เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
3 ตุลาคม 2557
 
All Blogs
 

รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ “King of Siam’s Eclipse” พระบิดาดาราศาสตร์แห่งสยาม

 



w001

     วิทยาศาสตร์ของไทยในด้านดาราศาสตร์แล้วมีความก้าวหน้าไม่แพ้ชาติใดในโลก

    มีการใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูดาวมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตามหลักฐานปรากฏ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูดาวครั้งแรก ปี พ.ศ. 2228 หลังการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์โดยกาลิเลโอ 76 ปี

ดาราศาสตร์ไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นอกจากทรงศึกษาภาษามคธ (บาลี) ภาษาละติน ภาษาอังกฤษ รวมทั้งศาสตร์แขนงประวัติศาสตร์ การเมือง วรรณคดี ปรัชญา ไปจนถึงเรขาคณิต ตรีโกณมิติ วิทยาศาสตร์นำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาประเทศแล้ว ในด้านดาราศาสตร์ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ สามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเห็นเต็มดวงในสยามได้วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ณ หว้ากอ ต.คลองวาฬ อ.เมืองฯ จ.ประจวบคีรีขันธ์

picture2012-63255516004หอชัชวาลเวียงไชย ที่พระราชวังพระนครคีรี บนเขาวัง เพชรบุรี มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ของไทยเพราะมีลักษณะเป็นหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์จึงเป็นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผลในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลา ตามที่พระองค์ทรงสถาปนาเส้นแวงที่ ๑๐๐ องศาตะวันออกผ่านใกล้พระนครคีรีขึ้นใช้เป็นเส้นแวงหลักของระบบเวลามาตรฐานของประเทศไทยขณะนั้น

    ครั้งนั้น พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาล่วงหน้านานถึงสองปี จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับล่วงหน้า จากนั้นเสด็จฯ ขบวนเรือพระที่นั่ง มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมเดินทางสังเกตการณ์

เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ครั้งนั้นซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ พ.ศ. 2518 ว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้”

d2116ma_1_0

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับ ณ เกยหน้าพลับพลาที่ประทับ โปรดให้ฉายพระรูปกับคณะแขกเมือง ณ ค่ายหลวงบ้านหว้ากอ (ภาพ หนังสือประชุมภาพประวัติศาสตร์แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

    ในความสนพระทัยเรื่องดาราศาสตร์ของพระองค์ เซอร์ จอห์น เบาริง ราชทูตแห่งสหราชอาณาจักร บันทึกไว้ตอนหนึ่งกล่าวถึงสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรได้ถวายกล้องโทรทรรศน์ “กล้องที่นำมาถวายมีคุณภาพต่ำกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่ทรงมีอยู่แล้ว” (คัดจากบทความ “200 ปี พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” สมาคมดาราศาสตร์ไทย//thaiastro.nectec.or.th/) และได้เขียนเล่าเพิ่มเติมไว้ ห้องส่วนพระองค์เป็นห้องที่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกับห้องนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่มั่งคั่งในทวีปยุโรปสมัยนั้น หมอเหา (เฮาส์) ได้บันทึกรายละเอียดไว้จากที่เขาได้เข้าเฝ้าที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ว่า

“ข้าพเจ้าได้เหลียวมองไปรอบๆ ห้อง และเห็นพระคัมภีร์ไบเบิลของสมาคม เอ. บี. และพจนานุกรมเวบสเตอร์ตั้งเคียงบนชั้นบนโต๊ะเขียนหนังสือ นอกจากนั้นยังมีตารางดาราศาสตร์และการเดินเรือวางอยู่ด้วย ส่วนข้างบนอีกโต๊ะหนึ่งมีแผนผังอุปราคาที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไป มีรายการคำนวณเขียนไว้ด้วยดินสอ นอกจากนั้นยังมีแบบลอกแผนที่ของนายชานเดลอร์วางอยู่ด้วย” (อ้างแล้ว)

rama4(2)

    ในด้านพระราชกรณียกิจทางดาราศาสตร์ของพระองค์ จัดว่าสำคัญคือ กำหนดเวลามาตรฐานของประเทศไทย โปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนย สูง 5 ชั้นบนยอดเป็นหอนาฬิกา มีนาฬิกาขนาดใหญ่ทั้งสี่ด้าน แต่งตั้งพนักงานคอยวัดตำแหน่งดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และดวงจันทร์ในเวลากลางคืน เพื่อปรับนาฬิกาให้เที่ยงตรงอยู่เสมอ

76193

ทรงใช้ “กล้องเซกส์แทนต์” นี้วัดเส้นรุ้งเส้นแวงของที่ตั้งค่ายหลวงหว้ากอ 

นอกจากนี้ พระราชวังจันทรเกษม (วังหน้า) อยุธยา ภายในพื้นที่มีหอสูง 4 ชั้น ชื่อว่า “พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์” ที่แต่เดิมในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้สร้างขึ้นครั้งแรกเพื่อไว้เป็น “หอดูข้าศึก” ที่ข้าศึกยกทัพบุกเข้ามาทางแม่น้ำกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเป็น “หอส่องกล้อง” หรือ “หอดูดาว” เพื่อการทอดพระเนตรดูดาว

อย่างไรก็ดี หลังการเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ค่ายหลวงบ้านหว้ากอ ทำให้พระองค์ทรงประชวรเนื่องจากได้รับเชื้อไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในวันที่ 1 ตุลาคม

Image (1)

 

พระบรมรูปของรัชกาลที่ 4 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า หว้ากอ ตั้งอยู่ริมอ่าวหว้ากอ ต.คลองวาฬ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 

ปัจจุบัน ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษาด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยการกล่าวถึงสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อปี ค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411) ว่าเป็น “King of Siam’s Eclipse”

 และต่อมารัฐบาลไทยประกาศยกย่องพระองค์ทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ในวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี จึงเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

    จากปีนั้นถึงปีปัจจุบันเป็นเวลา 146 ปี นักดาราศาสตร์ต่างกล่าวถึงพระองค์ ทรงเป็นพระบิดาดาราศาสตร์แห่งสยาม

…………………………………

ที่มา : สยามรัฐ

//www.chaoprayanews.com




 

Create Date : 03 ตุลาคม 2557
0 comments
Last Update : 3 ตุลาคม 2557 0:17:07 น.
Counter : 3041 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.