดนตรีน้อยชิ้นซึ่งเป็นแนวที่เติ้งลี่จวินเองไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งถ้าหากเติ้งลี่จวินยังมีชีวิตอยู่คงต้องฉงน ที่ฮว๋องหงยิงสามารถนำเพลงของตัวเอง มาร้องได้ดีเสียยิ่งกว่าเจ้าตัวเสียอีกอย่างในอัลบั้มชุด”ชูชื่อฉางด้าวจี้มั่ว” 初 次尝到寂寞 หรือ “ครั้งแรกที่ลิ้มรสถึงความว้าเหว่” ในเพลง “เสี่ยวเฉินเตอกู้ซื่อ”小城的故事 หรือ เรื่องราวในเมืองเล็ก(เพลงนี้ฟังทีไรทำให้อดคิดถึงบ้านเกิดอำเภอเบตงไม่ได้ เพราะมีความรู้สึกว่าเนื้อเพลงได้บรรยายถึงเมืองเล็ก ๆ ที่ช่างเหมือนกับเบตงนัก) ร้องถึงสองเวอร์ชั่นซึ่งใช้ดนตรีประกอบ เพียงชิ้นเดียว คือกู่เจิง ในสองเวอร์ชั่นนี้จะร้องในลีลาที่แตกต่างกัน และได้ความไพเราะเพราะพริ้งที่ฟังดูใส ๆ เป็นธรรมชาติมาก เป็นลักษณะการร้องที่ต้นตำหรับไม่เคยร้องมาก่อน ขณะที่เพลงอื่น ๆ ในอัลบั้มเดียวกันนี้ ก็ใช้เครื่องดนตรีประกอบเพียงสองสามชิ้นเท่านั้น เช่น เปียโน ไวโอลิน เป็นต้น การร้องของฮว๋องหงยิงถึงจะนำเอาบทเพลงของเติ้งลี่จวินมาร้องก็ตาม แต่ไม่ได้ร้องลักษณะเน้นลอกเลียนแบบลีลา ทุกกระเบียดของเติ้งลี่จวิน แต่เป็นการร้องในลีลา ของตนซึ่งมีเอกลักษณะที่ไม่เหมือนใคร
หลี่ซั่ว 李烁 (Li Shuo) เสียงเติ้งลี่จวินที่ยังกะเแกะ หลี่ซั่วเป็นนักร้องสาวจีนอีกคนที่เกิดจากเวทีประกวดร้องเพลงเติ้งลี่จวินในฮ่องกงที่จัดขึ้นโดยTVB ในงาน “เสี่ยวเฉินจวื้อซิงเถียวจ้านซ่าย” 小城巨星挑战赛หรือ Small town, big star challenge Contest ในเดือนพฤษภาคม ปี 2001โดยมีนักร้องเสียงเติ้งลี่จวิน ที่ผ่านการคัดสรรมาจากสามแผ่นดินสองฝั่งทะเล คือ จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และ เกาะไต้หวันโดยหลี่ซั่วได้รับชนะเลิศจากการประกวดครั้งนี้ หลังจากจบการศึกษาจากสถาบัน ศิลปะแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนได้ออกอัลบั้มชุด “จวินจ้ายเหอฟาง” ่君在何方หรือ ที่รักอยู่ที่ไหน อันเป็นเพลงยอดนิยมของเติ้งลี่จวิน เป็นอัลบั้มชุดที่นำเอาเพลงของเติ้งลี่จวินมาร้องทั้งหมดสิบสามเพลง ต้องยอมรับว่าถ้าหลับตาฟังแล้ว แทบจะแยกไม่ออกเลยว่า เป็นเสียงที่ไม่ใช่ร้องโดยเติ้งลี่จวิน แต่หลี่ซั่วเองคงไม่ต้องการเป็นเติ้งลี่จวินหากแต่ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ดังจะเห็นได้ว่าอัลบั้มสองชุดหลังที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น นอกจากนักร้องทั้งสามท่านดังกล่าวข้างต้น ยังมีอีกหลายคนที่มีผลงานจำหน่ายในบ้านเราอย่างล่าสุดที่เห็นก็มีเฉินเจ้ลี่ ที่ออกมาเป็นเพลงเพื่อรำลึกเติ้งลี่จวิน ถึงแม้นักร้องเหล่านี้จะร้องเพลงเติ้งลี่จวินได้เหมือนสักเพียงไหนก็ตาม คงไม่มีคนไหนที่สามารถนั่งอยู่ในหัวใจของแฟนเพลงนอกจากตัวตนของเติ้งลี่จวินจริง ๆ และที่สำคัญการสร้างชื่อเสียงของทั้งเติ้งลี่จวินและนักร้องคนอื่น ๆ ที่กล่าวถึงไม่มีคนไหนที่สร้างชื่อเสียงโดยการขายสัดส่วนเรือนร่างดั่งนักร้องรุ่นใหม่หลายคน โดยสร้างชื่อเสียงโดยความสามารถของตัวเองโดยแท้



Create Date : 02 เมษายน 2551
Last Update : 2 เมษายน 2551 18:03:03 น. 0 comments
Counter : 883 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Li Jun
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add Li Jun's blog to your web]